1 / 34

ร า ย ง า น

ร า ย ง า น. ก า ร เ ผ ย แ ผ่ ศ า ส น า ใ น ท วี ป ยุ โ ร ป. การเผยแผ่และการนับถือศาสนาในทวีปยุโรป.

Download Presentation

ร า ย ง า น

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รายงาน การเผยแผ่ศาสนาในทวีปยุโรป

  2. การเผยแผ่และการนับถือศาสนาในทวีปยุโรปการเผยแผ่และการนับถือศาสนาในทวีปยุโรป พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าไปในทวีปยุโรป โดยผ่านทางประเทศกรีซก่อนในช่วงพุทธสตวรรษต้น ๆ แต่ทว่ายังไม่ได้รับความนิยมเท่าใดนักจนกระทั่งหลังจากพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เป็นต้นมา เมื่อชาวยุโรปได้ประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย ศรีลังกา พม่า เขมร ลาว และบางส่วนของจีนเป็นอาณานิคมแล้ว ก็พบว่าชาวพื้นเมืองส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา ซึ่งมีหลักธรรมคำสั่งสอนอันลึกซึ้ง มีเหตุมีผลถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ จึงบังเกิดความสนใจและเมื่อได้ทำการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่าง ๆ เพิ่มเติม ก็ประจักษ์ว่าหลักธรรมของพระพุทธศาสนาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างดียิ่ง

  3. จึงมีการนำหลักธรรมดังกล่าวออกเผยแพร่ในหมู่ชาวยุโรปด้วยกัน เหตุผลที่ทำให้ชาวยุโรปเริ่มสนใจพระพุทธศาสนาก็เพราะประทับใจ หลักการของพระพุทธเจ้า ที่ทรงสอนให้บุคคลอย่าเชื่อถือคำสอนของพระองค์โดยทันที จนกว่าจะได้ใคร่ครวญพิจารณาหรือทดลองปฏิบัติดูก่อน เมื่อเห็นผลแล้วจึงค่อยเชื่อ นอกจากนี้ หลักธรรมของพระพุทธศาสนาก็เน้นถึงความมีเมตตากรุณา ความรัก การไม่เบียดเบียนต่อกัน ส่งเสริมเสรีภาพ ภราดรภาพ และความเสมอภาค จึงส่งผลให้มีชาวยุโรปประกาศตนเป็นพุทธมามกะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเราสามารถแบ่งรายละเอียดเป็นประเทศๆ ได้ดังนี้

  4. ประเทศอังกฤษ

  5. บุคคลที่นำมาเผยแผ่ คือ นายสเปนเซอร์ อาร์ดี ตีพิมพ์หนังสือชื่อ “ศาสนจักรแห่งบูรพาทิศ” ออกเผยแผ่ กิจกรรมที่สำคัญ คือ พระเขมธัมโม ได้เข้าไปสอนนักโทษตาม ทัณฑสถานต่าง ๆ นิกายที่สำคัญ คือนิกายเถรวาท นิกายมหายาน นิกายเซน นิกายสุขาวดี ประเทศอังกฤษ องค์กรศาสนาที่สำคัญ คือ สมาคมบาลีปกรณ์ พุทธสมาคมแห่งเกรตบริเตน สมาคมมหาโพธิ์ (สาขาลอนดอน)

  6. การเผยแผ่ศาสนาในประเทศอังกฤษการเผยแผ่ศาสนาในประเทศอังกฤษ การเผยแผ่ในประเทศอังกฤษเริ่มต้นขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2393 โดยนายสเปนเซอร์ อาร์ดี ตีพิมพ์หนังสือชื่อ “ศาสนจักรแห่งบูรพาทิศ” ออกเผยแผ่ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก จนกระทั่งเมื่อ เซอร์ เอ็ดวิน อาร์ดนลด์เขียนหนังสือเรื่อง “ประทีปแห่งเอเชีย” ออกสู่สายตามหาชนใน พ.ศ.2422 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวอังกฤษก็เริ่มตื่นตัวหันมาสนใจในพุทธศาสนามากขึ้นเรื่อย ๆ โยชาวอังกฤษได้ร่วมมือกับชาวพุทธในประเทศต่าง ๆ ก่อตั้งสมาคมเพื่อดำเนินงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษขึ้นหลายสมาคมที่สำคัญได้แก่สมาคมบาลีปกรณ์ จัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นภาษาอังกฤษ พุทธสมาคมระหว่างชาติ

  7. (สาขาลอนดอน) ของพม่า ตีพิมพ์หนังสือชื่อ “พระพุทธศาสนา” พุทธสมาคมแห่งเกรตบริเตนและไอร์แลนด์ออกวารสารชื่อ “พุทธศาสตร์ปริทัศน์” สมาคมมหาโพธิ์ (สาขาลอนดอน) ของศรีลังกาออกวารสารชื่อ “ชาวพุทธอังกฤษ” และ “ธรรมจักร” เป็นต้น การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอังกฤษนี้ถึงแม้พุทธสมาคมต่าง ๆ จะนับถืนิกายแตกต่างกัน เช่น นิกายเถรวาท นิกายมหายาน นิกายเซน นิกายสุขาวดี ฯลฯ แต่ทุกสมาคมก็สมัครสมานสามัคคีกันดี โดยมีการจัดกิจกรรมและประชุมกันบ่อยครั้ง ทั้งนี้เพื่อทำให้พระพุทธศาสนาสามารถเผยแผ่ออกไปได้อย่างกว้างขวาง

  8. พุทธศาสนิกชนในประเทศอังกฤษทำบุญตักบาตรในวันวิสาขบูชาพุทธศาสนิกชนในประเทศอังกฤษทำบุญตักบาตรในวันวิสาขบูชา

  9. อนึ่งได้มีการจัดตั้งวิหารทางพระพุทธศาสนาขึ้นหลายแห่งในประเทศอังกฤษ เป็นต้นว่าพุทธวิหารลอนดอนของประเทศศรีลังกา วัดของมูลนิธิสงฆ์อังกฤษที่ถนน แฮมสเตท และมีวัดของชาวพุทธศรีลังกา ที่ตำบลซิลิค กรุงลอนดอน วัดทิเบตที่บิดดอล์ฟ ประเทศสกอตแลนด์ วัดไทยพุทธประทีปที่กรุงลอนดอนเกิดขึ้น ต่อมาก็มีวัดอื่น ๆ เช่น วัดป่าจิตตวิเวก เมืองแฮมไชร์ วัดป่าสันติธรรม เมืองวอริค วัดอมราวดี และวัดสังฆทาน เมืองเบอร์มิงแฮม

  10. พระภิกษุไทยได้ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา สอนวิปัสสนากรรมฐานให้แก่ชาวพุทธในประเทศอังกฤษ โดยเฉพาะป่า จิตตวิเวก วัดอมราวดี และวัดป่าสันติธรรม ได้มีชาวอังกฤษมาบวชศึกษาปฏิบัติจากหลวงพ่อชา สุภัทโท พระวิปัสสนาจารย์ผู้มีชื่อเสียง แล้วกลับไปเผยแผ่ยังประเทศของตน งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาจึงกระจายไปได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้พระเขมธัมโม ได้เข้าไปสอนนักโทษตาม ทัณฑสถานต่าง ๆ โดยความร่วมมือของรัฐ ผลักดันให้คุกเป็น สถานปฏิบัติธรรมของนักโทษ และโครงการองคุลีมารเพื่อช่วย เหลือนักโทษ โดยมิได้แบ่งว่านับถือศาสนาพุทธหรือศาสนาอื่น ๆ

  11. กล่าวโดยสรุป ปัจจุบันมีชาวอังกฤษประกาศตนเป็นพุทธมามกะมากขึ้นเรื่อย ๆ และจากรายงานในวารสาร “ทางสายกลาง” ของ พุทธสมาคมลอนดอนระบุว่า มีสมาคมและองค์การต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาจัดตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษแล้วประมาณ 32 แห่ง

  12. ประเทศเยอรมนี

  13. บุคคลที่นำมาเผยแผ่ คือโดย ดร.คาร์ล ไซเกนสิตคเกอร์ และ ดร.ยอร์จ กริมม์ ได้ร่วมมือตั้งพุทธสมาคมเยอรมันขึ้นที่เมืองไลป์ซิก นิกายที่สำคัญ คือ นิกายเถรวาท นิกายมหายานแบบทิเบต และมหายานแบบญี่ปุ่น ประเทศเยอรมนี กิจกรรมทางศาสนาที่สำคัญ คือ ออกวารสารพระพุทธศาสนาฉบับภาษาเยอรมันและมีการจัดแสดงปาฐกถาอภิปราย และสนทนาธรรมที่กรุงเบอร์ลินตะวันตกประมาณ 5 – 10 ครั้งต่อเดือน องค์กรทางศาสนาที่สำคัญ คือ พุทธสมาคมเยอรมันที่ เมืองไลป์ซิก

  14. การเผยแผ่ศาสนาในประเทศสาธารณรัฐเยอรมนีการเผยแผ่ศาสนาในประเทศสาธารณรัฐเยอรมนี ชาวเยอรมันได้ยอมรับพระพุทธศาสนาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว แต่เป็นเพียงชนส่วนน้อยเท่านั้น จนกระทั่งเมื่อลัทธินาซีเรืองอำนาจ พระพุทธศาสนาก็เริ่มเสื่อมไปจากประเทศเยอรมนี

  15. หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมันถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศ พระพุทธศาสนาค่อย ๆ ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ในประเทศสาธารณรัฐเยอรมนี(เยอรมันตะวันตก) โดย ดร.คาร์ล ไซเกนสิตคเกอร์และ ดร.ยอร์จ กริมม์ ได้ร่วมมือตั้งพุทธสมาคมเยอรมันขึ้นที่เมืองไลป์ซิก เมื่อ พ.ศ. 2464 เพื่อทำการเผยแผ่หลักธรรมและดำเนินกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา

  16. การเผยแผ่พุทธศาสนาในประเทศเยอรมันตะวันตก ดำเนินการโดยเอกชนร่วมมือกับภิกษุสงฆ์จาก ญี่ปุ่น ไทย ศรีลังกา ไทย ทิเบต จัดพิมพ์วารสารแลจุลสารออกเผยแผ่ เช่นกลุ่มชาวพุทธเก่าตีพิมพ์วารสารชื่อ “ยาน” สมาคมพระธรรมทูตศรีลังกาและชาวพุทธในเมืองฮัมบูร์ก ออกวารสารพระพุทธศาสนาฉบับภาษาเยอรมัน นอกจากนี้ก็มีการจัดแสดงปาฐกถาอภิปราย และสนทนาธรรมที่กรุงเบอร์ลินตะวันตกประมาณ 5 – 10 ครั้งต่อเดือน รวมทั้งยังมีศาสตราจารย์ที่เชี่ยวชาญเรื่องราวทางด้านพระพุทธศาสนานิกายสุขาวดีอยู่ในกรุงเบอร์ลินตะวันตก เมืองมิวนิกและฮัมบูร์ก เป็นประจำอีกด้วย

  17. เมื่อเยอรมนีตะวันตกได้รวมเข้ากับเยอรมนีตะวันออกเป็นประเทศเดียว ก็พอที่จะคาดการณได้ว่าคงจะมีชาวเยอรมันประกาศตนเป็นพุทธมามกะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองฮัมบูร์ก เบอร์ลิน สตุตการ์ต มิวนิก โคโลญ และ แฟรงค์เฟิร์ต ส่วนการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญ มักจะกระทำกันที่ “ศาสนสภาแห่งกรุงเบอร์ลิน”

  18. ปัจจุบันนี้ที่สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีวัดไทย 3 วัด คือ วัดพุทธวิหาร ที่เมืองเบอร์ลิน วิตเตนัว วัดไทยมิวนิค ที่เมือง มิวนิค และวัด พุทธารามเบอร์ลิน ซึ่งเป็นศูนย์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเยอรมนี

  19. ประเทศฝรั่งเศส

  20. ชนชาติที่ นำมาเผยแผ่ คือ กลุ่มพุทธศาสนิกชน ชาวฝรั่งเศส ซึ่งมี นางสาวคอนสแตนต์ ลอนสเบอรี เป็นผู้นำ นิกายที่สำคัญ คือ นิกายเถรวาท ประเทศฝรั่งเศส องค์กรทางศาสนาที่สำคัญ คือ พุทธสมาคม ชื่อ “เล ซามี ดู บุดดิสเม” ที่กรุงปารีส กิจกรรมที่สำคัญ คือ การแปลพระไตรปิฎก เป็นภาษาฝรั่งเศส

  21. การเผยแผ่ศาสนาในประเทศฝรั่งเศสการเผยแผ่ศาสนาในประเทศฝรั่งเศส การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศฝรั่งเศสเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2471 โดยกลุ่มพุทธศาสนิกชนชาวฝรั่งเศส ซึ่งมี นางสาวคอนสแตนต์ ลอนสเบอรี เป็นผู้นำ ได้ร่วมกันจัดตั้งพุทธสมาคม ชื่อ “เล ซามี ดู บุดดิสเม” ขึ้นที่กรุงปารีส พุทธสมาคมแห่งนี้นอกจากจะทำการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนิกายเถรวาทแล้ว ก็ยังได้จัดให้มีการแสดงธรรมอภิปรายเรื่องราวของธรรมะ ออกวารสารพระพุทธศาสนารายเดือน ฝึกอบรมการนั่งสมาธิและวิปัสสนาให้แก่ผู้ที่สนใจ นอกจากนี้ยังได้นิมนต์พระสงฆ์จากประเทศไทย พม่า ลาว เดินทางไปแสดงพระธรรมเทศนาที่กรุงปารีส และนางสาวคอนสแตนต์ ก็ยังเป็นผู้ริเริ่มการแปลพระไตรปิฎกจากภาษาบาลีเป็นภาษาฝรั่งเศสด้วย

  22. ปัจจุบันสถานะของพระพุทธศาสนาในฝรั่งเศสยังไม่รุ่งเรืองนัก การเผยแผ่และการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาดำเนินการโดยพระภิกษุจากไทย ญี่ปุ่นศรีลังกา กลุ่มพุทธศาสนิกชน จากประเทศฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษ และเมื่อถึงวันวิสาขบูชา ของทุก ๆปี ชาวพุทธในกรุงปารีสจะประกอบพิธีเวียนเทียนกันที่วิหารของพุทธสมาคม โยมีวัดไทยตั้งอยู่ 2 แห่ง

  23. ประเทศอดีตสหภาพโซเวียตประเทศอดีตสหภาพโซเวียต

  24. ชนชาติที่นำมาเผยแผ่ คือ พวกมองโกลภาย ใต้การนำของ พระจักพรรดิเจงกิสข่าน นิกายที่สำคัญ คือ นิกายตันตระ ประเทศอดีต สหภาพโซเวียต กิจกรรมที่สำคัญ คือ การสร้าง วัดไอโวกิน สกีมหายาน และวัดอีโวลกา ในสหพันธ์ รัสเซีย องค์กรทางศาสนาที่สำคัญ คือ พุทธสมาคม

  25. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอดีตสหภาพโซเวียตการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอดีตสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียตจัดเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีดินแดนครอบคลุมถึง 2 ทวีป คือ ยุโรปและเอเชีย จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่สหภาพโซเวียตซึ่งในขณะนั้นเรียกว่า “รุสเซีย” เมื่อครั้งที่พวกมองโกลภายใต้การนำของพระจักพรรดิเจงกิสข่าน ยกทัพมารุกราน ยุโรปเมื่อ พ.ศ. 1766 และสามารถปกครองรุสเซีย อยู่เป็นเวลานานประมาณ 250 ปี แต่ทว่ามีชาวรุสเซียเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ยอมรับพระพุทธศาสนา

  26. ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีผู้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ในรุสเซียอีก เช่น มาดามเชอร์บาตรสกี และ มร. บี.เอ็น. โตโปรอฟ แปลหนังสือธรรมบทจากภาษาบาลีเป็นภาษารุสเซีย นอกจากนี้ก็ยังมีการจัดตั้งพุทธสมาคมขึ้นในรุสเซียด้วย มีชื่อว่า “บิบลิโอเธคา พุทธิคา” แต่การเผยแผ่พุทธศาสนาก็ทำได้ในขอบเขตที่จำกัด เนื่องจากสหภาพโซเวียตมีระบบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ จึงสั่งห้ามมิให้บุคคล องค์การ สมาคม ทำการโฆษณาเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของศาสนาจนกว่าจะได้รับอนุญาตจากทางการเสียก่อน

  27. การประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาครั้งใหญ่ที่จัดทำขึ้นในสหภาพโซเวียต ก็คืองานเฉลิมฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เมื่อ พ.ศ. 2500 ที่กรุงมอสโก ปัจจุบันเมื่อมีการแยกตัวเป็นรัฐเอกราชต่าง ๆ ก็ทำให้ชาวพุทธกระจายกันออกไปแต่ละรัฐ เช่น สหพันธรัฐเซีย สาธารณรัฐลิทัวเนีย สาธารณรัฐคาซัคสถาน เป็นต้น ซึ่งโดยมากมักจะนับถือนิกายตันตระ ส่วนวัดมีเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่งโดยวัดส่วนใหญ่จะถูกดัดแปลงทำเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา และบางแห่งก็ถูกดัดแปลงทำเป็นสถานที่ราชการ วัดสำคัญ ๆ ได้แก่ วัดไอโวกินสกีมหายานและวัดอีโวลกาในสหพันธ์รัสเซีย เป็นต้น

  28. ประเทศเนเธอร์แลนด์

  29. ชนชาติที่นำมาเผยแผ่ คือ โดยการผ่านมาทาง พ่อค้าชาวดัตช์ และชาวพื้นเมืองจากประเทศ อินโดนีเซียและศรีลังกา วัดที่สำคัญ คือ วัดพุทธาราม และ วัดพุทธวิหาร อัมสเตอร์ดัม ประเทศ เนเธอร์แลนด์ กิจกรรรมที่สำคัญ คือ มีการแสดงปฐกฐา และมีการประกอบการ เวียนเทียนในวันสำคัญต่าง ๆ องค์กรทางศาสนาที่สำคัญ คือ ชมรมชาวพุทธดัตซ์ และพุทธศาสตร์ศึกษา

  30. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเนเธอร์แลนด์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเนเธอร์แลนด์ พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่ประเทศเนเธอร์แลนด์โดยผ่านมาทางพ่อค้าชาวดัตช์และชาวพื้นเมืองจากประเทศอินโดนีเซียและศรีลังกา ซึ่งเดินทางเข้ามาศึกษาเล่าเรียนอยู่ในกรุงอัมสเตอร์ดัมแต่ทว่าก็มีผู้นับถืออยู่เพียงไม่กี่คนเท่านั้น

  31. หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวพุทธในกรุงเฮกได้ฟื้นฟูชมรมชาวพุทธขึ้นมาใหม่เมื่อ พ.ศ. 2498 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นศูนย์กลางในการพบปะสังสรรค์กันของพุทธศาสนิกชนในประเทศเนเธอร์แลนด์ ชมรมนี้จะเปิดประชุมทุกวันอังคารสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ซึ่งในการประชุมทุกครั้งจะเริ่มต้นด้วยการบรรยายหลักธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วอ่านพระสูตรพร้อมกับอธิบายความหรือขยายความเพิ่มเติม และก่อนเปิดประชุมจะมีการฝึกสมาธิก่อน

  32. ปัจจุบันการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเนเธอร์แลนด์ ดำเนินงานโดยพระภิกษุสงฆ์จากประเทศไทย ศรีลังกา และญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่ และมีวัดไทยเกิดขึ้น เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา คือ วัดพุทธราม และวัดพุทธวิหารอัมสเตอร์ดัม โดยพระ ธรรมทูตที่ผ่านการอบรมจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ไปอยู่ทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา และเป็นที่คาดกันว่าในอนาคตอันใกล้นี้คงจะมีชาวดัตช์หันมายอมรับนับถือพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นมากเรื่อย ๆ

  33. ผู้จัดทำ • ด.ช.เอกชัย เวียงสมุทร • ด.ญ.เบญจวรรณ ลีจาด • ด.ญ.ณัฐณิชา สรคุปต์ • ด.ญ.ณัฐรุจา สุคันธวรัตน์ • ด.ญ.จิราภัค เกิดชุ่ม • ด.ญ.พัชรี พลเสน นักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 3/1

  34. THE END.

More Related