1 / 24

Backward Linkages ในภาคอุตสาหกรรมไทย : การวัดและนัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

Backward Linkages ในภาคอุตสาหกรรมไทย : การวัดและนัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ. อลงกรณ์ ธนศรีธัญญากุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาธรรมศาสตร์ 9 กันยายน 2556. ประเด็นเนื้อหา. บทนำ Conceptual Framework FDI benefits International production network and MNEs วรรณกรรมปริทัศน์

annice
Download Presentation

Backward Linkages ในภาคอุตสาหกรรมไทย : การวัดและนัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Backward Linkages ในภาคอุตสาหกรรมไทย: การวัดและนัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ อลงกรณ์ ธนศรีธัญญากุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาธรรมศาสตร์ 9 กันยายน 2556

  2. ประเด็นเนื้อหา • บทนำ • Conceptual Framework • FDI benefits • International production network and MNEs • วรรณกรรมปริทัศน์ • วิธีการศึกษา: IO Framework และสมการกำหนด Backward Linkage • ผลการศึกษา • ข้อสรุปและข้อเสนอแนะทางนโยบาย

  3. บทนำ • นับตั้งแต่เกิดกระแสเงินลงทุนโดยตรง (FDI) ไหลเข้าประเทศไทย ภาครัฐพยายามผลักดันให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตข้ามชาติกับผู้ผลิตชิ้นส่วนภายในประเทศไทยมาโดยตลอด (หรือส่งเสริมให้เกิด Backward Linkage ให้ได้มากที่สุด) • แนวคิดข้างต้นเกิดจากความเชื่อพื้นฐานสำคัญคือ ความเชื่อมโยงดังกล่าวช่วยให้การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างยั่งยืน และก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมสูงขึ้น รวมทั้งผลประโยชน์การจ้างงานเพิ่มขึ้น (Lall and Rao, 1995) • แนวคิดดังกล่าวจึงสะท้อน Backward Linkage จึงเป็นปัจจัยกำหนดผลประโยชน์ของประเทศผู้รับเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเป็นสำคัญ

  4. อย่างไรก็ตาม บริบทการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยที่ผ่านมา อุตสาหกรรมต่างๆ สามารถพัฒนาความเชื่อมโยงไปข้างหลัง (Backward Linkage) ในระดับแตกต่างกันไป • ยกตัวอย่าง อุตสาหกรรมรถยนต์และอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศถึงร้อยละ 80 ในขณะที่อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (HDD) และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนวงจรรวม (IC) กลับใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศเพียงร้อยละ 40 และ 25 ตามลำดับ • คำถามสำคัญ คือ ภายใต้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหากไทยไม่สามารถพัฒนาความเชื่อมโยงไปข้างหลังขึ้นได้แล้ว ไทยจะไม่ได้ผลประโยชน์ใดๆ เลยหรือไม่ (เช่น การเป็นฐานประกอบสินค้า จะได้รับเพียงค่าจ้างแรงงานเท่านั้น)

  5. วัตถุประสงค์ของงานศึกษาวัตถุประสงค์ของงานศึกษา • การวัดความเชื่อมโยงไปข้าง (Backward Linkage) และผลประโยชน์ทั้งทางด้านรายได้จากการส่งออกและการสร้างการจ้างงานของภาคอุตสาหกรรมไทยให้เป็นระบบตั้งแต่ปี 1985-2005 • เพื่อหาความสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่าง Backward Linkage และผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น • การหาปัจจัยกำหนดความเชื่อมโยงไปข้างหลังของภาคอุตสาหกรรมไทย • เพื่อพิจารณาปัจจัยพื้นฐานอุตสาหกรรม และนโยบายภาครัฐ (เช่น ระดับการคุ้มครองอุตสาหกรรม) ส่งผลต่อความเชื่อมโยงไปข้างหลังของภาคอุตสาหกรรมไทยในทิศทางใด (Positive/ Negative Effect)

  6. Conceptual Framework • FDI Benefits: • Direct effect: Growth in export Growth in employment • Indirect effect: Industrial deepening (Backward-Linkage: BWL) • FDI สามารถผลักดันให้ไทยผลิตสินค้าเพื่อส่งออกตลาดโลกมากขึ้น โดยปัจจุบัน ไทยส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกือบร้อยละ 50 ของมูลค่าการผลิตทั้งหมด

  7. International production network and MNEs: • ภายใต้เครือข่ายการผลิตระหว่างประเทศ การผลิตภายในประเทศอาจเชื่อมโยงกับเครือข่ายการผลิตระหว่างประเทศได้ เพราะปัจจุบัน เทคโนโลยีก้าวหน้าจึงทำให้กระบวนการผลิตสามารถแบ่งแยกออกเป็นขั้นตอนต่างๆ ได้ และบรรษัทข้ามชาติจะเป็นผู้กำหนดให้ประเทศต่างๆ อยู่กระบวนการผลิตขั้นใด (ขั้นต้น/ขั้นกลาง/ขั้นปลาย) • ดังนั้น เมื่อประเทศต่างๆ ยิ่งเข้าไปอยู่ในเครือข่ายการผลิตระหว่างประเทศ ย่อมทำให้กระบวนการสร้างความเชื่อมโยงในภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศยิ่งลดลงไป (หรือที่เรียกว่า De-linkages)

  8. เหตุผลที่ MNEs ไม่ใช้ชิ้นส่วนภายที่ผลิตภายในประเทศ: • ประการแรก ในความเป็นจริง ผู้ผลิตข้ามชาติจะสามารถได้รับผลประโยชน์บางประการจากการใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศ เช่น การลดต้นทุนค่าขนส่ง และความสามารถจัดการบริหารสินค้าคงคลังได้สะดวกขึ้น แต่ผู้ผลิตข้ามชาติก็ยังเกิดความกังวลต่อประสิทธิภาพของผู้ผลิตภายในประเทศ • ประการที่สอง ผู้ผลิตจำเป็นต้องหาแหล่งวัตถุดิบที่ถูกที่สุด เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก • นอกจากนี้ แนวโน้มการผลิตชิ้นส่วนภายในประเทศจะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด ยังขึ้นอยู่กับลักษณะโดยธรรมชาติอุตสาหกรรม (ระดับเงินลงทุนและความซับซ้อนของเทคโนโลยี) และศักยภาพการผลิตของผู้ผลิตภายในประเทศ

  9. วรรณกรรมปริทัศน์ • ปัจจัยกำหนดระดับ Backward-linkages ในภาคอุตสาหกรรม • งานศึกษาที่ผ่านมาจะมุ่งพิจารณาอุตสาหกรรมเฉพาะเป็นส่วนใหญ่ โดยมีวิธีการศึกษาทั้งใช้วิธีทางเศรษฐมิติ และวิธีการสัมภาษณ์ • ผลประโยชน์ทางการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัทสาขาไปสู่บริษัทผู้ผลิตภายในประเทศ (Technology Spillover) • ผลประโยชน์ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่มีต่อประเทศเจ้าบ้าน • ผลประโยชน์ของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน และเงินรายได้จากต่างประเทศ

  10. วิธีการศึกษา • การคำนวณ: • 1) Backward linkage • 2) Net export earning • 3) Employment creation induced by export • การหาสมการกำหนดปัจจัยกำหนดความเชื่อมโยงไปข้างหลัง:

  11. ข้อมูลการศึกษา • อาศัยข้อมูลตารางปัจจัย-ผลผลิตในปี 1985-2005 (จัดทำทุกๆ 5 ปี)และข้อมูล Labor Force Surveyสำหรับการคำนวณ 1) Backward linkage2) Net export earning และ 3) Employment creation induced by export • ทั้งนี้ งานศึกษานี้ได้ใช้จำกัดความอุตสาหกรรมตามรหัส ISIC และ SITC เพื่อลดความบิดเบือนของผลการศึกษา โดยจำเป็นต้อง mapping รหัส IO ให้ตรงตามรหัสอุตสาหกรรมดังกล่าว • สุดท้าย ข้อมูลปัจจัยกำหนดความโยงไปข้างหลังจะอาศัยข้อมูลสำมะโนครัวอุตสาหกรรมในปี 2006 โดยใช้ข้อมูลระดับ Industrial Level

  12. วิธีการคำนวณ: Backward Linkage, Net export earning และEmployment creation • อาศัยแนวคิดของ Leontief (1966) ซึ่งคิดค้นตารางปัจจัย-ผลผลิตของระบบเศรษฐกิจเพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ในเรื่องการผลิตระหว่างภาคเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งผลผลิตทั้งหมดจะเขียนเป็นเมทริกซ์ได้คือ • สมการข้างต้น สามารถเขียนได้อีกรูปแบบคือ องค์ประกอบของ Leontief Inverse Matrix คือ ซึ่งหมายความว่าหากผลผลิตในสาขา j เพิ่มขึ้น 1 หน่วยแล้ว จำเป็นต้องใช้ผลผลิตสาขา i เท่ากับ

  13. ดังนั้น สามารถคำนวณ Backward Linkage ได้คือ • ในความเป็นจริง การผลิตสินค้าชนิดหนึ่งไม่จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบภายในประเทศทั้งหมด แต่อาจนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศก็ได้ การคำนวณรายได้สุทธิจากการส่งออกจึงต้องหาวัตถุดิบนำเข้าที่เกิดขึ้น ซึ่งคำนวณได้จากเมทริกซ์ดังนี้ • จะได้รายได้สุทธิจากการส่งออกคือ

  14. สำหรับการคำนวณการจ้างงานอันเนื่องจากการส่งออกนั้น จะมีเมทริกซ์การจ้างงานต่ำสุดเพื่อผลิตสินค้าในระบบเศรษฐกิจคือ • หากการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม j ใด ๆ เพิ่มขึ้น จะส่งผลให้เกิดการจ้างงานในอุตสาหกรรมต่างๆ คือ • ท้ายที่สุด จะได้โอกาสการจ้างงานอันเนื่องจากการส่งออกเป็นดังนี้

  15. ผลการศึกษา (1) • ภาคอุตสาหกรรมไทยมีความเชื่อมโยงไปข้างหลังลดลงมาโดยตลอด ยกเว้น ปี 2000 ISIC SITC

  16. สิ่งที่น่าสนใจคือ ที่ผ่านมา ค่าความเชื่อมโยงไปข้างหลังของภาคอุตสาหกรรมตามรหัส ISIC ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้เกิดจากเฉพาะอุตสาหกรรมขั้นทุติยภูมิ (SITC manufacture) เท่านั้น แต่ส่วนหนึ่งยังเกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมที่พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย • ทั้งนี้ แนวโน้มค่าความเชื่อมโยงไปข้างหลังของภาคอุตสาหกรรมลดลง ไม่ได้หมายความว่าทุกอุตสาหกรรมมีความเชื่อมโยงไปข้างหลังลดลงทั้งหมด ซึ่งจาก 87 อุตสาหกรรมย่อย มีอุตสาหกรรมจำนวน 47 อุตสาหกรรมที่สามารถพัฒนาให้เกิดความเชื่อมโยงเพิ่มขึ้นได้ • อุตสาหกรรมที่สูญเสียความเชื่อมโยงไปข้างหลังอย่างมาก คือ อุตสาหกรรมผลิตรองเท้า อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่เหล็ก (Non-ferrous metal) และอุตสาหกรรมแผงวงจรไฟฟ้า

  17. รายได้ส่งออกของภาคอุตสาหกรรมไทย (ล้านบาท) หมายเหตุ: ตัวเลขที่ไม่มีวงเล็บคือรายได้ส่งออกรวม และตัวเลขที่มีวงเล็บคือรายได้ส่งออกสุทธิ

  18. ค่าตัวคูณของการจ้างงาน (Labor Multiplier) หมายเหตุ: ค่าตัวคูณของการจ้างงานคำนวณจากมูลค่าการส่งออก 1,000 บาท (มูลค่าส่งออกปรับตามราคาปีฐานในปี 1988)

  19. ความสามารถจ้างงาน (Labor Creation) จากการส่งออกสินค้าของภาคอุตสาหกรรมไทย หมายเหตุ: ตัวเลขในวงเล็บคือ สัดส่วนความสามารถจ้างงานต่อการจ้างงานรวมทั้งหมด

  20. ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อมโยงไปข้างหลัง รายได้ส่งออกสุทธิ และความสามารถจ้างงานของภาคอุตสาหกรรมไทย หมายเหตุ: BWL คือ ความเชื่อมโยงไปข้างหลังของภาคอุตสาหกรรมไทย NXC คือ รายได้ส่งออกสุทธิของภาคอุตสาหกรรมไทย LCM คือ ความสามารถจ้างงานของภาคอุตสาหกรรมไทย

  21. ผลการศึกษา (2)

  22. สมการปัจจัยกำหนด Backward Linkage ของภาคอุตสาหกรรมไทย

  23. ข้อสรุปและข้อเสนอแนะทางนโยบายข้อสรุปและข้อเสนอแนะทางนโยบาย • ภายใต้บริบทการรับเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และเครือข่ายการผลิตระหว่างประเทศ ความเชื่อมโยงไปข้างหลัง (Backward Linkage) อาจไม่ได้เป็นตัวกำหนดผลประโยชน์ทางรายได้ส่งออกและการจ้างงานของภาคอุตสาหกรรมเสมอไป • ความเชื่อมโยงไปข้างหลังหรือห่วงโซ่อปุทานของภาคอุตสาหกรรมถูกกำหนดจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เช่น อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรม และจำนวนบริษัทข้ามชาติ เป็นต้น • ที่สำคัญ ความเชื่อมโยงไปข้างหลังหรือการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานจำเป็นต้องอาศัยเวลายาวนาน

  24. ภาครัฐไม่ควรเข้าไปแทรกแซงการสร้างห่วงโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรมโดยตรง เพราะอาจเกิดผลบิดเบือนของภาคอุตสาหกรรมขึ้นได้ และห่วงโซ่อุปทานดังกล่าวอาจไม่มีความยั่งยืนเสมอไป • ภาครัฐควรเร่งสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการภายในประเทศ โดยเฉพาะบริษัทคนไทยสามารถยกระดับการผลิตของตนเองให้เป็นที่ต้องการของบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์ต่างชาติให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การยกระดับมาตรฐานการตรวจสอบทั้งชิ้นส่วนการผลิตและผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น

More Related