1 / 12

ประวัติ ข้าพเจ้า ชื่อ พระ สันติชัย นิราส โย (ไชยเบ้า)

ประวัติ ข้าพเจ้า ชื่อ พระ สันติชัย นิราส โย (ไชยเบ้า). วัน ที่ 1 เดือนเมษายน พ.ศ.2533 ภูมิลำเนา บ้านเลขที่ 3 หมู่ 5 บ้านริมเหมืองเหนือ ตำบล หนอง วังใต้ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง รหัสไปรษณีย์ 52140 ที่อยู่ปัจจุบัน

agatha
Download Presentation

ประวัติ ข้าพเจ้า ชื่อ พระ สันติชัย นิราส โย (ไชยเบ้า)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประวัติข้าพเจ้าชื่อ พระสันติชัย นิราสโย (ไชยเบ้า)

  2. วัน ที่ 1 เดือนเมษายน พ.ศ.2533 • ภูมิลำเนา บ้านเลขที่ 3 หมู่ 5 บ้านริมเหมืองเหนือ ตำบลหนอง วังใต้ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง รหัสไปรษณีย์ 52140 • ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 13 วัดสันติธรรม ตำบล ช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง รหัสไปรษณีย์ 50300

  3. ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2548 นักธรรมชั้นเอก โรงเรียนวัดไผ่ดำ พ.ศ.2549 ประโยค 1-2 โรงเรียนวัดไผ่ดำ พ.ศ. 2551 มัธยมศึกษาปีที่ 3, ปีที่ 6 โรงเรียนวัดไผ่ดำแผนกสามัญ . . ศึกษา สิงห์บุรี ปัจจุบัน กำลังศึกษาอุดมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สาขาเอกการสอนภาษาไทย ปี 4 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

  4. ความสามารถพิเศษ เนื่องจากเป็นนักเรียนที่ชอบภาษาไทย จึงสามารถกลอนได้ และได้แต่ง ชีวประวัติหลวงปู่สิมพุทฺธาจาโร เป็นกลอนสุภาพ และ เขียนบทกลอนสอนใจ เรื่องทศพิศราชธรรม ไว้เป็นสื่อการสอนในโรงเรียนวัดไผ่ดำแผนกสามัญศึกษา และชอบเขียนบทร้อยกรอง ยามว่างจากกิจธุระอื่นๆ

  5. เทคนิคและวิธีการการสอนภาษาไทยเทคนิคและวิธีการการสอนภาษาไทย • คนส่วนใหญ่คิดว่า การสอนภาษาไทยสำหรับผู้ไม่รู้หนังสือเป็นเรื่องง่าย ๆแต่โดยแท้จริงแล้วการนำภาษาไทยมาวิเคราะห์สังเคราะห์และสอนภาษาไทยแบบง่าย ๆ สำหรับผู้ไม่รู้หนังสือ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ไม่ควรเริ่มสอนด้วยการให้ผู้เรียนหัดเขียน กขคก่อน เพราะผู้เรียนจะเริ่มเรียนสิ่งที่ยากก่อน ควรเริ่มจากสอนจากเรื่องง่าย ๆ ก่อน

  6. วิธีสอน 5 ขั้นตอน1.  เริ่มสอนการฟังก่อนถ้าเป็นเด็กควรเริ่มหัดฟังสิ่งต่าง ๆจากง่าย ๆ รอบตัวก่อน เช่น เสียงไก่ขัน เสียงนกร้อง เสียงน้ำตก เสียงรถยนต์แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่ควรเริ่มฟังเป็นคำ ๆ ประกอบท่าทาง

  7. 2.  ฝึกสอนการพูดให้ฝึกสอนพูดจากสิ่งใกล้ตัวผู้เรียนก่อน ได้แก่คำทักทายสวัสดีขอโทษขอบคุณครับ(ค่ะ)ต่อมาให้รู้จักพูดชื่อครูและชื่อตนเองพูดเกี่ยวกับอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น หน้า ผม ตา จมูก มือ เท้า แขน ขาและอิริยาบถต่าง ๆ ของร่างกาย เช่นยืน เดิน นั่ง นอน วิ่งต่อมาให้ผู้เรียนสามารถ เรียกชื่อวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ในโรงเรียน เช่น สมุด ดินสอ ปากกา ยางลบ ไม้บรรทัดหน้าต่าง ประตู โต๊ะ เก้าอี้ กระดานดำ กระดาษ ฝึกสอนพูดเป็นคำก่อน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถจับคู่คำที่พูดและภาพได้

  8. 3.  ฝึกอ่านอาจฝึกอ่านได้หลายวิธี แล้วแต่ความพร้อมของผู้เรียน ครูบางคนอาจฝึกอ่านจากตัวอักษร เริ่มจากกไปจนถึงฮแต่ให้สอนอ่านวันละ 5-10 ตัวพอครบ 4 วัน สอนเสร็จหมด 44 ตัวอักษร วันที่ 5  ก็ให้ทบทวนตัวอักษรทั้งหมด โดยชี้แบบไม่เรียงตัวแต่ถ้าจะให้สนุกต้องร้องเพลงประกอบจะทำให้จำได้ดีอาจฝึกอ่านจากคำจากภาพเช่น ไก่ไข่ฃวดควายระฆังงูจนถึงนกฮูก วิธีนี้ผู้ใหญ่อาจจะชอบ ที่สำคัญต้องสังเกตว่าถ้านำเด็กและผู้ใหญ่มาเรียนด้วยกัน ต้องอย่าให้ผู้ใหญ่รู้สึกอายมิฉะนั้น การเรียนรู้ของผู้ใหญ่จะไม่ประสบความสำเร็จต่อมาฝึกอ่านประโยค และอ่านเรื่อง ตามลำดับ แต่ครูของตระหนักไว้เสมอว่าครูต้องเป็นต้นแบบอ่านให้ฟังก่อน 2-3 ครั้ง แล้วจึงให้ทุกคนอ่านพร้อมกันทั้งห้องครูสุ่มอาสาสมัคร 2-3 คน ออกมาอ่านหน้าชั้นแล้วให้ทุกคนอ่านพร้อมกันทั้งห้องโดยครูไม่อ่านนำให้ทุกคนอ่านเองตามที่ครูชี้ให้อ่านและถ้าครูมีเวลาอาจให้ฝึกฝนอ่านเป็นรายบุคคล

  9. 4.  ฝึกเขียนเริ่มตั้งแต่ฝึกเขียนพยัญชนะก ถึง ฮ ซึ่งวิธีนี้มักนิยมกันอย่างแพร่หลายหรืออาจลองฝึกหัดเขียนโดยเน้นเขียนตัวที่ฝึกง่ายก่อนก็ได้หรือตัวที่เขียนคล้าย ๆ กันก่อน เพราะฝึกเขียนง่ายและเป็นรูปแบบใกล้เคียงกัน

  10. 5.  ฝึกคิดและวิเคราะห์ครูอธิบายตัวอักษรแต่ละตัวจนผู้เรียนเกิดความเข้าใจ ไม่ได้ท่องจำเท่านั้นแต่ครูจะต้องทราบพื้นฐานของผู้เรียนว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์(กลุ่มกะเหรี่ยง)ที่ไม่ได้พูดภาษาไทยเป็นภาษาแรก บางคนพูดภาษาแม่ก่อน จึงมาเรียนมาไทยทำให้ต้องมีวิธีการเรียนภาษาไทยที่แตกต่างจากผู้เรียนที่พูดภาษาไทยตั้งแต่เกิด โดยมีข้อควรคำนึงสำหรับสอนกลุ่มชาติพันธุ์(กะเหรี่ยง)ดังนี้ • • พยัญชนะในภาษากะเหรี่ยงเป็นเสียงกลางทั้งหมด ไม่มีเสียงสูง และเสียงต่ำเหมือนภาษาไทยเพราะฉะนั้น ผู้เรียนกลุ่มนี้จำเป็นต้องเรียนรู้และต้องการคำอธิบายเกี่ยวกับหลักภาษาไทยมากเพียงพอ เนื่องจากภาษาไทยแบ่งกลุ่มตัวอักษร 3 กลุ่ม คือ อักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ำ                    • พยัญชนะบางตัวไม่มีเสียงในภาษากะเหรี่ยงดังเช่นขฉถฐผฝสษศหต้องฝึกฝนเพิ่มเติม เนื่องจากผู้เรียนไม่มีเสียงเหล่านี้ในภาษาแม่ของตนเองนี่เป็นสาเหตุที่ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์มักพูดภาษาไทยไม่ชัด จนเป็นที่ล้อเลียน ถ้าครูภาษาไทยทราบจุดอ่อนของผู้เรียนสามารถแก้ไขได้ทันตั้งแต่แรกก็จะแก้ปัญหาการพูดไม่ชัดได้                    • พยัญชนะภาษาไทยมีแม่ตัวสะกดกง กน กม เกย เกอว กก กด กบแต่สำหรับภาษากะเหรี่ยงไม่มีตัวสะกด มีแต่อักษรควบกล้ำทำให้ต้องเพิ่มเติมรายละเอียดและเน้นเพิ่มเติมเนื่องจากผู้เรียนจะต้องรู้จักวิธีออกเสียงและใช้ปากให้ถูกต้อง ครูภาษาไทยจะต้องฝึกฝนและเพิ่มความสังเกตผู้เรียนมากเป็นพิเศษ

  11. •ระดับเสียงในภาษาไทยมีครบ 5 เสียงคือเสียงสามัญเสียงเอก เสียงโทเสียงตรี และเสียงจัตวาแต่ในภาษากะเหรี่ยงมีเพียง เสียงสามัญ เสียง เอก เสียงโท เสียงตรีทำให้ผู้เรียนมีปัญหาในการใช้เสียงจัตวาประกอบกับระดับเสียงเอก และเสียงโท ของภาษากะเหรี่ยงก็ออกได้เพียงเสียงกล้ำกึ่งเสียงเอก และเสียงโท ของภาษาไทยทำให้เสียงพูดเหมือนอยู่ในลำคอออกเสียงกลาง ๆ ไม่ใช่เสียงเฉียบขาดแบบภาษาไทยฉะนั้นครูต้องใส่ใจเป็นพิเศษเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจภาษาไทย                    • เนื้อหาวิชาของภาษาไทยควรเน้นเนื้อเรื่องที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของผู้เรียน จะทำให้ผู้เรียนมองเห็นภาพชัด และคิดออกง่าย ๆถ้าสอนผู้เรียนเรื่องไกลตัวในสิ่งที่ชุมชนผู้เรียนไม่มี ไม่เคยเห็น ทำให้นึกภาพไม่ออก ไม่เข้าใจ จะสับสนแล้วรู้สึกว่าสิ่งที่เรียนยากเกินไปทำให้ไม่สนใจอยากจะเรียน เกิดความเบื่อหน่าย ไม่อยากมาเรียนภาษาไทย และไม่รักโรงเรียนนอกเหนือจากวิธีสอน 5 ขั้นตอนแล้วครูสอนภาษาไทยสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์จะต้องมีความเป็นกันเองทำให้ผู้เรียนไว้วางใจ มีความตั้งใจ และความเอาใจใส่เป็นพิเศษสิ่งสำคัญครูต้องรักภาษาไทยและรักษาการสอนภาษาไทยเป็นชีวิตจิตใจ เมื่อนั้นแหละการสอนภาษาไทยสำหรับผู้ไม่รู้หนังสือจะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

  12. ขอบคุณสำหรับทุกสิ่ง • หมายเหตุ  :   สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก  http://www.oknation.net/blog/anongที่มา : กลุ่มงานพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน  สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน  http://www.nfe.go.th/

More Related