1 / 105

จัดทำโดย . นางสาว วิทิ ตา สุขทั่วญาติ

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง อารย ธรรม กรีก. จัดทำโดย . นางสาว วิทิ ตา สุขทั่วญาติ. อธิบายลักษณะของ อารย ธรรม กรีก ในด้านต่างๆ และการแพร่ขยาย ของ อารย ธรรม กรีก ได้ . ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง. สารบัญ อารย ธรรม กรีก. คลิกตามหัวข้อที่ต้องการศึกษา. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์กับการตั้งถิ่นฐาน.

ardice
Download Presentation

จัดทำโดย . นางสาว วิทิ ตา สุขทั่วญาติ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง อารยธรรมกรีก จัดทำโดย. นางสาววิทิตา สุขทั่วญาติ

  2. อธิบายลักษณะของอารยธรรมกรีกในด้านต่างๆ และการแพร่ขยายของอารยธรรมกรีกได้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

  3. สารบัญอารยธรรมกรีก คลิกตามหัวข้อที่ต้องการศึกษา • ปัจจัยทางภูมิศาสตร์กับการตั้งถิ่นฐาน • อารยธรรมกรีกสมัยก่อนประวัติศาสตร์ • อารยธรรมกรีกสมัยประวัติศาสตร์ • มรดกทางวัฒนธรรมของอารยธรรมกรีก • แบบทดสอบ

  4. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์กับการตั้งถิ่นฐานปัจจัยทางภูมิศาสตร์กับการตั้งถิ่นฐาน จัดทำโดย. นางสาววิทิตา สุขทั่วญาติ

  5. อารยธรรมกรีก ชาวกรีกเป็นชาวอารยันหรือชาวอินโดยูโรเปียน เดินทางมาจากถิ่นเดิมทางตอนเหนือ เมื่อประมาฯ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งอีกพวกหนึ่งเดินทางไปยังตะวันออกคืออินเดีย กรีกดินทางมาทางตะวันตก ผ่านที่ราบอันกว้างใหญ่ทางตอนใต้ของรุสเซียลงสู่แหลมบอลข่าน และเข้ามาตั้งรกรากบริเวณคาบสมุทรในปัจจุบันเรียกว่า กรีซ ชาวกรีกโบราณเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในคุณค่าของมนุษย์ในฐานะปัจเจกชน และเชื่อว่ามนุษย์นั้นมีเกียรติและควรแก่การยกย่องด้วยค่าของความเป็นมนุษย์ ในขณะที่บ้านเมืองทางตะวันออกซึ่งขณะนั้นปกครองด้วยระบอบเอกาธิปไตยที่มีกษัตริย์หรือจักรพรรดิผู้ทรงมีอำนาจเด็ดขาด กรีกได้หล่อหลอมความเชื่อมั่นว่า มนุษย์จะต้องได้รับการยกย่องความสามารถด้วยตนเอง มิใช่ฐานะที่เป็นกลไกของเจ้าเหนือหัวผู้ทรงอำนาจ

  6. แผนที่กรีก

  7. แผนที่แสดงเขตการปกครองของกรีกแผนที่แสดงเขตการปกครองของกรีก 1. อัตติกะ(Attica) 2. เซนทรัลกรีซ(Central Greece) 3. เซนทรัลมาซิโดเนีย(Central Macedonia) 4. ครีต(Crete) 5. อีสต์มาซิโดเนียและเทรซ(East Macedonia and Thrace) 6. อีไพรัส (Epirus) 7. ไอโอเนียนไอแลนล์ (Ionian Islands) 8. นอร์ทอีเจียน (North Aegean) 9. เพโลพอนนีส(Peloponnese) 10. เซาท์อีเจียน(South Aegean) 11. เทสซาลี (Thessaly) 12. เวสต์กรีซ(West Greece) 13.เวสต์มาซิโดเนีย(West Macedonia)

  8. อารยธรรมกรีก อารยธรรมของกรีก (ประเทศกรีซในปัจจุบัน) มีวิวัฒนาการมาหลายช่วงเวลาเช่นกันกับอารยธรรมอื่นๆ เช่นกัน โดยเริ่มมาตั้งแต่อารยธรรมมิโนน (Minoan), อารยธรรมไมซีเนียน (Mycenaean), ยุคมืด, ยุคนครรัฐ (City-Sates) และเข้าสู่ช่วงสุดท้ายภายใต้อาณาจักรมาเซโดเนียและพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ซึ่งเป็นช่วงที่วัฒนธรรมกรีกได้ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางผสมผสานกับวัฒนธรรมอื่นๆ จนถึงบริเวณที่เป็นประเทศอินเดีย (บางส่วน) และประเทศปากีสถานในปัจจุบัน ปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อการพัฒนาการของอารยธรรมของกรีก คือ สภาพทางภูมิศาสตร์ โดยที่กรีกนั้นประกอบด้วยเกาะเล็กๆ ซึ่งถูกแบ่งออกโดยทะเลและภูเขา

  9. อารยธรรมกรีก ปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อการพัฒนาการของอารยธรรมของกรีก คือ สภาพทางภูมิศาสตร์ โดยที่กรีกนั้นประกอบด้วยเกาะเล็กๆ ซึ่งถูกแบ่งออกโดยทะเลและภูเขา สภาพพื้นที่เป็นภูเขาช่วยแบ่งแยกให้ชุมชนตามเกาะต่างๆ พัฒนาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมเป็นของเฉพาะตนเองขึ้นมา ซึ่งได้สร้างความแตกต่างอันนำมาสู่การพุ่งรบกันเพื่อให้ตนเองเหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งจะนำมาสู่ความอ่อนแอและการล่มสลายของกรีกในที่สุด และด้วยสภาพของพื้นที่ๆ มีขนาดไม่กว้างขวาง ทำให้กรีกสามารถที่จะพัฒนาระบบการเมืองแบบมีส่วนร่วมขึ้นมา ซึ่งเรียกว่า ประชาธิปไตย

  10. อารยธรรมกรีก 1. เขตเพลอปปอนเนซุส (Peloponnesus) 2. เขตแอติกา (Attica) 3. เขตบิโอเชีย (Boeotia) 4. เขตเติสซาลี (Thessaly) 5. เขตมาเซโดเนีย (Macedonia) แผนที่กำเนิดอารยธรรมกรีก

  11. อารยธรรมกรีกสมัยก่อนประวัติศาสตร์อารยธรรมกรีกสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จัดทำโดย. นางสาววิทิตา สุขทั่วญาติ

  12. อารยธรรมมิโนนครีต (Minoan Crete) จัดทำโดย. นางสาววิทิตา สุขทั่วญาติ

  13. อารยธรรมมิโนนครีต อารยธรรมมิโนน หรือมิโนนครีต (Minoan Crete) เป็นอารยธรรมโบราณแห่งหนึ่งซึ่งเชื่อว่ามีช่วงระยะเวลา 2800 ถึง 1100 ปี ก่อนคริสตกาล มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่เกาะครีต (Crete) บนคาบสมุทรเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Sea) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรีกแผ่นดินใหญ่ อารยธรรมแห่งนี้ถูกจัดให้อยู่ในอารยธรรมยุคโลหะสำริด (Bronze Age) (ทั้งนี้เพราะใช้โลหะ โดยเฉพาะทองแดงในการทำอาวุธ) ภาพถ่ายทางอากาศแหล่งขุดค้น พบทางโบราณคดีที่เรียกว่า นาสซัส (Knossos) บนเกาะครีต

  14. อารยธรรมมิโนนครีต ในปี พ.ศ. 2443 นักโบราณคดี เซอร์อาร์เธอร์ อีวาน พบจารึกแผ่นดินเหนียวจำนวนมาก ซึ่งเขียนด้วยเครื่องหมายแปลกๆ ที่นอสซอส เกาะครีท อีวานส์เชื่อว่า เขาค้นพบพระราชวังของพระเจ้าไมเนอร์ และเขาวงกตแห่งไมนอร์ทัว เขาจึงตั้งชื่อภาษาและจารึกนั้นว่าไมนวน เขาพยายามถอดความจารึกเหล่านั้น แต่ทำได้น้อยมาก เขาตั้งสมมติฐานว่า ในจารึกมีระบบการเขียนที่แตกต่างกัน 3 ระบบ คือ อักษรเฮียโรกลิฟฟิก อักษรไลเนียร์เอและอักษรไลเนียร์บี อักษรเฮียโรกลิฟฟิก ปรากฏเฉพาะส่วนที่เป็นตราประทับ และพอจะถอดความได้บ้าง อักษรไลเนียร์เอยังถอดความไม่ได้ แต่น่าจะมาจากอักษรเฮียโรกลิฟฟิก อักษรไลเนียร์บีน่าจะมาจากอักษรไลเนียร์เอ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างอักษรทั้งสอง ยังไม่ชัดเจน อักษรไลเนียร์บี

  15. อารยธรรมมิโนนครีต ความเจริญรุ่งเรืองของอารยธรรมแห่งนี้ จะเห็นได้จากซากทางโบราณคดีที่ได้รับการขุดค้นพบ โดยเฉพาะในแหล่งสำคัญที่เรียกว่า นาสซัส (Knossos) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมแห่งนี้ นอกจากนี้ จากการขุดค้นพบป้อมทางทหารที่เป็นกำแพงเมืองเพื่อการป้องกันตนเองมีจำนวนน้อย อาวุธก็ถูกค้นพบในจำนวนน้อย ทำให้เชื่อกันว่าอาณาจักรครีตน่าจะมีกองทัพเรือที่เข้มแข็งมากกว่า และนอกจากนั้น จากหลักฐานที่ค้นพบ

  16. อารยธรรมมิโนนครีต ทำให้เชื่อได้ว่าชาวเกาะครีตมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดีต่อการเดินทางโดยเรือในทะเล และทำการติดต่อกับอาณาจักรที่เจริญกว่าอย่างอียิปต์ ทั้งนี้จากการค้นพบผลิตภัณฑ์ของชาวครีตที่อียิปต์และขณะเดียวกันก็พบเจอผลิตภัณฑ์ของชาวอียิปต์ที่เกาะครีตเช่นกัน นอกจากนี้ ก็ยังส่งอิทธิพลต่อชุมชนที่พูดภาษากรีกในพื้นที่ๆ เป็นแผ่นดินใหญ่ด้วย

  17. อารยธรรมมิโนนครีต ภายในพระราชวังที่ขุดค้นพบ อารยธรรมมิโนนเจริญรุ่งเรืองสุดในช่วงปี 2000 ถึงปี 1450 ก่อนคริสตศักราช ดังจะเห็นได้จากพระราชวังต่างๆ (มีพระราชวังขนาดเล็กๆ ในพระราชวังขนาดใหญ่) โดยเฉพาะที่แหล่งขุดค้นที่เรียกว่า Knossusภายในพระราชวังพบพระที่นั่งของกษัตริย์ มีห้องส่วนตัวของสมาชิกในราชวงศ์มากมาย ห้องสำหรับการทำแจกันและตกแต่ง รูปปั้นทำจากงาช้างขนาดเล็ก (Ivory figurines) เครื่องประดับเพชรพลอย (Jewelry) ในห้องน้ำมีท่อส่งน้ำที่ทำอย่างประณีต และมีโครงสร้างที่ซับซ้อน ภาพวาดตามผนังห้อง (fresco) ที่แสดงกิจกรรมด้านกีฬา ซึ่งทำให้มีข้อสมมุติฐานว่าชาวเกาะครีตเป็นผู้ที่รักธรรมชาติอย่างมาก

  18. กรีกไมเซเนียน (Mycenaean Greeks) จัดทำโดย. นางสาววิทิตา สุขทั่วญาติ

  19. กรีกไมเซเนียน อาณาเขตมาเซโดเนีย ประตู Lion Gate คำว่าไมเซเนียน มาจากคำว่า ไมเซเน (Mycenae) ซึ่งเป็นแหล่งที่มีการขุดค้นพบทางโบราณคดีที่สำคัญ และเชื่อว่าเป็นศูนย์กลางความรุ่งเรืองของอารยธรรมไมเซเนียนนี้ อารยธรรมแห่งนี้ได้รับการค้นพบโดยนักโบราณคดีชาวเยอรมันที่เชื่อว่า Heinrich Schliemann (ความจริงนักโบราณคดีกรีกที่ชื่อว่า Pittakisเป็นคนลงมือขุดเป็นคนแรกในปี 1841 ซึ่งพบประตูที่เรียกว่า Lion Gate และทำการบูรณะใหม่ และ Heinrich Schliemann ได้สำรวจค้นต่อมาจนสำเร็จในปี 1874)

  20. กรีกไมเซเนียน Treasury of Atreus เป็นหลุมฝังศพทรงกลม ที่ไมซีเนียน อารยธรรมแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองอย่างมากในระหว่างปี 1400 - 1200 ก่อนคริสตศักราช ซึ่งประกอบด้วยเมืองหลักๆ 5 เมือง คือ 1. เมืองไมซีนี (Mycenae) 2. เมืองเทียรินซ์ (Tiryns) 3. เมืองพีลอส (Pylos) 4. เมืองตีบซ์ (Thebes) 5.เมืองออร์โคเมนัส (Orchomenos)

  21. กรีกไมเซเนียน พระเจ้าฟิลิป  ที่ 2 ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไมซีนี ทั้งนี้โครงสร้างของการเมืองการปกครองเป็นแบบกษัตริย์ที่ทรงอำนาจ มีที่พำนักอยู่ตามพระราชวังที่ล้อมรอบด้วยกำแพงขนาดใหญ่ สร้างอยู่ตามเนินเขา สันนิษฐานว่าเมืองศูนย์กลางอำนาจเหล่านี้น่าจะรวมตัวกันอย่างหลวมๆ โดยแต่ละเมืองก็มีความเป็นอิสระในการปกครองตนเองด้วย แต่โดยที่เมืองไมซีนีมีความเข้มแข็งมากที่สุด

  22. กรีกไมเซเนียน ชาวไมเซเนียนนี้เป็นชนชาตินักรบ ซึ่งมีความภูมิใจในวีรกรรมการรบของตนเอง และนอกจากนี้หลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบยังชี้ให้เห็นว่ามีโครงข่ายของกิจกรรมการค้าขยายอย่างกว้างขวางในอารยธรรมแห่งนี้ ดังจะเห็นได้จากเครื่องดินเผา (Pottery) ของไมเซเนียน ได้ถูกพบอยู่ทั่วไปบริเวนคาบสมุทรเมดิเตอเรเนียน เช่นในซีเรียและอียิปต์ (ทางตะวันออกของไมเซเนีย) ซิซิลีและทางตอนใต้ของอิตาลี (ทางตะวันตกของไมเซเนีย) เครื่องยิง เครื่องขว้างก้อนหิน

  23. อารยธรรมกรีกสมัยประวัติศาสตร์อารยธรรมกรีกสมัยประวัติศาสตร์ จัดทำโดย. นางสาววิทิตา สุขทั่วญาติ

  24. อารยธรรมกรีก ยุคนครรัฐ (City States) จัดทำโดย. นางสาววิทิตา สุขทั่วญาติ

  25. กรีกยุคนครรัฐ (City States) กรีกยุคนครรัฐ (City States) คือช่วงเวลาตั้งแต่ 750-500 ปี ก่อนคริสตกาล ลักษณะสำคัญของอารยธรรมกรีกในช่วงเวลานี้ คือ การพัฒนาระบบการเมืองการปกครองที่เรียกว่า Polis ขึ้นมาเป็นศูนย์กลางของสังคม และการขยายอิทธิพลเข้าไปสร้างอาณานิคมในพื้นที่บริเวณทะเลเมติเตอเรเนียนและทะเลดำ

  26. การปกครองแบบพาลิส ลักษณะการเมืองการปกครองแบบพาลิส (Polis) หรือ (Poleis) ได้กลายเป็นสถาบันรากฐานของสังคมกรีกในช่วงเวลานี้ ลักษณะของพาลิสเป็นเหมือนกับหน่วยทางการเมืองปกครองตนเอง (เป็นชุมชนที่จัดการปกครองตนเอง) ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของเมือง หรือหมู่บ้าน และมีชนบทล้อมรอบ ซึ่งภายในแต่ละพาลิสแต่ละแห่งจะมีเมือง หรือหมู่บ้านเป็นศูนย์กลางที่พลเมืองมารวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมทางการเมือง สังคม และศาสนา (ระบบพาลิสของกรีกซึ่งแตกต่างจากอารยธรรมอื่นๆ เช่นของอียิปต์ ซึ่งมีผู้ปกครองเพียงคนเดียวเป็นศูนย์กลางอำนาจในการปกครองที่เรียกว่าจักรพรรดิ)

  27. เมืองเอเธนส์ พาลิสบางแห่งตั้งอยู่บนเนินเขา เช่น Acropolis ในเมืองเอเธนส์ ซึ่งเป็นสถานที่ในการอพยพหลบภัยในกรณีที่ถูกโจมตีจากฝ่ายตรงข้าม บางแห่งเป็นศูนย์กลางทางศาสนา ซึ่งมีการสร้างวัดหรืออนุสาวรีย์สาธารณะขึ้นมา และเบื้องล่างของโพลิส จะเป็นที่โล่งที่เรียกว่า Agora ซึ่งเป็นสถานที่ๆ พลเมืองของโพลิสมารวมตัวกันและเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนค้าขายติดต่อกัน ขนาดของโพลิสแต่ละแห่งมีความแตกต่างกันทางพื้นที่ตั้งแต่ 2-3 ตารางไมล์ จนกระทั่งเป็น 100 ตารางไมล์ ที่มีขนาดใหญ่นั้นเกิดจากการรวมตัวกันของหลายๆ พาลิส เช่น ในเขตแอติกานั้นเดิมประกอบด้วย 12 พาลิส แต่ต่อมาได้รวมเป็นพาลิสเดียว ที่เรียกว่า เอเธนส์

  28. ปกครองแบบนครรัฐ สภาพการเมืองการปกครองในลักษณะเช่นนี้ จึงมีการเรียกว่าการปกครองแบบนครรัฐ (City- State) ทั้งนี้เพราะแต่ละเมืองมีความเป็นอิสระในการปกครองตนเองไม่ขึ้นอยู่กับเมืองอื่นๆ ใด ในแต่ละโพลิสประกอบด้วยคนที่เป็น พลเมือง (Citizen) ผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งในทางการเมือง อันได้แก่ผู้ชายที่มีอายุ 20 ปี พลเมืองที่ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งได้แก่ผู้หญิงและเด็ก โดยพลเมืองทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐาน (fundamental right) ซึ่งคู่ขนานไปกับการมีหน้าที่ และคนที่ไม่ได้เป็นพลเมือง อันได้แก่ ทาสและชาวต่างชาติ คนในแต่เมืองจะมีความจงรักภักดีต่อโพลิสหรือต่อเมืองของตนสูง ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญอันนำมาสู่ความแตกแยกและการล่มสลายของกรีกในที่สุด

  29. ระบบการรบแบบใหม่ เทคนิคของการรบแบบใหม่ที่เรียกว่า phalanx hoplite กล่าวคือ เป็นการรบโดยกองทหารที่จัดรูปแบบการรบออกเป็นแนวสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามตำแหน่งกองละ 8 คน (กล่าวคือการยืนเรียงหน้ากระดานเป็นแถว แต่ละแถวมีความลึก 8 คน) ซึ่งนักรบแต่ละคนเรียกว่า ฮาฟไลท์ (Hoplite) จะสวมหมวก (ที่ทำจากสำริดหรือยาง) มีแผ่นป้องกันที่หน้าอก สลับหน้าแข้ง (greave) ถือโล่กลมเพื่อป้องกันตัว มีดาบสั้นและหอกที่มีความยาวประมาณ 9 ฟุตเป็นอาวุธประจำกาย การรบแบบใหม่ที่เป็นกลุ่มก้อนเช่นนี้ ต้องอาศัยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและการมีระเบียบวินัยของแต่ละคนเป็นสำคัญ ซึ่งความสำคัญของหน่วยรบแบบฮาฟไลท์นี้ มีนัยสำคัญต่อการเมืองด้วย ในฐานะที่เป็นกลุ่มอำนาจใหม่ในการรวมตัวกันท้าทายอำนาจของนักรบที่เป็นชนชั้นสูงเดิมที่เริ่มหมดสมัยลงไป (ทั้งนี้ฮาฟไลท์แต่ละคนได้รับการจัดสรรอาวุธให้เป็นของตนเอง)

  30. การขยายตัวของชาวกรีก การขยายตัวของชาวกรีก คือทางตะวันตกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตามแนวชายฝั่งทางตอนเหนือของอิตาลี ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส ทางตะวันออกของสเปน ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกาด้านตะวันตกของอียิปต์ และขึ้นไปทางตอนเหนือทะเลเมดิเตอร์เรเนียน บริเวณพื้นที่ๆ เรียกว่าเธรส (Thrace) ซึ่งเป็นแหล่งปลูกพืชให้เมล็ด (grain) ได้เป็นอย่างดี บริเวณชายฝั่งของทะเลดำ ที่เมืองเฮลเลสปอนท์ (Hellespont) (ทางตะวันตกเฉียงเหนือของตุรกี) เมืองบาสพอรัส (Bosphorus) (ในประเทศตุรกี) และเมืองไบเซนติอุมByzantium) (เมืองอิสตันบูลในปัจจุบัน)

  31. นครรัฐเอเธนส์ (Athens) จัดทำโดย. นางสาววิทิตา สุขทั่วญาติ

  32. นครรัฐเอเธนส์ เอเธนส์เป็นอีกนครรัฐหรือพาลิส (Polis) ที่สำคัญในประวัติศาสตร์กรีก ตั้งอยู่ในเขตแผ่นดินใหญ่ที่เรียกว่า แอตติกา ในช่วงปีที่ 700 ก่อนคริสตกาล การปกครองในเมืองแห่งนี้ช่วงแรก (ก่อนหน้าปีที่ 700 ก่อนคริสตกาล) อยู่ภายใต้ระบบกษัตริย์ (monarchy) และภายหลังจากนี้ได้ตกมาอยู่ใต้การปกครองของกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า Aristocrat โดยกลุ่มคนเหล่านี้เป็นเจ้าของที่ดินและมีอิทธิพลทางการเมืองและการศาสนา ภายใต้สภาที่เรียกว่า council of nobles (สภาขุนนาง) ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยอีกจำนวน 9 คนที่เรียกว่า archons และแม้จะมีสภาพลเมืองที่เรียกว่า assembly แต่สภาของพลเมืองมีอำนาจน้อย (กว่าสภาขุนนาง) ซากที่หลงเหลือของ Acropolis ในนครรัฐเอเธนส์

  33. นครรัฐเอเธนส์ ช่วงท้ายของปีที่ 700 ก่อนคริสตกาล เป็นช่วงที่นครรัฐเอเธนส์เกิดความไม่สงบทางสังคมและการเมือง อันเกิดขึ้นมาจากความขัดแย้งภายในกลุ่มบุคคลชั้นปกครองเรียกว่า Aristocrat ด้วยกันเอง และปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ โดยที่ชนชั้นชาวนา (farmer) ผู้อยู่ใต้ปกครอง ได้มีจำนวนมากขึ้นและได้ถูกขายเป็นทาสของชนชั้นผู้ปกครองมากขึ้น เพราะไม่มีมาใช้หนี้ที่ยืมไปจากคนเหล่านี้ ทั้งนี้เพราะในการกู้ยืมได้เอาตัวเองเข้าเป็นทรัพย์เพื่อค้ำประกันเงินที่ตนได้กู้ไป (collateral) และด้วยสภาพของสังคมชั้นล่างที่ได้รับความเดือดร้อนเช่นนี้ จึงได้เกิดการปฏิวัติซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกหนี้สินที่ชาวนาเหล่านี้ได้กู้ยืมไปและให้มีการจัดสรรที่ดินกันใหม่

  34. นครรัฐเอเธนส์ ปี 594 ก่อนคริสตศักราช สังคมของเอเธนส์ได้ปรับตัวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้จากบทบาทการปฏิรูปของชนชั้นปกครองที่สำคัญบุคคลหนึ่งที่ชื่อว่า Solon โดยผู้นี้ได้รับการเลือกจากชนชั้นผู้ปกครองให้เป็นเจ้าหน้าที่แต่เพียงผู้เดียวในสภาผู้ช่วยขุนนางที่เรียกว่า archon นั้น โดยได้รับอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการกำหนดการปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงสังคม

  35. นครรัฐเอเธนส์ การปฏิรูปของโซลอนที่เกิดขึ้นเป็นไปในทั้งสองส่วนของสังคมทั้งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ ที่สำคัญเช่นการยกเลิกหนี้ที่เกี่ยวกับที่ดินทั้งหมด กำหนดให้การกู้ยืมเงินที่เอาชีวิตมนุษย์มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน (collateral) เป็นสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอีกต่อไป และปลดปล่อยกลุ่มคนที่ตกเป็นทาสเพราะติดหนี้สินเหล่านี้ให้เป็นอิสระ แต่โซลอนได้ปฏิเสธที่จะจัดให้มีการจัดสรรที่ดินกันใหม่ ซึ่งเป็นรากฐานแห่งปัญหาของสังคมเอเธนส์ ซึ่งความล้มเหลวที่จะจัดสรรที่ดินใหม่ในครั้งนี้ มีสาเหตุมาจากความรุ่งเรืองทางด้านการค้าขายและอุตสาหกรรมซึ่งจะเห็นภาพได้อย่างชัดเจนในศตวรรษข้างหน้าต่อไปนี้

  36. นครรัฐเอเธนส์ วัฒนาธรรมของเอเธนส์เป็นวัฒนธรรมของผู้ชายเป็นส่วนใหญ่ ราษฎรชายมีหน้าที่ปกครองและบริหารบ้านเมือง การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชาวเอเธนส์ การพบปะพูดคุยสังสรรค์กันเป็นประจำในบริเวณอะกอรา (Agora) ซึ่งเป็นตลาดหรื่อย่านชุมชน

  37. สถาบันการปกครองของรัฐเอเธนที่สำคัญสถาบันการปกครองของรัฐเอเธนที่สำคัญ

  38. นครรัฐเอเธนส์ จากการปฏิรูปของไคลส์เธอนีสนี้ ทำให้สภาพลเมืองกลายเป็นศูนย์กลางทางอำนาจการเมืองการปกครองมากยิ่งขึ้น ซึ่งได้รับการเรียกว่าระบบประชาธิปไตยชาวเอเธนส์ (Athenian democracy) ซึ่งได้กลายเป็นรากฐานที่สำคัญของสังคมเอเธนส์ในเวลาต่อจากนี้ไป โดยชาวเอเธนส์ได้เรียกระบบการปกครองของตนเองว่า Democracy (เพราะคำๆ นี้มีรากฐานมาจากภาษากรีกนั่นเอง โดยมาจากคำว่า demos ซึ่งแปลว่าประชาชน และคำว่า kratiaแปลว่าอำนาจ)

  39. นครรัฐสปาร์ตา (Spartas) จัดทำโดย. นางสาววิทิตา สุขทั่วญาติ

  40. นครรัฐสปาร์ตา ที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ในส่วนของแผ่นดินใหญ่ที่เรียกว่า เพลโลปอนเนชุสPeloponnesus และอยู่ในเขตย่อยลงไปอีกที่เรียกว่า Laconia เดิมประกอบด้วยหมู่บ้านเล็กๆ 4 หมู่บ้าน (เชื่อกันว่าชาวดอเรียนที่อพยพลงมายังทางใต้ที่บริเวณแผ่นดินที่เรียกว่า เพลโลปอนเนชุสpeloponnesusเมื่อ 1200 ปี ก่อนคริสตกาล คือบรรพบุรุษของชาวสปาร์ตา) ซึ่งต่อมาได้รวมตัวเข้ากันเป็นพาลิส (Polis) แห่งหนึ่ง การรวมตัวกันในครั้งนี้ ทำให้สปาตาร์กลายเป็นชุมชนแห่งหนึ่งที่เข้มแข็งในเขตลาโคเนียนี้ และสามารถที่จะก้าวขึ้นมามีอำนาจเหนือคนที่อยู่ในเขตลาโคเนียเดิมที่เรียกว่า Helot แผนที่สปาร์ตาโบราณ

  41. รูปแบบการเมืองการปกครองเป็นแบบรัฐหารรูปแบบการเมืองการปกครองเป็นแบบรัฐหาร ชีวิตของชาวสปาร์ตาได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวด (คำว่าสปาร์ตา แปลว่า ผู้ที่มีระเบียบวินัยในตัวเองสูง) โดยเด็กแต่ละคนที่เกิดมาจะได้รับการตรวจสุขภาพทุกคนเพื่อดูว่ามีความแข็งแรงพอที่จะอยู่ต่อไปหรือไม่ หากพบว่าไม่แข็งแรงก็จะถูกฆ่าทิ้งไป สำหรับผู้ที่อยู่รอดต่อมา พอมีอายุถึง 7 ปี ก็ต้องจากแม่มาอยู่ในการควบคุมของรัฐบาลหรือของรัฐ ทั้งนี้เพื่อฝึกฝนให้เป็นคนที่มีระเบียบวินัยที่เข้มงวด เป็นคนที่ทรหดอดทน ได้รับการศึกษาในลักษณะของทหาร และให้เชื่อฟังต่อผู้มีอำนาจ

  42. นครรัฐสปาร์ตา พอถึงอายุ 20 ปี ชายชาวสปาร์ตาจะได้รับการเกณฑ์ให้เข้ามารับใช้ชาติเป็นทหารประจำการ แต่ได้รับการอนุญาตให้แต่งงานได้ อย่างไรก็ตาม ก็ต้องกลับเข้ามาประจำการเช่นเดิม โดยมีการกินอาหารทุกมื้อในโรงอาหารสาธารณะร่วมกันกับเพื่อนทหารด้วยกัน อาหารที่กินก็เป็นแบบธรรมดาเท่านั้น ตัวอย่างเช่นน้ำซุปสีดำที่ทำจากเนื้อหมู 1 ชิ้นต้มกับเลือดใส่เกลือและน้ำส้มสายชู พอถึงอายุ 30 ชายชาวสปาร์ตาได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ใหญ่แล้ว จึงได้รับการอนุญาตให้ออกเสียงทางการเมืองได้และกลับเข้ามาอยู่อาศัยที่บ้านได้ (ไม่ต้องเข้าประจำการเช่นเดิม) แต่ยังคงต้องทำหน้าที่ทางทหารอยู่จนกระทั่งอายุ 60 ปี

  43. ร้อย นครรัฐสปาร์ตา ผู้หญิงชาวสปาร์ตา ระหว่างที่สามีของตนถูกเกณฑ์ไปเข้าประจำการเป็นทหารก่อนจะได้กลับเข้ามาอยู่ในบ้านนั้น ก็ต้องรับผิดชอบครอบครัวอยู่ที่บ้าน ยังผลให้ผู้หญิงชาวสปาร์ตา มีขอบเขตแห่งเสรีภาพมากกว่าและมักจะเป็นผู้มีอำนาจในครัวเรือนมากกว่าผู้หญิงในที่อื่นๆ ของประเทศกรีซ ผู้หญิงชาวสปาร์ตาได้รับการส่งเสริมให้ออกกำลังกายทั้งนี้เพื่อให้แข็งแรงอยู่ตลอดเพื่อคลอดและเลี้ยงลูกให้มีสุขภาพที่แข็งแรง มีการออกกำลังกายเล่นกีฬาโดยการเปลือยการเหมือนกันกับผู้ชาย มีการเดินเป็นขบวนเปลือยกายของผู้หญิงวัยรุ่นโชว์ต่อหน้าผู้ชายรุ่นหนุ่ม พร้อมกับร้องเพลงที่ว่าด้วยเรื่องความกล้าหาญและความขี้ขลาดที่เกิดขึ้นในสนามรบ มีการยึดถือคุณค่าหรือค่านิยมว่าสามีของตนเองและลูกชายจะต้องเป็นผู้ที่กล้าหาญ ในการทำสงคราม

  44. ประชาชนในนครรัฐสปาร์ตาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม 1. สปาร์เตียตส์ (Spartites) เป็นพวกดอเรียนส์ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในสปาร์ตา ถือเป็นชาว สปาร์ตาโดยแท้ พวกนี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในนครรัฐ ทำหน้าที่เป็นทหารรัฐ

  45. ประชาชนในนครรัฐสปาร์ตาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม 2. เปริโอซิ ((Perioeci) คำนี้ภาษากรีกแปลว่า ผู้ที่อาศัยอยู่โดยรอบ ได้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านโดยรอบนครรัฐสปาร์ตา เป็นชาวเลซีเดโมเนียนที่สืบเชื้อสายปะปนกันมา พวกนี้จัดเป็นเสรีชนและมีส่วนในกิจการต่างๆ ภายในหมู่บ้านของตน แต่ขาดสิทธิในทางการเมืองภายในนครรัฐ สปาร์ตา ขาดสิทธิในการสมรสกับหญิงสปาร์เตียตส์ มีหน้าที่ต่อรัฐคือรับราชการทหารและประกอบการ กสิกรรม

  46. ประชาชนในนครรัฐสปาร์ตาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม 3. เฮล็อต (Helot) พวกนี้เป็นชนพื้นเมืองเดิม ที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้มาก่อน เมื่อพวกเลซีเดโมเนียนเข้ามาตั้งบ้านเรือน ก็ได้ปกครองคนเหล่านี้ในฐานะเป็นทาสของรัฐ มีหน้าที่ทำงานในที่ดินของผู้ที่เป็นนายและแบ่งผลประโยชน์ที่ได้จากที่ดินให้แก่ผู้ที่เป็นนาย พวกเฮล็อตนั้นเป็นชาวกรีกโดยแท้และมีจิตใจรักอิสรภาพเช่นชาวกรีกทั้งหลาย เมื่อมาถูกจำกัดอิสรภาพและลดฐานะก็เกิดความไม่พอใจ และมักปักใจอยู่กับการก่อการปฏิวัติ พวกสปาร์เตียตส์ก็ตระหนักในเรื่องนี้ดี ดังนั้น เมื่อมีการสงสัยว่าเฮล็อต คนใดคิดการปฏิวัติ ผู้นั้นจะได้รับโทษถึงประหารชีวิตทันที

  47. นครรัฐสปาร์ตา นครรัฐสปาร์ตากลายเป็นรัฐทางทหารแล้ว ยังได้มีการปฏิรูปในทางการเมืองการปกครองด้วยโดยการสร้างระบบคณาธิปไตย (Oligarchy) ขึ้นมา มีกษัตริย์ 2 พระองค์จากต่างราชวงศ์เป็นผู้ที่ดูแลเกี่ยวกับการทหารและเป็นแม่ทัพในการรบ นอกจากนี้ยังเป็นพระตำแหน่งสูงสุด (supreme priest) ในการศาสนาของรัฐด้วย และมีบทบาทบางอย่างในด้านกิจการต่างประเทศ

  48. นครรัฐสปาร์ตา กษัตริย์ทั้ง 2 พระองค์ทรงใช้อำนาจปกครองร่วมกับองค์กรที่เรียกว่าสภาผู้อาวุโสที่เรียกว่า Gerousia (คล้ายกับวุฒิสภาในระบบประชาธิปไตยในปัจจุบัน) ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 28 คน ซึ่งมีฐานะเป็นพลเมืองอายุกว่า 60 ปีขึ้นไป มาจากการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งตลอดชีวิต และรวมทั้งกษัตริย์ 2 พระองค์นั้น ซึ่งสภาแห่งนี้มีหน้าที่ในการตระเตรียมข้อเสนอมาให้องค์กรที่เรียกว่า Apellaซึ่งเป็นที่ประชุมของชายที่เป็นพลเมืองทั้งหมด ทั้งนี้องค์กรแห่งนี้ไม่มีการถกเถียงปัญหาต่างๆ เหมือนอย่างสมาชิกสภาผู้แทนในระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน แต่ทำหน้าที่เพียงออกเสียงว่าจะรับหรือไม่รับข้อเสนอที่องค์กรแรกเสนอมาหรือไม่เท่านั้น ซึ่งก็หายากมากที่องค์กร Apellaจะทำการปฏิเสธข้อเสนอที่เตรียมมาให้เลือกนั้น

  49. นครรัฐสปาร์ตา สภา Apellaยังทำหน้าที่ในการเลือกสภา Gerousiaและองค์กรที่เรียกว่า Ephorsด้วย โดยองค์กร Ephorsนี้ ประกอบด้วยผู้ชายจำนวน 5 คน ซึ่งจะมาหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบการศึกษาของกลุ่มคนวัยรุ่นและดูแลเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติตัวของพลเมืองทุกคน ผลจากการที่นครรัฐสปาร์ตาได้พัฒนาไปเป็นรัฐที่เน้นความเข้มแข็งทางทหาร ทำให้นครรัฐแห่งนี้มีการพัฒนาตัวของความรู้ด้านอื่นๆ น้อย ทั้งนี้สืบเนื่องจากการปิดประเทศไม่ให้แนวคิดใหม่ๆ เผยแพร่เข้ามา และในขณะเดียวกันก็ห้ามมิให้ชาวสปาร์ตาเดินทางออกนอกรัฐด้วย ซึ่งเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังทั้งหมดนี้ เป็นไปเพื่อการความกลัวว่าจะทำให้มีการนำแนวความคิดใหม่ๆ เข้ามาอันจะกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของระบบความเข้มแข็งทางทหารของตนเอง

  50. นครรัฐสปาร์ตา ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุผลที่อธิบายได้ว่าทำไมนครรัฐแห่งนี้จึงสามารถที่จะขยายอำนาจจนครอบคลุมเมืองหรือนครรัฐอื่นๆ ทั้งหมดภายในแผ่นดินใหญ่ของกรีกที่เรียกว่า Peloponnesus ได้เมื่อถึงปีที่ 500 ก่อนคริสตกาล และได้รับการยอมรับว่าเป็นนครรัฐที่มีความเข้มแข็งทางทหารมากที่สุดของกรีก

More Related