1 / 49

ปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ

บทที่ 4. ปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ. Artificial Intelligence (AI) And Expert System (ES). Artificial Intelligence. อุปกรณ์ที่ต้องอาศัยการรับคำสั่งเพื่อสามารถทำงานให้ได้อย่างรวดเร็ว ภายใต้หน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่ การทำให้คอมพิวเตอร์สามารถคิดหาเหตุผลได้ เรียนรู้ได้

adara
Download Presentation

ปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่4 ปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ Artificial Intelligence (AI) And Expert System (ES)

  2. Artificial Intelligence • อุปกรณ์ที่ต้องอาศัยการรับคำสั่งเพื่อสามารถทำงานให้ได้อย่างรวดเร็ว ภายใต้หน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่ • การทำให้คอมพิวเตอร์สามารถคิดหาเหตุผลได้ เรียนรู้ได้ • ทำให้คอมพิวเตอร์งานได้เหมือนสมองมนุษย์

  3. แนวความคิดที่ทำให้เกิดระบบปัญญาประดิษฐ์แนวความคิดที่ทำให้เกิดระบบปัญญาประดิษฐ์ 1.การศึกษากระบวนการคิดของมนุษย์ เพื่อทำความเข้าใจว่าปัญญาหรือความชาญฉลาดคืออะไร ได้มาอย่างไร 2.ศึกษาวิธีการหรือกระบวนการที่จะเลียนแบบพฤติกรรมความคิดของมนุษย์ให้กับเครื่องจักรต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์, หุ่นยนต์

  4. กระบวนการคิดและพฤติกรรมของมนุษย์ที่เป็นพื้นฐานในการคิดเรื่อง “ปัญญาประดิษฐ์” 1. กระบวนการจัดเก็บความรู้ 2. กระบวนเรียกใช้ความรู้ 3. กระบวนการให้เหตุผล 4. กระบวนการแก้ปัญหา 5. กระบวนการเรียนรู้ 6. กระบวนการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 7. กระบวนการถ่ายทอดความรู้

  5. กระบวนการคิดและพฤติกรรมของมนุษย์ที่เป็นพื้นฐานในการคิดเรื่อง “ปัญญาประดิษฐ์” 1.กระบวนการจัดเก็บความรู้ คน : ตำรา , ประสบการณ์ , ความทรงจำ , การเรียนรู้ AI : หน่วยความจำ 2.กระบวนการเรียกใช้ความรู้ คน : เปิดตำรา , ความคิด AI : กระบวนการเข้าถึงข้อมูลในหน่วยความจำ 3.กระบวนการให้เหตุผล คน : ประสบการณ์ + ความรู้ + ภาวะอารมณ์ AI : เปรียบเทียบจากข้อมูลที่มี 4.กระบวนการแก้ปัญหา คน : ประสบการณ์ + ความรู้ + ภาวะอารมณ์ AI: เปรียบเทียบข้อมูลที่มี

  6. กระบวนการคิดและพฤติกรรมของมนุษย์ที่เป็นพื้นฐานในการคิดเรื่อง “ปัญญาประดิษฐ์” 5.กระบวนการเรียนรู้ คน : ตำรา , ประสบการณ์ , ความทรงจำ , ผู้เชี่ยวชาญ AI : เรียนรู้ตามข้อมูลที่มีและรูปแบบของคำสั่ง 6.กระบวนการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คน : ความรู้และจินตนาการ AI : รูปแบบคำสั่ง 7.กระบวนการถ่ายทอดความรู้ คน : ประชุมวิชาการ , พูดคุย , ผลิตตำรา , ผลงานวิจัย AI : รูปแบบคำสั่งอยู่ในรูปแบบของการโต้ตอบจากการถาม

  7. สาขาวิชา พัฒนามาจากหลายสาขาวิชา ได้แก่ 1. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 2. ภาษาศาสตร์ 3. คณิตศาสตร์ 4. วิศวกรรมศาสตร์ 5. สาขาจิตวิทยา 6. ชีววิทยา

  8. ประเภทของ AI • ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) • ภาษาธรรมชาติ (Natural Languages) • ระบบจับภาพ (Vision Systems) • ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ (Robot ) • เครือข่ายเส้นประสาท (Neural networks)

  9. 1. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) • โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่แสดงความสามารถได้เหมือนกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ หรือในงานเฉพาะอย่าง • หรือระบบโปรแกรมใช้งานซึ่งมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันในเรื่องของกระบวนการในการให้เหตุผลและให้ข้อมูลเกี่ยวกับคำแนะนำแก่ผู้ที่ต้องตัดสินใจ • ระบบผู้เชี่ยวชาญเริ่มได้รับความนิยมและนำมาใช้ในทางธุรกิจและการดำเนินงานของหลายองค์การ

  10. 2. ภาษาธรรมชาติ (Natural Languages) • เป็นภาษาที่เกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารด้วยภาษาต่างๆ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เป็นต้น ซึ่งบ่อยครั้งจะมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้คำหรือประโยคในการสื่อความหมาย บางครั้งเลือกใช้คำผิดหรือวางตำแหน่งของคำผิด • ภาษาธรรมชาติจะช่วยให้การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศง่ายขึ้นและกระจายตัวไปในวงกว้างกว่าปัจจุบัน

  11. การประมวลผลภาษาธรรมชาติ(Natural Language Processing) • การศึกษาการแปลความหมายจากภาษามนุษย์ มาเป็นความรู้ที่เครื่องจักรเข้าใจได้ • คอมพิวเตอร์สามารถอ่าน พูด ฟัง และเข้าใจภาษา และทำงานติดต่อสื่อสารกับมนุษย์ได้ • ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System) การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียง (Synthesize) เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ เช่น เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calculator) หรือนาฬิกาปลุกพูดได้ (Talking Clock) • การรู้จำเสียงพูด (Speech Recognition System) การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และสามารถจดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือเป็นการพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ด้วยภาษาพูด เช่น ระบบงานพิมพ์เอกสารสำหรับผู้พิการ

  12. 3. ระบบจับภาพ (Vision Systems) • หมายถึงการที่ระบบคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้โดยการใช้สายตาซึ่งเป็นการทำงานโดยใช้เทคนิคการจดจำรูปแบบ เช่นระบบจับภาพที่ใช้ในการตรวจหาชิ้นส่วนที่บกพร่องโดยระบบนี้จะจดจำรูปแบบต่างๆ ที่บกพร่อง หรือเสียหาย จากนั้นจะทำการเก็บไว้ในฐานข้อมูล • เราสามารถนำระบบภาพไปใช้งานในสถานที่ที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ด้วยตนเองเนื่องจากข้อจำกัดของขนาดหรืออันตรายที่มีอยู่ในงาน

  13. Imaging and Machine Vision Systems

  14. Power view ATM Feature   Advantech และ Deibold ได้ร่วมพัฒนาระบบ ATM โดยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้านการรักษาความปลอดภัยให้กับตู้เอทีเอ็มและการทำงานร่วมกับระบบ CMS (Central Management System) ในส่วนกลางเพื่อรับข้อมูลจากตู้เอทีเอ็ม การทำงานแบบ Face Detection ที่นำมาติดตั้งเพิ่มเติมได้ในภายหลังในแต่ละตู้เอทีเอ็มหรือ DVR นั้นจะเพิ่มความสะดวกในการหาข้อมูล จากหน้าของผู้มาใช้บริการหรือเพิ่มเติมในส่วนของการรักษาความปลอดภัยสำหรับ ใบหน้าที่ไม่ได้รับการอนุญาตหรือผู้ก่อการร้าย โดยแจ้งเตือนผู้ดูแลระบบได้ทันท่วงที

  15. 4. ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ (Robot ) • เกี่ยวกับการออกแบบ การสร้าง และการนำหุ่นยนต์ไปใช้งาน หุ่นยนต์เป็นอุปกรณ์ที่ถูกควบคุมการทำงานโดยระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของมนุษย์ • หุ่นยนต์ใช้เกี่ยวกับงานที่มีความเสี่ยงต่ออันตราย เป็นงานที่ใช้กำลังซ้ำซาก

  16. 5. เครือข่ายเส้นประสาท (Neural networks) • เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นแบบเส้นใยประสาทของมนุษย์ที่เรียกว่านิวรอนในสมองมนุษย์ ซึงมีนับจำนวนล้านๆ ตัว การประมวลผลกิจกรรมต่างๆ จะออกมาในลักษณะแบบขนาน คือทำงานพร้อมๆ กัน เพื่อให้ได้คำตอบเดียวกัน • ระบบที่ออกแบบมาให้เรียนรู้โดยอาศัยการสังเกตและการทำงานที่ซ้ำซาก

  17. การประยุกต์ใช้งาน Neural Network • Synface การช่วยเหลือการสนทนาทางโทรศัพท์ด้วยใบหน้าจำลอง • เป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถสร้างใบหน้าจำลองที่สัมพันธ์กับการสนทนาของผู้ที่อยู่ปลายสายโทรศัพท์ เพื่อช่วยเหลือผู้มีปัญหาทางการได้ยินได้ ภาพใบหน้าจำลองซึ่งให้ภาพคล้ายใบหน้าจริงของบุคคลที่กำลังสนทนาอยู่ด้วย ทำให้ผู้ชมสามารถเข้าใจบทสนทนาจากการอ่านริมฝีปากได้เป็นอย่างดี • ซินเฟสได้รับการทดสอบที่สถาบันคนหูหนวกในประเทศอังกฤษ UK’s Royal National Institute for the Deaf (RNID) พบว่า 84 % ของผู้ที่ได้รับการทดสอบสามารถเข้าใจบทสนทนา และสามารถพูดคุยกันทางโทรศัพท์ได้

  18. การประยุกต์ใช้งาน Neural Network • BEAMสร้างโดยมาร์ค ทิลเดน ( Mark W. Tilden ) นักวิทยาศาสตร์ ประจำห้องทดลองแห่งชาติ LosAlamos รัฐนิวแม็กซิโกสหรัฐอเมริกา • สร้างมาจากวงจรอิเลกทรอนิกส์ขนาดเล็ก ใช้อุปกรณ์น้อยชิ้นจึงมีขนาดเล็กและรูปแบบการทำงานไม่ซับซ้อน มีการเคลื่อนไหวคล้ายคลึงพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต เช่น มดแมลงต่างๆ • " บีม " ใช้ระบบควบคุมอิเลคทรอนิคส์แบบง่าย ๆที่เรียกว่า " เครือข่ายใยประสาท ( Nervous Network) " แทนไมโครโปรเซสเซอร์ ซึ่งเป็นชุดทรานซิสเตอร์หลาย ๆ ตัวที่สามารถรับ - ส่งข้อมูลจากโครงสร้างตัวหุ่นและการเคลื่อนไหวถ้าขาข้างใดสะดุดมอเตอร์ไฟฟ้า จะเกิดแรงหน่วง และปรับเปลี่ยนวงจรไฟฟ้า ทำให้ขาข้างนั้น ก้าวไปทางอื่นทันที Mark Tilden with RoboSapien

  19. Expert System • โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่แสดงความสามารถได้เหมือนกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ หรือในงานเฉพาะอย่าง • หรือระบบโปรแกรมใช้งานซึ่งมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันในเรื่องของกระบวนการในการให้เหตุผลและให้ข้อมูลเกี่ยวกับคำแนะนำแก่ผู้ที่ต้องตัดสินใจ • ระบบผู้เชี่ยวชาญเริ่มได้รับความนิยมและนำมาใช้ในทางธุรกิจและการดำเนินงานของหลายองค์การ

  20. ส่วนประกอบของ ES 1. ฐานความรู้ (knowledge base) - เป็นส่วนที่เก็บความรู้ทั้งหมดของผู้เชี่ยวชาญที่รวบรวมจากการศึกษาและจากประสบการณ์ - โดยมีกำหนดโครงสร้างของข้อมูล (data structure) ให้เหมาะสมกับการนำไปใช้งาน ฐานความรู้มีลักษณะบางประการคล้ายฐานข้อมูล

  21. 2. เครื่องอนุมาน (inference engine) -เป็นส่วนควบคุมการใช้ความรู้ในฐานความรู้ เพื่อวิเคราะห์และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น - เป็นส่วนการใช้เหตุและผลเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของES โดยที่เครื่องอนุมานจะทำหน้าที่ตรวจสอบกฎเกณฑ์ที่อยู่ฐานความรู้ โดยการใช้เหตุผลทางตรรกะสำหรับแต่ละเหตุการณ์ โดยทั่วไป ES สามารถทำการอนุมานได้ 2 ลักษณะดังต่อไปนี้

  22. 2.1 การอนุมานแบบไปข้างหน้า (forward chaining inference)โดยเริ่มการตรวจสอบข้อมูลกับกฎเกณฑ์ที่มีอยู่ใสามารถหากฎเกณฑ์ที่สอดคล้องกับสถานการณ์แล้วจึงดำเนินงาน 2.2 การอนุมานแบบย้อนหลัง (backward chaining inference)โดยเริ่มต้นจากเป้าหมาย (goals) ที่ต้องการแล้วดำเนินการย้อนกลับเพื่อหาสาเหตุ การอนุมานในลักษณะนี้มักนำมาใช้ในการแก้ปัญหา ที่เกิดขึ้นในอนาคต

  23. 3. ส่วนดึงความรู้ (knowledge acquisition subsystem) - เป็นส่วนที่ดึงความรู้จากเอกสาร ตำรา ฐานข้อมูล และเชี่ยวชาญ ทีมพัฒนาจะทำการจัดความรู้ที่ได้มาให้อยู่ในรูปที่เข้ากันได้กับโครงสร้างของฐานความรู้ เพื่อที่จะได้สามารถบรรจุความรู้ที่ได้มาลงในฐานความรู้ได้

  24. 4. ส่วนอธิบาย (explanation subsystem)เป็นส่วนที่อธิบายถึงรายละเอียดของข้อสรุป หรือคำตอบที่ได้นั้นมาได้อย่างไร 5. การติดต่อกับผู้ใช้ (user interface)เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ES เนื่องจากผู้ใช้จะมีความรู้ในงานสารสนเทศที่แตกต่างกัน ผู้พัฒนาระบบจึงต้องคำนึงถึงความสะดวกในการติดต่อระหว่าง ES กับผู้ใช้ ทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่าง ES กับผู้ใช้มีความสะดวก

  25. ความรู้ (knowledge) • หมายถึงระดับของภูมิปัญญาในการรับรู้และการทำความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง • เป็นศูนย์กลางของทุกระบบผู้เชี่ยวชาญที่ใช้กฎเป็นพื้นฐาน • ฐานความรู้ เป็นที่รวบรวมความรู้ทุกอย่างที่จำเป็นจะต้องใช้เพื่อสร้างความเข้าใจ

  26. ประเภทของความรู้ (knowledge) 1. ความจริง 2. ความสัมพันธ์ 3. ขั้นตอน 4. องค์ความรู้

  27. กระบวนการพัฒนา ES มี 5 ขั้นตอน 1. การวิเคราะห์ปัญหา - โดยทำความเข้าใจกับปัญหาจัดขั้นตอนในการแก้ปัญหา - การกำหนดรูปแบบของการให้คำปรึกษา ตลอดจนรวบรวมความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญที่จะนำมาประกอบการพัฒนาระบบ

  28. 2. การเลือกอุปกรณ์ - ต้องพิจารณาเลือกอุปกรณ์ที่มีที่มีความเหมาะสมกัน 3. การถอดความรู้ - เป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนา ES โดยผู้พัฒนาต้องทำการสังเกต ศึกษา และทำความเข้าใจกับความรู้ที่จะนำมาพัฒนาเป็น ES จากแหล่งอ้างอิง เพื่อการกำหนดขอบเขตที่เหมาะสมของระบบ โดยเรียกระบวนการนี้ว่า “วิศวกรรมความรู้ (knowledge engineering)”

  29. 4.การสร้างต้นแบบ - นำเอาส่วนประกอบต่างๆ ที่กล่าวมาประกอบการสร้างต้นแบบ (prototype) ของ ES - โดยเริ่มจากการนำเอาแนวความคิดทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับระบบที่ต้องการพัฒนามาจัดเรียงลำดับ พร้อมทั้งทดสอบการทำงานของต้นแบบที่สร้างขึ้น

  30. 5. การขยาย การทดสอบ และบำรุงรักษา - การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นจากต้นแบบ หลังจากที่ต้นแบบได้ถูกสร้างขึ้น - เมื่อระบบได้ถูกขยายแล้ว ควรมีกรณีศึกษาที่ทีมงานพัฒนาพอรู้คำตอบแล้ว เพื่อตรวจสอบการทำงานของระบบว่าได้ทำงานถูกต้องหรือไม่

  31. ประโยชน์ของ ES • ลดความเสียหายของงานและประหยัดค่าใช้จ่าย • ช่วยทำให้ข้อมูลมีคุณภาพและมีศักยภาพในการนำมาใช้งาน • ช่วยทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่ • ใช้เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ ด้านการตลาด การลดต้นทุน และการปรับปรุงสินค้า

  32. ประโยชน์ของ ES (ต่อ) • เพิ่มผลผลิตของงาน • เพิ่มคุณภาพความเชื่อถือได้ของงาน • รวบรวมผู้เชี่ยวชาญที่ขาดแคลน

  33. ตัวอย่างของ ES 1.การตรวจสอบ เป็น ES ที่ถูกพัฒนาสำหรับใช้ในโรงงานผลิตหรือประกอบชิ้นส่วน เพื่อตรวจสอบความผิดปกติของชิ้นงาน เช่น รอยร้าว หรือการชำรุดในลักษณะอื่น โดยการเปรียบเทียบข้อมูลของชิ้นงานปกติ ชิ้นงานที่ชำรุด และชิ้นงานที่กำลังตรวจสอบ 2. การบริการ เช่นระบบช่วยพนักงานซ่อมบำรุงเครื่องใช้ไฟฟ้าในการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ วิธีนี้ช่วยให้พนักงานซ่อมพบสาเหตุของปัญหาได้อย่างถูกต้องในเวลาสั้น

  34. ตัวอย่างของ ES 3.การวินิจฉัยโรค เช่นระบบ MYCIN เป็น ES สำหรับการวินิจฉัยโรคโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากคนไข้ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจของแพทย์ 4. สัญญาณเตือน เป็น ES ที่ถูกพัฒนาสำหรับงานตรวจสอบและควบคุมที่มนุษย์ไม่สามารถกระทำได้ด้วยตาเปล่า หรือควบคุมอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถตอบสนองได้ เช่น ระบบการให้สัญญาณเตือนทางการแพทย์ ถ้าผู้ป่วยแสดงอาการที่เป็นอันตรายก็จะเตือนให้แพทย์รู้

  35. ตัวอย่างของ ES 5.การพยากรณ์อากาศ เป็น ES ที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับสภาพอากาศที่เกิดขึ้นในลักษณะต่างๆ และรวบรวมหลักเกณฑ์การพยากรณ์ เพื่อใช้ในการพยากรณ์อากาศให้มีความถูกต้องและแม่นยำขึ้น

  36. การนำ ES มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ • บัญชี (Accounting and finance) • การตลาด (Marketing) • การผลิต (Manufacturing) • บุคลากร (Personnel) • ธุรกิจทั่วไป (General business)

  37. บัญชี (Accounting and finance) • จัดหาคำแนะนำและช่วยเหลือด้านภาษี • ช่วยตัดสินใจด้านสินเชื่อ • เลือกรูปแบบการพยากรณ์ • จัดหาคำแนะนำด้านเกี่ยวกับการลงทุน

  38. การตลาด (Marketing) • กำหนดโควตายอดขาย • ตอบสนองต่อคำถามของลูกค้า • นำเสนอปัญหาสู่ศูนย์สื่อสารการตลาด • ช่วยตัดสินใจด้านการกำหนดเวลาทางการตลาด • กำหนดนโยบายส่วนลด

  39. การผลิต (Manufacturing) • กำหนดกระบวนการให้มีความถูกต้อง • วิเคราะห์คุณภาพและวิธีการวัดที่ถูกต้อง • จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก • การทำตารางงาน • เลือกเส้นทางการขนส่ง • ช่วยออกแบบผลิตภัณฑ์และจดผังสิ่งอำนวยความสะดวก

  40. บุคลากร (Personnel) • การประเมินคุณสมบัติของผู้สมัคร • ช่วยพนักงานในการกรอกแบบฟอร์ม

  41. ธุรกิจทั่วไป (General business) • ช่วยทำข้อเสนอโครงการ • เสนอแนะกลยุทธ์ต่างๆ • ให้ความรู้แก่ผู้เข้ารับการอบรมใหม่ • การประเมินผลการทำงานของพนักงาน

  42. ข้อจำกัดของ ES • องค์ความรู้ที่จะนำมาจัดทำเป็น ES มีไม่เพียงพอ • การคัดแยกความรู้ออกจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อจัดทำเป็น ES ทำได้ยาก • ผู้ใช้ขาดความเชื่อมั่นในการทำงานกับระบบสารสนเทศแทนคนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ • ผู้เชี่ยวชาญจะทำงานได้ดีในขอบเขตที่จำกัดหรือชัดเจนมาก

  43. ข้อจำกับของ ES (ต่อ) • ผู้พัฒนาระบบต้องใช้เวลานานในการทำความเข้าใจกับคำศัพท์เฉพาะวิชาชีพที่ผู้เชี่ยวชาญใช้ และบางครั้งยากในการทำความเข้าใจ • ความสามารถในการรับรู้หรือการเรียนรู้ของผู้ใช้มีจำกัดทำให้ผู้ใช้ทำความเข้าใจในการปรึกษากับระบบได้อย่างยากลำบาก • กระบวนการในการถ่ายโอนความรู้อาจจะกระทำอย่างมีความลำเอียงได้

More Related