1 / 70

การบัญชีสำหรับกองทุน

การบัญชีสำหรับกองทุน. อ.รุจิรัตน์ ปาลีพัฒน์สกุล. แนวคิดเกี่ยวกับกองทุน. ความหมายของกองทุน

Download Presentation

การบัญชีสำหรับกองทุน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การบัญชีสำหรับกองทุน อ.รุจิรัตน์ ปาลีพัฒน์สกุล

  2. แนวคิดเกี่ยวกับกองทุน แนวคิดเกี่ยวกับกองทุน ความหมายของกองทุน กองทุน หมายถึง สินทรัพย์ที่กิจการหรือธุรกิจได้แยกออกต่างหาก และมีไว้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งโดยเฉพาะ และจะไม่นำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป เช่น เงินทุนจม เพื่อไถ่ถอนหนี้สิน เงินกองทุนเพื่อขยายโรงงาน เป็นต้น เงินกองทุนจึงมีลักษณะคล้ายเงินลงทุน และจัดเป็นสินทรัพย์อยู่ในงบดุลของกิจการหรือธุรกิจ

  3. แนวคิดเกี่ยวกับกองทุน แนวคิดเกี่ยวกับกองทุน ประเภทของกองทุน กองทุนที่กิจการธุรกิจจัดตั้งขึ้นอาจจำแนกตามประเภทได้หลายอย่างตามเกณฑ์ที่ใช้ ดังนี้ 1. เกณฑ์วัตถุประสงค์ของการใช้เงินกองทุน 2. เกณฑ์ลักษณะของการก่อตั้งเงินกองทุน 3. เกณฑ์การแสดงรายการเงินกองทุนในงบดุล

  4. แนวคิดเกี่ยวกับกองทุน แนวคิดเกี่ยวกับกองทุน 1.เกณฑ์วัตถุประสงค์ของการใช้เงินลงทุน 1.1 กองทุนเพื่อไถ่ถอนหนี้สิน อาจเป็นกองทุนเพื่อไถ่ถอนหนี้สินหมุนเวียน เช่น จ่ายดอกเบี้ยหุ้นกู้ หรือเงินปันผล หรือกองทุนเพื่อไถ่ถอนหนี้สินไม่หมุนเวียน เช่น หุ้นกู้ เงินทุนจมเพื่อไถ่ถอนหนี้สินระยะยาว 1.2 กองทุนเพื่อจ่ายชำระหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น เป็นกองทุนที่กันไว้เพื่อจ่ายชำระหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น หรือเผื่อเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น เช่น จ่ายค่าเสียหาย ในกรณีที่กิจการแพ้คดีความ จ่ายชดเชยในกรณีที่คนงานได้รับอุบัตเหตุจากการทำงาน เป็นต้น กองทุนนี้มีไว้เพื่อเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้

  5. แนวคิดเกี่ยวกับกองทุน แนวคิดเกี่ยวกับกองทุน 1.เกณฑ์วัตถุประสงค์ของการใช้เงินลงทุน 1.3 กองทุนเพื่อจัดหาสินทรัพย์ถาวร เป็นกองทุนที่กันไว้เพื่อซื้อสินทรัพย์ถาวรใหม่ เช่น ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร มาทดแทนสินทรัพย์ถาวรเก่า หรือเพื่อขยายกิจการออกไป 1.4 กองทุนเพื่อไถ่ถอนหุ้นทุน หุ้นทุนที่มีเงื่อนไขให้ไถ่ถอนได้เป็นหุ้นบุริมสิทธิ กองทุนเพื่อไถ่ถอนหุ้นทุนนี้จะมีวิธีปฏิบัติในทำนองเดียวกับกองทุนจมเพื่อไถ่ถอนหุ้นกู้ในคราวเดียว

  6. แนวคิดเกี่ยวกับกองทุน แนวคิดเกี่ยวกับกองทุน 1.เกณฑ์วัตถุประสงค์ของการใช้เงินลงทุน 1.5 กองทุนเพื่อจ่ายค่าใช้จ่าย เป็นกองทุนที่กันไว้เพื่อใช้จ่ายในการดำเนินงาน เช่น กองทุนเงินสดย่อย กองทุนจ่ายค่าจ้างแรงงาน กองทุนบำเหน็จบำนาญ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

  7. แนวคิดเกี่ยวกับกองทุน แนวคิดเกี่ยวกับกองทุน 2.เกณฑ์ลักษณะของการก่อตั้งเงินทุน 2.1 กองทุนที่ตั้งขึ้นตามข้อผูกพัน เป็นกองทุนที่กิจการถูกบังคับตามข้อตกลง หรือเงื่อนไขในสัญญาให้จัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นหลักประกันแก่คู่สัญญา เช่น กองทุนเพื่อไถ่ถอนหนี้สินไม่หมุนเวียน กองทุนเพื่อไถ่ถอนหุ้นทุน 2.2 กองทุนที่ตั้งขึ้นตามความสมัครใจ เป็นกองทุนที่กิจการสมัครใจ หรือสมควรจัดตั้งขึ้น เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น กองทุนเพื่อไถ่ถอนหนี้สินหมุนเวียน กองทุนเพื่อจ่ายชำระหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น กองทุนเพื่อจัดหาทรัพย์สินถาวร กองทุนเพื่อค่าใช้จ่าย เป็นต้น

  8. แนวคิดเกี่ยวกับกองทุน แนวคิดเกี่ยวกับกองทุน 3.เกณฑ์การแสดงรายการเงินทุนในงบดุล 3.1 กองทุนหมุนเวียน แสดงเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน เช่น กองทุนเงินสดย่อย กองทุนจ่ายค่าจ้างแรงงาน กองทุนจ่ายดอกเบี้ยหุ้นกู้ กองทุนจ่ายเงินปันผล เป็นต้น มีลักษณะคล้ายกับเงินลงทุนชั่วคราว 3.2 กองทุนไม่หมุนเวียน แสดงเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เช่น กองทุนเพื่อไถ่ถอนหนี้สินไม่หมุนเวียน กองทุนเพื่อไถ่ถอนหุ้นทุน กองทุนเพื่อจัดหาสินทรัพย์ถาวร เป็นต้น มีลักษณะคล้ายกับเงินลงทุนระยะยาว

  9. การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกองทุน การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกองทุน รายการเกี่ยวกับกองทุน โดยทั่วไปรายการเกี่ยวกับกองทุนประกอบด้วย 5 รายการ คือ 1. การโอนเงินสดหรือสินทรัพย์ไปตั้งเป็นกองทุน 2. การนำเงินสดของกองทุนไปลงทุนซื้อหลักทรัพย์ 3. การรับรู้รายได้จากหลักทรัพย์ที่ไปลงทุน 4. การจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับเงินกองทุน 5. การใช้เงินกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ และการยกเลิกเงินกองทุน

  10. การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกองทุน การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกองทุน การบันทึกรายการบัญชีเกี่ยวกับกองทุน กิจการมีวิธีการบันทึกรายการบัญชีอยู่ 2 กรณี คือ กรณีที่ 1. กิจการจัดการเงินกองทุนด้วยตนเอง กรณีที่ 2. กิจการมอบหมายให้ ทรัสตี เป็นผู้จัดการกองทุน *ทรัสตี อาจเป็นสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ เป็นต้น*

  11. การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกองทุน การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกองทุน การบันทึกบัญชี ในกรณีที่ 1 1. การโอนเงินสดหรือสินทรัพย์ไปตั้งเป็นกองทุน

  12. การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกองทุน การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกองทุน การบันทึกบัญชี ในกรณีที่ 1 2. การนำเงินสดของกองทุนไปลงทุนซื้อหลักทรัพย์

  13. การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกองทุน การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกองทุน การบันทึกบัญชี ในกรณีที่ 1 3. การรับรู้รายได้จากหลักทรัพย์ที่ไปลงทุน

  14. การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกองทุน การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกองทุน การบันทึกบัญชี ในกรณีที่ 1 4. การจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับเงินกองทุน

  15. การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกองทุน การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกองทุน การบันทึกบัญชี ในกรณีที่ 1 5. การใช้เงินกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ และการยกเลิกเงินกองทุน

  16. การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกองทุน การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกองทุน การบันทึกบัญชี ในกรณีที่ 1 5. การใช้เงินกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ และการยกเลิกเงินกองทุน

  17. การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกองทุน การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกองทุน การบันทึกบัญชี ในกรณีที่ 2 1. การโอนเงินสดหรือสินทรัพย์ไปตั้งเป็นกองทุน

  18. การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกองทุน การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกองทุน การบันทึกบัญชี ในกรณีที่ 2 2. การนำเงินสดของกองทุนไปลงทุนซื้อหลักทรัพย์

  19. การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกองทุน การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกองทุน การบันทึกบัญชี ในกรณีที่ 2 3. การรับรู้รายได้จากหลักทรัพย์ที่ไปลงทุน

  20. การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกองทุน การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกองทุน การบันทึกบัญชี ในกรณีที่ 2 4. การจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับเงินกองทุน

  21. การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกองทุน การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกองทุน การบันทึกบัญชี ในกรณีที่ 2 5. การใช้เงินกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ และการยกเลิกเงินกองทุน

  22. การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกองทุน การบันทึกรายการบัญชีสำหรับกองทุน การบันทึกบัญชี ในกรณีที่ 2 5. การใช้เงินกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ และการยกเลิกเงินกองทุน

  23. การบัญชีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การบัญชีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อนายจ้าง (กิจการ) และลูกจ้าง (พนักงาน) มีความสมัครใจร่วมกันที่จะจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นายจ้างจะต้องยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งกองทุน กองทุนที่นำไปจดทะเบียนมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกิจการของนายจ้าง นายจ้างต้องแยกบัญชีและเอกสารเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของกิจการออกจากบัญชีกองทุน

  24. การบัญชีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การบัญชีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แหล่งที่มาของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีอยู่ 2 แหล่งที่สำคัญ คือ 1. เงินสะสม คือ เงินที่ลูกจ้างจ่ายจากเงินเดือน อัตราขั้นต่ำร้อยละ 3 แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง 2. เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้างจ่ายสมทบในอัตราที่ไม่ต่ำกว่าเงินสะสมของลูกจ้าง แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง

  25. การบัญชีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การบัญชีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ภายหลังจากการจดทะเบียนจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว กฎหมายกำหนดให้นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันแต่งตั้ง คณะกรรมการบริหารกองทุน ทำหน้าที่บริหารกองทุนแทนสมาชิก ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของกองทุน

  26. การบัญชีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การบัญชีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตาม พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 ให้สิทธิประโยชน์แก่นายจ้างและลูกจ้าง ดังนี้ 1. เงินสมทบของนายจ้างที่จ่ายเข้ากองทุนถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล 2. เงินสะสมของลูกจ้าง สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ 3. ลูกจ้างจะได้รับผลประโยชน์จากกองทุน เมื่อออกจากงาน

  27. การบัญชีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การบัญชีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ วิธีการบัญชีเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทุกสิ้นเดือนนายจ้างต้องคำนวณเงินสะสมของลูกจ้างแต่ละรายที่จะต้องหัก เพื่อหายอดรวมของเงินสะสมทั้งสิ้น และนายจ้างจ่ายสมทบในจำนวนที่เท่ากันหรือมากกว่า เข้าบัญชีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

  28. การบัญชีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การบัญชีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การบันทึกบัญชีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะครอบคลุมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพรับผิดชอบดูแลตามขั้นตอน ดังนี้ 1. การหักเงินเดือนพนักงานหรือลูกจ้างเข้าบัญชีกองทุนฯ 2. นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนฯ 3. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพนำเงินสะสมหรือเงินสมทบไปหาผลประโยชน์ตามข้อกำหนดของกฎหมายว่าด้วยกองทุนฯ 4. การจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดการของกองทุนฯ 5. การคำนวณผลประโยชน์สุทธิคืนกลับให้แก่สมาชิก 6. การจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างเมื่อเสียชีวิต เกษียณอายุ หรือออกจากงาน

  29. การบัญชีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การบัญชีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การบันทึกบัญชีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตัวอย่าง กิจการจ่ายเงินเดือน 5,000,000 บาท หักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 5 พนักงานจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพร้อยละ 5

  30. การบัญชีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การบัญชีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การบันทึกบัญชีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตัวอย่าง นายจ้างนำส่งเงินสมทบแก่ลูกจ้างร้อยละ 5

  31. การบัญชีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การบัญชีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การบันทึกบัญชีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตัวอย่าง นายจ้างนำส่งเงินสะสมและเงินสมทบ เข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ * กิจการบันทึก *

  32. การบัญชีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การบัญชีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การบันทึกบัญชีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตัวอย่าง นายจ้างนำส่งเงินสะสมและเงินสมทบ เข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ * กองทุนสำรองเลี้ยงชีพบันทึก*

  33. การบัญชีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การบัญชีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การบันทึกบัญชีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตัวอย่าง เมื่อสมาชิกลาออก หรือเกษียณอายุ หรือเสียชีวิต * กองทุนสำรองเลี้ยงชีพบันทึก*

  34. การบัญชีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การบัญชีสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การแสดงรายการในงบการเงินและการเปิดเผยข้อมูล 1.นายจ้าง 1.1 บัญชีเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 1.2 บัญชีเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 2.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 2.1 แสดงรายการในงบดุล 2.2 แสดงรายการในงบกำไรขาดทุน

  35. การบัญชีสำหรับกองทุน อ.รุจิรัตน์ ปาลีพัฒน์สกุล

  36. แนวคิดเกี่ยวกับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุนแนวคิดเกี่ยวกับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน ความหมายของกิจการลงทุน กิจการลงทุน หมายถึง กิจการทุกประเภทที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน ซึ่งครอบคลุมถึงกิจการหลายประเภท เช่น กองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เป็นต้น

  37. แนวคิดเกี่ยวกับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุนแนวคิดเกี่ยวกับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน ลักษณะของกิจการลงทุน 1. เป็นกิจการที่รวบรวมเอาเงินทุนส่วนของผู้เป็นเจ้าของไว้ด้วยกัน และ 2. นำส่วนของเงินทุนที่ได้จากผู้เป็นเจ้าของนั้นมาบริหารโดยผุ้ประกอบวิชาชีพด้านการให้บริการจัดการ

  38. แนวคิดเกี่ยวกับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุนแนวคิดเกี่ยวกับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน ประเภทของกิจการลงทุน กิจการลงทุนแบ่งออกได้ 5 ประเภท ดังนี้ 1. กองทุนเปิด 2. กองทุนปิด 3. กองทุนรวม 4. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 5. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)

  39. แนวคิดเกี่ยวกับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุนแนวคิดเกี่ยวกับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน กองทุนเปิด จะขายหน่วยลงทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ซึ่งอาจเป็นการขายให้แก่ผู้ต้องการลงทุน และกองทุนเปิดจะทำการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนจากผู้ถือหน่วยลงทุนตามราคาที่เหมาะสม โดยใช้มูลค่า “สินทรัพย์สุทธิ” ต่อหน่วย สูตรคำนวณมีดังนี้ มูลค่าสินทรัพย์สุทธิต่อหน่วย = มูลค่าสินทรัพย์ทั้งสิ้น – มูลค่าหนี้สินทั้งสิ้น จำนวนหน่วยลงทุนที่ถือโดยบุคคลภายนอก

  40. แนวคิดเกี่ยวกับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุนแนวคิดเกี่ยวกับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน ตัวอย่าง กองทุนหนึ่งมีหน่วยลงทุนที่ถืออยู่ 10 ล้านหน่วย มีสินทรัพย์ 215 ล้านบาท หนี้สิน 15 ล้านบาท มูลค่าสินทรัพย์สุทธิต่อหน่วยเท่ากับ 20 บาทต่อหน่วย มูลค่าสินทรัพย์สุทธิต่อหน่วย = 215,000,000 – 15,000,000 10,000,000 หน่วย

  41. แนวคิดเกี่ยวกับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุนแนวคิดเกี่ยวกับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน กองทุนปิด จะไม่มีการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ถือโดยบุคคลภาย นอกตลอดระยะเวลาของกองทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนปิดอาจนำเงินปันผลที่ได้รับจากกองทุนไปลงทุนเพิ่มเติมในหน่วยลงทุน หน่วยลงทุนในกองทุนปิด อาจมีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์

  42. แนวคิดเกี่ยวกับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุนแนวคิดเกี่ยวกับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน กองทุนรวม มีลักษณะคล้ายกับกองทุนเปิด โดยออกจำหน่ายหน่วยลงทุนในจำนวนที่กำหนดไว้ ซึ่งผู้ลงทุนจะได้รับใบรับรองสิทธิในกองทุน ซึ่งจะถูกขายหรือไถ่ถอนคืนโดยกิจการผู้ออกเท่านั้น กองทุนรวมแตกต่างจากกองทุนเปิดและกองทุนปิด ดังนี้ 1. ไม่ทำการซื้อขายเพื่อปรับพอร์ตการลงทุนบ่อย 2. มีกำหนดวันที่ครบกำหนดไว้แน่นอน 3. เงินลงทุนของกองทุนเป็นตราสารหนี้

  43. แนวคิดเกี่ยวกับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุนแนวคิดเกี่ยวกับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นกองทุนสวัสดิการแบบสมัครใจ เพื่อเป็นหลักประกันให้แก่ลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างตาย ลาออก หรือเกษียณอายุ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมเงินภาคเอกชน โดยลูกจ้างและนายจ้าง

  44. แนวคิดเกี่ยวกับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุนแนวคิดเกี่ยวกับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ คล้ายกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แตกต่างกันเพียงเป็นการออมเงินของข้าราชการ โดยมีคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเป็นผู้มีหน้าที่กำกับดูแล

  45. การบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่แสวงหากำไรการบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่แสวงหากำไร อ.รุจิรัตน์ ปาลีพัฒน์สกุล

  46. แนวคิดเกี่ยวกับกิจการที่ไม่แสวงหากำไรแนวคิดเกี่ยวกับกิจการที่ไม่แสวงหากำไร กิจการที่ไม่แสวงหากำไร หมายถึง กิจการที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่ไม่แสวงหาผลกำไร แต่มุ่งทำประโยชน์ให้แก่สังคมและสาธารณชนโดยรวม เช่น สโมสร สมาคม มูลนิธิ และชมรมต่างๆ เป็นต้น เป็นสถาบันที่คณะบุคคลร่วมกันจัดตั้งขึ้น เพื่อดำเนินงานอันเป็นประโยชน์แก่สมาชิกและสังคมส่วนรวม

  47. แนวคิดเกี่ยวกับกิจการที่ไม่แสวงหากำไรแนวคิดเกี่ยวกับกิจการที่ไม่แสวงหากำไร วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง 1. เพื่อให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนทั่วไป 2. เพื่อส่งเสริมบริการสังคม และวิชาชีพ 3. เพื่อการกุศลสาธารณะและเพื่อการสาธาณประโยชน์ 4. เพื่อการสันทนาการ

  48. แนวคิดเกี่ยวกับกิจการที่ไม่แสวงหากำไรแนวคิดเกี่ยวกับกิจการที่ไม่แสวงหากำไร ประเภทของกิจการที่ไม่แสวงหากำไร 1. กิจการที่ไม่แสวงหากำไรภาครัฐ 2. กิจการที่ไม่แสวงหากำไรภาคเอกชน หรือ หน่วยงานที่ไม่ใช่ภาครัฐ

  49. แนวคิดเกี่ยวกับกิจการที่ไม่แสวงหากำไรแนวคิดเกี่ยวกับกิจการที่ไม่แสวงหากำไร กิจการที่ไม่แสวงหากำไรภาครัฐ เป็นกิจการที่จัดตั้งและใช้แหล่งเงินทุนมาจากภาครัฐ เช่น เงินงบประมาณแผ่นดิน เงินบริจาค เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ เป็นต้น ตัวอย่างของกิจการที่ไม่แสวงหากำไรภาครัฐ เช่น กระทรวง ทบวง สำนักงาน กรม เทศบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น

  50. แนวคิดเกี่ยวกับกิจการที่ไม่แสวงหากำไรแนวคิดเกี่ยวกับกิจการที่ไม่แสวงหากำไร กิจการที่ไม่แสวงหากำไรภาคเอกชน หรือหน่วยงานที่ไม่ใช่ภาครัฐ เป็นกิจการที่จัดตั้งและใช้แหล่งเงินทุนมาจากภาคเอกชน เช่น เงินบริจาค เงินบำรุงจากสมาชิก รายได้จากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น ตัวอย่างของกิจการที่ไม่แสวงหากำไรภาคเอกชน เช่น สมาคม มูลนิธิ สโมสร ชมรม องค์การสาธารณกุศล เป็นต้น

More Related