1 / 39

การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. Classroom Action Research. ดร.เชาวฤทธิ์ จงเกษกรณ์.

Download Presentation

การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน Classroom Action Research ดร.เชาวฤทธิ์ จงเกษกรณ์

  2. อันโรงเรียนทั่วไปในประเทศ ต่างประเภทต่างชั้นกันนักหนา ตั้งแต่ตึกสูงงามอร่ามตา จนกระทั่งหลังคาเป็นตองตึง โรงเรียนเล็กหรือใหญ่เป็นไรเล่า ถ้าครูเอาใจใส่ได้ทั่วถึง พบครูดีทีไรใจคะนึง ว่าเมืองไทยได้หนึ่งโรงเรียนดีม.ล.ปิ่น มาลากุล 2497

  3. การเป็นครูนั้นไซร์ไม่ลำบากการเป็นครูนั้นไซร์ไม่ลำบาก แต่สอนดีนั้นยากเป็นนักหนา เพราะต้องใช้ศิลปวิทยา อีกมีความเมตตาอยู่ในใจ ม.ล.ปิ่น มาลากุล 2498

  4. หนังสือเรียนเปลี่ยนไปฉันไม่ว่า ถ้าแม้นครูตั้งหน้าทำการสอน จ่ายเนื้อสดสี่พระยาหรือสาธร เนื้อยำอ่อนรสอยู่ที่ผู้ยำ ม.ล.ปิ่น มาลากุล

  5. พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542(แก้ไข พ.ศ.2545) มาตรา 30 ให้สถานศึกษาพัฒนา กระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน ในแต่ละระดับการศึกษา

  6. มาตรา 24(5)ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้

  7. สภาพเดิมของการทำวิจัยของครู1. การวิจัยแยกจากการเรียนการสอน 2. ครูขาดความรู้และทักษะการวิจัย 3. ครูกลัวว่าผลการวิจัยจะกระทบ ความรู้สึกของผู้เกี่ยวข้อง 4. ไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร

  8. ปัญหาการทำวิจัยของครู1. ขาดความรู้เรื่องการวิจัย 2. ไม่มีเวลาทำวิจัย 3. ทำวิจัยไม่ต่อเนื่อง 4. ผลการวิจัยไม่แก้ปัญหาการเรียนการสอน 5. ผลการวิจัยไม่ทันเหตุการณ์ 6. รายงานผลการวิจัยไม่มีคุณภาพ

  9. ทิศทางใหม่ของการวิจัย1. เป็นงานวิจัยขนาดเล็ก เพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอน2. แต่ละภาคเรียนสามารถทำวิจัยได้หลายเรื่อง 3. ใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์ในการวิจัย แต่ไม่เคร่งครัดรูปแบบ4. กระบวนการวิจัยง่าย เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาในห้องเรียน

  10. การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน(Classroom Action Research: CAR)คือการวิจัยที่ทำโดยครูผู้สอน เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง

  11. การเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน การวิจัย การปรับปรุงและพัฒนา

  12. วงจรวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน(สุวิมล ว่องวาณิช,2544) Plan ReflectAct Observe Plan ReflectAct Observe

  13. ประโยชน์ของCAR การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยในการพัฒนาวิชาชีพครู เนื่องจากให้ข้อค้นพบที่ได้มาจากกระบวนการสืบค้นที่เป็นระบบและเชื่อถือได้ ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาการเรียนรู้ ครูเกิดการพัฒนาการเรียนการสอน

  14. ประโยชน์ของ CAR (ต่อ) พัฒนาผู้ที่มีส่วนร่วม นำไปสู่การพัฒนาชุมชน แห่งการเรียนรู้ ส่งเสริมบรรยากาศการทำงาน แบบประชาธิปไตย ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และยอมรับในการค้นพบร่วมกัน (สุวิมล ว่องวาณิช,2544)

  15. ขั้นตอนการวิจัย 1. การสังเกตสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน 2. กำหนดปัญหาการวิจัยหรือคำถามวิจัย 3. ออกแบบการวิจัย(วิธีการ,เครื่องมือ) 4. เก็บรวบรวมข้อมูล 5. วิเคราะห์ข้อมูล 6. สรุปและอภิปรายผลการวิจัย 7. เผยแพร่ผลการวิจัย

  16. ข้อเสนอแนะการเริ่มวางแผนการวิจัยข้อเสนอแนะการเริ่มวางแผนการวิจัย 1. เริ่มต้นด้วยงานวิจัยขนาดเล็ก 2. วางแผนการทำงานให้สอดคล้องกับเวลา 3. กำหนดผู้เกี่ยวข้องกับการวิจัย 4. แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบถึงการวิจัย 5. เตรียมรับผลหรือข้อมูลป้อนกลับ 6. ลงมือทำ

  17. องค์ประกอบในรายงานผลการวิจัยองค์ประกอบในรายงานผลการวิจัย 1. หัวข้อวิจัย 2. ความเป็นมาของการวิจัย 3. คำถามวิจัย(ปัญหาการวิจัย) 4. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 5. ตัวแปรในการวิจัย 6. ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย

  18. องค์ประกอบในรายงานผลการวิจัย(ต่อ)องค์ประกอบในรายงานผลการวิจัย(ต่อ) 7. วิธีดำเนินการวิจัย 8. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 9. เครื่องมือวิจัย 10. การเก็บรวบรวมข้อมูล 11. การวิเคราะห์ข้อมูล 12.ผลการวิจัย

  19. แนวทางการเขียนรายงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนแนวทางการเขียนรายงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

  20. 1. ชื่อเรื่องมักประกอบด้วย(1) จุดมุ่งหมายของการวิจัย(2) ตัวแปรในการวิจัย(3) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยตัวอย่าง:การศึกษาผลการใช้เพลงประกอบการฝึกทักษะการฟัง- พูด ด้านคำศัพท์และความสนใจในการเรียน วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/6

  21. 2. ความเป็นมาและความสำคัญของการวิจัยมักประกอบด้วย 1. หลักการ เหตุผล หรือสิ่งที่มุ่งหวัง 2. สภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 3. ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่มุ่งหวังกับ สภาพปัจจุบัน (1-2) 4. ผลหรือปัญหาที่ตามมาจากความ แตกต่างในข้อ 3

  22. 2. ความเป็นมาและความสำคัญของการวิจัย(ต่อ) 5. ประเด็นที่ต้องทำการวิจัยเพื่อแก้ปัญหา ในข้อ 4 6. สิ่งที่เป็นประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับหลัง จากแก้ปัญหา

  23. ตัวอย่าง:1. ทักษะการฟัง-พูด มีความจำเป็นสำหรับนักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษ2. แต่พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ในห้อง ม.4/6 ฟังและออกเสียงคำศัพท์ได้ไม่ถูกต้อง อีกทั้งไม่ค่อยให้ความร่วมมือและสนใจที่จะเรียนเนื้อหาเกี่ยวกับการฟัง-พูด3. นักเรียนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการฝึกทักษะฟัง-พูด อยู่ในเกณฑ์ไม่น่าพอใจ

  24. ตัวอย่าง: (ต่อ)4. ทำให้มีผลกระทบต่อการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ5.ประเด็นที่น่าสนใจศึกษา คือ ทำไมนักเรียนไม่สนใจเรียน ฟัง-พูด ควรมีกิจกรรมใดที่ทำให้นักเรียนสนใจมากขึ้นและสามารถฟัง-พูดได้ดียิ่งขึ้น6. การได้ข้อมูลจากการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะฟัง-พูดของผู้เรียน

  25. 3. คำถามวิจัย มีแนวทางการเขียนดังนี้ 1. ใช้ข้อความที่เป็นประโยคคำถาม 2. ประกอบด้วยตัวแปรในการวิจัย และกลุ่ม เป้าหมายที่ต้องการศึกษา 3. สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ตัวอย่าง:1. การใช้เพลงประกอบการฝึกทักษะฟังพูด จะทำให้นักเรียนฟังและออกเสียงคำศัพท์ได้ถูกต้องมากขึ้น หรือไม่ 2. นักเรียนมีความสนใจในการเรียนมากขึ้น หรือไม่

  26. 4. วัตถุประสงค์ของการวิจัย มีแนวทางการเขียนดังนี้ 1. นิยมเขียนเป็นประโยคบอกเล่า 2. ระบุกิจกรรมหรือสิ่งที่ต้องการทำ เพื่อ ตอบคำถามการวิจัย 3. ไม่นำผลที่คาดว่าจะได้รับ มาเขียนเป็น วัตถุประสงค์

  27. ตัวอย่าง:1. เพื่อศึกษา ทักษะการฟังและออกเสียงคำศัพท์ของนักเรียน หลังจากฝึกโดยใช้เพลงประกอบการเรียน2. เพื่อเปรียบเทียบความสนใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียน ก่อนและหลังการใช้เพลงประกอบการเรียน

  28. 5. ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัยแนวทางการเขียนมีดังนี้ 1. ไม่ซ้ำซ้อนกับวัตถุประสงค์การวิจัย 2. เป็นผลกระทบมากกว่าเป็นผลลัพธ์ ตัวอย่าง:การวิจัยนี้ ทำให้ได้ข้อมูลที่จะช่วยให้ครูได้พบกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับนักเรียน ทำให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะการฟัง-พูด ภาษาอังกฤษของนักเรียนต่อไป

  29. 6. ตัวแปรในการวิจัย คือสิ่งที่ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษา ซึ่งสามารถแปรค่าตามคุณลักษณะได้มากกว่า 1 ค่า ตัวอย่าง: 1.ทักษะการฟัง เป็นตัวแปร 1 ตัว โดยแปรค่าได้หลายค่าตั้งแต่ 0-4 หรือ 1-10 หรือ 1-100 (แล้วแต่กำหนดเกณฑ์)

  30. ตัวอย่าง: (ต่อ) 2. ทักษะการพูด เป็นตัวแปร 1 ตัว โดยแปรค่าได้หลายค่าตั้งแต่ 0-4 หรือ ฯลฯ 3. ความสนใจในการเรียนภาษาอังกฤษ เป็นตัวแปร 1 ตัว โดยแปรค่าได้หลายค่า เช่น 0-4 หรือ 1-5 (แล้วแต่เกณฑ์)

  31. 7. แหล่งข้อมูลการวิจัยประชากร หมายถึง แหล่งข้อมูลทั้งหมดที่ใช้ในการวิจัยกลุ่มตัวอย่าง หมายถึง ตัวแทนของประชากรที่เลือกมาตามความเหมาะสมแหล่งข้อมูลในการวิจัย ส่วนใหญ่เป็น นักเรียนในชั้นที่ทำวิจัยตัวอย่าง:การวิจัยครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากร ม.4/6 ทุกคน

  32. 8. วิธีการวิจัยเป็นการระบุแบบแผนการวิจัย เช่น การวิจัยเชิงทดลอง การวิจัยกึ่งทดลอง การวิจัยเชิงสำรวจ การศึกษารายกรณีตัวอย่าง :การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง โดยให้นักเรียนทดลองเรียน โดยใช้เพลงประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน แล้วสอบวัดทักษะการฟัง-พูด สอบถาม และสังเกตความสนใจในการเรียนของผู้เรียน

  33. 9. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยหมายถึงสิ่งที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องการ เช่น แบบสอบถาม ข้อสอบ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกข้อมูล เป็นต้นตัวอย่าง :เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย1. แบบประเมินทักษะการฟัง2. แบบประเมินทักษะการพูด3. ข้อสอบวัดทักษะการฟัง-พูด4. แบบสังเกตความสนใจในการเรียน5. แบบสอบถามความสนใจในการเรียน

  34. 10. การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นการระบุวิธีการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ว่าเก็บในช่วงใด ใครเป็นคนเก็บ เก็บอย่างไรตัวอย่าง :ใช้เวลาทดลองเรียน 8 คาบ ครูทำการ เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียน ดังนี้1. ใช้แบบประเมินทักษะการฟัง-พูด คาบที่ 3,6 และ 82. ใช้ข้อสอบวัดทักษะการฟัง-พูด คาบที่ 93. ใช้แบบสังเกตความสนใจในการเรียน คาบที่ 2,4 และ 74. ใช้แบบสอบถามความสนใจในการเรียน คาบที่ 9

  35. 11. การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการระบุวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลให้เห็นภาพรวม ขึ้นอยู่กับลักษณะข้อมูล ถ้าเป็นเชิงปริมาณ จะใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ถ้าเป็นเชิงคุณภาพ อาจใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและความถี่ เป็นต้นตัวอย่าง :วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้ t-test

  36. 12. ผลการวิจัยเป็นการสรุปผลการวิจัย โดยแสดงข้อมูลในภาพรวม ตามจุดประสงค์การวิจัย ผู้วิจัยอาจแสดงความเห็นเกี่ยวกับผลการวิจัยนั้น ได้ตามความเหมาะสม

  37. ความสัมพันธ์ ของชื่อเรื่อง ความเป็นมาและคำถามการวิจัย สภาพ ปัจจุบัน และปัญหา คำถาม การวิจัย ชื่อเรื่อง

  38. 1) ชื่อเรื่อง……………………………………………………. 2) สภาพปัญหา(ความเป็นมาของการวิจัย) ..……………….……………... …………………………… 3) ปัญหาวิจัย หรือ คำถามสำหรับการวิจัย ……………………………… …………................................

  39. ลงมือฝึกปฏิบัติการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนลงมือฝึกปฏิบัติการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน รายละเอียดตามเอกสารที่วิทยากรแจกให้ในที่อบรม

More Related