1 / 21

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ ( สสส .)

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ ( สสส .). โครงการ “ ร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ ”. ความเป็นมา. ชุมชน/ท้องถิ่นเป็นฐานหลักของสังคม แนวคิด การพัฒนาระดับชุมชนและท้องถิ่นให้เข้มแข็ง น่าอยู่ ปลอดภัย

Download Presentation

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ ( สสส .)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โครงการ “ร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่”

  2. ความเป็นมา • ชุมชน/ท้องถิ่นเป็นฐานหลักของสังคม • แนวคิดการพัฒนาระดับชุมชนและท้องถิ่นให้เข้มแข็ง น่าอยู่ ปลอดภัย • มีพัฒนาการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ทั้งด้านสังคม การศึกษา สุขภาพ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม • จะส่งผลให้ประชาชนในชุมชนมีสุขภาวะที่ดี • และหากทุกชุมชน/ท้องถิ่นมุ่งมั่นดำเนินการอย่างกว้างขวาง ประเทศไทยก็จะพัฒนาอย่างมีทิศทาง เป็นประเทศที่น่าอยู่ที่สุด

  3. ความเป็นมา • ชุมชนจะเข้มแข็ง น่าอยู่ และพึ่งตนเองได้ ต้องอาศัยความรับผิดชอบ การเรียนรู้ ร่วมคิดร่วมทำ • อาศัยความร่วมมือและข้อมูลทางวิชาการจากหน่วยงานในท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน • เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีคิด ปรับพฤติกรรมการผลิตและการบริโภคโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รักษาสิ่งแวดล้อม เน้นการพึ่งตนเอง เป็นสังคมเอื้ออาทร พึ่งพาอาศัยกันได้ และไม่ทอดทิ้งกัน

  4. ความเป็นมา • การสนับสนุนโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา ส่งผลให้เกิดแนวคิดในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ • การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน การพัฒนาผู้นำและส่งเสริมการรวมกลุ่มของชุมชน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ • การส่งเสริมและปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาต่อยอดให้เกิดนวัตกรรมที่เหมาะสม เพื่อนำมาปรับใช้กับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ • มุ่งเน้น“การปรับทัศนคติ”และ“เสริมพลังชุมชน” พร้อมทั้งเปิดโอกาสในการเรียนรู้และการเข้าถึงองค์ความรู้ของชุมชน

  5. ความเป็นมา • โดย 4 ปีที่ผ่านมาสนับสนุนโครงการไปทั้งสิ้นกว่า 1,100 โครงการ กระจาย 66 จังหวัดทั่วประเทศ • ผลการดำเนินงานพบว่า เกิดรูปแบบ “สภาผู้นำชุมชน” ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนโครงการ • ส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนอย่างแท้จริงในการจัดการปัญหาด้วยชุมชนและเพื่อชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง

  6. ความเป็นมา • จนส่งผลให้การบริหารจัดการโครงการมีระบบและมีการประชุมสภาผู้นำอย่างสม่ำเสมอเกิด “ชุมชนน่าอยู่ด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อม” • เช่น การจัดการขยะด้วยการเลี้ยงไส้เดือนดิน • จัดทำแผนที่ชุมชนเพื่อแสดงตำแหน่งครัวเรือนที่ปลูกผัก • ลดการใช้สารเคมีในการทำนา ค่าใช้จ่ายในการทำเกษตรลดลง • รวมถึงมาตรการลดการเผาฟางข้าวและซังข้าวโพดเพื่อลดปัญหาหมอกควัน • เกิด “ชุมชนลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ” • เช่น การทำน้ำดื่มสมุนไพรทดแทนการเลี้ยงสุราในงานศพ ใช้”รถเร่เลิกเหล้า” • เป็นกลยุทธ์ในการเข้าถึงพื้นที่ปลอดแอลกอฮอล์ มีการกำหนดกติกา ข้อตกลง และมาตรการของหมู่บ้านในการลดละเลิกเหล้าในงานบุญประเพณีต่าง ๆ มีร้านค้า/ผู้จำหน่ายบุหรี่ประกาศเป็นร้านค้าสีขาว ประชาชนลด ละ เลิกเหล้า จนทำให้ปัญหาต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชนมีแนวโน้มลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน

  7. วัตถุประสงค์ • เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาไปสู่ชุมชนและท้องถิ่นที่น่าอยู่โดยชุมชนผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบ ที่ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ กาย ใจ สังคม และ ปัญญา หรือในมิติใดมิติหนึ่ง

  8. คุณสมบัติของผู้เสนอโครงการคุณสมบัติของผู้เสนอโครงการ • ระดับหมู่บ้าน มีผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการอย่างน้อย 3-5 คน ประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้านหรือประธานชุมชน สมาชิก อบต. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ข้าราชการที่อยู่ในชุมชน หรือตัวแทนกลุ่มต่างๆ ในชุมชนที่มีอยู่เดิม เช่น กลุ่มออมทรัพย์ ชมรมผู้สูงอายุ หรือกลุ่มอื่นๆ เป็นองค์ประกอบหลักในการดำเนินโครงการ • คณะผู้รับผิดชอบโครงการต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในหมู่บ้าน หรือตำบลนั้นๆ มีความตั้งใจในการศึกษาดูงาน ความมุ่งมั่นอดทนในการพัฒนาโครงการ มีศักยภาพที่จะบริหารจัดการโครงการให้สำเร็จได้ และมีโครงสร้างการบริหารจัดการโครงการที่ชัดเจน

  9. คุณสมบัติของผู้เสนอโครงการคุณสมบัติของผู้เสนอโครงการ • ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการต้องมีคุณสมบัติ หรือองค์ประกอบดังนี้ • เป็นชุมชนที่มีความสนใจและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นของตนเองให้น่าอยู่ • เป็นชุมชนที่มีแนวโน้มจะเกิดสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งและมีแกนนำกลุ่มต่างๆ ในหมู่บ้าน โดยมีการบริหารจัดการด้วย 8 ก. ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนงานในชุมชน ได้แก่ • แกนนำ กลุ่ม/องค์กร • กัลยาณมิตร • กองทุน • การจัดการ • การเรียนรู้ • การสื่อสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ • กระบวนการพัฒนา • กฎกติกา/กฎระเบียบชุมชน

  10. คุณสมบัติของผู้เสนอโครงการคุณสมบัติของผู้เสนอโครงการ • เป็นชุมชนที่มีการประชุมหมู่บ้านอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยเดือนละครั้ง และมีการสำรวจข้อมูลพื้นฐานชุมชน เพื่อการจัดทำแผนชุมชน • แสดงให้เห็นทุนเดิมของชุมชน เช่น การทำประชาคมในชุมชน การรวมกลุ่มในชุมชน กองทุนหมู่บ้าน สวัสดิการชุมชน แหล่งเรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน เป็นต้น • เป็นชุมชนในพื้นที่ห่างไกล ด้อยโอกาส หรือยังไม่เคยได้รับทุนจาก สสส.

  11. คุณสมบัติของผู้เสนอโครงการคุณสมบัติของผู้เสนอโครงการ • เป็นชุมชนที่มีการประชุมหมู่บ้านอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยเดือนละครั้ง และมีการสำรวจข้อมูลพื้นฐานชุมชน เพื่อการจัดทำแผนชุมชน • แสดงให้เห็นทุนเดิมของชุมชน เช่น การทำประชาคมในชุมชน การรวมกลุ่มในชุมชน กองทุนหมู่บ้าน สวัสดิการชุมชน แหล่งเรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน เป็นต้น • เป็นชุมชนในพื้นที่ห่างไกล ด้อยโอกาส หรือยังไม่เคยได้รับทุนจาก สสส.

  12. ทุนสนับสนุน • ขั้นตอนการพิจารณาโครงการและการสนับสนุนโครงการ • ผู้สนใจเสนอโครงการตามแบบฟอร์ม “ข้อเสนอแนวคิดโครงการ” โดยขอให้แสดงรายละเอียดให้ชัดเจน และกิจกรรมต้องเชื่อมโยงกับการสร้างเสริมสุขภาพ โดยมุ่งที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่กำหนด • สสส. พิจารณาคัดเลือกข้อเสนอแนวคิดโครงการที่เข้าข่ายการสนับสนุนตามแนวทางที่กำหนด • ผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาข้อเสนอโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ให้ชัดเจนและสมบูรณ์ โดย สสส. สนับสนุนทุน • ในภูมิภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ (เน้นจังหวัดหนองบัวลำภู มุกดาหาร บึงกาฬ) กลาง ตะวันตก และตะวันออก (เน้นจังหวัดชลบุรี อุทัยธานี อ่างทอง สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ และนนทบุรี • สนับสนุนทุนชุมชนละ 1 โครงการ ๆ ละไม่เกิน 200,000 บาท ระยะเวลา 12-15 เดือน

  13. ระยะเวลาดำเนินการ

  14. แนวทางประเด็นที่ควรจัดทำโครงการชุมชนน่าอยู่แนวทางประเด็นที่ควรจัดทำโครงการชุมชนน่าอยู่ - เกิดการมีส่วนร่วม เกิดผู้นำแกนนำเข้มแข็ง- เกิดสภาพผู้นำชุมชน- เกิดกิจกรรมและทำร่วมกันในชุมชน- เกิดกลุ่มองค์กรร่วมพัฒนาในชุมชน - อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น- กลุ่มเครือข่ายปราชญ์ชุมชน- มีการถ่ายทอดองค์ความรู้- เกิดคลังความรู้ วัฒนธรรม ภูมิปัญญา- มีกิจกรรมสืบทอดงานบุญประเพณี- มีการรวบรวมข้อมูล ความสามัคคี แหล่งเรียนรู้ - กลุ่มอาชีพ, กลุ่มออมทรัพย์- มีการผลิตของใช้ในครัวเรือน- ลดต้นทุนการผลิตการทำเกษตร- กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง (ปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ ผลิตภัณฑ์) - ปลอดอุบัติเหตุ/ปลอดอบายมุข (เหล้า บุหรี่ การพนัน ยาเสพย์ติด)- ไม่มีขโมย- มีกลุ่มเครือข่ายเฝ้าระวังภัยในชุมชน ชุมชนน่าอยู่ ชุมชนปลอดภัย เศรษฐกิจพอเพียง สิ่งแวดล้อม ครอบครัวอบอุ่น อาหารปลอดภัย - ชุมชนตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม - กลุ่มอนุรักษ์ ดุแลสิ่งแวดล้อม- ขยะในชุมชนลดลง- เกิดกิจกรรมสร้างสรรค์/อนุรักษ์ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม- บ้านสะอาด ถนนน่ามอง น่าดู คลองสะอาด - ไม่มีการทะเลาะวิวาท- ดูแลผู้สูงอายุ- ปลูกฝังค่านิยมเด็กและเยาวชน- มีกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว- กติกาครัวเรือน- ครอบครัวปลอดเหล้า ปลอดบุหรี่ - ปลูกผักปลอดสารเคมี/ทำนาอินทรีย์- ประชาชนมีพฤติกรรมบริโภคอาหารที่ปลอดภัย

  15. ชุมชนน่าอยู่

  16. ยึดแนวคิด 3 ประการ • เป็นเรื่องที่ชาวบ้านอยากทำ • หรือสอดคล้องกับปัญหาของชุมชน • เวลาทำคนในชุมชนต้องมีส่วนร่วม • ผลที่เกิดต้องเป็นประโยชน์กับประชาชน ทั้งชุมชน

  17. ความใฝ่ฝัน /เป้าหมาย ๘ ๗ ๖ โครงการ สถานการณ์ปัจจุบัน

  18. หลักในการเขียน • ต้องมาจากสถานการณ์ปัญหา หรือสิ่งดีๆในพื้นที่ • กระบวนการดำเนินงานก่อน ระหว่าง หลัง โครงการต้องแสดงถึง การร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมทำ ร่วมติดตามประเมินผล และร่วมแก้ปัญหาของชุมชน • แสดงให้เห็นถึงผู้รับประโยชน์จากผลที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน • ผลสำเร็จของโครงการแสดงให้เห็นเป็นรูปธรรมและมีหลักฐานเชิงประจักษ์

  19. ข้อควรระวัง • คิดแทน ครอบงำ ทำให้ • เกิดจาก คน ๆ เดียว หรือ คนนอกชุมชน • ไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่าง ปัญหา สาเหตุ วัตถุประสงค์ การดำเนินงาน • บอกไม่ได้ว่า อะไรคือความสำเร็จ • และความสำเร็จนั้นเกิดประโยชน์อะไรกับชุมชน • สุดท้าย ความสำเร็จที่เกิดช่วยแก้ปัญหาที่มีอยู่ของชุมชนได้หรือไม่

  20. โครงการชุมชนน่าอยู่ • suwatnk@gmail.com • 0815922444 • peerewat22@windowslive.com • 0810747037 • นายพีรวัฒน์ คิดกล้าโครงการชุมชนน่าอยู่ • ที่อยู่  88 หมู่ 3  ตำบลท่าสว่าง • อำเภอเมืองสุรินทร์จังหวัดสุรินทร์ • นายสุวัฒน์ คุรุวาสี • 31 หมู่ 11 บ้านปากปวน ตำบลปากปวน • อ.วังสะพุง จ. เลย • 42130 • โครงการชุมชนน่าอยู่ • สำนักสร้างสรรค์นวัตกรรมและโอกาส ( สำนัก6 ) • 99/8ซอยงามดูพลี อาคารศูนย์เรียนรู้สู่สุขภาวะ • เขตสาทร • กทม • 10120

  21. การส่งโครงการ • โครงการเปิดรับทั่วไป • สำนักสร้างสรรค์นวัตกรรมและโอกาส ( สำนัก6 ) • 99/8 ซอยงามดูพลี อาคารศูนย์เรียนรู้สู่สุขภสวะ • เขตสาทร • กทม • 10120

More Related