1 / 39

บทบาทหญิงชายในระบบเศรษฐกิจ รองศาสตราจารย์ ดร. ภาวดี ทองอุไทย สิงหาคม ๒๕๕๓

สิทธิ และ ความเสมอ ภาคหญิงและชาย ตามพันธกรณีระหว่างประเทศ อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี. บทบาทหญิงชายในระบบเศรษฐกิจ รองศาสตราจารย์ ดร. ภาวดี ทองอุไทย สิงหาคม ๒๕๕๓. Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women (CEDAW).

Download Presentation

บทบาทหญิงชายในระบบเศรษฐกิจ รองศาสตราจารย์ ดร. ภาวดี ทองอุไทย สิงหาคม ๒๕๕๓

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สิทธิและความเสมอภาคหญิงและชายตามพันธกรณีระหว่างประเทศอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีสิทธิและความเสมอภาคหญิงและชายตามพันธกรณีระหว่างประเทศอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี บทบาทหญิงชายในระบบเศรษฐกิจ รองศาสตราจารย์ ดร. ภาวดี ทองอุไทย สิงหาคม ๒๕๕๓

  2. Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women (CEDAW) • พันธกรณีระหว่างประเทศ มีส่วนช่วยสร้างความเสมอภาคหญิงชาย/ขจัดการเลือกปฏิบัติในประเทศได้อย่างไร? • หลักการของอนุสัญญา CEDAW • การดำเนินงานของไทยตาม CEDAW • ข้อสงวน • กระบวนการแก้ไข

  3. ความเป็นมา • ไทยเข้าร่วมเป็นภาคี CEDAWพศ. ๒๕๒๘ • ตั้งข้อสงวน ๗ ข้อ • ขอยกเว้นไม่ผูกพัน เพราะ...ยังมีกฎระเบียบที่ขัดแย้งอยู่ • เมื่อแก้ไขแล้ว ยกเลิกข้อสงวน • ปัจจุบันเหลือ๒ ข้อ • ข้อ ๑๖ – ความเสมอภาคในครอบครัวและการสมรส • ข้อ ๒๙ – การให้อำนาจศาลโลกตัดสินกรณีพิพาท

  4. CEDAWมีประโยชน์ต่อสิทธิและความเสมอภาคหญิงชายในประเทศไทยอย่างไร?CEDAWมีประโยชน์ต่อสิทธิและความเสมอภาคหญิงชายในประเทศไทยอย่างไร? • รัฐภาคีมีข้อผูกพันต้องขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี โดย • กฎหมาย นโยบาย และ มาตรการ • ครอบคลุมทุกด้านของชีวิต • รวมถึงความสัมพันธ์ทางครอบครัว

  5. ภาพรวมของอนุสัญญา • ข้อ ๑ – ๑๖ คำจำกัดความ พันธะของรัฐภาคี บทบาทหญิงชายและวัฒนธรรมที่มีผลเสียต่อผู้หญิง การค้ามนุษย์ การเมืองและราชการ การมีส่วนร่วมในระดับสากล สัญชาติการศึกษาการจ้างงาน สุขภาพและการวางแผนครอบครัว เศรษฐกิจและสังคม สตรีชนบท ความเสมอภาคในกฎหมาย การสมรสและความสัมพันธ์ในครอบครัว • ข้อ ๑๗-๓๐ – หน้าที่ของกรรมการ ขั้นตอนการบริหาร • การให้อำนาจศาลโลกตัดสินกรณีพิพาท

  6. พิธีสารเลือกรับ (optional protocol) • สืบเนื่องจาก...รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ รับรองความเสมอภาคหญิงชาย • แสดงถึงความจริงใจในการส่งเสริม คุ้มครองสิทธิมนุษยชนของสตรี • ปี ๒๕๔๓ ไทยร่วมลงนามในพิธีสารเลือกรับของ อนุสัญญา CEDAW • ปัจเจกบุคคล หรือกลุ่มของปัจเจกบุคคลในประเทศภาคี สามารถร้องเรียน • การละเมิดสิทธิสตรีตามอนุสัญญา • คณะกรรมการเข้ามาไต่สวนในประเทศได้ • ด้วยความยินยอมของรัฐบาล • ได้พยายามแก้ไขด้วยกลไกภายในจนหมดสิ้นแล้ว • หรือล่าช้าผิดปกติ • ครม.เห็นชอบให้รับรองทั้งฉบับ

  7. สามหลักการสำคัญ ของ CEDAW ความเสมอภาค การไม่เลือกปฏิบัติ พันธะกรณีของรัฐ

  8. ความเสมอภาค หมายถึงอะไร? • หญิงและชายต้องมีสิทธิเท่าเทียมกัน?? • หญิงและชายต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเดียวกัน?? • มาตรฐานที่ใช้ต่อหญิงและชายต้องไม่แตกต่างกัน??

  9. ฉะนั้น ความเสมอภาค มีสองระดับ • เสมอภาคในโอกาส – สิทธิเท่าเทียมในทรัพยากรของประเทศ • ตามกรอบของกฎหมาย นโยบาย • สนับสนุนโดยสถาบัน กลไก มาตรการ ฯลฯ • เสมอภาคในผลลัพธ์ • รัฐทำอะไร? ได้ผลหรือไม่? เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสตรีแค่ไหน?

  10. gender-neutral, gender-blind • นโยบาย/กฎหมายอาจ “เป็นกลาง” • แต่ผลลัพธ์อาจเป็นการเลือกปฏิบัติ • เพราะ...หญิงกับชายแตกต่างกันใน • สรีระ • บทบาท- กำหนดโดยการบ่มเพาะทางสังคม • ความคาดหวังเกี่ยวกับหน้าที่ ความสามารถ ความ ต้องการ และความสนใจ

  11. แก้ไข ความไม่เท่าเทียมในอำนาจ ระหว่างหญิงชาย • ได้รับโอกาสเท่ากัน และ เข้าถึงโอกาสเท่ากัน • นโยบาย/กฎหมาย/โครงการต้อง • สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อความเสมอภาค • เช่น ให้บริการเศรษฐกิจและสังคม (ศูนย์เลี้ยงเด็ก บริการขนส่ง พัฒนาศักยภาพ) • การดำเนินการเชิงบวก ในรูปของ “มาตรการพิเศษชั่วคราว” • ขจัดอุปสรรคที่หยั่งรากลึก หรือเกิดจากระบบที่ครอบงำโดยอิทธิพลของผู้ชาย

  12. สรุปว่า ในเมื่อหญิงชายแตกต่างกัน ทั้งทางสรีระ และ บทบาท • จะปฏิบัติต่อหญิงและชายเหมือนกันไม่ได้ • ถ้าต้องการ ผลลัพธ์ เท่าเทียมอาจต้องปฏิบัติต่างกัน • พันธะของรัฐภาคี คือประกันให้มีความเสมอภาคใน • โอกาส • การเข้าถึงโอกาส • ผลลัพธ์

  13. ทำอย่างไรจึงจะจัดว่า ไม่เลือกปฏิบัติ? • การเลือกปฏิบัติ มีทั้งทางตรง และ ทางอ้อม • การแบ่งแยก / กีดกัน / จำกัดใดๆ มีผล หรือ มุ่งทำลาย/ปฏิเสธการใช้สิทธิ • แม้ไม่ตั้งใจทำลาย /ปฏิเสธสิทธิ แต่ถ้าเกิดผล ก็ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ • ความเสียเปรียบ ในปัจจุบัน อาจเกิดจากการเลือกปฏิบัติ ในอดีต • นโยบาย “จ้างทีหลัง ออกก่อน” • นโยบายไม่แต่งตั้งผู้หญิงในตำแหน่ง X

  14. พันธกรณี - รัฐภาคีต้องทำอะไรบ้าง? • ต้องยอมรับกฎเกณฑ์ มาตรฐานสากล ที่จะขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี • แก้ไขกฎระเบียบ เพื่อสร้างความเสมอภาคหญิงชาย • ยอมถูกตรวจสอบทั้งในระดับชาติ (เช่น โดย NGO) และ นานาชาติ (โดยคณะกรรมการ CEDAW) • เสนอรายงานทุกๆสี่ปี • ระบุความก้าวหน้าในการขจัดอุปสรรค

  15. ความคืบหน้า • การออกกฎหมายคุ้มครอง/แก้ไขการเลือกปฏิบัติ • การถอนข้อสงวน • กำลังดำเนินเรื่องขอถอนข้อสงวนต่อข้อ ๑๖ ของอนุสัญญา CEDAW • แก้ไขกฎหมายที่มีผลต่อความเสมอภาคในครอบครัวและการสมรส • แต่...ยังต้องดำเนินการเรื่อง • สิทธิตัดสินใจกำหนดจำนวนบุตร • การทำหมัน • การรับผิดชอบบุตรในทางกฎหมายและทางปฎิบัติ

  16. กฎหมายคุ้มครอง/แก้ไขการเลือกปฏิบัติกฎหมายคุ้มครอง/แก้ไขการเลือกปฏิบัติ • รัฐธรรมนูญ พศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๓๐ • บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน • การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่อง.........เพศ.......จะกระทำมิได้ • มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่นย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ.....

  17. ยกร่างกฎหมาย “ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียมระหว่างเพศ พศ. ....” • ครม. เห็นชอบในหลักการ • อยู่ระหว่างการพิจารณาโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา • สาระสำคัญที่ครอบคลุม • คณะกรรมการส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียมระหว่างเพศ • กำหนดนโยบาย วางแนวทางมาตรการต่างๆ • คณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ • บทกำหนดโทษ • สงเคราะห์ผู้เสียหาย • กองทุนส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียมระหว่างเพศ

  18. มาตรา ๓ ของร่างพรบ. กำหนดความหมายของ “การเลือกปฏิบัติอันไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ” • การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ หมายความว่า • การกระทำหรือการไม่กระทำการใด อันเป็นการแบ่งแยก กีดกัน หรือจำกัดสิทธิประโยชน์ใดๆ • ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยปราศจากความเป็นธรรม • เพราะเหตุที่บุคคลนั้นเป็นเพศชายหรือหญิง • หรือมีการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกำเนิด • เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุผลทางวิชาการ ศาสนา หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ • เทียบกับคำจำกัดความของ CEDAWแตกต่างกัน(ด้อยกว่า)มาก

  19. สิทธิส่วนตัวเช่นเดียวกันในฐานะสามีและภรรยา รวมถึงสิทธิในการเลือกใช้นามสกุลและการประกอบอาชีพ • พระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ ๓) พศ. ๒๕๔๘ • คู่สมรสทั้งหญิงและชาย เลือกใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดก็ได้ • หย่า – กลับไปใช้สกุลเดิม • หม้าย – ใช้ต่อไปได้ ถ้าจะสมรสใหม่ กลับไปใช้สกุลเดิมก่อน • พระราชบัญญัติคำนำหน้านามหญิง พศ. ๒๕๕๑ • อายุ ๑๕ ปีขึ้นไป ยังไม่ได้สมรส ใช้ “นางสาว” • หากจดทะเบียนสมรส เลือกใช้ “นาง” หรือ “นางสาว” • สิ้นสุดการสมรสแล้ว เลือกได้เช่นกัน

  20. สิทธิและความรับผิดชอบเช่นเดียวกันระหว่างการสมรสและการขาดจากการสมรสสิทธิและความรับผิดชอบเช่นเดียวกันระหว่างการสมรสและการขาดจากการสมรส • พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๑๖) พศ. ๒๕๕๐ • ชายและหญิงคู่หมั้นสามารถเรียกร้องค่าทดแทนจากผู้อื่นที่ร่วมประเวณีหรือข่มขืนกระทำชำเราคู่หมั้น • สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ • เดิม “สามีอุปการะ....” ภริยาฟ้องหย่าได้ • ผู้ชายมีชู้ ภริยาฟ้องหย่าไม่ได้ • แต่ผู้หญิงมีชู้ สามีฟ้องหย่าได้

  21. การให้ความคุ้มครองระหว่างสมรสการให้ความคุ้มครองระหว่างสมรส • พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๑๙) พศ. ๒๕๕๐ • ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นมีความผิด • เดิม – “หญิงอื่นซึ่งไม่ใช่ภริยา”” • ผู้ใดกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี • ซึ่งไม่ใช่ภริยาหรือสามีของตนมีความผิด • เดิม – “เด็กหญิง”” • เดิม – “ไม่ว่าเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม””

  22. สรุป: CEDAW กับความเสมอภาคหญิงชายในประเทศไทย • ความเสมอภาคไม่ได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ • การที่รัฐที่เข้าเป็นภาคีของอนุสัญญา ก็เท่ากับว่า • ตระหนักถึงปัญหาความไม่เสมอภาค • ยอมรับว่า เป็นหน้าที่ของรัฐต้องดำเนินการ • เต็มใจถูกตรวจสอบ • หญิงและชายต้องใช้สิทธิอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ประโยชน์เต็มที่จากหลักการว่า เป็นพันธะของรัฐ • กำหนดเป้าหมาย นโยบาย กฎหมาย ประเมินผล

  23. เนื้อหาโดยสรุปของบทบัญญัติ ในอนุสัญญาCEDAW

  24. ข้อ ๑ คำจำกัดความ ของการเลือกปฏิบัติต่อสตรี • การแบ่งแยก การกีดกันหรือการจำกัดใดๆ เพราะเหตุแห่งเพศ • ซึ่งมีผลหรือความมุ่งประสงค์ที่จะทำลาย หรือทำให้เสื่อมเสียการยอมรับ การได้อุปโภค หรือใช้สิทธิโดยสตรี • โดยไม่คำนึงถึงสถานภาพด้านการสมรส • บนพื้นฐานของความเสมอภาคของบุรุษและสตรี • ของสิทธิมนุษยชน • และเสรีภาพขั้นพื้นฐานในทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม พลเมือง หรือด้านอื่นๆ

  25. ข้อ ๒ • ประณามการเลือกปฏิบัติต่อสตรี • บรรจุหลักการความเสมอภาคหญิงชาย • ไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือในกฎหมายอื่น • กำหนดมาตรการนิติบัญญัติ และข้อกฎหมาย • ห้ามการเลือกปฏิบัติต่อสตรี • จัดให้มีการคุ้มครองทางกฎหมายต่อการเลือกปฏิบัติ • งดเว้นการกระทำใดๆที่เลือกปฏิบัติต่อสตรี

  26. ประกันว่า • เจ้าหน้าที่และสถาบันของรัฐปฏิบัติโดยสอดคล้องกับข้อผูกพันนี้ • ใช้มาตรการที่เหมาะสมทุกอย่างที่จะขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี • โดยบุคคล องค์การ หรือวิสาหกิจใดๆ • ออกกฎหมาย หรือมาตรการที่เหมาะสมอื่นๆ • เพื่อเปลี่ยนแปลงหรือล้มเลิกกฎหมาย ข้อบังคับ ประเพณี และแนวปฏิบัติที่ก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี • เพิกถอนบทบัญญัติทางอาญา • ซึ่งก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี

  27. ข้อ ๓ • รัฐภาคีต้องใช้มาตรการทั้งปวง ในทุกด้าน • เพื่อรับประกันพัฒนาการและความก้าวหน้าอย่างเต็มที่ของสตรี

  28. ข้อ ๔ มาตรการพิเศษชั่วคราว • การออก มาตรการพิเศษชั่วคราว เพื่อเร่งรัดให้มีความเสมอภาคที่แท้จริงระหว่างหญิงชาย ไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ • มาตรการเชิงบวก • มาตรการพิเศษซึ่งมุ่งที่จะปกป้องความเป็นมารดา • ตราบที่ความไม่เสมอภาคยังมี ก็คงมาตรการไว้ได้ • แต่ไม่ใช่ ทำให้เกิด มาตรฐานที่ไม่เท่าเทียม หรือแบ่งแยก

  29. ข้อ ๕ อคติ ประเพณี และวิธีปฏิบัติอื่นๆ ที่อยู่บนพื้นฐานบทบาทเดิมของหญิงชาย • ปรับเปลี่ยนแบบแผนทางสังคมและวัฒนธรรม • เพื่อขจัดวิธีปฏิบัติที่อยู่บนพื้นฐานของความคิดเกี่ยวกับ • บทบาททางเพศแบบเดิมๆ หรือ • ความต่ำต้อยหรือสูงส่งของเพศใดเพศหนึ่ง • รับประกันว่า จะสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับความเป็นมารดา • ว่าเป็นหน้าที่ทางสังคม • การเลี้ยงดูและพัฒนาบุตรเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของหญิงและชาย

  30. ข้อ ๖ การค้าสตรีและการแสวงประโยชน์จากสตรี • รัฐภาคีจะใช้มาตรการที่เหมาะสมทุกอย่าง รวมทั้งการออกกฎหมาย • เพื่อปราบปรามการค้าสตรี • และการแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีของสตรี

  31. ข้อ ๗ สิทธิสตรีในการมีบทบาทสาธารณะและการเมือง • ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในการเมืองและราชการ • หญิงและชายต้องมีสิทธิเท่าเทียมกันที่จะ • ออกเสียงเลือกตั้ง และได้รับเลือกตั้ง • ร่วมในการวางนโยบาย และการปฏิบัติหน้าที่ราชการ • ร่วมในองค์การและสมาคม • ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจกรรมสาธารณะและการเมือง • เช่น สหภาพแรงงาน และ สมาคมวิชาชีพ

  32. ข้อ ๘ การเป็นผู้แทนและการมีส่วนร่วมในระดับนานาชาติ • สตรีต้องได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมที่จะ • เป็นผู้แทนรัฐบาล • เข้าร่วมในงานขององค์การระหว่างประเทศ เช่น • สหประชาชาติ องค์การชำนัญพิเศษ • กองทุน และโครงการต่างๆ

  33. ข้อ ๙ สัญชาติ • ให้สิทธิกับหญิงและชายอย่างเสมอภาค ที่จะ • ได้มา เปลี่ยนแปลง หรือ คงไว้ซึ่งสัญชาติของตน • สัญชาติของสตรีจะไม่ถูกกระทบ • จากการแต่งงานกับคนต่างชาติ • หรือจากการเปลี่ยนสัญชาติของสามี • หญิงและชายจะได้รับสิทธิเสมอภาค • เกี่ยวกับสัญชาติของบุตร

  34. ข้อ ๑๐ การศึกษา • ใช้มาตรการเพื่อประกันให้สตรีมีสิทธิเสมอภาคกับบุรุษในการศึกษา เช่น • อาชีพ แนะแนวอาชีพ การฝึกฝนอาชีพทุกแบบ • การศึกษาก่อนเข้าโรงเรียน การศึกษาผู้ใหญ่ • การได้ทุนการศึกษา • ขจัดแนวคิดแบบเก่าเกี่ยวกับบทบาทของบุรุษและสตรี • โดยการทบทวนตำรา วิธีการสอน • ลดอัตราการออกจากโรงเรียนของผู้หญิง

  35. ข้อ ๑๒สุขภาพ • ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในการดูแลสุขภาพ • ประกันการเข้าถึงบริการสุขภาพ • รวมทั้งบริการวางแผนครอบครัว • อย่างเสมอภาคกับบุรุษ • ให้สตรีได้รับบริการที่เหมาะสมเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การคลอดบุตร การดูแลหลังคลอด • ให้เปล่าในกรณีที่จำเป็น • จัดให้มีโภชนาการอย่างเพียงพอ • ระหว่างการตั้งครรภ์ และในระยะเวลาการให้นมบุตร

  36. ข้อ ๑๓ เศรษฐกิจและสังคม • ใช้มาตรการที่เหมาะสม เพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะสิทธิที่จะ • ได้รับผลประโยชน์ด้านครอบครัว • ได้กู้ยืมจากธนาคาร การจำนอง และสินเชื่อด้านการเงิน • เข้าร่วมในกิจกรรมนันทนาการ กีฬา วัฒนธรรม

  37. ข้อ ๑๔ การเลือกปฏิบัติต่อสตรีในชนบท • คำนึงถึงปัญหาเฉพาะ และบทบาทเศรษฐกิจของสตรีที่ช่วยครอบครัวให้อยู่รอด • รวมทั้งงานที่ไม่มีการตีราคาเป็นตัวเงิน • ให้สตรีมีสิทธิอย่างเท่าเทียมกับบุรุษที่จะ • เข้าถึงการดูแลสุขภาพ รวมทั้งการวางแผนครอบครัว • ได้รับประโยชน์จากโครงการประกันสังคม • การฝึกอบรมและการศึกษาทุกรูปแบบ • เข้าถึงสินเชื่อ เงินกู้เพื่อการเกษตร การตลาด • การปฏิรูปที่ดิน และการตั้งถิ่นฐานใหม่

  38. ข้อ ๑๕ ความเสมอภาคทางกฎหมาย • สตรีจะมีความสามารถตามกฎหมายเช่นเดียวกับบุรุษ • มีสิทธิเท่าเทียม • ในการทำสัญญา จัดการทรัพย์สิน • ได้รับการปฎิบัติอย่างเท่าเทียม • ในกระบวนการทางศาลและการชำระความทุกขั้นตอน • สัญญา / เอกสารส่วนตัวอื่นๆ ซึ่งมุ่งจำกัดความสามารถทางกฎหมายของสตรี จะถือว่าใช้ไม่ได้และเป็นโมฆะ • สตรีและบุรุษจะได้รับสิทธิเช่นเดียวกัน • ในเสรีภาพของการโยกย้าย การเลือกถิ่นที่อยู่ และภูมิลำเนา

  39. ข้อ ๑๖ การสมรสและความสัมพันธ์ทางครอบครัว • สตรีจะได้รับสิทธิเช่นเดียวกับบุรุษ • ในการสมรส • มีอิสระในการเลือกคู่สมรส • สตรีจะมีสิทธิและความรับผิดชอบเช่นเดียวกับบุรุษ • ระหว่างการสมรส และขาดจากการสมรส • ในฐานะบิดามารดา • จำนวนและระยะห่างของบุตร การปกครองบุตร • สตรีมีสิทธิส่วนตัวเช่นเดียวกับบุรุษในฐานะสามีภรรยา • ในการเลือกใช้นามสกุล การประกอบอาชีพ • การเป็นเจ้าของ การได้มา การจัดการทรัพย์สิน

More Related