1 / 33

พฤติกรรมของสัตว์

พฤติกรรมของสัตว์. นางสาวนาถนที ดวน สูง เลขที่ 9 ม.4/15. พฤติกรรมของสัตว์คืออะไรนะ. สัตว์ มีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้สูญพันธุ์สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีพฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมในรูปแบบต่างๆ กัน. พฤติกรรมสัตว์.

aurora-witt
Download Presentation

พฤติกรรมของสัตว์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พฤติกรรมของสัตว์ นางสาวนาถนที ดวนสูง เลขที่ 9 ม.4/15

  2. พฤติกรรมของสัตว์คืออะไรนะพฤติกรรมของสัตว์คืออะไรนะ

  3. สัตว์มีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้สูญพันธุ์สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีพฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมในรูปแบบต่างๆ กัน พฤติกรรมสัตว์ สัตว์ต่างๆ มีพฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมในรูปแบบต่างๆ กัน เช่น การใช้เสียง การใช้ท่าทาง การใช้สารเคมี พฤติกรรมต่างๆ ที่สัตว์แสดงออก มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของสัตว์

  4. พฤติกรรม (Behavior) หมายถึง กิริยาของสิ่งมีชีวิตที่แสดงออกมาเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นทั้งสิ่งเร้าภายในและสิ่งเร้าภายนอก สิ่งเร้า (Stimulus) คือ สัญญาณหรือการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีผลต่อกิจกรรมของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วๆไปจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ 1.สิ่งเร้าภายในร่างกาย ได้แกฮอร์โมน เอนไซม์ ความหิว ความเครียด ความต้องการทางเพศ เป็นต้น 2.สิ่งเร้าภายนอกร่างกาย ได้แก่ แสง เสียง อุณหภูมิ อาหาร น้ำ การสัมผัส สารเคมี เป็นต้น

  5. กลไกการเกิดพฤติกรรมของสัตว์กลไกการเกิดพฤติกรรมของสัตว์ 1.เหตุจูงไจ (Motivation) 2.ตัวกระตุ้นปลดปล่อย (Releasing Stimulus) เช่น พฤติกรรมการกินอาหารของสัตว์ ความหิว เป็นเหตุจูงใจ อาหาร เป็นตัวกระตุ้นปลดปล่อย โดยทั่วไปถ้าเหตุจูงใจสูง สัตว์จะสามารถแสดงพฤติกรรมออกมาได้ ถึงแม้ตัวกระตุ้นปลดปล่อยจะไม่รุนแรง ในทางตรงกันข้ามถ้าเหตุจูงใจต่ำ แต่ตัวกระตุ้นปลดปล่อยมีความรุนแรงมาก สัตว์จะสามารถแสดงพฤติกรรมออกมาได้เช่นกัน

  6. การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกายสิ่งมีชีวิตนั้น อาจเกิดขึ้นทันทีทันใดหรืออาจเกิดขึ้นช้า ๆ ทำให้ชีวิตแสดงพฤติกรรม (behavior) ซึ่งเป็นกลไกอย่างหนึ่งในการรักษาดุลยภาพของร่างกาย การศึกษาพฤติกรรม เป็นการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนพื้นฐานทางสรีรวิทยาที่มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมสัตว์ การศึกษาพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตทำได้ 2 วิธี คือ

  7. 1. วิธีการทางสรีรวิทยา (physiological approach) มีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบายพฤติกรรมในรูปของกลไกการทำงานของระบบประสาท 2. วิธีการทางจิตวิทยา (psychological approach) เป็นการศึกษาถึงผลของปัจจัยต่าง ๆ รอบตัวและปัจจัยภายในร่างกายที่มีต่อการพัฒนาและการแสดงออกของพฤติกรรมที่มองเห็นได้ชัดเจน พฤติกรรมจะสลับซับซ้อนเพียงใดขึ้นอยู่กับระดับความเจริญส่วนต่าง ๆ ของระบบประสาท ทั้งหน่วยรับความรู้สึกระบบประสาทส่วนกลางและหน่วยปฏิบัติงาน

  8. ประเภทพฤติกรรมของสัตว์ประเภทพฤติกรรมของสัตว์ 1.พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด 2.พฤติกรรมการเรียนรู้

  9. พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด เป็นพฤติกรรมแบบง่ายๆ และเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่ใช้ในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น แสง เสียง แรงโน้มถ่วงของโลก สารเคมี หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงของฤดูกาล • จะตอบสนองโดยการเคลื่อนไหวเพื่อปรับตำแหน่งให้อยู่ในสถาพที่เหมาะสม หรือหลีกเลี่ยงสถาพที่ไม่เหมาะสม ควาสามารถในการแสดงพฤติกรรมนี้ได้มาจากพันธุกรรมเท่านั้น โดยไม่จำเปนต้องเรียนรู้มาก่อน จึงมักมีแบบแผนที่แน่นอนเฉพาะตัวเปลี่ยนแปลงไม่ได้ สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะแสดงพฤติกรรมเหมือนกันหมด พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด ได้แก่

  10. รีเฟล็กซ์ เราคงเคยเดินหยีบหนาม หรือของมีคม พฤติกรรมที่แสดงออกมา คือ ยกเท้าหนีทันที หรือเมื่อมีสิ่งขงเข้ามาใกล้ตา ตาก็จะกระพริบ เราต้งอคิดก่อนหรือไม่ การแสดงกิริยาดังกล่าวเป็นปฎิกริยารีเฟล็กซ์ปฎิกริยานี้ทำให้สิ่งมีชีวิตแสดงออกอาการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ทันที พฤติกรรมที่แสดงออกมาด้วยการที่ส่วนใดส่วนหนี่งของร่างกายตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นได้อย่างรวดเร็วเรียกว่า พฤติกรรมรีเฟล็กซ์

  11. รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง นักเรียนลองพิจารณาการดูดน้ำนมของเด็กอ่อนที่เริ่มตั้งแต่การกระตุ้นจากสิ่งเร้าคือ ความหิว เมื่อปากได้สัมผัสกับหัวนม เป็นการกระตุ้นให้เด็กดูดนม และจะกระตุ้นให้เกิดการกลืนที่เป็นปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ เมื่อเด็กยังไม่อิ่มก็จะกระตุ้นให้ดูดต่อไปอีกเด็กจึงแสดงพฤติกรรมการดูดนมต่อไปจนอิ่มจึงหยุดพฤติกรรมย่อย ๆซึ่งเป็นปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะไปกระตุ้น รีเฟล็กซ์อื่น ๆ ของระบบประสาทให้ทำงานต่อเนื่องกัน เรียกพฤติกรรมประเภทนี้ว่า รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง

  12. การสร้างรังของนกก็เช่นเดียวกันประกอบด้วยพฤติกรรมย่อยหลายพฤติกรรม เช่น การบินออกไปหาวัสดุมาสร้าวรัง เมื่อพบจะจิกขึ้นมาตรวจสอบว่าเป็นวัสดุที่ต้องการหรือไม่ จากนั้นจะนำวัสดุนั้นมาที่รัง และพยายามนำวัสดุดังกล่าวประกอบเป็นรัง เสร็จแล้วก็จะบินออกไปหาวัสดุชิ้นใหม่ต่อไป วงจรนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะได้รังที่สมบูรณ์ ตัวอย่างอื่น ๆ ของพฤติกรรมแบบนี้ เช่น การชักใยของแมงมุม การฟักไข่และการเลี้ยงลูกอ่อนของไก่

  13. พฤติกรรมบางอย่าง สัตว์จะต้องมีประสบการณ์จึงแสดงพฤติกรรมออกมา ตัวออย่างเช่น เมื่อนำแมลงปอมาแขวนไว้ด้านหน้าของคางคก คางคกจะใช้ลิ้นตวัดจับแมลงปอกินเป็นอาหาร ต่อมาผู้ทดลองได้นำแมลงชนิดหนึ่งเรียกว่า รอบเบอร์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายผึ้งมาแขวนแทนคางคกก็กิน แต่ถูกผึ้งต่อย ต่อมาผู้ทดลองนำแมลงรอบเบอร์และผึ้งมาแขวนปรากฎว่าคางคกไม่กินแมลลงรอบเบอร์และผึ้งอีกเลย

  14. พฤติกรรมการเรียนรู้ เป็นพฤติกรรมของสัตว์ที่อาศัยประสบการณ์ หรือการเรียนรู้ส่วนใหญ่พบในสัตว์ชั้นสูงที่มีระบบประสาทเจริญดี สัตว์ที่มีวิวัฒนาการของระบบประสาทสูงสามารถมีพฤติกรรมแบบต่าง ๆ ดังนี้

  15. แบบแฮบิชูเอชัน ถ้านักเรียนทดลองนำหอยทากมาไต่บนแผ่นกระจก แล้วเคาะที่กระจก หอยทากจะหยุดการเคลื่อนที่ และหลบซ่อนเข้าไปในเปลือก สักครู่หนึ่งจะโผล่ออกมาและไต่ตามแผ่นกระจกต่อไป เมื่อเคาะอีก ก็จะหลบเข้าไปอีก แต่ถ้าเคาะกระจกบ่อย ๆ ครั้ง จะพบว่าระยะเวลาที่หอยทากหลบเข้าไปในเปลือกจะค่อย ๆ สั้นลงในที่สุดจะไต่ตามแผ่นกระจกไปเรื่อยโดยไม่สนใจเสียงเคาะกระจกอีกต่อไป

  16. ในธรรมชาติก็เช่นเดียวกันลูกสัตว์ทุกชนิดจะกลัวและหนีสิ่งแปลกใหม่ เช่น ลูกนกแรกเกิดจะตกใจกลัวนกทุกชนิดที่บินผ่านมาเหนือรัง หรือแม้แต่ใบไม้ที่ร่วงลงมา เมื่อเกิดขึ้นบ่อย ๆ ครั้ง ลูกนกจะเกิดการเรียนรู้ทำให่ลูกนกลดพฤติกรรมนี้ลงไป เรียกพฤติกรรมดังกล่าวนี้ว่าพฤติกรรมการเรียนรู้แบบแฮบบิชูเอชัน (habituation) เป็นพฤติกรรมที่สัตว์ลดการตอบสนองต่อสิ่งเร้า แม้จะยังได้รับการกระตุ้นอยู่ เนื่องจากสัตว์เรียนรู้แล้วว่าสิ่งเร้านั้น ๆ ไม่มีผลต่อการดำรงชีวิต

  17. การฝังใจ พ.ศ. 2478 ดร.คอนราด ลอเรนซ์ (Konrad Lorenz) สังเกตว่าธรรมชาติ ลูกห่านจะเดินตามแม่ทันทีเมื่อฟักออกจากไข่ แต่ถาฟักไข่ในห้องปฏิบัติการ เมื่อลูกห่านพบเขาเป็นสิ่งแรก มันจะติดตามเขาไปทุกหนทุกแห่ง เมื่อเขาใช้วัตถุอื่นแทนตัวเขา เช่น กล่องสี่เหลี่ยมที่มีล้อเลื่อนหรือหุ่นเป็ดที่มีล้อเลื่อนลูกห่านที่ฟักออกจากไข่เมื่อเห็นวัตถุดังกล่าวก็จะเดินตามเช่นเดียวกัน เรียกพฤติกรรมของสัตว์ที่ติดตามวัตถุที่เคลื่อนที่และทำเสียง ซึ่งเห็นในครั้งแรกหลังจากฟักจากไข่ว่าพฤติกรรมการเรียนรู้แบบฝังใจ (imprinting) พฤติกรรมแบบนี้จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นมากคือ ระยะเวลา 36 ชั่วโมง หลังจากฟักออกจากไข่ของห่าน ในธรรมชาตินั้นวัตถุที่เคลื่อนที่ได้ ทำเสียงได้ของลูกห่านคือแม่นั่นเองทำให้เกิดความผูกพันกับแม่

  18. การลองผิดลองถูก การที่สัตว์แสดงพฤติกรรมของสัตว์ชั้นต่ำบางชนิด เช่น ไส้เดือนดินเพื่อดูพฤติกรรมอย่างไร เมื่อนำไปใส่กล่องพลาสติกรูปตัว T มีด้านหนึ่งมืดและชื้น อีกด้านหนึ่งโปร่งและมีกระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ ปรากฏว่าเมื่อทำการทดลองซ้ำ ๆ กันไม่ต่ำกว่า 200 ครั้ง ไส้เดือนดินที่ผ่านการฝึกฝนมาแล้วจะเลือกทางถูก คือเคลื่อนที่ไปทางมืดและชื้นประมาณร้อยละ 90 แต่ในระยะก่อนฝึก โอกาสที่ไส้เดือนดินจะเลือกทางถูก หรือผิดร้อยละ 50 เท่านั้น จะเห็นได้ว่า การลองผิดลองถูก (trail and error)เป็นพฤติกรรมซึ่งเกิดจากการทดลองซ้ำ ๆ จนมีประสบการณ์ว่าการกระทำแบบใดจะเกิดผลดี แบบใดจะเกิดผลเสีย แล้วเลือกกระทำแต่สิ่งที่เกิดผลดี หรือให้ประโยชน์ และพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่ให้โทษ

  19. การมีเงื่อนไข การศึกษาทดลองของอีวาน พาพลอฟ (Ivan Pavlov) ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา ชาวรัสเซีย ประมาณปี พ.ศ.2400 เขาได้ทำการทดลอง พาฟลอฟพบว่า ถ้าสั่นกระดิ่งพร้อมกับการให้อาหารทุกครั้งสุนัขที่หิวเมื่อเห็นอาหารหรือได้กลิ่นจจะหลั่งน้ำลาย หลังจากการฝึกเช่นนี้มานาน เสียงกระดิ่งเพียงอย่างเดียวสามารถทำให้สุนัขหลั่งน้ำลายได้ การทดลองนี้ สิ่งเร้าคืออาหารซึ่งเป็น สิ่งเร้าแท้จริง หรือสิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข(unconditioned stimulus) ส่วนเสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าไม่แท้จริงหรือสิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข (conditioned stimulus)

  20. การที่สัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ไม่แท้จริงแม้ว่าจะไม่มีสิ่งเร้าที่แท้จริงอยู่ด้วย ลำพังสิ่งเร้าที่ไม่แท้จริงเพียงอย่างเดียวก็สามารถกระตุ้นให้สัตว์นั้นตอบสนองได้เช่นเดียวกับกรณีที่มีสิ่งเร้าแท้จริงอย่างเดียว พาฟลอฟเรียกพฤติกรรมนี้ว่าการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข(conditioning) นักพฤติกรรมพบว่า พฤติกรรมแบบมีเงื่อนไขสามารถพบได้ในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง และสัตว์มีกระดูกสันหลัง

  21. การใช้เหตุผล ชิมแปนซีเป็นสัตว์ทดลองที่ดีสำหรับการแสดงความสามารถในการแก้ปัญหา เช่น การหยิบของที่อยู่สูงหรืออยู่ไกล เมื่อนำกล้วยไปห้อยไว้บนเพดานซึ่งชิมแปนซีเอื้อมไปไม่ถึง ชิมแปนซีสามารถแก้ปัญหาโดยนำลังไม้มาซ้อนกันจนสูงพอ แล้วปีนขึ้นไปหยิบกล้วย หากนำผลไม้ไปวางไว้ห่างจากกรง ชิมแปนซีจะนำไม้มาต่อกันเป็นเครื่องมือเพื่อใช้เขี่ยของที่อยู่ห่างจากกรง

  22. พฤติกรรมการใช้เหตุผล (reasoning) พบเฉพาะในสัตว์ที่มีสมองเซรีบรัมพัฒนาดี เพราะความสามารถในการใช้เหตุผลขึ้นอยู่กับความสามารถในการเรียนรู้และจดจำ ตลอดจนนำเอาประสบการณ์มาผสมผสานกัน หรือประยุกต์ร่วมกันเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอาจกล่าวว่าการใช้เหตุผลเป็นพฤติกรรมที่พัฒนามาจากการลองผิดลองถูก การใช้เหตุผลเป็นการเรียนรู้ขั้นสูงสุด

  23. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับพัฒนาการของระบบประสาทความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับพัฒนาการของระบบประสาท จากการศึกษาตัวอย่างพฤติกรรมแบบต่างๆ พบว่าพฤติกรรมแบบหนึ่งๆ ไม่ได้พบในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด สิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันอาจตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งเร้าอย่างเดียวกันด้วยพฤติกรรมที่แตกต่างกัน เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชั้นสูง มีพฤติกรรมการใช้เหตุผล และมีพฤติกรรมที่ละเอียดอ่อนประณีตมากกว่าสัตว์อื่น ซึ่งเป็นผลจากพัฒนาการของระบบประสาท ดังตารางที่นักเรียนจะได้ศึกษาต่อไปนี้

  24. ตาราง แสดงความสัมพันธ์ระหว่างระบบประสาทกับพฤติกรรมของสัตว์

  25. จากตาราง จะเห็นว่าสิ่งมีชีวิตที่มีระบบประสาทพัฒนามากขึ้น จะมีพฤติกรรมที่สับซ้อนมากขึ้น ถ้านำพฤติกรรมต่างๆ ที่พบในสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ ไปจนถึงชั้นสูงมาเปรียบเทียบกันในรูปของกราฟ จะได้กราฟ ดังภาพ

  26. การสื่อสารระหว่างสัตว์การสื่อสารระหว่างสัตว์ การสื่อสาร เป็นพฤติกรรมทางสังคมของสัตว์ เพราะมีการส่งสัญญาณทำให้สัตว์ซึ่งได้รับสัญญาณ มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป สัตว์ทุกชนิดต้องมีการสื่อสารอย่างน้อยในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตโดยเฉพาะช่วงที่มีการสืบพันธุ์ การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับการสื่อสารจึงมักจะกระทำกับสัตว์ที่มีพฤติกรรมทางสังคมซับซ้อน เช่น ผึ้ง ปลวก มดและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทั้งนี้เพราะ เมื่อสัตว์เหล่านี้มาอยู่รวมกันมากจะมีการแบ่งหน้าที่กันทำงาน จึงต้องมีการสื่อสารกันตลอดเวลา

  27. การสื่อสารด้วยท่าทาง ( Visual Signal ) เป็นท่าทางที่สัตว์แสดงออกมาอาจจะเป็นแบบง่ายๆ หรืออาจมีหลายขั้นตอนที่สัมพันธ์กัน เช่น • การแยกเขี้ยวของแมว • การเปลี่ยนสีของปลากัดขณะต่อสู้กัน • สุนัขหางตกเมื่อต่อสู้แพ้และวิ่งหนี • นกยูงตัวผู้รำแพนหางขณะเกี้ยวพาราสี นกยูงตัวเมีย • การเต้นระบำของผึ้งเพื่อบอกแหล่งและปริมาณของอาหาร ถ้าแหล่งอาหารอยู่ใกล้จะเต้นเป็นรูปวงกลม แต่ถ้าแหล่งอาหารอยู่ไกล จะเต้นคล้ายรูปเลขแปดมีการส่ายก้นไปมาด้วย โดยถ้าส่ายก้นเร็ว แสดงว่าปริมาณอาหารมีมาก

  28. การสื่อสารด้วยเสียง ( Sound Signal) เสียงของสัตว์ที่เปล่งออกมาในแต่ละครั้งจะแสดงถึงการตอบสนองสิ่งเร้าต่างๆ และสื่อความหมายที่แตกต่างกัน เช่น • เสียงที่ทำให้เกิดการรวมกลุ่ม เช่น เสียงของนกร้อง ไก่ แกะ และกระรอก • เสียงเรียกคู่เพื่อผสมพันธ์ เช่น เสียงร้องของกบและคางคก เสียงขยับปีกของยุงตัวเมียเพื่อเรียกยุงตัวผู้ • เสียงเตือนภัย เช่น เสียงร้องของเป็ด นก และเสียงเห่าของสุนัข • เสียงแสดงความโกรธ เช่น เสียงร้องของแมว สุนัข และช้าง

  29. การสื่อสารด้วยสารเคมีการสื่อสารด้วยสารเคมี มีความสำคัญมากในสัตว์ต่างๆ แต่ในคนมีความสำคัญน้อย สัตว์ต่างๆ จะสร้างสารเคมีที่เรียกว่า ฟีโรโมน (pheromone) ใช้ในการติดต่อสื่อสารในสัตว์ชนิดเดียวกัน

  30. สัตว์ได้รับฟีโรโมน 3 ทางด้วยกัน ได้แก่ การดมกลิ่น การกิน และการดูดซึม การได้รับฟีโรโมนทางกลิ่นส่วนมากเพื่อการดึงดูดเพศตรงข้าม ซึ่งผลิตได้ทั้งเพศผู้และเพศเมียขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์ เช่น การปล่อยฟีโรโมนของผีเสื้อไหมเพศเมีย หรือเพื่อการบอกให้รู้ว่าอยู่ที่ไหน เช่น การปล่อยฟีโรโมนของมด นอกจากนี้ฟีโรโมนยังใช้เตือนภัยได้ เช่น ผึ้งที่อยู่ปากรังจะคอย ระวังอันตรายเมื่อมีศัตรู แปลกปลอมเข้ามาจะปล่อยฟีโรโมนเตือนภัยให้พวกรู้ และบินอกมารุมต่อยศัตรูทันที อย่างไรก็ดีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ชะมดที่มีกลิ่นตัวแรง กลิ่นนี้สร้างจากต่อมใกล้อวัยวะสืบพันธุ์ที่ปล่อยออกมาทั้งเพศผู้และเพศเมีย มนุษย์สามารถสกัดจากต่อมของสัตว์พวกนี้มาทำเป็นน้ำหอมได้

  31. การรับฟีโรโมนโดยการกิน เช่น ผึ้งราชินีผลิตสารเคมีชนิดหนึ่งที่ต่อมบริเวณยางค์ปาก เมื่อผึ้งงานซึ้งเป็นเพศเมียกินเข้าไป สารนี้จะไปยับยั้งการเจริญและผลิตไข่และทำให้ผึ้งงานเป็นหมัน

  32. การรับฟีโรโมนโดยการดูดซึม พบในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเช่น แมลงสาบและแมงมุมบางชนิด เพศเมียจะปล่อยฟีโรโมนทิ้งไว้เมื่อเพศผู้มาสัมผัสเข้า สารนี้จะซึมผ่านเข้าไปกระตุ้นให้เพศผู้เกิดความต้องการทางเพศ  และติดตามเพศเมียไปเพื่อผสมพันธุ์ ในตั๊กแตนเพศผู้ จะปล่อยฟีโรโมนทิ้งไว้หลังการผสมพันธุ์ เมื่อตัวอ่อนของตั๊กแตนมาสัมผัสเข้าก็จะกระตุ้นให้ตัวอ่อนเติบโตและสืบพันธุ์ได้ 

  33. ผู้จัดทำ นางสาวนาถนที ดวนสูง เลขที่ 9 ม.4/15 เสนอ นายสุรชัย ดอกแก้ว

More Related