1 / 38

กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค

กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค. นายอัมพร เหลียงน้อย. โดย อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่ง 8 สำนักงานคดีแพ่ง. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง - พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 - พ.ร.บ.วิธีพิจารณาผู้บริโภค พ.ศ. 2551 - พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551. ความเป็นมา.

Download Presentation

กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค นายอัมพร เหลียงน้อย โดย อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่ง 8 สำนักงานคดีแพ่ง

  2. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง- พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522- พ.ร.บ.วิธีพิจารณาผู้บริโภค พ.ศ. 2551- พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551

  3. ความเป็นมา ความสะดวก ความรวดเร็ว ความเป็นธรรม การเยียวยา อายุความ

  4. พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 คดีผู้บริโภค - คดีแพ่งระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ - คดีแพ่งตามกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย

  5. อำนาจเจ้าพนักงานคดี - ไกล่เกลี่ยคดีผู้บริโภค - ตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐาน - บันทึกคำพยาน - ดำเนินการให้มีการคุ้มครองสิทธิของคู่ความทั้งก่อนและระหว่างการพิจารณา (มาตรา 4)

  6. ผู้บริโภคสามารถฟ้องบังคับให้ผู้ประกอบธุรกิจชำระหนี้ได้ แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือตามกฎหมาย (มาตรา 10)

  7. ประกาศ โฆษณา คำรับรอง หรือการกระทำด้วยประการใดๆ ของผู้ประกอบธุรกิจ ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา สามารถนำสืบพยานบุคคลได้(มาตรา 11)

  8. ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัย โดยผลของสารที่สะสมอยู่ในร่างการของผู้บริโภค หรือต้องใช้เวลาในการแสดงอาการ สามารถฟ้องคดีภายใน 3 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ประกอบธุรกิจ แต่ไม่เกิน 10 ปี (มาตรา 13)

  9. ถ้ามีการเจรจาเกี่ยวกับค่าเสียหายระหว่างผู้ประกอบธุรกิจและผู้บริโภค อายุความสะดุดหยุดอยู่จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้บอกเลิกการเจรจา (มาตรา 14)

  10. ศาลมีอำนาจย่นหรือขยายระยะเวลาตามที่กฎหมายหรือศาลกำหนดไว้ได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม (มาตรา 15)

  11. การฟ้องคดี ผู้ประกอบธุรกิจจะฟ้องผู้บริโภคได้เฉพาะศาลที่ผู้บริโภคมีภูมิลำเนาอยู่ ได้เพียงแห่งเดียว (มาตรา 17)

  12. การฟ้องคดี(ต่อ) ผู้บริโภคฟ้องผู้ประกอบธุรกิจได้โดยไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง แต่ไม่รวมถึงความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นที่สุด (มาตรา 18 วรรคแรก)

  13. การฟ้องคดี(ต่อ) ผู้บริโภคฟ้องผู้ประกอบธุรกิจโดย - ไม่มีเหตุผลอันสมควร - เรียกร้องค่าเสียหายเกินสมควร - ประพฤติตนไม่เรียบร้อย - ประวิงคดี ศาลมีอำนาจสั่งให้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วน (มาตรา 18 วรรคสอง)

  14. การฟ้องคดี(ต่อ) ผู้บริโภคฟ้องคดีด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ หากศาลเห็นว่าคำฟ้องไม่ถูกต้องหรือขาดสาระสำคัญ ศาลอาจมีคำสั่งให้แก้ไขคำฟ้องก็ได้ (มาตรา 20)

  15. การพิจารณาคดี ให้ศาลกำหนดวันนัดพิจารณาโดยเร็ว และออกหมายเรียกจำเลยให้มาศาลตามกำหนดนัด เพื่อไกล่เกลี่ย ยื่นคำให้การ และสืบพยานในวันเดียวกัน (มาตรา 24)

  16. การพิจารณาคดี (ต่อ) ผู้ประกอบธุรกิจมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการผลิต การประกอบ การออกแบบ หรือส่วนผสมของสินค้า การให้บริการ หรือการดำเนินการใดๆ ซึ่งอยู่ในความรู้เห็นโดยเฉพาะของผู้ประกอบธุรกิจ (มาตรา 29)

  17. การพิจารณาคดี (ต่อ) ภายหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว มีการฟ้องผู้ประกอบธุรกิจรายเดียวกันอีก โดยข้อเท็จจริงที่พิพาทเป็นอย่างเดียวกัน ศาลในคดีหลังอาจมีคำสั่งให้ถือว่าข้อเท็จจริงในประเด็นนั้นเป็นอันยุติเช่นเดียวกับคดีก่อนโดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐาน (มาตรา 30)

  18. การพิจารณาคดี (ต่อ) ศาลมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร (มาตรา 33)

  19. การพิจารณาคดี (ต่อ) การสืบพยาน - ศาลเป็นผู้ซักถามพยาน - คู่ความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาล (มาตรา 34)

  20. คำพิพากษาและคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีคำพิพากษาและคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลเห็นว่าจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องไม่ถูกต้องหรือวิธีการบังคับตามคำขอของโจทก์ไม่เพียงพอต่อการแก้ไขเยียวยาความเสียหายตามฟ้อง ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้อง หรือกำหนดวิธีการบังคับให้เหมาะสม (มาตรา 39)

  21. คำพิพากษาและคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี (ต่อ) ศาลอาจพิพากษาให้สงวนสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง กรณีที่ขณะมีคำพิพากษาไม่อาจหยั่งรู้ได้แน่ว่าความเสียหายเกิดขึ้นแก่ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัยนั้นมีแท้จริงเพียงใด (มาตรา 40)

  22. คำพิพากษาและคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี (ต่อ) ในกรณีที่ฟ้องขอให้รับผิดในความชำรุดบกพร่องของสินค้า ศาลมีอำนาจพิพากษาให้เปลี่ยนสินค้าใหม่แก่ผู้บริโภคแทนการแก้ไขซ่อมแซมสินค้าที่ชำรุดบกพร่อง ถ้าความชำรุดบกพร่องมีอยู่ในขณะส่งมอบสินค้าและไม่อาจแก้ไขให้กับคืนได้ หรืออาจเกิดอันตรายแก่ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัย (มาตรา 41)

  23. คำพิพากษาและคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี (ต่อ) การกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษไม่เกิน 2 เท่า ของค่าเสียหายที่แท้จริง ถ้าผู้ประกอบธุรกิจ - กระทำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม - จงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย - ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง - ไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดแก่ผู้บริโภค กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน (มาตรา 42)

  24. คำพิพากษาและคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี (ต่อ) ศาลมีอำนาจออกคำสั่ง 1. ให้ผู้ประกอบธุรกิจประกาศและรับสินค้าที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัย ของผู้บริโภคคืนเพื่อทำการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ใหม่ โดยค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบธุรกิจ หรือให้ใช้ราคา (มาตรา 43)

  25. คำพิพากษาและคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี (ต่อ) ศาลมีอำนาจออกคำสั่ง 2. ห้ามผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่เหลืออยู่และให้เรียกเก็บสินค้าที่ยังไม่จำหน่ายกลับคืนจนกว่าจะได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสินค้าดังกล่าวให้มีความปลอดภัยหรือทำลายสินค้าที่เหลือ (มาตรา 43)

  26. คำพิพากษาและคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี (ต่อ) ศาลมีอำนาจออกคำสั่ง 3. หากมีการฝ่าฝืนตาม 1 และ 2 ศาลมีอำนาจสั่งจับกุมและกักขังผู้ประกอบธุรกิจไว้จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำสั่ง (มาตรา 43)

  27. คำพิพากษาและคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี (ต่อ) ศาลมีอำนาจเรียกหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้น หรือบุคคลที่มีอำนาจควบคุมการดำเนินงานของนิติบุคคลเข้ามาเป็นจำเลยร่วม - ผู้ประกอบธุรกิจเป็นนิติบุคคล ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นหรือดำเนินการโดยไม่สุจริต - มีพฤติกรรมฉ้อฉลหลอกลวงผู้บริโภค - มีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของนิติบุคคลไปเป็นประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และทรัพย์สินของนิติบุคคลมีไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ (มาตรา 44)

  28. พ.ร.บ. ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 “สินค้าที่ไม่ปลอดภัย” หมายความว่า สินค้าที่ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุจากความบกพร่องในการผลิตหรือออกแบบ หรือไม่ได้กำหนดวิธีใช้ วิธีเก็บรักษา คำเตือน หรือข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า หรือกำหนดไว้แต่ไม่ถูกต้อง หรือไม่ชัดเจนตามสมควร

  29. “ความเสียหายต่อจิตใจ” หมายความว่า ความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน ความหวาดกลัว ความวิตกกังวล ความเศร้าโศกเสียใจ ความอับอาย หรือความเสียหายต่อจิตใจอย่างอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน

  30. “ผู้ประกอบการ” หมายความว่า (1) ผู้ผลิต หรือผู้ว่าจ้างให้ผลิต (2) ผู้นำเข้า (3) ผู้ขายสินค้าที่ไม่สามารถระบุตัวผู้ผลิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิต หรือผู้นำเข้าได้ (4) ผู้ซึ่งใช้ชื่อ ชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า เครื่องหมาย ข้อความ หรือแสดงด้วยวิธีใดๆ อันมีลักษณะที่จะทำให้เกิดความเข้าใจได้ว่าเป็นผู้ผลิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิตหรือผู้นำเข้า

  31. ความรับผิดของผู้ประกอบการความรับผิดของผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการทุกคนต้องร่วมกับรับผิดต่อผู้เสียหายในความเสียหารที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย และสินค้านั้นได้มีการขายให้แก่ผู้บริโภคแล้ว ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดจากการกระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการหรือไม่ (มาตรา 5 )

  32. ข้อตกลงระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการที่ได้ทำไว้ล่วงหน้าก่อนเกิดความเสียหาย และประกาศหรือทำแจ้งความของผู้ประกอบการเพื่อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ประกอบการต่อความเสียหายอันเกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย จะนำมาอ้างเป็นข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดไม่ได้ (มาตรา 9)

  33. ค่าสินไหมทดแทน ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด (ป.พ.พ. มาตรา 443) กรณีตาย ได้แก่ ค่าปลงศพรวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่าง ถ้ามิได้ตายในทันที ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล รวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้ เพราะไม่สามารถประกอบการงานนั้นด้วย ค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย

  34. ค่าสินไหมทดแทน (ต่อ) กรณีทำให้เสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย - ค่าใช้จ่ายอันตนต้องเสียไป - ค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน ทั้งในเวลาปัจจุบันและในเวลาอนาคต

  35. ค่าสินไหมทดแทน (ต่อ) บุคคลภายนอกมีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายได้ ถ้าผู้เสียหายซึ่งตายหรือเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย มีความผูกพันตามกฎหมายจะต้องทำการงานให้เป็นคุณแก่ตนในครัวเรือน หรืออุตสาหกรรมของบุคคลนั้น

  36. ค่าสินไหมทดแทน (ต่อ) ค่าเสียหายต่อจิตใจ - ผู้เสียหายได้รับความเสียหายต่อร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัย - หากผู้เสียหายตาย สามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดารชอบที่จะได้รับค่าเสียหายต่อจิตใจ มาตรา 11 (1)

  37. ค่าสินไหมทดแทน (ต่อ) ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษไม่เกิน 2 เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริง ผู้ประกอบการ - ผลิต นำเข้า หรือขายสินค้า โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย - มิได้รู้เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง - รู้ว่าสินค้าไม่ปลอดภัย แล้วไม่ดำเนินการใดๆตามสมควรเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย มาตรา 11 (2)

  38. ขอบคุณครับ

More Related