1 / 36

Javascript

Javascript. Javascript คืออะไร. Javascript เป็นภาษาที่ประมวลผลและทำงานอยู่ที่ฝั่งผู้ใช้ โดยรันแล้วแสดงผลต่างๆทางเบราเซอร์ ใช้เพื่อเพิ่มความสามารถของภาษา HTML เช่นการเช็คความถูกต้องของแบบฟอร์มก่อนจะส่งไปที่ server หรือการทำงานที่กำหนดเวลามีเงื่อนไขเกิดขึ้น. วิธีการเริ่มเขียน Javascript.

alicia
Download Presentation

Javascript

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Javascript

  2. Javascript คืออะไร • Javascript เป็นภาษาที่ประมวลผลและทำงานอยู่ที่ฝั่งผู้ใช้ โดยรันแล้วแสดงผลต่างๆทางเบราเซอร์ • ใช้เพื่อเพิ่มความสามารถของภาษา HTML เช่นการเช็คความถูกต้องของแบบฟอร์มก่อนจะส่งไปที่ server หรือการทำงานที่กำหนดเวลามีเงื่อนไขเกิดขึ้น

  3. วิธีการเริ่มเขียน Javascript    <script type="text/javascript">         // โค๊ดที่ต้องการ    </script> • โดยจะนำไปใส่ในส่วนของภาษา HTML คือ • ใน tag <head> และ<body>

  4. วิธีการเริ่มเขียน Javascript • javascript ใน <head> จะเน้นโค๊ดที่เอาไว้ใช้งานภายหลัง หรือสร้างขึ้นเพื่อไว้รอให้ถูกเรียกใช้ ( พวก function เป็นต้น ) • javascript ใน <body> หมายถึงการทำงานไปพร้อมๆกัน หรือในขณะที่กำลังโหลด HTML

  5. javascriptใน tag <head> <head><script type="text/javascript">      function message() // function definition      {         alert("This alert box was called with the onload event");      } </script> </head> • method alert( ) เป็น popup boxes

  6. javascriptไว้ใน tag <body> <body><script type="text/javascript">         document.write("This message is written in javascript"); </script> </body> • document.write() นั้นเป็นคำสั่งที่เอาไว้แสดงผลออกมาทางหน้าจอจะใส่ Stringหรือตัวแปรก็ได้ ( String คือ ตัวอักษรมากกว่าหนึ่งตัวที่ครอบด้วย " ")

  7. ไฟล์ javascript ที่มีอยู่แล้ว ( *.js ) <script type="text/javascript" src="*.js">          // เรียกใช้โค๊ด หรือ function จาก source file </script>

  8. code กับ block • วิธีการเขียนโปรแกรมนั้น จะมี 2 แบบ • แบบ code นั้นจะทำทีละบรรทัดจนครบคำสั่ง • แบบ block นั้นเราจะมั่นใจได้ว่าทุกบรรทัดที่อยู่ใน block  เดียวกันจะทำงานด้วยกันหมด

  9. ตัวอย่าง javascript แบบ code <script type="text/javascript">         //codes, ทำทีละบรรทัดไปเรื่อยๆ document.write("<h1>This is a heading</h1>");       document.write("<p>This is a paragraph</p>");</script>

  10. ตัวอย่าง javascript แบบ block <script type="text/javascript">         //blocks, แน่ใจว่ายังไงก็ต้องถูกทำพร้อมกัน {         document.write("<h1>This is a heading</h1>");         document.write("<p>This is a paragraph</p1>");   } </script> • การเขียนแบบ block นั้นจะถูกเอามาใช้กับการเขียนโปรแกรมแบบมีเงื่อนไข(conditional)หรือการทำซ้ำ(iteration)

  11. ตัวแปร • ตัวแปรก็คือตัวที่เก็บค่าต่างๆไว้เพื่อให้เราเรียกใช้ในภายหลัง • ข้อดีของ javascript ก็คือไม่จำเป็นต้องไปวุ่นวายว่าตัวแปรตัวไหนมีชนิดอะไร • เก็บค่าได้ทั้งตัวเลขและตัวอักษร

  12. ตัวอย่างการสร้างตัวแปรตัวอย่างการสร้างตัวแปร <script type="text/javascript">    // สร้างตัวแปรพร้อมกำหนดค่า     var x = 5;var webname = "vcharkarn"; //ใช้ " ครอบตัวอักษรที่ต้องการสร้างเป็นคำ// สร้างตัวแปรก่อนแล้วใส่ค่าทีหลัง    var y;    y = 10;    // ประกาศซ้ำได้โดยไม่ทำให้ค่าเดิมหายไป ( y ยังเป็น 10 อยู่ )    var y;</script>

  13. เครื่องหมายคำนวณ          +   บวก         -     ลบ         *    คูณ         /     หาร         %   หารเอาเศษ         ++ ( unary )    เพิ่มค่าขึ้น1         -- ( unary )    ลดค่าลง1

  14. เครื่องหมายแบบ Unary •     // binary กับ unary    var y = 2;    var x = 5+y; // x เท่ากับ 7     x++; // เพิ่มค่าของ x ขึ้นอีกหนึ่ง ทำให้ x เท่ากับ 8

  15. เครื่องหมาย + var x = 5;var txt1 = “vchakarn"; var txt2 = " is a good website"; var txt3 = txt1+txt2; // txt3 ได้ค่า “vcharkarn is a good website"// ใช้เครื่องหมาย + กับชุดตัวอักษรและตัวเลขvar txt4 = txt3+x; //txt4 มีค่า "vcharkarn is a good website5"var txt5 = 5+"5"; //txt5 มีค่าเป็น 55 • ถ้าเรานำมาใช้กับชุดตัวอักษรหรือ string แล้ว จะมีความหมายถึงการเชื่อมชุดตัวอักษรสองชุดเข้าด้วยกัน หรือถ้าใช้เครื่องหมาย + ระหว่าง string กับตัวเลขแล้ว ตัวเลขก็จะถูกแปลงเป็นตัวชุดตัวอักษรก่อน แล้วจึงนำมาเชื่อมกับชุดตัวอักษร

  16. เครื่องหมายใส่ค่า (assignment operators)          =     ใส่ค่าทางขวาให้ทางซ้าย         +=     ค่าผลบวกใส่ให้ทางซ้าย         -=     ค่าผลลบใส่ให้ทางซ้าย         *=     ค่าผลคูณใส่ให้ทางซ้าย         /=     ค่าผลหารใส่ให้ทางซ้าย         %=    หารเอาเศษแล้วใส่ค่าให้ทางซ้าย

  17. ตัวอย่างการใช้งานเครื่องหมายใส่ค่าตัวอย่างการใช้งานเครื่องหมายใส่ค่า          var x=5,y=2;         x+=y; // x มีค่าเป็น 7         x*=y; // x มีค่าเป็น 14         x/=y; // x มีค่าเป็น 7         x-=y; // x มีค่าเป็น 5

  18. เครื่องหมายเปรียบเทียบ(ให้ var x = 5; ) 

  19. เครื่องหมายเชิงตรรกกะ( logical operator ) • เป็นการวัดตรรกกะจากการประมวลค่าความจริงที่ได้จากเครื่องหมายเชิง เปรียบเทียบ

  20. เงื่อนไข • โปรแกรมแบบมีเงื่อนไขนั้นจะมีสองรูปแบบ คือ • if( ) • switch( ) if( ) นั้นถ้าจะอธิบายให้เข้าใจ ก็เหมือนกับถ้า ( จริง )         {         /// code         }

  21. เงื่อนไข if • สามารถขยายขีดความสามารถของ if( ) ออกไปอีกโดยใช้ else หรือ else if( ) เช่น       if( )         {         // code         }else if         {         // code         }     else         {         // code         }

  22. ตัวอย่าง if var d = new Date(); //เอาวันที่ปัจจุบันขึ้นมาvar time = d.getHours(); //เอาแต่เลขชั่วโมงมาใช้if(time < 10) // ถ้าเลขชั่วโมงที่ได้น้อยกว่า10 จริง   {     document.write("Good morning"); //แสดงผลคำนี้   } else if (time > 10 && time < 16) //ไม่งั้นถ้าเลขชั่วโมงมากกว่า10 และน้อยกว่า16 จริง {      document.write("Good day");   } else // ไม่งั้น ( ไม่ตรงกับเงื่อนไขด้านบนเลย )   {      document.write("Hello World!");    }

  23. เงื่อนไข switch • switch()จะเป็นการเลือกทำหนึ่งในหลายๆชุดคำสั่งเพื่อที่จะทำงานตามที่เราต้องการ โดยค่าที่จะใช้กับ  switch ได้นั้นต้องเป็นเลขจำนวนเต็ม (int) อย่างเดียวเท่านั้น (ตัวแปรที่เก็บค่าจำนวนเต็มก็ได้เช่นกัน)

  24. รูปแบบ switch          n เป็นตัวแปรที่เก็บค่าเลขจำนวนเต็ม         switch(n)         {         case 1: // ถ้าค่าของ n เป็นหนึ่ง         // code ชุดที่ 1         break; //จบการทำงาน         case 2: // ถ้าค่าของ n เป็นสอง         // code ชุดที่ 2         break; //จบการทำงาน         default: // ถ้าค่าของ n ไม่ตรงกับที่กำหนดไว้         // code อีกชุดหนึ่ง         }

  25. ตัวอย่าง switch var d=new Date(); //เรียกวันที่ปัจจุบัน theDay=d.getDay(); //เอาเลขวันออกมา (วันอาทิตย์เป็น 0 จันทร์เป็น 1 ไล่ไปเรื่อยๆ ถึง 6 )switch (theDay) // เลือกชุดคำสั่งโดยใช้ค่าของ theDay {         case 5: // ถ้าเป็น 5 ( วันศุกร์ )         document.write("Finally Friday");         break;         case 6: // ถ้าเป็น 6 (วันเสาร์ )         document.write("Super Saturday");         break;         case 0: // ถ้าเป็น 0 (วันอาทิตย์)         document.write("Sleepy Sunday");         break;         default: // ถ้าไม่ใช่ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์         document.write("I'm looking forward to this weekend!");}

  26. Popup box • alert box • เน้นข้อความที่สำคัญที่ต้องการที่จะให้ผู้ที่เข้ามายังเว็บไซต์ได้เห็น • confirm box • แตกต่างกับ alert box ตรงที่ว่ามันจะแสดงปุ่ม OK กับCancel และเก็บค่าเอาไว้ • prompt box • เป็น panel ที่จะให้ user กรอกข้อความลงไปแล้วทำการบันทึกไว้แล้วเก็บค่านั้นไว้

  27. ตัวอย่าง alert box          <body>         <script type="text/javascript>         alert("Welcome to vcharkarn.com");         </script>         </body>

  28. ตัวอย่าง confirm box //จะเห็นว่ามีการใส่ค่าให้ตัวแปร r เพราะคำสั่ง confirm จะสร้างค่าขึ้นมาครับ ( true กะ false ) var r = confirm("Press a button"); if ( r == true ) // ถ้ากด OK r ก็จะมีค่าเป็นจริง {      document.write("You pressed OK!"); } else // ถ้ากด Cancel ก็จะมีค่าเป็นเท็จ {      document.write("You pressed Cancel!"); }

  29. ตัวอย่าง prompt box var name =""; name = prompt(“Please enter your name ” , “name only “); //ถ้ากด Cancel หรือไม่มีตัวอักษรอยู่ในตัวแปร name เลย if( name != null & name !="" ) {     document.write("Hello " + name + " , How are you today?"); }

  30. Function • ฟังก์ชั่นคือการรวมชุดคำสั่งชุดหนึ่งไว้ แล้วตั้งชื่อให้ฟังก์ชั่น เพื่อที่เราจะได้เรียกใช้ภายหลังได้โดยง่าย เพียงใส่ชื่อของฟังก์ชั่นเท่านั้น          <head>         <script type="text/javascript">         function displayMessage()         {         alert("Hello World!");         }         </script>         </head>         <body>         <form>         <input type="button" value="Click Me!" onclick="displayMessage()"/>         </form>

  31. การ return ค่า หรือ return statement • ฟังก์ชั่นนั้นไม่ได้มีไว้เพื่อรวบชุดคำสั่งอย่างเดียว แต่สามารถส่งค่าที่เกิดจากการคำนวณภายในนั้นออกมาได้ซึ่งการส่งค่าออกมาจาก ฟังก์ชั่นนั้นเราเรียกว่าการ return ค่า หรือ return statement

  32. ตัวอย่าง return statement //สร้างฟังก์ชั่น product ที่รับค่าตัวแปรสองตัวมาใช้ ซึ่งก็คือ a กับ b ในทีนี้function product(a,b) {     return a*b; //ส่งผลคูณออกมาในรูปค่าของฟังก์ชั่นที่เรียก } // ดังนั้นถ้าเรา function นี้ใส่ไว้ใน head แล้วใน body เราเรียก script     document.write(product(4,3)); // ขึ้นมา โปรแกรมก็จะทำการคำนวณ โดยเอาค่า 4 ไปใส่ไว้ในตัวแปร a และ 3 ไปใส่ไว้ในตัวแปร b แล้วก็คำนวนผลคูณออกมา เป็นค่าคำตอบของการเรียกฟังก์ชั่นนั้น ซึ่งในทีนี้จะแสดงเลข 12 ออกมา

  33. การวนซ้ำ ( Looping ) • ต้องการจะทำอะไรแบบเดิมๆหลายครั้ง อย่างเช่นพิมพ์ประโยคเดิมซ้ำไปซ้ำมา หรือเพิ่มค่าทีละหนึ่ง 10 ครั้งแทนที่เราจะต้องเขียนโค๊ด 10 บรรทัด เราสามารถใช้การวนซ้ำเข้ามาช่วยได้ครับ ซึ่งการวนซ้ำจะมีหลายแบบ • For • While

  34. For // ให้ i มีค่าเป็นหนึ่ง ; ถ้า i ยังน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 อยู่ ; ให้เพิ่มค่าอีกหนึ่งfor (i = 1; i <= 6; i++) // ( ค่าเริ่มต้น ; เงื่อนไขในการทำต่อ ; การเพิ่มค่าปัจจุบัน )  {      document.write("This is heading " + i);      document.write("");   }

  35. while var i = 0; // กำหนดตัวแปร i ให้มีค่าเป็น 0         // ตราบใดที่ i ยังน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 while( i <= 5)  {         document.write("The number is "+i);         document.write("        ");         i++; //เพิ่มค่า i ขึ้นอีกหนึ่ง } • ตราบใดที่เงื่อนไขยังเป็นจริงอยู่ ก็ให้ทำต่อไปเรื่อยๆ

  36. Do…while          var i = 0;         do // ทำก่อนหนึ่งครั้ง         {         document.write("The number is "+i);         document.write("        ");         i++; // เพิ่มค่าขึ้น 1         }         while(i <= 5) • ตรงที่มีคำสั่ง do ขึ้นมา ทำให้เรามั่นใจว่าอย่างน้อยชุดคำสั่งของเราจะถูกทำหนึ่งครั้งก่อน แล้วต่อไปค่อยปล่อยให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่เราตั้งไว้

More Related