1 / 73

ยินดีต้อนรับ

วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่. ยินดีต้อนรับ. คณะกรรมการประเมินสถานศึกษา. สถานที่ตั้ง. เลขที่ 167 ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200. โทรศัพท์ 0-5322-1493 โทรสาร 0-5321-7310. WebSite : http:// www.cmvc.ac.th E-mail : info@cmvc.ac.th. วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่

amalie
Download Presentation

ยินดีต้อนรับ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ยินดีต้อนรับ คณะกรรมการประเมินสถานศึกษา

  2. สถานที่ตั้ง เลขที่ 167 ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์ 0-5322-1493 โทรสาร 0-5321-7310 WebSite : http://www.cmvc.ac.th E-mail : info@cmvc.ac.th

  3. วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2476 มีเนื้อที่ 9 ไร่ 3 งาน 24 ตารางวา

  4. ปรัชญาวิทยาลัย มีคุณธรรม นำวิชาการ ชำนาญวิชาชีพ

  5. ประเภทวิชาที่เปิดสอนในปัจจุบันประเภทวิชาที่เปิดสอนในปัจจุบัน ประเภทวิชาคหกรรม ระดับ ปวช. และ ปวส. เปิดสอนในระบบปกติ สาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย เทคโนโลยีอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม เทคโนโลยีผ้าและเครื่องแต่งกาย อาหารและโภชนาการ คหกรรมศาสตร์ การบริหารงานคหกรรมศาสตร์ ในระบบทวิภาคี เปิดสอนสาขางานการประกอบอาหารและบริการ สาขางานการดูแลเด็กและผู้สูงอายุ

  6. ประเภทวิชาบริหารธุรกิจประเภทวิชาบริหารธุรกิจ เปิดสอนระดับปวช. และปวส. ระบบปกติ ในสาขา วิชาการบัญชี การเลขานุการ การตลาด คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ในระบบทวิภาคี เปิดสอนสาขางานการจัดการธุรกิจค้าปลีก ประเภทวิชาศิลปกรรม เปิดสอนระดับ ปวช. ในสาขาวิชาศิลปกรรม ระดับ ปวส. เปิดสอน สาขาวิชาวิจิตรศิลป์ การออกแบบ การถ่ายภาพและวีดีทัศน์

  7. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวประเภทวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เปิดสอนระดับ ปวส. ในสาขาวิชาการโรงแรมและบริการ และ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว ประเภทวิชาพาณิชยกรรม เปิดสอนในระดับปวช. สาขาวิชาพณิชยการ

  8. คณะผู้บริหาร

  9. คณะผู้บริหาร

  10. วิสัยทัศน์ "มุ่งเป็นสถานศึกษาชั้นนำของการอาชีวศึกษาด้านอุตสาหกรรมบริการ"

  11. พันธกิจ พันธกิจที่ 1 ผลิตผู้สำเร็จการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานอาชีพทางด้านอุตสาหกรรมบริการ พันธกิจที่ 2 พัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านอุตสาหกรรมบริการ พันธกิจที่ 3 พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล พันธกิจที่ 4 พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ พันธกิจที่ 5 วิจัย พัฒนา และสร้างนวัตกรรมด้านอุตสาหกรรมบริการ พันธกิจที่ 6 พัฒนาศักยภาพการให้บริการชุมชนและสังคม

  12. เป้าประสงค์ 1.เพื่อดำเนินงานวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่อย่างมีประสิทธิภาพในทุกมิติ ทั้งด้าน ประสิทธิผลตามยุทธศาสตร์ ด้านคุณภาพการบริการ 2. สามารถผลิตบุคลากรด้านอุตสาหกรรมบริการที่มีคุณภาพตามมาตรฐานอาชีพ มีความรู้จริง มีสมรรถนะในการปฏิบัติงาน และการประกอบอาชีพ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด และการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมของประเทศ

  13. ขั้นตอนการดำเนินงาน วางแผนการดำเนินงาน จัดทำคำสั่งวิทยาลัยฯ 233/2548 แต่งตั้งคณะกรรมการ ดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน คณะกรรมการ ระดับวิทยาลัย คณะกรรมการ ระดับสาขาวิชา กลุ่มวิชา

  14. 2. ประชุมชี้แจงบุคลากรให้ทราบแนวทางการปฏิบัติงาน • 3. อบรมบุคลากรให้มีความรู้ ด้านการประกันคุณภาพ • 4. ทัศนศึกษาดูงานด้านต่าง ๆ

  15. การดำเนินงานแต่ละมาตรฐานและตัวบ่งชี้การดำเนินงานแต่ละมาตรฐานและตัวบ่งชี้ 1.มาตรฐานด้านผู้สำเร็จการศึกษาและผู้เรียน มาตรฐานที่ 1 ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้เชิงวิชาการ มีทักษะในวิชาชีพและทักษะชีวิตอันส่งผลต่อการประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา สัมฤทธิ์ผล (Achievement) จากการดำเนินการตามมิติของความตระหนักและมิติของความพยายามแล้ว พบว่าผู้เรียนที่ศึกษาในปีการศึกษา 2548 มีผู้สำเร็จการศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 2,625คน คิดเป็นร้อยละ 93.98 ซึ่งเทียบเกณฑ์มาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ในระดับดี

  16. ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 ผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ (Competency Profile) ในสาขาวิชาที่เรียน สัมฤทธิ์ผล (Achievement) ผู้เรียนระดับชั้น ปวช. 3 ทุกสาขาวิชา ผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ คิดเป็นร้อยละ 99 ชั้น ปวส. 2 ทุกสาขาวิชาผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ คิดเป็นร้อยละ 99 และคิดรวมทั้งระดับ ปวช.3 และ ปวส. 2 ผ่านการประเมิน มาตรฐานวิชาชีพ คิดเป็นร้อยละ 99

  17. ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 ได้งานทำในสถานประกอบการหรือประกอบอาชีพอิสระ หรือศึกษาต่อภายใน 1 ปี • สัมฤทธิ์ผล (Achievement) • จากการติดตามข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษาจำนวน 947 คน • มีผู้ศึกษาต่อ 601 คน คิดเป็นร้อยละ 63.46 • ได้ทำงานในสถานประกอบการ 184 คน คิดเป็นร้อยละ 19.43 • ประกอบอาชีพอิสระ 75 คน คิดเป็นร้อยละ 7.92 • รวมผู้มีงานทำ 259 คน คิดเป็นร้อยละ 27.35 • อื่น ๆ 87 คน สรุป มีผู้ศึกษาต่อ และ ผู้มีงานทำรวม 860 คน คิดเป็นร้อยละ 90.81

  18. ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 ผู้ประกอบการ หัวหน้าหน่วยงาน ที่รับผู้สำเร็จการศึกษา เข้าทำงาน มีความพอใจทั้งในด้านความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สัมฤทธิ์ผล (Achievement) วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ได้ส่งแบบสอบถามเพื่อสำรวจความพึงพอใจของ ผู้ประกอบการ หน่วยงานที่ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ เข้าทำงาน พบว่า ผู้ประกอบการและ หน่วยงานต่าง ๆ มีความพึงพอใจต่อผู้สำเร็จ การศึกษาจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ในระดับพอใช้ คิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.47

  19. สรุปผลการประเมินมาตรฐานที่ 1

  20. มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีการพัฒนาความรู้ในทักษะพื้นฐานทักษะในการปฏิบัติงาน และพัฒนาตนเอง ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในแต่ละหมวดวิชา ตามโครงสร้างหลักสูตรของ สาขาวิชาที่เรียนตามเกณฑ์ที่กำหนด สัมฤทธิ์ผล (Achievement) ในปีการศึกษา 2548ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในแต่ละหมวดวิชาตาม โครงสร้างหลักสูตรของสาขาวิชาที่เรียนตามเกณฑ์ที่หลักสูตรกำหนดในระดับ ปวช. จำนวนผู้เรียนทั้งหมด 2,072 คน มีผู้ผ่านเกณฑ์ 1,572 คน คิดเป็นร้อยละ 76.11 และในระดับ ปวส. จำนวนผู้เรียนทั้งหมด 1,191 คน มีผู้ผ่านเกณฑ์ 1,091คน คิดเป็นร้อยละ 91.60 ผู้เรียนทั้งระดับ ปวช. และปวส. รวม 3,263 คน มีผู้ผ่านเกณฑ์ 2,668 คน คิดเป็นร้อยละ 81.76 อยู่ในระดับ ดี

  21. ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 ผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ ของสาขาวิชาที่เรียนในแต่ระดับ สัมฤทธิ์ผล (Achievement) นักเรียนระดับชั้น ปวช. 3 และ นักศึกษาชั้น ปวส. 2 ทุกสาขาวิชา ผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ คิดเป็นร้อยละ 99 อยู่ในระดับดี ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ประยุกต์ความรู้ และทักษะต่าง ๆ ใช้ในการปฏิบัติงานวิชาชีพ ได้อย่างเหมาะสม สัมฤทธิ์ผล (Achievement) จากการประเมินความสามารถของผู้เรียน ผู้เรียนในระดับ ปวช. มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 95.92 ระดับ ปวส. ร้อยละ 98.74 สรุปได้ว่าผู้เรียนทั้งระดับปวช. และปวส. สามารถประยุกต์ความรู้ และทักษะเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.33 อยู่ในระดับ ดี

  22. ตัวบ่งชี้ที่ 2.4 สามารถศึกษาค้นคว้าจากแหล่งการ เรียนรู้ ต่าง ๆ ทั้งในและ นอกสถานศึกษาด้วยตนเอง สัมฤทธิ์ผล (Achievement) ผู้เรียนทุกคนสามารถศึกษาค้นคว้าตามแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งในและนอกสถานศึกษา ผลการประเมินจัดอยู่ในระดับดี ตัวบ่งชี้ที่ 2.5 มีความรู้และทักษะในการใช้ภาษา และเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานวิชาชีพ สัมฤทธิ์ผล (Achievement) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษา และเทคโนโลยีสารสนเทศได้ระดับคะแนน 3 ขึ้นไปร้อยละ 45.17 รวมนักเรียนที่ได้ผลการเรียนอยู่ในระดับ 3 ขึ้นไปจำนวน 2,871 คน คิดเป็นร้อยละ 43.44 อยู่ในระดับดี

  23. สรุปผลการประเมินมาตรฐานที่ 2

  24. มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม มีความรักในอาชีพ และเป็นสมาชิก ที่ดีในสังคม ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 มีพฤติกรรมที่แสดงถึงความมีวินัยในการปฏิบัติงาน สัมฤทธิ์ผล (Achievement) ผลการดำเนินงานตามโครงการ ผู้เรียนร้อยละ 92.20 ได้ตระหนักถึงการปฏิบัติ ตามโครงการต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแสดงถึง ความมีวินัยในการปฏิบัติงาน ผลการประเมินอยู่ในระดับดี ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย และสามารถ ทำงาน ร่วมกับผู้อื่นได้ ผลสัมฤทธิ์ (Achievement) ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานเป็นคนดีมีคุณธรรม จริยธรรม และได้ตระหนักถึงบทบาท และหน้าที่ความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ผลการประเมินพฤติกรรมของผู้เรียน ในภาพรวมของสถานศึกษา ผู้เรียน มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย พร้อมทั้งสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ร้อยละ 95.37 อยู่ในระดับดี

  25. ตัวบ่งชี้ที่ 3.3 มีพฤติกรรมที่แสดงถึงความรัก ความภาคภูมิใจ และ มีจรรยาบรรณ ในวิชาชีพที่เรียน สัมฤทธิ์ผล (Achievement) ผู้เรียนมีพฤติกรรมแสดงถึงความรัก ความภูมิใจ และมีจรรยาบรรณ ในวิชาชีพที่เรียนร้อยละ 98.54 ผลการประเมินอยู่ในระดับดี ตัวบ่งชี้ที่ 3.4 มีพฤติกรรมที่หลีกเลี่ยงและไม่เกี่ยวข้อง กับสารเสพติด และอบายมุข สัมฤทธิ์ผล (Achievement) จากการคัดกรองพฤติกรรมของผู้เรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ไม่พบว่า มีผู้เรียนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและอบายมุข แต่ประการใด จึงกล่าวได้ว่ามีผลสัมฤทธิ์ในระดับดี

  26. ตัวบ่งชี้ที่ 3.5 มีส่วนร่วมในกิจกรรม/โครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พัฒนาชุมชน สืบสานศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและ กิจกรรมอื่น ๆ ของสถานศึกษา สัมฤทธิ์ผล (Achievement) ผู้เรียน ได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของ สถานศึกษา ตามจำนวนคนที่กำหนด ของแต่ละกิจกรรม โดยส่วนใหญ่แต่ละกิจกรรมมีผู้เรียนเข้าร่วมตามจำนวนที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 100อยู่ในระดับดี

  27. สรุปผลการประเมินมาตรฐานที่ 3

  28. มาตรฐานที่ 4 สถานศึกษามีการระดมทรัพยากร จัดระบบเครือข่ายในการจัดการอาชีวศึกษา รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือกับสถานประกอบการ ชุมชน แหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อการสนับสนุนการจัดการอาชีวศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 จัดผู้สอน และบุคลากรต่างๆ ได้ตรงกับคุณวุฒิ และประสบการณ์ สัมฤทธิ์ผล (Achievement) ผู้สอนและบุคลากรทุกคน ปฏิบัติงานตรงกับคุณวุฒิและประสบการณ์ คิดเป็นร้อยละ100อยู่ในระดับดี ตัวบ่งชี้ที่ 4.2 จัดระบบความร่วมมือประสานงานระหว่างสถานศึกษา ภายใต้สถาบันการอาชีวศึกษา และการใช้ทรัพยากรร่วมกัน สัมฤทธิ์ผล (Achievement) วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ได้ติดต่อประสานงานร่วมกับสถานศึกษาอื่น ในการจัดการศึกษาและการใช้ทรัพยากรร่วมกัน 23 สถานศึกษา จำนวน 36 ครั้ง อยู่ในระดับ ดี

  29. ตัวบ่งชี้ที่ 4.3 จัดระบบความร่วมมือ ประสานงานกับสถานประกอบการ ในการจัดการการศึกษาระบบทวิภาคีและระบบปกติ สัมฤทธิ์ผล (Achievement) มีสถานประกอบการสนใจเข้าร่วมการจัดการเรียนการสอนทวิภาคี 36 แห่ง ซึ่งอยู่ในเกณฑ์พอใช้ ส่วนสถานประกอบการของระบบปกติ 267 แห่ง รวมสถานประกอบการทั้งสิ้น 303 แห่ง ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดี ตัวบ่งชี้ที่ 4.4 จัดหาผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจาก สถานประกอบการ หน่วยงานต่าง ๆ ชุมชน และท้องถิ่น และท้องถิ่น ให้ความรู้ในสถานศึกษา สัมฤทธิ์ผล (Achievement) มีผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิจากสถานประกอบการหน่วยงานต่าง ๆ และชุมชน ให้ความรู้ ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่จำนวน28 คน 55.45 ชั่วโมง ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี

  30. ตัวบ่งชี้ที่ 4.5 จัดหาและจัดการแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งภายใน สถานศึกษา สถานประกอบการ ชุมชน และท้องถิ่น สัมฤทธิ์ผล (Achievement) แหล่งเรียนรู้ที่จัดไว้ในสถานศึกษามีทั้งสิ้น 101 แหล่ง และแหล่งเรียนรู้จากนอกสถานศึกษามีจำนวนทั้งสิ้น 43 แหล่ง ผลการประเมินอยู่ในระดับดี

  31. สรุปผลการประเมินมาตรฐานที่ 4

  32. มาตรฐานที่ 5 สถานศึกษามีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย เน้นการฝึกปฏิบัติจริง เรียนรู้จากประสบการณ์จริง และมีการประเมินผลตามสภาพจริง ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย สอดคล้องกับสาระ มาตรฐาน และตัวผู้เรียน สัมฤทธิ์ผล (Achievement) จากการตรวจแผนการสอนของคณะกรรมการตรวจแผนการสอน การสอบถามผู้สอนการสัมภาษณ์หัวหน้าแผนก/กลุ่มวิชา พบว่า อาจารย์ผู้สอน ใช้วิธีการสอนมากกว่า 1 วิธี เลือกกิจกรรมที่สอดคล้องกับสาระมาตรฐานการเรียน และเลือกกิจกรรมการเรียนได้เหมาะสมกับศักยภาพผู้เรียน คิดเป็นร้อยละ 100 อยู่ในระดับ ดี

  33. ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการฝึกปฏิบัติจริงและเรียนรู้จากประสบการณ์จริง สัมฤทธิ์ผล (Achievement) จำนวนกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการฝึกปฏิบัติจริง และเรียนรู้ จากประสบการณ์จริง ทั้งใน และนอกสถานศึกษาในภาคเรียนที่ 1/2548 จากจำนวนชั่วโมงเรียนทั้งหมด 3,058 ชั่วโมง มีชั่วโมงปฏิบัติ 2,122 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 69.39ผลการประเมินอยู่ในระดับดี และในภาคเรียนที่ 2/2548 จากจำนวนชั่วโมงเรียนทั้งหมด 2,759 ชั่วโมง มีชั่วโมงปฏิบัติ 2,061 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 74.70 ทั้งสองภาคเรียนมีชั่วโมงปฏิบัติคิดเป็นร้อยละ 72.04 ผลการประเมินอยู่ในระดับดี

  34. ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 ใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการเรียนการสอนเพื่อให้ ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้ตามศักยภาพของผู้เรียน สัมฤทธิ์ผล (Achievement) จากจำนวนครูผู้สอน 111 คน ใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการเรียน การสอน จำนวน 111 คน เลือกใช้สื่อได้เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียน คิดเป็น ร้อยละ 100 อยู่ในระดับ ดี ตัวบ่งชี้ที่ 5.4 กำหนดระบบการวัดผลและประเมินผลของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับสมรรถนะทางวิชาชีพในแต่ละสาขาวิชา สัมฤทธิ์ผล (Achievement) ผู้สอนทุกคนสามารถทำการวัดผลและประเมินผล โดยดำเนินการประเมิน ตามสภาพจริงอย่างต่อเนื่องตลอดภาคเรียน ตามระบบการวัดผล และประเมินผล ของสถานศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ในระดับดี

  35. ตัวบ่งชี้ที่ 5.5 ใช้วิธีการประเมินที่หลากหลายโดยเน้นการประเมินตามสภาพจริง และนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ สัมฤทธิ์ผล (Achievement) ผู้สอนทุกคนใช้วิธีการประเมินผลที่หลากหลายเช่น การสังเกต การสอบถาม การสอบปฏิบัติ เป็นต้น มีการเก็บคะแนนอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการประเมินผลตามสภาพจริง และนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ผลการประเมินอยู่ในระดับดี

  36. สรุปผลการประเมินมาตรฐานที่ 5

  37. มาตรฐานที่ 6 สถานศึกษามีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ตรวจสอบได้ และเน้นการมีส่วนร่วม ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 จัดระบบบริหารงานสถานศึกษาตามโครงสร้างบริหารงาน ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สัมฤทธิ์ผล (Achievement) จากการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการบริหารสถานศึกษา พบว่า มีค่าเฉลี่ย 2.10 อยู่ในระดับ ดี ตัวบ่งชี้ที่ 6.2 จัดระบบการบริหารงบประมาณที่มุ่งประสิทธิผลและมีระบบ ตรวจสอบได้ สัมฤทธิ์ผล (Achievement) สถานศึกษาจัดการบริหารงบประมาณที่มีประสิทธิผลและมีระบบที่ตรวจสอบได้ โดยคิดได้เป็นร้อยละ 283.84 ของงบประมาณด้านการดำเนินงานและการลงทุน

  38. ตัวบ่งชี้ที่ 6.3 จัดการบริหารบุคลากรมีการมอบหมายได้ อย่างเหมาะสม ทั้งด้านปริมาณ และความสามารถ สัมฤทธิ์ผล (Achievement) จากการสอบถามเกี่ยวกับระดับประสิทธิภาพในการจัดการบริหารบุคลากร พบว่า มีค่าเฉลี่ย 3.55ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี ตัวบ่งชี้ที่ 6.4 มีนโยบาย ปรัชญาและมาตรการในการจัดการอาชีวศึกษา มีความเป็น เอกลักษณ์ทางวิชาชีพที่ชัดเจน สัมฤทธิ์ผล (Achievement) จากการประเมินระดับคุณภาพของการกำหนดนโยบาย ปรัชญา และมาตรฐานในการจัดการอาชีวศึกษา ความเป็นเอกลักษณ์ทางวิชาชีพ พบว่ามีระดับคุณภาพโดยเฉลี่ย 2.61 อยู่ในระดับดี

  39. ตัวบ่งชี้ที่ 6.5 มีการวางแผนใช้กลยุทธ์ในการดำเนินงาน นิเทศ กำกับ ติดตามและประเมิน ผลงาน อย่างสม่ำเสมอ สัมฤทธิ์ผล (Achievement) บุคลากรแต่ละฝ่ายได้สรุปผลการดำเนินงาน ตามแผนปฏิบัติการประจำปี ทุกโครงการมีการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลงาน รวมจำนวน 6 ครั้ง

  40. สรุปผลการประเมินมาตรฐานที่ 6

  41. มาตรฐานที่ 7 สถานศึกษามีการส่งเสริมการทำงานวิจัย และงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพ เผยแพร่สู่สาธารณะชนและนำไปพัฒนาชุมชน ท้องถิ่นและประเทศ ตัวบ่งชี้ที่ 7.1 จัดทำนวัตกรรม โครงงาน งานวิจัยในชั้นเรียน งานวิจัยสถาบัน วิจัยเพื่อ พัฒนาวิชาชีพ งานประเมินผล และบทความทางวิชาการ สัมฤทธิ์ผล (Achievement) บุคลากรในสถานศึกษาจัดทำนวัตกรรม แผนการสอน เอกสารประกอบ การเรียนการสอน โครงงานวิทยาศาสตร์ โครงงานสิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่ โครงงานวิชาชีพ โครงงานรายวิชา งานวิจัยในชั้นเรียน งานวิจัยสถาบัน วิจัยเพื่อพัฒนาวิชาชีพ และงานประเมินผลโครงการรวมทุกประเภทร้อยละ 100

  42. ตัวบ่งชี้ที่ 7.2 เผยแพร่สู่สาธารณชน รวมทั้งในวงการธุรกิจอุตสาหกรรม และมีการนำผลงานมาใช้ในการพัฒนาสถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่น และประเทศ สัมฤทธิ์ผล (Achievement) ผลงานนวัตกรรมทุกชิ้นได้เผยแพร่สู่สาธารณะชน คิดเป็นร้อยละ 100 อยู่ในระดับ ดี ตัวบ่งชี้ที่ 7.3 มีการส่งเสริม สนับสนุนในการพัฒนาผู้สอน บุคลากร และผู้เรียน ให้มีความรู้ ความเข้าใจสามารถทำนวัตกรรม โครงงาน งานวิจัยในชั้นเรียน งานวิจัยสถาบันงานประเมินผลและบทความทางวิชาการได้อย่างมีคุณภาพ สัมฤทธิ์ผล (Achievement) บุคลากรในสถานศึกษาได้รับการส่งเสริมให้มีความสามารถในการจัดทำ นวัตกรรม โครงงาน งานวิจัยในชั้นเรียน งานวิจัยสถาบันงานประเมินผล และบทความ ทางวิชาการ ได้ทุกคน คิดเป็นร้อยละ100 อยู่ในระดับดี

  43. ตัวบ่งชี้ที่ 7.4 จัดหาแหล่งความรู้ และแหล่งเงินทุนเพื่อ ส่งเสริมและสนับสนุนแก่บุคลากร ในการทำนวัตกรรม โครงงาน งานวิจัยในชั้นเรียน งานวิจัยสถาบัน งานประเมินผล และบทความทางวิชาการ สัมฤทธิ์ผล (Achievement) จัดหาแหล่งความรู้ รวม 9 แห่ง และจัดสรรงบประมาณเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 161,000บาท จากงบดำเนินการที่ใช้จ่ายจริง 15,104,349 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.06 ของงบประมาณทั้งหมด อยู่ในระดับดี

  44. สรุปผลการประเมินมาตรฐานที่ 7

  45. มาตรฐานที่ 8 สถานศึกษามีบริการทางวิชาชีพที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตัวบ่งชี้ที่ 8.1 จัดกิจกรรม/โครงการ ส่งเสริมความรู้ และทักษะทางวิชาชีพเพื่อประกอบอาชีพและ พัฒนาทางเทคโนโลยี สัมฤทธิ์ผล (Achievement) มีการจัดกิจกรรมทางวิชาการ ด้านวิชาชีพ และวิชาพื้นฐาน เช่น จัดนิทรรศการ แสดงผลงานจำนวน 1 ครั้ง จัดแสดงผลงานโครงการวิชาชีพของคณะวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิชาคหกรรมศาสตร์ จัดกิจกรรมเสริมการเรียนการสอน โดยให้มีผู้เรียนเป็น วิทยากรผู้ช่วยในการสอน 108 อาชีพ ปีการศึกษา 2548 จำนวน 63 ครั้ง อยู่ในระดับ ดี

  46. ตัวบ่งชี้ที่ 8.2 จัดกิจกรรม โครงการ ที่ให้บริการแก่ชุมชน และท้องถิ่น สัมฤทธิ์ผล (Achievement) จัดกิจกรรมโครงการที่ให้บริการแก่ผู้เข้าอบรม ประชาชนทั่วไปในชุมชนและ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 15 โครงการ 63 กิจกรรม ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจและ นำไปประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับดี ตัวบ่งชี้ที่ 8.3 ร่วมมือกับชุมชน และท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามประเพณี และเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สัมฤทธิ์ผล (Achievement) วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ให้ความร่วมมือกับชุมชนและท้องถิ่นใน การจัดกิจกรรมต่างๆ ตามประเพณี และเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นจำนวน 15กิจกรรม มีบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรม 120คน คิดเป็นร้อยละ 100 อยู่ในระดับดี มีนักเรียนนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม 2,692 คน คิดเป็นร้อยละ 100 อยู่ในระดับดีเช่นกัน

  47. สรุปผลการประเมินมาตรฐานที่ 8

More Related