1 / 36

โดย ครูนวรัตน์ วิบูลย์พันธุ์

โดย ครูนวรัตน์ วิบูลย์พันธุ์. การควบคุมสินค้า. การควบคุมภายในเกี่ยวกับสินค้า. 1. มีผู้รับผิดชอบใบคลังสินค้าแต่ละแห่งอย่างชัดเจน และมีการอนุมัติเบิกจ่าย รับคืนหรือส่งคืน 2. มีระบบการรักษาความปลอดภัยอย่างดีพอ

Download Presentation

โดย ครูนวรัตน์ วิบูลย์พันธุ์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โดยครูนวรัตน์ วิบูลย์พันธุ์ การควบคุมสินค้า

  2. การควบคุมภายในเกี่ยวกับสินค้าการควบคุมภายในเกี่ยวกับสินค้า 1.มีผู้รับผิดชอบใบคลังสินค้าแต่ละแห่งอย่างชัดเจน และมีการอนุมัติเบิกจ่าย รับคืนหรือส่งคืน 2. มีระบบการรักษาความปลอดภัยอย่างดีพอ 3. มีทะเบียนหรือบัตรบันทึกการรับจ่ายสินค้า ใบเบิกสินค้า ใบรับสินค้า ใบคืน ใบยืมสินค้า 4. การตรวจนับสินค้าคงเหลือย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง 5. การบันทึกและจัดทำรายงานสินค้าชำรุดเสียหาย เสื่อมสภาพหรือล้าสมัย

  3. การควบคุมภายในเกี่ยวกับสินค้าการควบคุมภายในเกี่ยวกับสินค้า 6. การส่งสินค้าไปฝากขายให้จัดทำรายงานแยกต่างหากเพื่อควบคุมสินค้าที่ส่งไปฝากขาย 7. ตัดสต๊อกสินค้า 8. แยกหน้าที่ของผู้ตรวจนับสินค้ากับผู้จัดทำเอกสารเบิกจ่ายเป็นคนละคน 9. การตรวจนับ

  4. การควบคุมในการดำเนินงานการควบคุมในการดำเนินงาน • การควบคุมในการดำเนินงาน (Operation Control) 1.การขออนุมัติซื้อ 2. การสั่งซื้อ 3. การรับสินค้า 4. การเก็บรักษา 5. การเบิกจ่าย

  5. การขออนุมัติซื้อ การขออนุมัติซื้อ จะเริ่มจากพนักงานผู้รับผิดชอบในการควบคุมแจ้งให้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้ออ้างถึงปริมาณสินค้าคงเหลือ และความต้องการในการ สั่งซื้อเพิ่ม โดยจะต้องจัดทำใบขอซื้อ (Purchase Requisition) แบบฟอร์มใบขอซื้อ ควรจัดทำ 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 ส่งให้แผนกซื้อ เพื่อดำเนินการ ฉบับที่ 2 ส่งให้แผนกบัญชี ฉบับที่ 3 ผู้ขอซื้อเก็บไว้เป็นหลักฐาน

  6. การสั่งซื้อ การสั่งซื้อ เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว ฝ่ายจัดซื้อจะทำการสอบถามราคา จากผู้ขายหลาย ๆ ราย เพื่อนำราคามาเปรียบเทียบราคาที่เหมาะสม เลือกผู้ขายแล้วจึงจัดทำใบสั่งซื้อ (Purchase Order) แบบฟอร์มใบสั่งซื้อ จัดทำ 5 ฉบับ ฉบับที่ 1 ส่งไปให้ผู้ขาย ฉบับที่ 2 เก็บไว้ที่แผนกจัดซื้อ

  7. การสั่งซื้อ ฉบับที่ 3 ส่งให้แผนกรับสินค้า เพื่อตรวจสอบกับจำนวนของที่ ผู้ขายส่งมา ฉบับที่ 4 ส่งไปให้แผนกขอจัดซื้อ ฉบับที่ 5 ส่งแผนกบัญชี เพื่อตรวจสอบกับใบกำกับสินค้าที่ผู้ขาย ส่งมา

  8. การรับสินค้า การรับสินค้า เมื่อผู้ขายได้จัดส่งสินค้ามาให้ตามใบสั่งซื้อ เจ้าหน้าที่ แผนกรับสินค้าจะตรวจสอบปริมาณและคุณภาพตรงตามใบสั่งซื้อหรือไม่ เมื่อแผนกรับสินค้าตรวจนับเรียบร้อยแล้ว ก็จะจัดทำใบรับของ (Receiving Report) แบบฟอร์มใบรับสินค้าควรจัดทำ 5 ฉบับ

  9. การรับสินค้า ฉบับที่ 1 ส่งไปให้แผนกจัดซื้อ เพื่อตรวจสอบกับใบสั่งซื้อ ฉบับที่ 2 ส่งไปให้แผนกคลังสินค้าพร้อมกับปริมาณสินค้าที่ได้รับ ฉบับที่ 3 เก็บไว้แผนกรับสินค้า ฉบับที่ 4 ส่งแผนกบัญชีเจ้าหนี้ เพื่อตรวจสอบกับใบสั่งซื้อและ ใบกำกับสินค้า ฉบับที่ 5 ส่งแผนกบัญชีสินค้า เพื่อบันทึกบัญชี

  10. การเก็บรักษาสินค้า การเก็บรักษาสินค้า เมื่อแผนกรับสินค้าได้ตรวจสอบเรียบร้อยแล้วก็จะส่ง มอบสินค้าให้แก่แผนกคลังสินค้า (Stores Keeper) เป็นผู้รับผิดชอบใน การดูแลสินค้าและอำนวยความสะดวกแก่ผู้เบิกจ่าย โดยปกติแผนก คลังสินค้าจะทำบัตรประจำสินค้า (Bin Card หรือ Stock Card) เพื่อบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า บัตรประจำสินค้า 1 ใบต่อ สินค้า 1 ชนิด

  11. การเบิกจ่ายสินค้า การเบิกจ่าย เมื่อแผนกใดต้องการเบิกสินค้าจะต้องจัดทำใบเบิกสินค้าขึ้นมา แผนกคลังสินค้าก็จะควบคุมอย่างรัดกุม โดยให้แผนกที่ต้องการสินค้าต้อง ทำใบเบิกสินค้าอย่างน้อย 4 ฉบับและควรจะเป็นสีที่แตกต่างกัน โดยจัดส่งให้แผนกต่าง ๆ ดังนี้

  12. การเบิกจ่ายสินค้า ฉบับที่ 1 แผนกคลังสินค้าจัดเก็บไว้ เพื่อบันทึกลงในบัตรประจำสินค้า ฉบับที่ 2 ส่งให้แผนกบัญชีสินค้า เพื่อบันทึกในทะเบียนสินค้า ฉบับที่ 3 แผนกคลังสินค้าคืนให้แผนกที่ขอเบิกหลังจากรับสินค้าแล้ว ฉบับที่ 4 แผนกที่ขอเบิกเก็บไว้เป็นหลักฐาน

  13. การควบคุมทางบัญชี การควบคุมทางบัญชี (Accounting Control) โดยการจัดทำบัญชีสินค้า ซึ่งเป็นบัญชีอีกชุดหนึ่งแยกจากบัญชีการเงิน ประกอบด้วย 1. ทะเบียนรับสินค้า 2. ทะเบียนจ่ายสินค้า 3. บัญชีแยกประเภทสินค้า

  14. ทะเบียนรับสินค้า ทะเบียนรับสินค้าใช้สำหรับลงรายการรับสินค้าหรือซื้อสินค้าเข้ามา จดบันทึกเรียงตามลำดับวันที่ หลักฐานที่นำมาลงทะเบียนรับสินค้า คือ ใบรับของและใบคืนของรวมยอดสินค้าที่รับในวันสิ้นเดือน เพื่อนำยอดรวมไปตรวจสอบความถูกต้องกับบัญชีการเงิน

  15. ทะเบียนจ่ายสินค้า ทะเบียนจ่ายสินค้า ใช้ลงรายการจ่ายสินค้าหรือเบิกสินค้า การลงรายการ เรียงตามลำดับวันที่การเบิกจ่ายของใช้วิธีซื้อก่อน – ขายก่อน การจัดทำ ทะเบียนจ่ายสินค้าแบบฟอร์มจะมีลักษณะคล้ายทะเบียนรับสินค้า

  16. บัญชีแยกประเภทสินค้า บัญชีแยกประเภทสินค้า เมื่อได้มีการบันทึกใบทะเบียนรับ – จ่ายสินค้า จะผ่านรายการจากทะเบียนรับสินค้าและทะเบียนจ่ายสินค้าไปยังบัญชี แยกประเภทสินค้า สมุดบัญชีเล่มนี้ใช้สำหรับคุมยอดสินค้าแต่ละชนิด แต่ละประเภทและจะแสดงยอดคงเหลือเพื่อให้ทราบว่ามีสินค้าคงเหลือ จำนวนเท่าใด

  17. การจัดทำบัญชีสินค้า แผนกบัญชีสินค้าจะบันทึกบัญชีสินค้าและจัดทำทะเบียนสินค้า จึงต้อง จัดทำแบบฟอร์มเพื่อใช้ในการบันทึกเกี่ยวกับการรับ – จ่ายสินค้า โดยจะต้องจัดทำแบบฟอร์มให้เป็นไปตามประกาศกรมทะเบียนการค้า พ.ศ. 2544 สินค้ารับ และการลงรายการในบัญชีสินค้า ลงรายการให้ เสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันสิ้นเดือน

  18. การจัดทำบัญชีสินค้า การกำหนดจำนวนอย่างสูง (Maximum Limit)ซึ่งกิจการกำหนดจาก ความต้องการของลูกค้าโดยกำหนดจากยอดขายนั้นเองกิจการไม่ควรตั้ง จำนวนสูงไว้มากเกินไป เพราะนอกจากจะทำให้เกิดทุนจมแล้วอาจส่งผล ต่อสินค้าเสื่อมคุณภาพ ล้าสมัย และเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาจำนวน สินค้าอย่างสูง = จำนวนสินค้าอย่างต่ำ + ปริมาณการสั่งซื้อ

  19. วิธีการควบคุมปริมาณสินค้าวิธีการควบคุมปริมาณสินค้า การกำหนดจำนวนอย่างต่ำ (Minimum Limit) กิจการกำหนดปริมาณสินค้า จะต้องมีไว้ในคลังสินค้า เพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าขาดมือหรือมีไม่พอขาย ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานของกิจการหยุดชะงักและสูญเสียลูกค้าได้

  20. วิธีการควบคุมปริมาณสินค้าวิธีการควบคุมปริมาณสินค้า จำนวนสินค้าที่กิจการต้องมีไว้อย่างต่ำ (Safety Stock) คือ ปริมาณสินค้า จำนวนอย่างต่ำที่กิจการมีไว้เพื่อป้องกันสินค้าขาดมือหรือมีไม่พอขาย กิจการต้องประเมินความต้องการซื้อสินค้าของลูกค้าและระยะเวลาสั่งซื้อ จำนวนสินค้าขั้นต่ำมีไว้เพื่อความปลอดภัย = อัตราการขายต่อวัน ×ระยะเวลาที่ ต้องการสำรองสินค้า

  21. ระยะเวลาในการสั่งซื้อระยะเวลาในการสั่งซื้อ ระยะเวลาในการสั่งซื้อ (Lead Time) คือ ระยะเวลานับตั้งแต่กิจการซื้อ จนกระทั่งรับสินค้าเข้าคลังสินค้า ระยะเวลาในการสั่งซื้อจะมีผลต่อ ปริมาณสินค้าคงเหลือ ถ้ากิจการใช้ระยะเวลาในการสั่งซื้อหลายวัน กิจการจำเป็นต้องรักษาสินค้าขั้นต่ำไว้มากกว่าการใช้ระยะเวลาในการ สั่งซื้อน้อยวัน

  22. จุดสั่งซื้อ จุดสั่งซื้อ (Reorder Point) คือ จุดที่กิจการเริ่มสั่งซื้อสินค้าเข้ามาใหม่ ส่วนที่ปริมาณจะเหลือเท่ากับจำนวนอย่างต่ำ จุดสั่งซื้อ = จำนวนสินค้าอย่างต่ำ + จำนวนสินค้าที่ใช้ระหว่างรอ การสั่งซื้อและรับของ

  23. ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด (Economic Ordering Quantity) คือ ปริมาณสินค้าคงเหลือที่กิจการควรจะมีไว้ในระดับใดจึงประหยัดที่สุด โดย ต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อและค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา

  24. ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด E O Q= S= จำนวนสินค้าที่ขายตลอดงวด O= ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อต่อครั้ง C= ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาต่อหน่วย

  25. ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด ตัวอย่างกิจการใช้ระบบการควบคุมการสั่งซื้อที่ประหยัด คาดว่าจะขาย สินค้าได้ 3,000 หน่วย ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อต่อครั้ง 500 บาท ค่าใช้จ่ายสนการเก็บรักษา 12 บาท ต่อหน่วย จงคำนวณปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด

  26. ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด E O Q= = = 500 หน่วย

  27. ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด จำนวนครั้งของการสั่งซื้อ =ปริมาณซื้อ ปริมาณขาย = 3,000 5 = 6 จำนวนครั้งของการสั่งซื้อ 6 ครั้ง ต่อปี

  28. ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด ระยะเวลาการสั่งซื้อ=จำนวนวันใน 1 ปี จำนวนครั้งที่สั่งซื้อ =365 6 = 60.83 วัน ระยะเวลาการสั่งซื้อ 61 วัน

  29. การคำนวณจุดสั่งซื้อ ตัวอย่าง กิจการกำหนดจำนวนอย่างสูงของสินค้าไว้ 500 หน่วย จำนวนอย่างต่ำ 100 หน่วย ปริมาณสินค้าที่ใช้ระหว่างรอการสั่งซื้อและ รับของ 50 หน่วย ปริมาณการสั่งซื้อมาตรฐานครั้งละ 400 หน่วย จุดสั่งซื้อ = 100 + 50 = 150 หน่วย

  30. การคำนวณจุดสั่งซื้อ ตัวอย่าง กิจการใช้สินค้าเดือนละ 200 หน่วย ระยะเวลาในการสั่งซื้อ 1 เดือน กำหนดจำนวนอย่างต่ำของสินค้าไว้ 100 หน่วย จุดสั่งซื้อ = จำนวนสินค้าอย่างต่ำ + (Lead Time × อัตราการใช้ ต่อเดือน) = 100 + (1 × 200) = 300 หน่วย

  31. รหัสแท่ง (Bar Code )

  32. รหัสแท่ง (Bar Code ) ประเภทของ บาร์โค้ด 1. โค้ดภายใน (Internal Code) เป็นบาร์โค้ดที่ทำขึ้นใช้เองในองค์กรต่าง ๆ ไม่สามารถนำออกไปใช้ภายนอกได้ 2. โค้ดมาตรฐานสากล (Standard Code) เป็นบาร์โค้ดที่เป็นที่รู้จัก และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก มี 2 ระบบ คือ

  33. รหัสแท่ง (Bar Code ) ระบบ EAN (European Article Numbering) เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2519 มีประเทศต่าง ๆ ใช้มากกว่า 90 ประเทศทั่วโลก ในภาคพื้นยุโรป เอเชีย และแปซิฟิก, ออสเตรเลีย, ลาติน อเมริกา รวมทั้งประเทศไทย ทั้งนี้ EAN มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม

  34. รหัสแท่ง (Bar Code ) ระบบ UPC (Universal Product Code) เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2515 ซึ่งกำหนด มาตรฐานโดย Uniform Code Council.Inc ใช้แพร่หลายในประเทศ สหรัฐอเมริกา และ แคนาดา

  35. รหัสแท่ง (Bar Code ) สำหรับบาร์โค้ดในประเทศไทยเริ่มนำมาใช้อย่างจริงจัง โดยมีสถาบัน สัญลักษณ์รหัสแท่งไทย (Thai Article Numbering Council) หรือ TANC เป็นองค์กรตัวแทน EAN ภายใต้การดูแลของสภาอุตสาหกรรมกรรมแห่ง ประเทศไทย ทั้งนี้ ระบบ EAN ที่ประเทศไทยใช้นั้นจะมีลักษณะเป็นเลขชุด 13 หลัก ซึ่งมีความหมายดังนี้

  36. รหัสแท่ง (Bar Code ) 885 : ตัวเลข 3 หลักแรก คือรหัสของประเทศไทย          xxxx : ตัวเลข 4 ตัวถัดมา เป็นรหัสโรงงานที่ผลิต หรือรหัสสมาชิก          xxxxx : 5 ตัวถัดมา เป็นรหัสสินค้า x : ตัวเลขหลักสุดท้ายเป็นตัวเลขตรวจสอบ เลข 12 ข้างหน้าว่ากำหนดถูกต้องหรือไม่ ถ้าตัวสุดท้ายผิด บาร์โค้ดตัวนั้นจะอ่านไม่ออก สื่อความหมายไม่ได้ แหล่งที่มา  htpp://www.learning. eduzones.com/ racchidlom/34667 : 2553

More Related