1 / 58

บทบาท พันธกรณี ของประเทศไทยภายใต้ความตกลง ว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า

บทบาท พันธกรณี ของประเทศไทยภายใต้ความตกลง ว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า ขององค์การการค้าโลกและหลักปฏิบัติที่ดีด้านกฎระเบียบ. 3 กุมภาพันธ์ 2548. กฤษณา เพ็ชรเจริญ นักวิชาการมาตรฐาน 6ว กลุ่มระบบข้อสนเทศ ศูนย์สนเทศมาตรฐาน. หัวข้อ :. องค์การการค้าโลก (WTO) สมอ. กับ WTO

adanna
Download Presentation

บทบาท พันธกรณี ของประเทศไทยภายใต้ความตกลง ว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทบาท พันธกรณี ของประเทศไทยภายใต้ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า ขององค์การการค้าโลกและหลักปฏิบัติที่ดีด้านกฎระเบียบ 3 กุมภาพันธ์ 2548 กฤษณา เพ็ชรเจริญ นักวิชาการมาตรฐาน 6ว กลุ่มระบบข้อสนเทศ ศูนย์สนเทศมาตรฐาน Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  2. หัวข้อ: • องค์การการค้าโลก(WTO) • สมอ. กับ WTO • มาตรการที่มิใช่ภาษี • ความตกลง TBT • หลักปฏิบัติที่ดีในการกำหนดมาตรฐาน (Annex 3/ TBT) • หลักปฏิบัติที่ดีด้านกฎระเบียบ Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  3. องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) • เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นผลจากการเจรจาการค้า หลายฝ่ายรอบอุรุกวัยของประเทศสมาชิกแกตต์ • จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2538 มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ • ทำหน้าที่กำกับดูแลกฎเกณฑ์การค้าระหว่างประเทศ ทั้งด้านสินค้า บริการ การลงทุน และทรัพย์สินทางปัญญา • ปัจจุบัน มีสมาชิก 148 ประเทศ (ข้อมูลถึงวันที่ 31 มกราคม 2548) Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  4. หลักการสำคัญของ WTO(1) • กำหนดให้ใช้มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศโดย ไม่เลือกปฏิบัติ (Non-Discrimination) • การกำหนดและบังคับใช้มาตรการทางการค้าจะต้องมี ความโปร่งใส (Transparency) • คุ้มครองผู้ผลิตภายในด้วยภาษีศุลกากรเท่านั้น (tariff-only protection) • ส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม (fair competition) Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  5. หลักการสำคัญของ WTO(2) • มีสิทธิ์ใช้ข้อยกเว้นในกรณีฉุกเฉินและจำเป็น (necessary exception and emergency) • ให้มีการร่วมกลุ่มทางการค้าเพื่อลดภาษีระหว่างกันได้ หากมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายการค้า • มีกระบวนการยุติข้อพิพาททางการค้า (trade dispute settlement mechanism) • ให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการปฏิบัติตาม พันธกรณี (Special and differential treatment: S & D) Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  6. ไทยเป็นสมาชิก WTO เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 โดยเป็นสมาชิกลำดับที่ 59 และมีสถานะเป็นสมาชิก ผู้ก่อตั้ง ทำให้ประเทศไทยมีทั้งสิทธิ (Rights) และ พันธกรณี (Obligations) ที่จะต้องปฏิบัติตามความตกลง 16 ฉบับ ภายใต้ WTO ซึ่งได้แก่ ประเทศไทย กับ WTO Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  7. พิธีสารรอบอุรุกวัยภายใต้แกตต์ 1994 เรื่อง การเปิดตลาด • ความตกลงว่าด้วยสินค้าเกษตร • ความตกลงว่าด้วยสิ่งทอและเสื้อผ้า • ความตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและ สุขอนามัยพืช • ความตกลงว่าด้วยระเบียบวิธีการออกใบอนุญาตนำเข้า • ความตกลงว่าด้วยการประเมินราคาเพื่อการศุลกากร • ความตกลงว่าด้วยการต่อต้านการทุ่มตลาด • ความตกลงว่าด้วยการตอบโต้การอุดหนุน Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  8. ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า • ความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ • ความตกลงว่าด้วยมาตรการการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการค้า • ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า • ความตกลงว่าด้วยการตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออก • ความตกลงว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า • ความตกลงว่าด้วยมาตรการปกป้อง • ความตกลงว่าด้วยการยุติข้อพิพาท Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  9. สมอ. กับ WTO กระทรวงอุตสาหกรรม โดย สมอ. ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีให้เป็นหน่วยงานกลางในการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Agreement on Technical Barriers to Trade หรือ ความตกลง TBT) Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  10. ภารกิจของ สมอ. ในการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ความตกลง TBT 1. ภารกิจในฐานะที่เป็นหน่วยงานกลางในเรื่องการแจ้ง (Notification Authority) 2. ภารกิจในฐานะที่เป็นศูนย์ตอบข้อซักถาม (Enquiry Point) 3. ภารกิจในฐานะที่เป็นหน่วยงานซึ่งกำหนดกฎระเบียบทางเทคนิค (มาตรฐานบังคับ, พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) กระบวนการประเมินเพื่อการรับรอง และมาตรฐาน (มาตรฐานทั่วไป) Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  11. ภารกิจในฐานะที่เป็นหน่วยงานกลางในเรื่องการแจ้ง (Notification Authority) สมอ. โดย ศูนย์สนเทศมาตรฐาน ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงาน กลางในการแจ้ง ทำหน้าที่ในการแจ้ง (Notify) กฎระเบียบทางเทคนิค กระบวนการประเมินเพื่อการรับรอง/ มาตรการของไทยที่ออกโดยหน่วยงานต่างๆ ทั้งที่จะประกาศใช้และ/หรือที่แก้ไขจากที่มีอยู่เดิม ให้ WTO ดำเนินการเวียนให้ประเทศสมาชิกอื่นทราบโดยจะต้องแจ้ง ในโอกาสแรกเมื่อยังคงมีการแก้ไขได้ และเปิดโอกาสให้ประเทศ สมาชิกอื่นแสดงความคิดเห็นภายในระยะเวลา 60 วัน Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  12. หน่วยงานกลางในการแจ้ง (Notification Authority) Article 10.10, 10.11 ของความตกลง TBT ต้องมอบหมายหน่วยงานรัฐ ให้ทำหน้าที่เป็นแกนกลางรับผิดชอบในเรื่องกระบวนการแจ้ง (Notification) 10.10 ถ้ามีความจำเป็นต้องจัดตั้งหน่วยงานกลางในการแจ้งมากกว่า 1 หน่วยงาน ต้องแจ้งหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานให้ประเทศสมาชิกอื่นทราบ 10.11 Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  13. Notification Authority ของไทย • สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) โดยศูนย์สนเทศมาตรฐาน (สินค้าอุตสาหกรรม) • สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) (เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับกับสินค้าเกษตรและอาหาร) Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  14. ภารกิจในฐานะที่เป็นศูนย์ตอบข้อซักถาม (Enquiry Point) พันธกรณีที่สำคัญอีกประการหนึ่งของความตกลง TBT คือ การจัดให้มีศูนย์ตอบข้อซักถาม (Enquiry Point) ซึ่งต้องทำหน้าที่ให้ข้อมูลและตอบข้อซักถามทางวิชาการแก่ผู้ที่สนใจทั้งจากในประเทศและประเทศสมาชิกอื่น เกี่ยวกับ • มาตรฐาน (Standards) • กฎระเบียบทางเทคนิค (Technical regulations) • กระบวนการประเมินเพื่อการรับรอง(Conformity assessment procedures) Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  15. ศูนย์ตอบข้อซักถาม (Enquiry Point) • Article 10.1, 10.2 ของความตกลง TBT ต้องจัดให้มีศูนย์ตอบข้อซักถาม (Enquiry point) เพื่อให้ข้อมูล ตอบคำถาม และจัดหาเอกสารและข้อสนเทศเกี่ยวกับกฎระเบียบทางเทคนิค มาตรฐาน และกระบวนการประเมินเพื่อการรับรอง 10.1 ถ้ามีความจำเป็นต้องจัดตั้ง Enquiry Point มากกว่า 1 แห่ง ต้องระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละแห่งให้ชัดเจน 10.2 Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  16. Enquiry Point ของไทย • สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) โดยศูนย์สนเทศมาตรฐาน (สินค้าอุตสาหกรรม) • สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) (เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับกับสินค้าเกษตรและอาหาร) Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  17. ภารกิจในฐานะที่เป็นหน่วยงานซึ่งกำหนดกฎระเบียบทางเทคนิค กระบวนการประเมินเพื่อการรับรอง และมาตรฐาน (มาตรฐานทั่วไป) • การกำหนดมาตรฐานต้องปฏิบัติตาม Code of Good Practice for the Preparation, Adoption and Application of Standards (Annex 3 แนบท้ายความตกลง TBT) Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  18. มาตรการที่มิใช่ภาษีNon-Tariff Measures (NTMs) Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  19. มาตรการที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Measures: NTMs) หมายถึง มาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร ซึ่งเป็นกฎระเบียบข้อบังคับของภาครัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ โดยองค์การการค้าโลก (WTO) อนุญาตให้ใช้ได้กรณีของการ ส่งเสริมการค้าที่เป็นธรรม หรือมีสิทธิใช้เป็นข้อยกเว้นในกรณีฉุกเฉินและจำเป็น รวมทั้งเพื่อคุ้มครองชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ พืชและสัตว์ Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  20. มาตรการที่มิใช่ภาษี (NTMs) ได้แก่ • มาตรการเกี่ยวกับอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า *** • มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช *** • ระเบียบวิธีการออกใบอนุญาตนำเข้า • มาตรการประเมินราคาเพื่อการศุลกากร Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  21. การตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออก การตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออก • มาตรการปกป้อง • มาตรการเก็บภาษีต่อต้านการทุ่มตลาด • มาตรการเก็บภาษีตอบโต้การอุดหนุน • มาตรการว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  22. ระเบียบวิธีการออกใบอนุญาตนำเข้า(Import Licensing Procedures) • เป็นมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาต ภายใต้ WTO หน่วยงานของรัฐจะต้องกำหนดแนวทางปฏิบัติและ กำหนดระยะเวลาแน่นอนในการออกใบอนุญาตนำเข้า เพื่อมิให้มีการกีดกันทางการค้า Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  23. มาตรการการประเมินราคาเพื่อการศุลกากร(Customs Valuation) • เป็นมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการประเมินราคาเพื่อการศุลกากร ภายใต้ WTO ประเทศสมาชิกจะต้องกำหนดให้หน่วยงาน ศุลกากรของประเทศต่างๆ ใช้ราคาตามใบส่งของในการคำนวณ มูลค่าสินค้าเพื่อการเก็บภาษีศุลกากร เพื่อให้การประเมินราคา ศุลกากรเป็นไปอย่างถูกต้องและเป็นธรรม โดยไม่ถูกใช้เป็น มาตรการเพื่อกีดกันการค้า Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  24. การตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออก(Preshipment Inspection : PSI) • เป็นมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดหลักเกณฑ์ที่จะใช้ กับตัวแทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐในการทำหน้าที่ ตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออก โดยเฉพาะในด้านราคา ปริมาณ และคุณภาพของสินค้า Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  25. มาตรการปกป้อง(Safeguard) • เป็นมาตรการที่ใช้เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ เมื่อเกิด เหตุการณ์ที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากและก่อให้เกิด ความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศที่ผลิตสินค้าที่ เหมือนกัน หรือ แข่งขันกับสินค้านำเข้า โดยวิธีการเก็บค่า ธรรมเนียมพิเศษ หรือ จำกัดปริมาณการนำเข้า Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  26. ความตกลงว่าด้วยการต่อต้านการทุ่มตลาด(Anti-Dumping : AD) • เป็นมาตรการที่ประเทศสมาชิกเรียกเก็บภาษีต่อต้านการทุ่มตลาด ภายใต้สถานการณ์ที่ประเทศผู้นำเข้าได้รับความเสียหาย จากการนำเข้าสินค้าที่ทุ่มตลาด ประเทศผู้นำเข้าจะต้อง ดำเนินการไต่สวนการทุ่มตลาด ซึ่งจะต้องมีความโปร่งใสและ เป็นธรรม Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  27. มาตรการเก็บภาษีตอบโต้การอุดหนุน(Subsidies and Countervailing Measures: SCM) • เป็นมาตรการที่สมาชิกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษเพื่อตอบโต้สินค้า นำเข้าที่ได้รับการอุดหนุนซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้มีการบิดเบือน การค้า WTO ได้กำหนดประเภทของการอุดหนุนว่าการอุดหนุน ประเภทใดเป็นการอุดหนุนที่ต้องห้าม/ ทำได้ และประเภทใดเป็นการ อุดหนุนที่ทำแล้วอาจถูกใช้มาตรการตอบโต้ Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  28. มาตรการว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า(Rules of Origin) • เป็นมาตรการที่กำหนดกฎระเบียบแหล่งกำเนิดสินค้าให้เป็น บรรทัดฐานเดียวกันเพื่อเกิดความมั่นใจว่ากฎระเบียบดังกล่าว จะไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการค้าโดยไม่จำเป็น และ ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องการกำหนดแหล่งกำเนิดสินค้าที่ใช้เป็น เงื่อนไขในการให้สิทธิพิเศษทางศุลกากร Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  29. ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าAgreement on Technical Barriers to Trade (TBT) Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  30. โครงสร้างของความตกลง TBT • Article 2 และ 3: กฎระเบียบทางเทคนิค (technical regulations) • Article 4: มาตรฐาน/ โดยอ้างอิงไปถึงรายละเอียดเรื่อง Code of Good Practice ใน Annex 3 ของความตกลง TBT • Article 5-9: กระบวนการประเมินเพื่อการรับรอง (Conformity assessment procedures) • Article 10-15: หลักการทั่วไปและบทบัญญัติต่างๆ • Article 1 และ Annex 3: นิยามและความหมาย/ Code of Good Practice Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  31. คำจำกัดความในความตกลง TBT(1) กฎระเบียบทางเทคนิค (Technical Regulations) (มีสภาพบังคับให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้าหรือผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด) ครอบคลุม • คุณลักษณะเฉพาะและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ (Characteristics of the products) • กระบวนการและวิธีการผลิต ซึ่งมีผลต่อคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ • การเรียกชื่อและการใช้สัญลักษณ์ (terminology and symbol) • การบรรจุหีบห่อและการติดฉลากกับผลิตภัณฑ์ (packaging and labelling requirements) Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  32. คำจำกัดความในความตกลง TBT(2) มาตรฐาน (Standards) (ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม/ เป็นไปในลักษณะสมัครใจ) หมายถึง เอกสารที่ได้รับความเห็นชอบโดยองค์กรที่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งระบุกฎระเบียบ แนวทาง หรือลักษณะของผลิตภัณฑ์หรือกระบวนวิธีและวิธีการผลิตที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่ได้เป็นกฎระเบียบที่ต้องปฏิบัติตาม โดยอาจรวมหรือระบุโดยเฉพาะถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำสัญลักษณ์ การบรรจุหีบห่อ การทำเครื่องหมาย หรือการปิดฉลากที่ใช้กับผลิตภัณฑ์ กระบวนการ หรือกรรมวิธีการผลิตด้วย Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  33. มาตรฐานอาจถูกแบ่งออกได้ตามประเภทของหน้าที่ (Function) คือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ (Product standards) อ้างถึงคุณลักษณะของผลิตัณฑ์ คุณภาพ การออกแบบ และการทำงานของผลิตภัณฑ์ กระบวนการและวิธีการผลิต (Process and Production Methods) เน้นถึงเงื่อนไขหรือข้อกำหนดในการผลิตผลิตภัณฑ์ เช่น การกำหนดเงื่อนไขของการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิต Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  34. คำจำกัดความในความตกลง TBT(3) Conformity assessment procedures = กระบวนการประเมินเพื่อการรับรอง(กำหนดว่าผลิตภัณฑ์ใดๆ มีคุณลักษณะเป็นไปตามที่กฎระเบียบทางเทคนิคหรือมาตรฐานกำหนดไว้) ตัวอย่างเช่น การสุ่มตัวอย่าง การทดสอบ การสอบเทียบ การตรวจสอบความถูกต้องของผลิตภัณฑ์ การตรวจตราหลังการผลิต และการรับรองระบบงานและการรับรองผลิตภัณฑ์ Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  35. ความตกลง TBT กำหนดให้มีการใช้บังคับด้านเทคนิคและมาตรฐานให้มีความรัดกุม เป็นธรรม และโปร่งใสยิ่งขึ้น รวมทั้งการทดสอบและการให้การรับรอง โดยให้ครอบคลุมถึงขบวนการผลิตและวิธีการผลิตด้วย ทั้งนี้การออกกฎระเบียบดังกล่าวจะต้องอิงกับระบบมาตรฐานระหว่างประเทศ ยกเว้นบางกรณี อาทิ เรื่อง เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การป้องกันการหลอกลวง เป็นต้น Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  36. ขอบข่ายของความตกลง TBT • ครอบคลุมสินค้าทุกชนิด (ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร) • ไม่ครอบคลุมมาตรการด้านสุขอนามัย และ สุขอนามัยพืชในความตกลง SPS • ไม่ครอบคลุมข้อกำหนดสำหรับการจัดซื้อโดยรัฐ Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  37. หลักการของความตกลง TBT • ต้องปฏิบัติเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ • ต้องไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคโดยไม่จำเป็นต่อการค้าระหว่างประเทศ • ให้ใช้มาตรฐานสากลเป็นแนวทาง • ให้มีการยอมรับกฎระเบียบทางวิชากาของประเทศอื่นที่เทียบเท่ากัน • ให้มีการยอมรับซึ่งกันและกันในผลการตรวจสอบ และรับรอง • ต้องมีความโปร่งใส Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  38. หลักการไม่เลือกปฏิบัติ (Non- discrimination)(1) การใช้กฎระเบียบทางเทคนิคกับสินค้านำเข้านั้นต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติ • การให้การประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-Favoured- Nation Treatment : MFN) • การประติบัติเยี่ยงคนชาติ (National treatment : NT) Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  39. การให้การประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่งMost-Favoured Nation Treatment (MFN) • ต้องไม่เลือกปฏิบัติระหว่างประเทศคู่ค้า กล่าวคือ จะเลือกใช้มาตรการใดกับประเทศใด ประเทศเดียวไม่ได้จะต้องใช้กับทุกประเทศ เหมือนกัน (Article 2.1) Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  40. การประติบัติเยี่ยงคนชาติ(National treatment) • ต้องไม่เลือกปฏิบัติระหว่างสินค้าในประเทศกับ สินค้าที่นำเข้า กล่าวคือ มาตรการที่ใช้กับสินค้า นำเข้าต้องเหมือนกับที่ใช้กับสินค้าที่ผลิตใน ประเทศ (Article 2.1) Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  41. หลักการหลีกเลี่ยงอุปสรรคที่ไม่จำเป็นต่อการค้า(2)(The prevention of unnecessary obstacles to International Trade) • กฎระเบียบทางเทคนิค มาตรฐานและกระบวนการประเมิน เพื่อการรับรองจะต้องไม่มีการกำหนดการประกาศ หรือบังคับใช้เพื่อจุดประสงค์ในการกีดกันทางการค้าระหว่าง ประเทศ และระบุว่าจะไม่มีประเทศใดถูกกีดกันการบังคับใช้ กฎระเบียบทางเทคนิค หากกฎระเบียบนั้นเป็นไปตาม วัตถุประสงค์ที่ชอบธรรม (Legitimate Objectives) (Article 2.2, 5.1.2 และ Annex 3) Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  42. วัตถุประสงค์อันชอบธรรม (Legitimate Objectives) ในมาตรา 2.2 ได้ยกตัวอย่างวัตถุประสงค์ที่ชอบธรรมของการออกกฎระเบียบทางเทคนิคของประเทศสมาชิกไว้ดังนี้ • คุ้มครองชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ สัตว์และพืช; • คุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยของมนุษย์; • คุ้มครองความมั่นคงของชาติ; • คุ้มครองสิ่งแวดล้อม; และ • ป้องกันการหลอกลวงจากพฤติกรรมทางการตลาด ของผู้ประกอบการ Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  43. การใช้มาตรฐานระหว่างประเทศ(3)(Use of International Standards) • ความตกลง TBT สนับสนุนให้ประเทศสมาชิกใช้หลักเกณฑ์ หรือมาตรฐานระหว่างประเทศที่มีอยู่ โดยการนำไปปรับใช้ เป็นกฎระเบียบและมาตรฐานภายในประเทศ นอกเสียจากว่าการปฏิบัติตามมาตรฐานประเทศนั้นไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์อันชอบธรรมเนื่องจากความแตกต่างอันเกิดจากปัจจัยพื้นฐานของสภาพภูมิอากาศหรือภูมิศาสตร์ หรือปัญหาทางด้านเทคโนโลยี (Article 2.4) Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  44. ความตกลง TBT ยังกำหนดอีกว่าประเทศสมาชิกต้องมีส่วน ร่วมอย่างเต็มที่ในการเตรียมการจัดทำมาตรฐาน แนวปฏิบัติ หรือข้อเสนอแนะระหว่างประเทศสำหรับกฎระเบียบทาง เทคนิค มาตรฐาน และกระบวนการประเมินเพื่อการรับรอง ซึ่งสนับสนุนโดยองค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศด้วย (Article 2.6 และ 5.5) Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  45. หลักการยอมรับความเท่าเทียมกัน (Equivalence)(4) • ความตกลง TBT ได้กระตุ้นให้ประเทศสมาชิกยอมรับใน กฎระเบียบทางเทคนิคของประเทศสมาชิกอื่นว่ามีความเท่าเทียมกับกฎระเบียบทางเทคนิคของตน แม้ว่าจะมีความแตกต่างจากกฎระเบียบของตนในกรณีที่ต้องการบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  46. หลักการยอมรับซึ่งกันและกัน (Mutual Recognition)(5) • ประเทศสมาชิกต้องยอมรับผลของการประเมินเพื่อการรับรอง ของประเทศสมาชิกอื่นเช่นเดียวกับกรณีกฎระเบียบทางเทคนิคด้วย โดยได้พยายามส่งเสริมให้บรรดาประเทศสมาชิกเจรจาตกลงยอมรับ ซึ่งกันและกันในผลของการประเมินเพื่อการรับรอง (Mutual Recognition Agreement : MRAs) Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  47. หลักการความโปร่งใส (Transparency)(6) ประเด็นสำคัญของหลักความโปร่งใสมี 2 ประการ คือ • การแจ้ง notification • การจัดตั้งศูนย์ตอบข้อซักถาม (Enquiry point) Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  48. กระบวนการแจ้งประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ • ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานเจ้าของกฎระเบียบฯ/ กระบวนการประเมินเพื่อการรับรองของไทย • ศึกษาเอกสารที่จะแจ้ง (notify) แล้วสรุปสาระสำคัญและ กรอกข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษลงในแบบฟอร์ม Notification • เสนอคณะกรรมการว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า • ดำเนินการแจ้ง WTO โดยผ่านทางคณะผู้แทนถาวรไทย ประจำองค์การการค้าโลก Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  49. เผยแพร่ข้อมูล Notification ในระบบ Internet • จัดเตรียมเอกสารฉบับสมบูรณ์ (Full text) ที่แจ้ง WTO เพื่อจัดส่งให้ประเทศสมาชิกตามที่ได้รับการร้องขอ และเผยแพร่ในระบบ Internet • รวบรวมข้อคิดเห็นของประเทศสมาชิกและส่งให้หน่วยงาน เจ้าของเรื่องพิจารณา • นำคำตอบจากหน่วยงานเจ้าของเรื่องเสนอคณะกรรมการฯ TBT พิจารณา • จัดทำหนังสือตอบชี้แจงผลการพิจารณาเป็นภาษาอังกฤษและจัดส่ง ให้ประเทศสมาชิกที่แจ้งข้อคิดเห็นหรือสอบถามมา Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

  50. Notification ของไทยที่ดำเนินการแจ้ง (notify) ภายใต้ความตกลง TBTตั้งแต่ พ.ศ.2538 ถึง ปัจจุบันจำนวน 272 เรื่อง • แจ้งโดย สมอ. : 256 เรื่อง • แจ้งโดย มกอช. : 16 เรื่อง • เป็นเรื่องของ สมอ. : 111 เรื่อง Prepared by Information System Group, Standards Information Centre

More Related