1 / 44

การจัดการธุรกิจภายใต้การแข่งขันโลกาภิวัฒน์

การจัดการธุรกิจภายใต้การแข่งขันโลกาภิวัฒน์. โลกแห่งการ เปลี่ยนแปลง : ความเป็นจริงและความท้าทายที่ต้องไม่ลืม. การเปลี่ยนแปลงของอารยธรรมมนุษย์ 2,000 ปี จากอารยธรรมกรีกโบราณ 200 ปี จากการปฏิวัติอุตสาหกรรม 20 ปี จากเทคโนโลยีสารสนเทศ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเท่ากัน.

Download Presentation

การจัดการธุรกิจภายใต้การแข่งขันโลกาภิวัฒน์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการธุรกิจภายใต้การแข่งขันโลกาภิวัฒน์การจัดการธุรกิจภายใต้การแข่งขันโลกาภิวัฒน์

  2. โลกแห่งการเปลี่ยนแปลง: ความเป็นจริงและความท้าทายที่ต้องไม่ลืม การเปลี่ยนแปลงของอารยธรรมมนุษย์ 2,000 ปี จากอารยธรรมกรีกโบราณ 200 ปี จากการปฏิวัติอุตสาหกรรม 20 ปี จากเทคโนโลยีสารสนเทศ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเท่ากัน

  3. ลักษณะความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงลักษณะความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง Scope Speed Unpredictability โลกแห่งการเปลี่ยนแปลง : ความเป็นจริงและความท้าทายที่ต้องไม่ลืม

  4. ลักษณะความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงลักษณะความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง Scope ขอบเขตและประเด็นที่มีผลกระทบต่อองค์กรและต้องทำให้เกิดการปรับตัว เช่น วิกฤต subprime ที่ส่งผลต่อธุรกิจการเงินการธนาคาร โรคไข้หวัด 2009 ที่มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยว โลกแห่งการเปลี่ยนแปลง : ความเป็นจริงและความท้าทายที่ต้องไม่ลืม

  5. ลักษณะความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงลักษณะความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง Speed ความเร็วของปัจจัยที่ส่งผลต่อองค์กรและต้องให้องค์กรปรับตัว เช่น วิกฤต subprime ที่ใช้เวลาไม่ถึง 6 เดือน กระทบต่อระบบเศรษฐกินโลก โรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ใช้เวลาแค่ 1 เดือน ส่งผลต่อระบบการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โลกแห่งการเปลี่ยนแปลง : ความเป็นจริงและความท้าทายที่ต้องไม่ลืม

  6. ลักษณะความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงลักษณะความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง Unpredictability ปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงที่อยากจะคาดเดาแต่องค์กรต้องมีความไวต่อการปรับตัว โลกแห่งการเปลี่ยนแปลง : ความเป็นจริงและความท้าทายที่ต้องไม่ลืม

  7. สภาพแวดล้อมโลกาภิวัฒน์ของธุรกิจสภาพแวดล้อมโลกาภิวัฒน์ของธุรกิจ • Globalization • กระบวนการที่หลายประเทศในโลกที่มีเศรษฐกิจที่แตกต่างมาเกี่ยวข้องกันรวมทั้งการมีระบบทางการค้าที่กลายสภาพเปรียบเสมือนหนึ่งเดียวที่เป็นระบบที่มีการพึงพาระหว่างกันสูง • Exports: การนำผลิตภัณฑ์ที่ผลิตภายในประเทศส่งออกขายยังต่างประเทศ • Imports: การนำเอาผลิตภัณฑ์ในต่างประเทศมาขายภายในประเทศ

  8. มุมมองโลกาภิวัฒน์ • โลกาภิวัฒน์ (Globalization) • เป็นผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ • แสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ • เกิดจากการเคลื่อนย้ายทุนในเศรญฐกิจโลก 4 ประการ • ทุนมนุษย์ • ทุนการเงิน • ทุนทรัพยากร • ทุนอำนาจ

  9. ความท้าทายที่องค์กรต้องเผชิญในกระแสโลกาภิวัฒน์ใน 5 ปีข้างหน้า โครงสร้างประชากร : ผู้สูงอายุมากขึ้น คนในวัยทำงานลดลง คนเกิดน้อยลง อายุ 20 - 59 ปี อายุ 0 - 19 ปี อายุ 60 ปี พ.ศ. 2533 : ผู้สูงอายุเท่ากับ 10%ของคนวัยทำงาน พ.ศ. 2563 : ผู้สูงอายุเท่ากับ 25%ของคนวัยทำงาน *Productivity ของคนวัยทำงานต้องเพิ่มขึ้น (อย่างน้อย) 2.5 เท่า จากปีพ.ศ. 2533 ถึง พ.ศ. 2563

  10. สาเหตุที่ก่อให้เกิดกระแสโลกาภิวัฒน์สาเหตุที่ก่อให้เกิดกระแสโลกาภิวัฒน์ เครื่องมือบริหารใหม่ๆ พฤติกรรมลูกค้า/ประชาชนเปลี่ยนแปลง องค์กรเรา คู่แข่งมากคู่แข่งระดับโลก นโยบายรัฐ การขยายตัวของตลาดกว้างขึ้น เทคโนโลยี

  11. การเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์การเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์ Wealth Driven การเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ FDI/Equity/Bond/Loan Innovation Driven การค้าระหว่างประเทศ WTO/RTA/FTA/ Capital Driven : Capital Mobility Resource Driven: Resource Mobility

  12. การเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์การเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์ • Wealth Driven • เป็นผลจากการไม่เท่าเทียมกันในเรื่องของฐานะและรายได้ของสังคมในประเทศ • ช่องว่างของความมั่นคั่งในแต่ละประเทศเกิดความแตกต่างกันอย่างชัดเจนมากขึ้น • กำลังซื้อในประเทศใหญ่ ๆ อยู่ในช่วงภาวะถดถอย ในขณะที่กำลังซื้อจากประเทศเกิดใหม่หลาย ๆ ประเทศ ในแอฟริกาใต้ เข้ามาแทนที่

  13. การเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์การเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์ • Innovation Driven • เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงและคิดค้นทางด้านนวัตกรรมอย่างรวดเร็ว ทำให้องค์กรต้องปรับตัวให้ทันต่อกระแสโลก • นวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยี เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา เช่น อีเมล์เริ่มมีบทบาทน้อยลงในการติดต่อสื่อสาร แต่ Social network กับเข้ามาแทนที่ • เกิดการผสมผสานระหว่างสินค้ากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างกลมกลืน เช่น Blackberry กับ Facebook ที่ทำให้องค์กรต้องเปลี่ยนวิธีการติดต่อกับลูกค้า เป็นต้น

  14. การเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์การเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์ • Capital Driven • เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของการโยกย้ายแหล่งทุนได้อย่างอิสระ ทั้งในตลาดทุน และ ตลาดหุ้น • ผลกระทบจากตลาดหุ้นที่สหรัฐ ส่งผลต่อตลาดเอเชียทันที • ราคาทองที่แกว่งตัว ผันผวนในตลาดโลก ส่งผลให้ราคาทองที่เยาวราชผันผวน และ ต้องปิดร้านชั่วคราว เป็นต้น • การตัดสินใจลงทุนของนักลงทุน ในตลาดทองแทนการลงทุนในตลาดน้ำมัน ส่งผลต่อราคาการซื้อขาย การส่งออก และ กำลังการผลิต

  15. การเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์การเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์ • Resource Driven • เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนย้ายของทรัพยากร โดยเฉพาะแรงงาน • ในอีก 5 ปี ข้างหน้า แรงงานในภูมิภาคอาเซียน จะเกิดการจ้างงานอย่างอิสระ และจะมีแรงงานจะประเทศเพื่อนบ้างเข้ามาทำงานในประเทศไทยมากขึ้น • การปรับตัวในยุคโลกาภิวัตน์ ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาเรื่องของทรัพยากรมนุษย์อย่างมาก

  16. Capital Market/ Asia Bond Market ทุน • Asia Financial Integration • FDI /GATS/ Bank Loan คน • Experts & Skilled & Temporally Unskilled Labour 5 ปี 2010 10 ปี 2015 15 ปี 2020 • Robotic & Bio & Nano เทคโนโลยี • Information & Computing Technology • DOHA/ Regional FTA • Total Trade Liberalization สินค้า • East Asia Economic Community • WTO/ FTA แรงผลักดันในยุคโลการภิวัฒน์

  17. ระดับการแข่งขันในกระแสโลการภิวัฒน์ระดับการแข่งขันในกระแสโลการภิวัฒน์ • รุนแรงน้อย รุนแรงมาก ธุรกิจ ภายในประเทศ ธุรกิจ ระหว่างประเทศ ธุรกิจ ข้ามชาติ ธุรกิจ ระดับโลก

  18. ระดับการดำเนินการธุรกิจระดับการดำเนินการธุรกิจ • ธุรกิจภายในประเทศ (Domestic Business) • เป็นการดำเนินธุรกิจที่ใช้ทรัพยากรทั้งหมดภายในประเทศตั้งแต่การผลิตไปจนการจำหน่าย • ธุรกิจระหว่างประเทศ (International Busienss) • เป็นการดำเนินธุรกิจที่เกิดจากประเทศใดประเทศหนึ่งแล้วมีการแสวงหาทรัพยากรในการดำเนินธุรกิจ หรือ แสวงหากำไรกับประเทศอื่น ๆ

  19. ระดับการดำเนินการธุรกิจระดับการดำเนินการธุรกิจ • ธุรกิจข้ามชาติ (Multinational Business) • เป็นการดำเนินธุรกิจที่มีตลาดอยู่ทั่วโลกโดยมีการซื้อวัตถุดิบ กู้ยืมเงิน และผลิตสินค้าจากต่างประเทศ • ธุรกิจระดับโลก (Global Business) • เป็นการดำเนินธุรกิจข้ามเขตแดนประเทศ หรือ เป็นการดำเนินธุรกิจที่ไม่มีเขตแดนเป็นสิ่งจำกัด • การดำเนินธุรกิจนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับประเทศแม่ที่เป็นเจ้าของธุรกิจเพียงประเทศเดียว

  20. สภาพแวดล้อมด้านโลกาภิวัฒน์สภาพแวดล้อมด้านโลกาภิวัฒน์ • สภาพแวดล้อมทางการเมืองและกฏหมาย • เสถียรภาพของรัฐบาล (Government stability) • ผลตอบแทนจากการค้าระหว่างประเทศ (Incentives for international trade) • มาตราการควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจระหว่างประเทศ (Controls on International trade) • การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ (Economic Community) • เขตการค้าเสรี (Free trade area) • สหภาพศุลกากร (Customs union) • ตลาดร่วม (Common market)

  21. สภาพแวดล้อมด้านโลกาภิวัฒน์สภาพแวดล้อมด้านโลกาภิวัฒน์ • สหภาพเศรษฐกิจ (Economic Union) • สหภาพยุโรป (European Union – EU) ทั้งหมด 6 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม และลักเซมเบอร์ก • สหภาพเศรษฐกิจและการเงินยุโรป (Economic and monetary union – EMU) ทั้งหมด 12 ประเทศ คือ เบลเยี่ยม เยอรมัน กรีซ สเปน ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย โปรตุเกส และฟินแลนด์

  22. สภาพแวดล้อมด้านโลกาภิวัฒน์สภาพแวดล้อมด้านโลกาภิวัฒน์ • สหภาพเศรษฐกิจ (Economic Union) • เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (North America Free Trade Area – NAFTA) ทั้งหมด 3 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก • เขตการค้าเสรีอาเซียน (Asean Free Trade Area – AFTA) • กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งภูมิภาคเอเซีย แปซิฟิก (APEC) ครอบคลุม 3 ทวิป คือ เอเซีย ออสเตรียเลีย และอเมริกา

  23. สภาพแวดล้อมด้านโลกาภิวัฒน์สภาพแวดล้อมด้านโลกาภิวัฒน์ • สหภาพเศรษฐกิจ (Economic Union) • การปะชุมเอเซีย ยุโรป (Asia Europe Meeting – ASEM) ประกอบไปด้วย 10 ประเทศจากเอเซีย • บรูไนดารุสซาลาม อินโดนิเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์ ไทย เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี • และ 15 ประเทศจากยุโรป • ออสเตรีย เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ อิตาลี ไอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน และสหราชอาณาจักร

  24. สภาพแวดล้อมด้านโลกาภิวัฒน์สภาพแวดล้อมด้านโลกาภิวัฒน์ • สภาพแวดล้อมองค์กรระหว่างประเทศ • ธนาคารโลก (World Bank) • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) • GATT (General Agreement on Tariffs and Trade) • องค์การการค้าโลก (World trade organization –WTO) • ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย (Asian Development Bank – ADB) • การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development – UNCTAD)

  25. เหตุผลของความจำเป็นในการจัดการธุรกิจในกระแสโลกาภิวัฒน์เหตุผลของความจำเป็นในการจัดการธุรกิจในกระแสโลกาภิวัฒน์ เพื่อความสามารถในการอยู่รอด (Survivability) เพื่อยังคงสร้างมูลค่าเพิ่มแบบเดิม หรือแบบใหม่ (Value Creation) เพื่อความยั่งยืน (Sustainability) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถใน การพึ่งพาตนเอง (Self Reliability) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน (Competitive Advantage)

  26. วิธีการการจัดการธุรกิจภายใต้การแข่งขันโลกาภิวัฒน์วิธีการการจัดการธุรกิจภายใต้การแข่งขันโลกาภิวัฒน์ กรณีทั่วไป สถานการณ์ ข้อมูลเจาะลึก (ข่าวกรอง) สมมติเป้าหมาย วางแผนการทำงาน หน่วยนำ หน่วยสนับสนุน ติดตามประเมินผล • วัตถุประสงค์ • เป้าหมาย • แผนรวม • แผนปฏิบัติการ • งาน • เงิน • คน • การติดตามประเมินผล

  27. วิธีการการจัดการธุรกิจภายใต้การแข่งขันโลกาภิวัฒน์วิธีการการจัดการธุรกิจภายใต้การแข่งขันโลกาภิวัฒน์ สถานการณ์เป็นรอง—รับ แก้ที่หัวใจของปัญหา จับหัวใจของปัญหา ระดับใหม่ที่รับได้ วางแผนการทำงาน หน่วยนำ หน่วยสนับสนุน ติดตามประเมินผล • ปัญหาเป้าหมาย • แผนรวม • แผนปฏิบัติการ • งาน • เงิน • คน • การติดตามประเมินผล >

  28. วิธีการการจัดการธุรกิจภายใต้การแข่งขันโลกาภิวัฒน์วิธีการการจัดการธุรกิจภายใต้การแข่งขันโลกาภิวัฒน์ สถานการณ์เป็นต่อ—รุก ปรับเพื่อยกระดับ วิเคราะห์โอกาส วางวิสัยทัศน์ ตั้งเป้าหมายสมมติ วางแผนการทำงาน หน่วยนำ หน่วยสนับสนุน ติดตามประเมินผล • โอกาสวิสัยทัศน์ • เป้าหมาย • แผนรวม • แผนปฏิบัติการ • งาน • เงิน • คน • การติดตามประเมินผล >

  29. แรงจูงใจในการทำเข้าสู่การแข่งขันตลาดโลกาภิวัฒน์แรงจูงใจในการทำเข้าสู่การแข่งขันตลาดโลกาภิวัฒน์ • Profit advantage – ความได้เปรียบทางกำไร • Unique products - การมีสินค้าเฉพาะที่ไม่เหมือนใคร • Technological advantage – การมีเทคโนโลยีที่ได้เปรียบในการผลิต • Exclusive information – การมีข้อมูลที่ครบถ้วนและละเอียดกว่าคนอื่น • Managerial commitment – ความผูกพันหรือคำสัญญาของผู้บริหาร • Tax benefits – ผลประโยชน์ด้านภาษีทีจะได้รับจากรัฐบาล • Economies of scale - ความประหยัดจากการผลิตจำนวนมาก

  30. ขั้นตอนในการเข้าสู่การแข่งขันในตลาดโลกาภิวัฒน์ขั้นตอนในการเข้าสู่การแข่งขันในตลาดโลกาภิวัฒน์ • ขั้นตอนการพิจารณาตลาดจากข้างบน (Top View) ได้แก่ การใช้ข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิในการศึกษาตลาด โดยพิจารณาจากปัจจัย 2 หมวด คือ ขนาดของตลาดเป้าหมาย และลักษณะของตลาดเป้าหมาย • ขั้นตอนการลงภาคสนาม (Field Work) ได้แก่ การหาข้อมูลโดยตรงจากตลาดในต่างประเทศ โดยการเดินทางไปยังประเทศเป้าหมายนั้นเอง • การสัมภาษณ์ • การสังเกตการณ์ • การเข้าชมหรือร่วมงานแสดงสินค้า • การพบปะกับลูกค้าที่มีศักยภาพ

  31. ขั้นตอนการพิจารณาตลาด (ต่างประเทศ) เป้าหมาย • ขนาดของตลาด (Market size) • ประชากร • รายได้ • ยอดขายในประเทศนั้น • การนำเข้า • การผลิตภายในประเทศ • ดุลการชำระเงิน • ปริมาณเงินสำรองต่างประเทศ

  32. ขั้นตอนการพิจารณาตลาด (ต่างประเทศ) เป้าหมาย • ลักษณะของตลาด (Market Characteristics) • ความสามารถในการเข้าถึงตลาด • ลักษณะทางกายภาพของประเทศ • นโยบายการนำเข้า • การขอใบอนุญาตนำเข้า • กำแพงภาษีศุลกากร • มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษีศุลกากร • ภาษีและค่าธรรมเนียมอื่น • การควบคุมปริวรรตเงินตราต่างประเทศ • ภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดและภาษีตอบโต้การอุดหนุน • การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค • ลักษณะของตลาด (Market Characteristics) • ความน่าสนใจของตลาด • โครงสร้างพื้นฐาน • คุณลักษณะของตลาด • สภาวะแวดล้อมทางการเมือง • ความใกล้เคียงกันของวัฒนธรรม • ภาษาที่ใช้ • คุณลักษณะเฉพาะของตลาด • ความตกลงพิเศษทางการค้า • อัตราแลกเปลี่ยน

  33. จังหวะเวลาที่ควรเข้าสู่ตลาด (ต่างประเทศ) เป้าหมาย • การเข้าสู่ตลาดเป็นรายแรก (First Mover) • ความได้เปรียบด้านต้นทุน • ความได้เปรียบด้านเทคโนโลยี • ความได้เปรียบด้านพฤติกรรมผู้บริโภค • ความได้เปรียบในการเลือกก่อนคนอื่น • การเข้าสู่ตลาดแบบเป็นผู้ตามรายต้นๆ (Early Follower) มักใช้ในกรณีที่ตลาดของอุตสาหกรรมเป็นแบบผูกขาดน้อยราย เช่น โค้ก เป๊ปซี่ • การเข้าสู่ตลาดเป็นรายหลังๆ (Late Follower) มักใช้ในกรณีที่ตลาดต่างประเทศยังมีความเสี่ยง ความไม่แน่นอนสูงมาก

  34. ช่องทางและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจช่องทางและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ • การส่งออกและการนำเข้า (Importing and Exporting) • การใช้สิทธิบัตร (Licensing) • แฟรนไชส์ (Franchise) • การร่วมทุน (Joint Venture) • การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (Direct Foreign Investment) • การพันธมิตรทางกลยุทธ์ (Strategic Alliance) • สัญญาอื่น ๆ เช่น สัญญาเหมาเบ็ดเสร็จ (Turnkey project), สัญญาความช่วยเหลือทางเทคนิค (Technical-aid agreement), สัญญาทางด้านการจัดการ (Management contract), สัญญาการผลิต (Manufacturing contract)

  35. กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ • การส่งออกและการนำเข้า (Importing and Exporting) • เป็นพื้นฐานในการเจาะตลาดต่างประเทศ โดยการหาคู่ค้าทางธุรกิจที่อยู่นอกประเทศ • อาจจะใช้ตัวแทนจำหน่าย หรือ Trader ในการอำนวยความสะดวก ในการส่งออก หรือ นำเข้าสินค้า

  36. กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ • การใช้สิทธิบัตร (Licensing) • เป็นการขายลิขสิทธิ์ให้กับตัวแทนรายใดรายหนึ่งในประเทศ เพื่อเป็นตัวแทนทางการเพียงเจ้าเดียว • เช่น การได้ลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ภาพยนตร์เกาหลี ของทางมงคลเมเจอร์ เป็นต้น

  37. กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ • แฟรนไชส์ (Franchise) • เป็นการตกลงในการซื้อขายรูปแบบของธุรกิจ สิทธิในการจำหน่ายสินค้า จากผู้จำหน่าย (Franchiser) • ผู้ซื้อสิทธิ (Franchisee) จะต้องทำการจ่ายค่าแฟรนไชส์ ในการเริ่มต้น (Royalty Fee) และเปอร์เซ็นของยอดขายให้กับทาง Franchiser

  38. กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ • การร่วมทุน (Joint Venture) • ธุรกิจตั้งแต่ธุรกิจ 2 ธุรกิจขึ้นไปทำสัญญาที่จะร่วมลงทุนเพื่อดำเนินธุรกิจร่วมกัน • ซึ่งกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการดำเนิน การอย่างชัดเจน เช่น ผลิตหรือจำหน่ายสินค้า หรือดำเนินโครงการใดโครงการหนึ่งร่วมกัน • มีการกำหนดสัดส่วนการถือหุ้น หน้าที่ความรับผิดชอบ และสิทธิของแต่ละฝ่าย รวมถึงการจัดสรรผลประโยชน์

  39. กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ • การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (Foreign Direct Investment) • บริษัทบริหาร ควบคุม เป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งหมดมีการจัดการควบคุมทรัพย์สิน • ประกอบไปด้วย Host country และ Home country • Host country ประเทศที่รับการลงทุน • Home country ประเทศแม่ที่ไปลงทุน

  40. กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ • การพันธมิตรทางกลยุทธ์ (Strategic Alliance) • บริษัททั้งคู่ตกลงที่จะแบ่งสันข้อมูลลงทุนร่วมกันและปรับปรุงการทำงานต่างๆ ร่วมกันข้อมูลที่คู่พันธมิตร • มีการเปิดเผยและปราศจากความลับระหว่างกันโดยการร่วมมือกัน • ไม่จำเป็นต้องลงทุนเต็มอัตราเพื่อการสร้างกิจการใหม่ เป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

  41. กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ • สัญญาเหมาเบ็ดเสร็จ (Turnkey project) • โครงการที่ผู้ว่าจ้างจะจัดหาผู้รับจ้างดำเนินโครงการจนแล้วเสร็จ จึงมีการชำระเงินค่าดำเนินโครงการ • ผู้รับจ้างอาจต้องมีหน้าที่ในการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อดำเนิน โครงการด้วย • ผู้ว่าจ้างต้องมีวงเงินดำเนินโครงการอ้างอิงได้ประกอบการพิจารณาโครงการ

  42. กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ • สัญญาความช่วยเหลือทางเทคนิค (Technical-aid agreement) • เป็นสัญญาความรวมมือทางดานเทคนิคระหวางบริษัทแม่หรือบริษัทคู่สัญญา ในเทคนิคเฉพาะทาง • เป็นการขอสิทธิที่บริษัทฯจะไดรับการถายทอดเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจ

  43. กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ • สัญญาความช่วยเหลือทางเทคนิค (Technical-aid agreement),สัญญาทางด้านการจัดการ (Management contract),สัญญาการผลิต (Manufacturing contract) • เป็นสัญญาความรวมมือทางดานเทคนิคระหวางบริษัทแม่หรือบริษัทคู่สัญญา ในเทคนิคเฉพาะทาง • เป็นการขอสิทธิที่บริษัทฯจะไดรับการถายทอดเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจ

  44. กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ • กลยุทธ์ของธุรกิจระหว่างประเทศ • การใช้สำนักงานใหญ่เป็นศูนย์กลางทางการจัดการ (Ethnocentric) สินค้าที่ขายในประเทศแม่กับต่างประเทศเป็นสินค้าเดียวกัน และการบริหารงานและกลยุทธ์เหมือนกัน • การกระจายอำนาจการจัดการสู่สาขาแต่ละแห่ง (Polycentric) มีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น • การกระจายอำนาจการจัดการสู่ภูมิภาคต่าง ๆ (Regiocentric) กระจายโครงสร้างการบริหารสู่ภูมิภาค ผลกำไรที่ได้มีการจัดสรรในส่วนสาขาในภูมิภาค • การใช้กลยุทธ์ความเป็นสากล (Geocentric) กำหนดแนวทางในภาพรวมของโลก

More Related