1 / 18

การปฏิวัติอุตสาหกรรม

การปฏิวัติอุตสาหกรรม. ดร.เมธี ธรรมวัฒนา. อุตสาหกรรม คืออะไร. อุตสาหกรรม คือ กระบวนการแปรรูป หรือ การผลิตสิ่งของจากวัตถุดิบให้เป็นวัสดุใหม่ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ โดยการใช้เครื่องจักรหรือแรงคน เพื่อให้ผลิตได้ครั้งละมาก ๆ จนสามารถนำไปขายเป็นสินค้าได้. การปฏิวัติ คืออะไร.

allen-diaz
Download Presentation

การปฏิวัติอุตสาหกรรม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การปฏิวัติอุตสาหกรรม ดร.เมธี ธรรมวัฒนา

  2. อุตสาหกรรม คืออะไร อุตสาหกรรม คือ กระบวนการแปรรูป หรือ การผลิตสิ่งของจากวัตถุดิบให้เป็นวัสดุใหม่ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ โดยการใช้เครื่องจักรหรือแรงคน เพื่อให้ผลิตได้ครั้งละมาก ๆ จนสามารถนำไปขายเป็นสินค้าได้

  3. การปฏิวัติ คืออะไร ปฏิวัติ (revolution)หมายถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากระบบเดิม ยกเลิกระบบเดิม ใช้ระบบใหม่ หรือ การรื้อโครงสร้างเดิมเป็นส่วนใหญ่ หรือจะใช้เป็นคำที่อธิบายว่ามีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เช่น ปฏิวัติตนเอง คือปรับปรุงตัวเองใหม่ จากหน้ามือเป็นหลังมือเป็นต้น ในระบบการเมือง การปฏิวัติคือการยึดอำนาจจากผู้ปกครองเดิม แล้วทำการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง เช่น การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ซึ่งต่างจากรัฐประหาร ที่เป็นการยึดอำนาจปกครอง แต่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง เช่น รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549

  4. สรุปการปฏิวัติอุตสาหกรรม คืออะไร อุตสาหกรรม อุตสาหกรรม คือ กระบวนการแปรรูป หรือ การผลิตสิ่งของจากวัตถุดิบให้เป็นวัสดุใหม่ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ โดยการใช้เครื่องจักรหรือแรงคน เพื่อให้ผลิตได้ครั้งละมาก ๆ จนสามารถนำไปขายเป็นสินค้าได้

  5. การปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่ในบริเตนใหญ่ (เกาะอังกฤษ) ทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม และเทคโนโลยี เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ19 โดยมีจุดเริ่มจากเทคโนโลยีเครื่องจักรไอน้ำ (ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลัก) ทำงานอัตโนมัติ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจถูกผลักดันด้วยการสร้างเรือกำปั่น และทางรถไฟ ที่อาศัยเครื่องจักรไอน้ำ ความเจริญก้าวหน้าแผ่ขยายไปสู่ยุโรปตะวันตกและทวีปอเมริกาเหนือ และส่งผลกระทบทั่วโลกในที่สุด

  6. ถ่านหิน เครื่องจักรไอน้ำ การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นวลีที่นักประวัติศาสตร์ใช้เรียกเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวเร็วมากในยุโรป สืบเนื่องมาจากการค้นพบแหล่งพลังงานจากถ่านหินราคาถูกกับนวัตกรรมทางเครื่องกลที่เข้ามาทดแทนแรงงานคนและสัตว์

  7. การปฏิวัติระยะที่ 1 (ค.ศ.1760-1860)ยุคของ เครื่องจักรไอน้ำ โดยเริ่มนำมาใช้กับอุตสาหกรรมการปั่นด้าย การทอผ้าฝ้ายผ้าขนสัตว์ และอุตสาหกรรมเหล็กกล้า ที่ผลักดันให้เกิดการขยายตัวของแรงงานอย่างมหาศาล ประสิทธิภาพการผลิตและผลผลิตที่มากมาย และการก้าวกระโดดทางเทคโนโลยีอย่างมหาศาล

  8. รวมทั้งระบบโรงงาน ขั้นตอนการผลิตและการจัดการแบบใหม่ ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้เมืองต่างๆ ในอังกฤษกลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่แออัด โดยอังกฤษซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมที่มีเมืองขึ้นรองรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอยู่ทั่วโลกแล้วจึงได้ขยายไปทั่วยุโรป และทวีปอเมริกาเหนือ ผู้ใช้วลี “การปฏิวัติอุตสาหกรรม” เป็นคนแรกคือทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเบอร์ลินชื่อหลุยส์ Guillaume เมื่อปี ค.ศ.1799

  9. การปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มจากการประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำขึ้นมาใช้ในการปั่นและทอผ้าฝ้ายและทอผ้าขนสัตว์เกือบทั้งหมดมักตั้งอยู่ในเมือง ทำให้ชุมชนเมืองเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งจากการอพยพของแรงงานจากชนบทและจากการแต่งงานเร็วขึ้นของคนทำงานที่มีรายได้ประจำเพิ่ม นอกจากอุตสาหกรรมสิ่งทอแล้ว อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าก็เกิดขึ้น ซึ่งแม้จะขยายตัวช้ากว่า แต่ก็ได้กลายเป็นตัวการสำคัญในการขับเศรษฐกิจแห่งการปฏิวัติ

  10. การปฏิวัติอุต ฯ ยุคที่ 2 ค.ศ.1861-1914 มีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการผลิตภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริงเป็นยุคที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติน้ำมันปิโตรเลียมและไฟฟ้าส่วนถ่านหินและเครื่องจักรไอน้ำ ลดความสำคัญลง ช่วงที่ 2 นี้มีผู้ให้นิยามว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคเหล็กกล้า (Age of Steel )

  11. การค้นพบวิธีการผลิตเหล็กกล้าในปีค.ศ.1856 และการใช้พลังงานใหม่ๆแทนที่ถ่านหินได้แก่พลังงานจากก๊าซน้ำมันปิโตรเลียมและไฟฟ้า • การขยายตัวของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในทวีปยุโรป โดยเฉพาะเยอรมัน • การเกิดประเทศผู้นำด้านอุตสาหกรรมของโลกก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1(ค.ศ.1914-1918) อังกฤษยังคงมีฐานะเป็นประเทศผู้นำทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกโดยเยอรมนีเป็นประเทศที่มีระดับการพัฒนาใกล้เคียงมากที่สุด • การเกิดระบบการบริหารและการจัดการทางอุตสาหกรรมการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้เกิดการบริหารงานในระบบโรงงานที่มีประสิทธิภาพเช่นมีการแบ่งงานกันทำเป็นฝ่าย ความก้าวหน้าและการขยายตัวของการปฏิวัติอุตสาหกรรม

  12. การเพิ่มของจำนวนประชากรโดยเฉพาะประเทศอังกฤษและเยอรมนีมีอัตราการเพิ่มของประชากรสูงขึ้นอย่างรวดเร็วการเพิ่มของจำนวนประชากรโดยเฉพาะประเทศอังกฤษและเยอรมนีมีอัตราการเพิ่มของประชากรสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว • การขยายตัวของสังคมเมืองเกิดเมืองใหม่ๆเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการอพยพของผู้คนในชนบทเข้ามาทำงานในเมืองทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมา • การแสวงหาอาณานิคมและลัทธิจักรวรรดินิยมประเทศยุโรปที่มีการปฏิวัติการผลิตด้านอุตสาหกรรมมีความจำเป็นต้องแสวงหาแหล่งวัตถุดิบป้อนโรงงานอุตสาหกรรม • ความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 20 การปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้โลกมีการพัฒนาการผลิตภาคอุตสาหกรรมก้าวหน้าต่อไปไม่หยุดยั้ง สรุปผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม

  13. James Watt เจมส์ วัตต์เป็นนักประดิษฐ์ชาวอังกฤษที่รู้จักกันดีในนาม ของผู้ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำที่มีประสิทธิภาพและส่งผลให้ วงการอุตสาหกรรมในขณะนั้นมีความเจริญก้าวหน้าวัตต์เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1736 ที่เมืองกรีนน็อค ประเทศอังกฤษ ฐานะทางครอบครัวของวัตต์ค่อนข้างยากจน วัตต์ไม่ได้รับการศึกษามากนัก แต่เขาก็มีความสนใจในเรื่องของการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ และเครื่องยนต์กลไกมาตั้งแต่เด็ก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับเรื่องช่างไม้วันหนึ่งเครื่อง จักรไอน้ำนิวโคแมน ของมหาวิทยาลัยเกิดเสีย วัตต์สามารถซ่อมจนใช้งาน ได้ดีอีกทั้งยังปรับปรุงให้เครื่องจักรไอน้ำนิวโคแมนมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

  14. สิ่งประดิษฐ์ของเจมส์ วัตต์ ยังมีเครื่องจักรตีเหล็ก และเครื่องปั่นด้าย อีกด้วย

  15. หลักการของเครื่องจักรไอน้ำหลักการของเครื่องจักรไอน้ำ เครื่องจักรไอน้ำ (Steam engine)       รถไฟสมัยโบราณได้กำลังจากเครื่องจักรไอน้ำ ในเครื่องจักรไอน้ำ ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นลง (หรือเดินหน้าและถอยหลัง)อยู่ในกระบอกสูบเช่นเดียวกับลูกสูบในเครื่องยนต์ของรถยนต์  ไอน้ำร้อนที่มีความดันสูงจะไหลจากหม้อต้มน้ำไปยังกระบอกสูบ แล้วไอน้ำนี้จะขยายตัวดันลูกสูบทำให้ได้กำลังงานออกมา 

  16. เครื่องจักรไอน้ำ (Steam Engine)เครื่องจักรไอน้ำเป็นกลไกลูกสูบ-ข้อเหวี่ยง ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนรูปพลังงานความร้อนที่อยู่ในไอน้ำให้เป็นพลังงานกลที่เพลาข้อเหวี่ยง ไอน้ำมีความดันสูงจะดันให้ลูกสูบเคลื่อนที่กลับไปกลับมา และกลไก ลูกสูบ-ข้อเหวี่ยงจะทำหน้าที่เปลี่ยนการเคลื่อนที่ตามแนวเส้นตรงของลูกสูบให้เป็นการเคลื่อนที่เชิงมุมของข้อเหวี่ยง เครื่องจักรไอน้ำที่ใช้งานในปัจจุบันมี 2 ชนิดคือ แบบแนวนอน และแบบแนวดิ่ง

  17. ประเภทของเครื่องจักรไอน้ำประเภทของเครื่องจักรไอน้ำ 1. แบบแนวนอนเป็นแบบดั้งเดิมที่ใช้กันอยู่ในประเทศไทย โดยเฉพาะตามโรงสีข้าว พลังงานกลที่ได้จะนำไปใช้งานโดยตรงไม่ค่อยนำไปผลิตไฟฟ้าเพราะกำลังต่ำ เครื่องจักรไอน้ำแบบนี้เลิกผลิตแล้วเพราะมีประสิทธิภาพต่ำและไอเสียที่ออกมาไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เพราะมีน้ำมันหล่อลื่นผสม

  18. ประเภทของเครื่องจักรไอน้ำประเภทของเครื่องจักรไอน้ำ 2. แบบแนวดิ่งเป็นแบบที่ถูกพัฒนามาจากแนวนอน มีประสิทธิภาพสูงกว่า และสามารถนำไอเสียกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่มีราคาค่อนข้างสูง เหมาะกับนำมาผลิตพลังงานร่วมหรือผลิตไฟฟ้าอย่างเดียวไม่เกิน 1.5 เมกะวัตต์

More Related