1 / 9

อาจารย์สุเทพ โคฮุด วิทยาลัยอาชีวศึกษา ดรุณา ราชบุรี จังหวัดราชบุรี

ความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียน นักศึกษา โรงเรียน ดรุณา ราชบุรี พณิชย การ ต่อคุณภาพผู้เรียน ตาม เป้าหมายการปฏิรูป การศึกษา ในทศวรรษ ที่ 2. อาจารย์สุเทพ โคฮุด วิทยาลัยอาชีวศึกษา ดรุณา ราชบุรี จังหวัดราชบุรี. ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา.

alma-jordan
Download Presentation

อาจารย์สุเทพ โคฮุด วิทยาลัยอาชีวศึกษา ดรุณา ราชบุรี จังหวัดราชบุรี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียน นักศึกษา โรงเรียนดรุณาราชบุรีพณิชยการต่อคุณภาพผู้เรียน ตามเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา ในทศวรรษที่ 2 • อาจารย์สุเทพ โคฮุด • วิทยาลัยอาชีวศึกษาดรุณาราชบุรี จังหวัดราชบุรี

  2. ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา ผู้ปกครองเมื่อตัดสินใจนำบุตรหลานเข้ามาฝากให้ทางสถานศึกษาอบรมสั่งสอน มักมีความคาดหวัง ในสถาบันในหลายๆ ด้าน เช่น ด้านบุคลากร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านบริหารจัดการ ด้านทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง ด้านวิชาการ เป็นต้น แต่ความคาดหวังสูงสุดที่ผู้ปกครองปรารถนาอย่างยิ่ง ก็คือ คุณภาพการศึกษาของบุตรหลานตนเอง เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะต้องมีคุณสมบัติตามที่ต้องการ และถือว่าเป็นภารกิจที่สำคัญเหนือสิ่งใดที่ครูจะต้องร่วมมือกันสร้างให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ปกครองมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นจะผลักดันให้การบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนพัฒนายิ่งขึ้น สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 (หมวด 8 ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา มาตรา 58 ข้อ 2) และแผนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง กำหนดให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยให้สถานศึกษาทำการศึกษาความต้องการ ความคาดหวังต่างๆ ที่ผู้ปกครองต้องการให้ทางโรงเรียนบริหารจัดการให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชน

  3. วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนดรุณาราชบุรีพณิชยการ จำแนกตาม 1. ด้านมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม (ดี) 2. ด้านมีความรู้ ทักษะพื้นฐานและทักษะในงานอาชีพ (เก่ง) และ 3. ด้านดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข (มีสุข)

  4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียน นักศึกษา โรงเรียนดรุณาราชบุรีพณิชยการ ต่อคุณภาพผู้เรียนตามเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ( = 4.38 , S.D. = 0.67) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม (ดี) เป็นด้านที่ผู้ปกครองมีความคาดหวังสูงสุด อยู่ในระดับ มาก ( = 4.41 , S.D. = 0.66) รองลงมาคือ ด้านดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข(มีสุข) อยู่ในระดับ มาก ( = 4.39 , S.D. = 0.69) และด้านมีความรู้ ทักษะพื้นฐานและทักษะในงานอาชีพ (เก่ง) อยู่ในระดับ มาก ( = 4.34 , S.D. = 0.67) ตามลำดับ X¯ X¯ X¯ X¯

  5. สรุปผลการศึกษา ความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียน นักศึกษา โรงเรียนดรุณาราชบุรีพณิชยการ ต่อคุณภาพผู้เรียนตามเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ( = 4.38 , S.D. = 0.67) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับ มาก ด้านมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม (ดี) เป็นด้านที่ผู้ปกครองมีความคาดหวังสูงสุด รองลงมาคือ ด้านดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข(มีสุข) และด้านมีความรู้ ทักษะพื้นฐานและทักษะในงานอาชีพ (เก่ง) เป็นความคาดหวังลำดับสุดท้าย X¯

  6. สรุปผลการศึกษา ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย1. ฝ่ายบริหารร่วมกับหัวหน้าหมวด /หัวหน้าฝ่าย วางแนวทางการพัฒนาผู้เรียนทั้งระดับ ปวช. และระดับ ปวส. ให้มีทั้งคุณภาพและมีคุณธรรม เพื่อรักษาเอกลักษณ์ของสถาบัน และอัตลักษณ์ของผู้เรียน 2. จัดกิจกรรมการส่งเสริมค่านิยมการสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์เช่น การยกย่องชมเชย นักเรียน นักศึกษาที่มีความประพฤติดี เป็นศรีดรุณา การมีหนังสือแจ้งความดีของลูกหลานให้ผู้ปกครองทราบ เป็นต้น 3. ควรจัดกิจกรรมการฝึกทักษะที่สามารถจูงใจให้ผู้เรียนสนใจเรียน กล้าพูด และเห็นคุณค่าของภาษาอังกฤษและภาษาจีน เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการในการปรับเปลี่ยนหลักสูตร การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล ในการปฏิรูปการศึกษาไทยในทศวรรษที่ 2 และการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนในอีก 3 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2558)

  7. ข้อเสนอแนะ (ต่อ) ข้อเสนอแนะระดับปฏิบัติ 1. ควรกำหนดสัดส่วนของคะแนนด้านมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม (ดี) หรือคะแนนจิตพิสัย ในแต่ละรายวิชาเพิ่มจากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 30 เพื่อยกระดับคุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสมของผู้เรียนให้สูงขึ้น 2. ควรรณรงค์จัดกิจกรรมที่พัฒนาคุณธรรมทุกด้าน เช่น รักความสะอาด ความเป็นระเบียบ การมีสัมมาคารวะ การรักษาสิทธิและหน้าที่ของตนเองและของผู้อื่น เป็นต้น 3. ควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณลักษณะผู้เรียนที่สอดรับกับเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาไทยในทศวรรษที่ 2 และนโยบายของรัฐบาล เช่น การส่งเสริมสร้างลักษณะนิสัยรักการอ่าน (ทศวรรษแห่งการอ่าน พ.ศ. 2552 - 2561) ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ (การปกป้องสถาบัน)ความซื่อสัตย์สุจริต (การปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบ) เป็นต้น 4. ควรเพิ่มแนวทางการบริหารจัดการศึกษาของวิทยาลัย ที่เอื้ออำนวยให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. (ในตัวบ่งชี้ที่ 18) และแนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยในทศวรรษที่ 2 ในยุทธศาสตร์การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการศึกษา

  8. ข้อเสนอแนะ (ต่อ) ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาดรุณาราชบุรี ต่อการจัดการศึกษาที่พัฒนาผู้เรียนด้านทักษะวิชาชีพและด้านคุณธรรม 2. ควรศึกษาความคาดหวังของผู้ประกอบการในจังหวัดราชบุรี ที่มีต่อคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาดรุณาราชบุรี 3. ควรศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาดรุณาราชบุรี ต่อการจัดกระบวนการเรียน การสอนที่พัฒนาด้านทักษะและด้านคุณธรรม 4. ควรศึกษาการนำความรู้ ทักษะ การปลูกผังคุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม ที่เกิดจาการปลูกฝังและพัฒนาจากโรงเรียนไปใช้ในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ ของผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาดรุณาราชบุรี

  9. สวัสดี

More Related