1 / 10

การออกแบบสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน

การออกแบบสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน. สถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน

ania
Download Presentation

การออกแบบสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การออกแบบสถานีดาวเทียมภาคพื้นดินการออกแบบสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน

  2. สถานีดาวเทียมภาคพื้นดินสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน สถานีดาวเทียมภาคพื้นดินได้หลายแบบทั้งที่เป็นสถานีขนาดใหญ่และสถานีขนาดเล็กยกตัวอย่างเช่น สถานีรับสัญญาณเคเบิล TV ของ UBC ในประเทศไทยเป็นสถานีขนาดเล็กที่ทำหน้าที่รับสัญญาณอย่างเดียว ไม่มีการส่งสัญญาณกลับไปยังตัวดาวเทียม สามารถพบเห็นได้ตามบ้านเรือนทั่วไป ส่วนสถานีขนาดใหญ่ก็ได้แก่สถานีส่งTV ที่มีจานสายอากาศขนาดใหญ่ หรือ สถานีควบคุมดาวเทียมไทยคมที่ตั้งอยู่ ณ จังหวัดนนทบุรี นอกจากนี้แล้วก็ยังมีสถานีที่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น รถถ่ายทอดสดของโทรทัศน์ช่องต่างๆ โทรศัพท์มือถือผ่านดาวเทียม เรือเดินสมุทร เครื่องรับ GPS ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของสถานีที่สามารถเคลื่อนที่ได้

  3. โดยทั่วไปแล้วสถานีภาคพื้นดินมักจะประกอบไปด้วยโครงสร้างหลักๆที่คล้ายกัน ประกอบไปด้วย 1.สายอากาศ 2.เครื่องขยายสัญญาณที่มีสัญญาณรบกวนต่ำ 3.สายส่งสัญญาณ เช่นท่อนำคลื่น 4.เครื่องแปลงความถี่ให้ต่ำลง (ส่วนใหญ่มักจะอยู่รวมกันที่สายอากาศรับ) 5.เครื่องรับสัญญาณ 6.โมเด็มดาวเทียม 7.เครื่องส่ง 8.วงจรขยายกำลัง

  4. สายอากาศ ( Antenna ) ทำหน้าที่แพร่กระจายคลื่นสัญญาณขาขึ้นไปยังดาวเทียมและทำหน้าที่รับ สัญญาณขาลงไปยังจานสายอากาศ โดยจานสายอากาศนั้นต้องมีอันตราการขยาย สัญญาณสูง,ลำคลื่น(bandwidth) และมีความเที่ยงตรงสูงมาก สามารถปรับทิศทาง ไปยังตำแหน่งดาวเทียมได้ตามต้องการ

  5. เครื่องขยายสัญญาณที่มีสัญญาณรบกวนต่ำ ทำหน้าที่ขยายสัญญาณ ด้วยวงจร LNA ขยายสัญญาณในช่วงความถี่สูง RF AMP เป็นการขยายแบบ การรบกวนต่ำ  เพื่อให้ได้สัญญาณจริงที่ส่งมาจากดาวเทียมและส่งต่อเข้าไปที่วงจรเปลี่ยนความถี่ให้ต่ำลง  ปรับสัญญาณเป็นแบบ สัญญาณ IF ส่งออกต่อไปที่ขั้ว OUTPUT ของตัว LNB เพื่อส่งเข้าเครื่องรับดาวเทียมต่อไป เมื่อสัญญาณที่รวมจากจานดาวเทียมแล้ว  จะถูกส่งต่อเข้าไปยังอุปกรณ์ขยายสัญญาณที่มีการรบกวนของสัญญาณต่ำ  LNB ( Low Noise Block downconverter )  จะมีขั้วโลหะชิ้นเล็กๆ ความยาวประมาณ 1 นิ้ว อยู่ 2 ขั้วซึ่งในส่วนนี้จริงๆแล้วคือขั้วสายอากาศที่ทำหน้าที่รับสัญญาณจากดาวเทียม  ในแนวตั้ง 1 อันและแนวนอนอีก 1 อัน  เมื่อรับสัญญาณได้แล้วจะส่งต่อไปยังวงจรอิเล็คทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณที่มีการควบควบสัญญาณรบกวนให้ต่ำที่สุด    ถ้าเปรียบเทียบเมื่อสมัยก่อนจะต้องใช้จานขนาดใหญ่มากเพื่อให้เกิดความต่างของสัญญาณรบกวนและสัญญาณจริงที่รับจากดาวเทียม   ก่อนที่จะทำการขยายสัญญาณในวงจร  Low Noise Amplifier  เพื่อให้ได้สัญญาณจริงจากดาวเทียมให้มากที่สุด

  6. เครื่องรับสัญญาณ เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม คือเครื่องแปลงสัญญาณ  ที่รับมาจาก LNB ในช่วงความถี่ IF มาผ่านขบวนการ  แปลงสัญญาณออกมาเป็นสัญญาณภาพและสัญญาณเสียง   เครื่องรับดาวเทียมในปัจจุบันมี 2 ระบบด้วยกัน คือ ระบบ Analog และระบบ Digital

  7. โมเด็มดาวเทียม ทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่ต้องการส่งผ่านระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมให้อยู่ในรูปของ สัญญาณคลื่นวิทยุที่มีข้อมูลผสมอยู่ให้ได้เป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานได้

  8. วงจรขยายกำลัง เนื่องจากดาวเทียมอยู่ห่างจากโลกมาก จึงจำเป็นต้องมีการขยายกำลังส่ง ให้มีค่ามากพอจึงต้องใช้วงจรขยายกำลัง วงจรขยายกำลังที่ใช้สำหรับดาวเทียมมีหลายชนิดคือ •Solid State Power Amplifier (SSA) • TWTA • หลอด Klystron • Magnetron

  9. ช่วงความถี่ที่ใช้งาน เนื่องจากมีดาวเทียมเป็นจำนวนมากอยู่ในอวกาศ จึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานกลางคอยจัดดูแลการใช้งานความถี่ที่สำหรับการสื่อสาร รวมทั้งความถี่ที่ใช้สื่อสารกับดาวเทียม ช่วงความถี่ที่ใช้งานกับดาวเทียมสามารถแบ่งเป็นช่วงต่างๆได้ดังตาราง

  10. รูปแบบการทำงาน

More Related