1 / 64

วิธีการแก้ไขจุดเสี่ยง ณ บริเวณทางแยก

วิธีการแก้ไขจุดเสี่ยง ณ บริเวณทางแยก. อย่างมีประสิทธิภาพ. (Black Spot Improvement). ร .ศ.ดร. กัณวีร์ กนิษฐ์พงศ์. สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย. มาตรการทางด้านความปลอดภัยทางถนน. Accident Reduction การลดอุบัติเหตุ. Accident Prevention การป้องกันอุบัติเหตุ. การวางแผนและการออกแบบถนนที่ปลอดภัย.

ailish
Download Presentation

วิธีการแก้ไขจุดเสี่ยง ณ บริเวณทางแยก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิธีการแก้ไขจุดเสี่ยง ณ บริเวณทางแยก อย่างมีประสิทธิภาพ (Black Spot Improvement) ร.ศ.ดร. กัณวีร์ กนิษฐ์พงศ์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

  2. มาตรการทางด้านความปลอดภัยทางถนนมาตรการทางด้านความปลอดภัยทางถนน Accident Reduction การลดอุบัติเหตุ Accident Prevention การป้องกันอุบัติเหตุ การวางแผนและการออกแบบถนนที่ปลอดภัย การปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย การตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน

  3. การแก้ไขและปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตรายการแก้ไขและปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย • กระบวนการตรวจสอบจุดเสี่ยงอันตราย ทำได้โดยการวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุ การตรวจสอบจุดเสี่ยง และการวางแนวทางในการแก้ไข • ได้ผลที่มีประสิทธิภาพสูงในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ • เป็นวิธีที่ความคุ้มค่าสูง และควรให้ความสำคัญเป็นหลัก

  4. ขั้นตอนการแก้ไขและปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตรายขั้นตอนการแก้ไขและปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย

  5. 1) ตั้งเป้าหมายในการทำงาน • ควรมีการตั้งเป้าหมายในการลดจำนวนอุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บ • เป้าหมายที่ตั้งไว้มีความเป็นไปได้ • เริ่มจากความเข้าใจในสถานการณ์ของอุบัติเหตุ โดยอาศัยฐานข้อมูลอุบัติเหตุ

  6. 2) การกำหนดจุดเสี่ยงอันตราย • เพื่อแสดงว่าอุบัติเหตุเกิดขึ้นบนถนนตำแหน่งในบ่อยที่สุดที่ต้องได้รับการแก้ไขและการปรับปรุง • จุดเสี่ยงอันตราย เช่น ทางแยก สะพาน ทางโค้ง • ช่วงถนนเสี่ยงอันตราย • วิธีที่ใช้ในการกำหนดจุดเสี่ยง • กำหนดจุดเสี่ยงโดยใช้จำนวนอุบัติเหตุ และจำนวนผู้เสียชีวิต • คำจำกัดความของ “จุดเสี่ยงอันตราย” อาจแตกต่างกัน เช่น • อุบัติเหตุที่มีผู้บาดเจ็บ 5 ครั้ง ภายในระยะเวลา 3 ปี • อุบัติเหตุที่มีผู้เสียชีวิต 10 ครั้ง ภายในระยะเวลา 1 ปี • ใช้ข้อมูลอุบัติเหตุเป็นหลัก แต่อาจใช้วิธีการมีส่วนร่วมของประชาชนได้ด้วย

  7. ตัวอย่างแผนที่แสดงตำแหน่งของอุบัติเหตุตัวอย่างแผนที่แสดงตำแหน่งของอุบัติเหตุ

  8. 3) การวิเคราะห์จุดเสี่ยงอันตราย • ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุอย่างละเอียด เพื่อหาลักษณะและรูปแบบการชนที่บริเวณจุดเสี่ยงอันตราย • การตรวจสอบภาคสนามในบริเวณพื้นที่จุดเสี่ยงเพื่อดูสภาพปัญหาจริง • ชี้สาเหตุของปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ซึ่งสามารถใช้ในการกำหนดวิธีการในการแก้ไขและปรับปรุงต่อไป

  9. ข้อมูลและขั้นตอนในการวิเคราะห์จุดเสี่ยงอันตรายข้อมูลและขั้นตอนในการวิเคราะห์จุดเสี่ยงอันตราย

  10. ตัวอย่างของตารางสรุปรูปแบบการเกิดอุบัติเหตุตัวอย่างของตารางสรุปรูปแบบการเกิดอุบัติเหตุ

  11. ตัวอย่างของแผนผังการชน (Collision Diagram)

  12. สัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนผังการชน

  13. ตัวอย่างสาเหตุการชนรูปแบบต่างๆตัวอย่างสาเหตุการชนรูปแบบต่างๆ • การชนมุมฉากที่บริเวณทางแยกที่มีสัญญาณไฟจราจร • ระยะการมองเห็นไม่เพียงพอ • รถวิ่งเข้าทางแยกด้วยความเร็วสูง • ป้ายจราจรหรือสัญญาณไฟจราจรไม่ชัดเจน • แสงสว่างไม่เพียงพอ • ไม่มีป้ายเตือนล่วงหน้าว่ามีทางแยก • มีปริมาณจราจรสูงบริเวณทางแยก • ระยะการปล่อยสัญญาณไฟสั้นเกินไป

  14. ตัวอย่างสาเหตุการชนรูปแบบต่างๆตัวอย่างสาเหตุการชนรูปแบบต่างๆ • การชนท้ายที่บริเวณทางแยกที่มีสัญญาณไฟจราจร • ผิวถนนลื่น • มีปริมาณรถเลี้ยวมาก • ป้ายจราจรหรือสัญญาณไฟจราจรไม่ชัดเจน • ไม่มีป้ายจราจรหรือสัญญาณไฟจราจร • รถวิ่งเข้าทางแยกด้วยความเร็วสูง • แสงสว่างไม่เพียงพอ • ระยะการปล่อยสัญญาณไฟสั้นเกินไป

  15. ตัวอย่างสาเหตุการชนรูปแบบต่างๆตัวอย่างสาเหตุการชนรูปแบบต่างๆ • การชนมุมฉากที่บริเวณทางแยกที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร • ระยะการมองเห็นไม่เพียงพอ • มีปริมาณจราจรสูงบริเวณทางแยก • รถวิ่งเข้าทางแยกด้วยความเร็วสูง • ป้ายจราจรหรือสัญญาณไฟจราจรไม่ชัดเจน • แสงสว่างไม่เพียงพอ • ไม่มีป้ายเตือนล่วงหน้าว่ามีทางแยก

  16. ตัวอย่างสาเหตุการชนรูปแบบต่างๆตัวอย่างสาเหตุการชนรูปแบบต่างๆ • การชนท้ายที่บริเวณทางแยกที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร • คนขับรถไม่ทันสังเกตเห็นทางแยก • ผิวถนนลื่น • มีปริมาณรถเลี้ยวมาก • แสงสว่างไม่เพียงพอ • รถวิ่งเข้าทางแยกด้วยความเร็วสูง • การเว้นระยะห่างระหว่างรถไม่เพียงพอ • มีคนเดินข้ามถนน

  17. ตัวอย่างสาเหตุการชนรูปแบบต่างๆตัวอย่างสาเหตุการชนรูปแบบต่างๆ • รถชนคนเดินเท้า • ระยะการมองเห็นไม่เพียงพอ • ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนข้ามถนน • ทางข้ามบริเวณหน้าโรงเรียน • ไม่มีป้ายจราจรหรือสัญญาณไฟจราจรสำหรับคนข้ามถนน

  18. 4) การแก้ไขและปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย • พิจารณาวิธีการแก้ไขปัญหาที่รอบด้าน • เลือกวิธีการแก้ไขปัญหาที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด • จัดลำดับความสำคัญของวิธีการที่ใช้ในการแก้ปัญหา

  19. รูปแบบการชน:การชนมุมฉาก (Right angle) บริเวณทางแยกที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร

  20. รูปแบบการชน: การชนท้าย (Rear end) บริเวณทางแยกที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร

  21. รูปแบบการชน: การชนกับรถเลี้ยวขวาบริเวณทางแยกที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร

  22. รูปแบบการชน: การชนมุมฉาก (Right angle) บริเวณทางแยกที่มีสัญญาณไฟจราจร

  23. รูปแบบการชน: การชนท้าย (Rear end) บริเวณทางแยกที่มีสัญญาณไฟจราจร

  24. รูปแบบการชน: การชนท้าย (Rear end) บริเวณทางแยกที่มีสัญญาณไฟจราจร (ต่อ)

  25. 5) การติดตามและประเมินผล • ควรมีการติดตามและประเมินผลถึงวิธีที่ใช้ในการแก้ไขและปรับปรุงจุดเสี่ยงว่าได้ผลที่มีประสิทธิภาพจริงหรือไม่ • เปรียบเทียบก่อนและหลังการแก้ไขและปรับปรุงจุดเสี่ยง • ประโยชน์ที่ได้รับ • เพื่อพิจารณาว่าวิธีใดที่ใช้ในการแก้ไขและปรับปรุงจุดเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับจุดเสี่ยงตำแหน่งนั้นๆ ซึ่งสามารถนำไปใช้กับจุดเสี่ยงบริเวณอื่นที่มีความเสี่ยงลักษณะคล้ายกันได้ • สามารถเสนอแนวทางการแก้ไขในระดับนโยบายเพื่อจัดสรรงบประมาณในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ

  26. ตัวอย่างการวิเคราะห์อุบัติเหตุที่จุดเสี่ยงอันตราย (เหตุสมมติ) • สถานที่เกิดเหตุ: สามแยกที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรเส้นแบ่งการจราจรไม่ชัดเจน ตัดระหว่างถนนเพาะนิยม และ ถนนข้างรพ.ศูนย์อุดรฯ อ.เมือง จ.อุดรธานี (สามแยกหน้าหนองประจักษ์) • ข้อมูลอุบัติเหตุ: 2 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553-2554 (อุบัติเหตุเกิดขึ้นทั้งหมด 8กรณี)

  27. ขั้นตอนการดำเนินการ ขั้นที่ 1 ศึกษารายงานอุบัติเหตุ ขั้นที่ 2 สรุปข้อมูลอุบัติเหตุ โดยแบ่งตามวัน เวลา เดือน สภาพแสงสว่าง สภาพพื้นผิวถนน และ รูปแบบของอุบัติเหตุ เป็นต้น ขั้นที่ 3 ระบุ รูปแบบของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ขั้นที่ 4 ระบุสาเหตุที่เป็นไปได้ ของรูปแบบของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเป็นประจำ และข้อมูลที่จำเป็นต้องตรวจสอบภาคสนาม ขั้นที่ 5 ตรวจสอบภาคสนาม เพื่อระบุประเด็นและข้อบกพร่องทางด้านความปลอดภัย ซึ่งนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ ขั้นที่ 6 เสนอแนะมาตราการแก้ไขปัญหา

  28. ขั้นที่ 1 ศึกษารายงานอุบัติเหตุ • เพื่อให้เข้าใจองค์ประกอบและข้อมูลของอุบัติเหตุ ซึ่งระบุในรายงานอุบัติเหตุ • เพื่อระบุข้อมูลที่สำคัญและมีประโยชน์ สำหรับการวิเคราะห์อุบัติเหตุอย่างละเอียด

  29. ขั้นที่ 2 สรุปข้อมูลอุบัติเหตุ • เพื่อระบุจำนวนและร้อยละของอุบัติเหตุ ตามหมวดหมู่ทั้ง 9 ดังนี้ • ปี • เดือน • วัน • เวลา • ประเภทของอุบัติเหตุ • ความรุนแรง • แสงสว่าง • สภาพพื้นผิวจราจร • ปัจจัยทางด้านความเร็ว • โดยการประยุกต์ใช้ตารางสรุปข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุ

  30. ตัวอย่างของตารางสรุปรูปแบบการเกิดอุบัติเหตุตัวอย่างของตารางสรุปรูปแบบการเกิดอุบัติเหตุ

  31. ขั้นที่ 3 ระบุรูปแบบของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเป็นประจำ • เพื่อระบุประเภทของอุบัติเหตุ ซึ่งเกิดขึ้นบ่อย ๆ ในบริเวณเดิม • ร่างแผนผังการชน (collision diagram)

  32. แผนผังการชน collision diagram

  33. สัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนผังการชน

  34. แผนผังการชนของอุบัติเหตุบริเวณทางแยกหน้าหนองประจักษ์ ถ.เพาะนิยม • 7ใน อุบัติเหตุ 8ครั้ง เป็นอุบัติเหตุชนมุมฉาก (right-angled crashes) น อ 1 2 1 4

  35. ขั้นที่ 4 ระบุสาเหตุที่เป็นไปได้ของรูปแบบของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเป็นประจำและข้อมูลที่จำเป็นต้องตรวจสอบภาคสนาม • ระบุสาเหตุที่เป็นไปได้ของรูปแบบอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเป็นประจำซึ่งได้มาจากข้อมูลอุบัติเหตุ • จัดเตรียมข้อมูล ที่จำเป็นที่จะต้องเก็บรวบรวมภาคสนาม หรือแหล่งข้อมูลอื่น ๆ

  36. สาเหตุที่เป็นไปได้ ของการชนด้านข้าง บริเวณทางแยกที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร • การมองเห็นถูกบดบัง • ปริมาณการจราจรบริเวณทางแยกสูง • มีการใช้ความเร็วสูง • แสงสว่างไม่เพียงพอ • ป้ายจราจรแบบเตือนไม่เพียงพอ • การควบคุมจราจรไม่เหมาะสม

  37. สาเหตุที่เป็นไปได้ ของการชนด้านข้าง บริเวณทางแยกที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร • ระยะการมองเห็นถูกจำกัด- เป็นไปได้ อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องตรวจสอบ ภาคสนาม (ฝั่งตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงใต้) • ปริมาณการจราจรบริเวณทางแยกสูง- เป็นไปได้ อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องตรวจสอบ ปริมาณการจราจร • มีการใช้ความเร็วสูง- เป็นไปได้ อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องตรวจสอบ ความเร็ว โดยเฉพาะการจราจรมุ่งหน้าทิศตะวันออก • แสงสว่างไม่เพียงพอ- เป็นไปได้น้อย เนื่องจากอุบัติเหตุส่วนมากเกิดเวลา กลางวัน หรือ มีแสงสว่างไฟฟ้าส่องถนน • ป้ายจราจรแบบเตือนไม่เพียงพอ - เป็นไปได้ อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องตรวจสอบภาคสนาม (โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง การจราจรมุ่งหน้าทิศเหนือ) • การควบคุมจราจรไม่เหมาะสม- เป็นไปได้ อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องตรวจสอบภาคสนาม (โดยเฉพาะ ป้ายหยุด และเครื่องหมายหยุด สำหรับการจราจรมุ่งหน้าทิ

  38. ประเด็นปัญหาที่จำเป็นต้องตรวจสอบในภาคสนามประเด็นปัญหาที่จำเป็นต้องตรวจสอบในภาคสนาม N E ป้ายจราจรแบบเตือน สำหรับทางแยก? ความเร็ว และปริมาณจราจร สำหรับการจราจรมุ่งหน้าทิศตะวันออก ป้ายจราจรแบบเตือน สำหรับทางแยก? บดบังการมองเห็น ? ป้าย หรือ เครื่องหมายหยุด?

  39. ขั้นที่ 5 ตรวจสอบภาคสนาม • เพื่อระบุประเด็นและข้อบกพร่องทางด้านความปลอดภัย ซึ่งนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ • เน้นสิ่งที่อาจจะเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุ แต่มีประโยชน์ในการระบุประเด็นที่อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุประเภทอื่นได้

  40. ระบุประเด็นและข้อบกพร่องทางด้านความปลอดภัยระบุประเด็นและข้อบกพร่องทางด้านความปลอดภัย • มีสิ่งกีดขวางบดบังการมองเห็นบริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้และทิศตะวันออกเฉียงใต้ • ขาดป้ายจราจรแบบเตือน สำหรับทางแยกและเครื่องหมายจราจรหยุด • ป้ายจราจรแบบเตือน สำหรับทางแยก – ???? • ปริมาณการจราจรและความเร็วของรถบนถนนเพาะนิยมค่อนข้างสูง

  41. ขั้นที่ 6 เสนอแนะมาตรการแก้ไขปัญหา • เสนอแนะมาตรการแก้ไขที่เป็นไปได้ ซึ่งได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุและการตรวจสอบภาคสนาม หลาย ๆ ประเด็น

  42. ขั้นที่ 6 เสนอแนะมาตรการแก้ไขปัญหา ประเด็นที่เป็นปัญหา • การมองเห็นทิศตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงใต้ ถูกบดบังโดยสิ่งกีดขวาง • ขาดการควบคุมการจราจรที่บริเวณทางแยก • การจราจรบน ถ.เพาะนิยมมีความเร็วสูง • ปริมาณการจราจรมากบนถนนเพาะนิยม แนวทางเลือกสำหรับมาตรการแก้ไข • ตัด หรือ ย้าย สิ่งกีดขวางออก • ติดตั้งป้ายและเครื่องหมายหยุด • ติดตั้งลูกระนาด (Rumble strips) บน ถ.เพาะนิยมเพื่อเตือนผู้ขับขี่ • เพิ่มระดับการบังคับใช้กฏหมายในเรื่องความเร็ว บน บน ถ.เพาะนิยม • ปรับปรุงทางข้ามให้ชัดเจน • ปรับปรุงการควบคุมจราจรให้อยู่ในรูปแบบวงเวียน

  43. วงเวียน

  44. ข้อดีของวงเวียน • ช่วยลดความเร็วของจราจรขณะเข้าทางแยก และลดความรุนแรงของอุบัติเหตุ • ปรับปรุงทางแยกให้มีความปลอดภัยมากขึ้น โดยเฉพาะ • ทางแยกที่ตัดกันแบบไม่เป็นมุมฉาก • ทางแยกที่มองเห็นได้ไม่ชัดเจน • ทางแยกที่มีทัศนะวิสัยการขับขี่ไม่ดี • ทำให้ผ่านทางแยกได้เร็วขึ้น ไม่ต้องรอสัญญาณไฟจราจร • มีการไหลลื่นของจราจรผ่านทางแยกดีขึ้น 15% • ประหยัดพลังงานได้ถึง 30% • เพิ่มความสวยงานให้กับทางแยกได้ • ไม่ต้องดูแลรักษาสัญญาณไฟจราจร

  45. ปริมาณจราจรที่เหมาะสมของวงเวียน (คัน ต่อ วัน) [ves1]add

More Related