1 / 54

การประชุมผลักดันตัวบ่งชี้ ที่เกี่ยวข้องกับสายวิชาการ

การประชุมผลักดันตัวบ่งชี้ ที่เกี่ยวข้องกับสายวิชาการ. วันที่ 26 ธันวาคม 2555 ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอดศุภอุดมฤกษ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร. ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมิน. องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต องค์ประกอบที่ 4 การวิจัย องค์ประกอบที่ 5 การบริการทางวิชาการแก่สังคม

abiola
Download Presentation

การประชุมผลักดันตัวบ่งชี้ ที่เกี่ยวข้องกับสายวิชาการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การประชุมผลักดันตัวบ่งชี้ ที่เกี่ยวข้องกับสายวิชาการ วันที่ 26 ธันวาคม 2555 ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารบุญรอดศุภอุดมฤกษ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

  2. ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมิน • องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต • องค์ประกอบที่ 4 การวิจัย • องค์ประกอบที่ 5 การบริการทางวิชาการแก่สังคม • องค์ประกอบที่ 6 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

  3. 2.1 ระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร

  4. การตรวจประเมิน KPI 2.1 • มีกำหนดวิธีการหรือขั้นตอนการเปิดหลักสูตรใหม่และปรับปรุงหลักสูตร/ มีคณะกรรมการพิจารณาหลักสูตร/ มีการสำรวจความต้องการใช้บัณฑิต • มีกำหนดวิธีการหรือขั้นตอนการปิดหลักสูตรใหม่ • หลักสูตรทุกหลักสูตรที่เปิดสอนต้องเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานทุกหลักสูตร มีการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (ภาคผนวก ก) • มีคณะกรรมการควบคุมกำกับให้ทุกหลักสูตรดำเนินงานให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ • คณะกรรมการพิจารณาหลักสูตร ควรมีองค์ประกอบเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มาจากหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพของหลักสูตร (คณะกรรมการวิภาคหลักสูตร)

  5. 2.2 อาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 1. คำนวณค่าร้อยละของอาจารย์ประจำที่มีวุฒิปริญญาเอก ร้อยละของอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก = จำนวนอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก × 100 จำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมด 2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5 คะแนนที่ได้ = ร้อยละของอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก × 5 ร้อยละของอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5

  6. ผลการดำเนินงาน ในปี 2555 • ในปีการศึกษา 2555 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มีอาจารย์ประจำ ทั้งหมด 31 คน มีวุฒิปริญญาเอก จำนวน 1 คน คิดเป็น ร้อยละ 3.23

  7. 2.3 อาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 1. คำนวณค่าร้อยละของอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ร้อยละของอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ = จำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ × 100 จำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมด 2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5 คะแนนที่ได้ = ร้อยละของอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ × 100 ร้อยละของอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5

  8. 2.4 ระบบการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน

  9. การตรวจประเมิน KPI 2.4 • แผนพัฒนาบุคลากร รอบปีงบประมาณ/ แผนระยะยาว 5 ปี • มีระบบการสรรหา คัดเลือกบุคลากรอย่างเป็นระบบ/ มีการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีรูปแบบชัดเจน • มีระบบส่งเสริมสนับสนุนการสร้างขวัญและกำลังใจให้คณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน • มีระบบการให้ติดตามผลการนำความรู้และทักษะไปใช้ภายหลังการอบรมหรือการพัฒนา (สายวิชาการ มคอ.3-มคอ.6, สายสนับสนุน รายงานผลการปฏิบัติงาน TOR) • มีคณะกรรมการจรรยาบรรณวิชาชีพ / คู่มือจรรยาบรรณวิชาชีพ / ช่องทางการรับฟังความคิดเห็น • มีการประเมินผลแผนพัฒนาบุคลากร และมีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการบริหารและการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนในรอบปีถัดไป

  10. 2.6 ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน

  11. การตรวจประเมิน KPI 2.6 • มีระบบในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญกำหนดไว้ในทุกหลักสูตร • มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทุกรายวิชา (มคอ.5) • มีการจัดทำรายละเอียดของรายวิชาที่จะเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษา (มคอ.3) ทุกหลักสูตร • ทุกหลักสูตรมีรายวิชาที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียนหรือจากการทำวิจัย • ทุกหลักสูตรควรมีการออกแบบให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้จากบุคคล หน่วยงานหรือชุมชนภายนอกในด้านวิชาการหรือวิชาชีพ • มีการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ทั้งในด้านกระบวนการเรียนการสอนและการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ควรมีทุกหลักสูตร • มีการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนทุกรายวิชา ต้องไม่ต่ำกว่า 3.51 • ควรมีการพิจารณาปรับปรุงผลการประเมินความพึงพอใจในรายวิชาที่มีคะแนนต่ำกว่า 3.51 โดยผ่านที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะ / ควรมีแนวทางและกลยุทธ์ในการพัฒนาการเรียนการสอนและนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาต่อไปโดยระบุไว้ใน มคอ. 5 หมวดที่ 6 แผนการปรับปรุง ในหัวข้อ แผนการปรับปรุงที่เสนอในภาคการศึกษา/ปีการศึกษาที่ผ่านมา

  12. 2.7 ระบบและกลไกการพัฒนาสัมฤทธิ์ผลการเรียนตามคุณลักษณะของบัณฑิต

  13. การตรวจประเมิน KPI 2.7 • การสำรวจคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตทุกหลักสูตรระดับปริญญาตรี • คณะกรรมการรับผิดชอบหลักสูตรมีการนำผลการประเมินข้อ 1 มาปรับปรุงหลักสูตร ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต • ควรมีการสนับสนุนทรัพยากรทั้งด้านบุคลากร เทคโนโลยีสารสนเทศ และงบประมาณที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิต • มีระบบละกลไกการส่งเสริมให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีเข้าร่วมกิจกรรม การประชุมวิชาการหรือนำเสนอผลงานทางวิชาการ • มีกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักศึกษา ทั้งกิจกรรมภายใต้หลักสูตรและกิจกรรมเสริมหลักสูตร และมีการประเมินผลที่เป็นรูปธรรม

  14. 1. บัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี ข้อพิจารณา : ตัวแทนของผู้สำเร็จการศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐ ควรนำเสนอการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลการดำเนินงานทั้งในระดับคณะ และระดับมหาวิทยาลัยไว้ในเล่มเดียวกัน เพื่อดูความสอดคล้องด้วย รูปแบบการเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูลของคณะและมหาวิทยาลัย ควรเป็นแบบเดียวกัน ในกรณีที่มีงานทำแล้ว ถ้ามีข้อมูลการเปลี่ยนงานใหม่ ควรระบุให้ชัดเจนด้วย

  15. ผลการดำเนินงานในปีการศึกษา 2555 (ข้อมูลปีการศึกษา 2554) หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ 19 ธันวาคม 2555 เวลา 13.37 น.

  16. 2. คุณภาพของบัณฑิตปริญญาตรี โทและเอกตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ ข้อพิจารณา : ต้องมีความเป็นตัวแทนของผู้สำเร็จการศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 แบบประเมินจากสถานประกอบการ หรือสถาบันที่บัณฑิตเข้าศึกษาต่อ เนื้อหาของแบบประเมินต้องครอบคลุมการประเมินผลการเรียนรู้ อย่างน้อย 5 ด้าน ตัวตั้งต้องเป็นผลรวม ไม่ใช่ค่าเฉลี่ย

  17. 14. การพัฒนาคณาจารย์ กำหนดค่าน้ำหนักระดับคุณภาพอาจารย์ ดังนี้

  18. วิธีการคำนวณ เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ โดยกำหนดให้ค่าดัชนีคุณภาพอาจารย์เป็น 6 เท่ากับ 5 คะแนน ** นับจำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมด ** (นับจำนวนอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อด้วย)

  19. ผลการดำเนินงานในปีการศึกษา 2555 • ในปีการศึกษา 2555 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มีบุคลากรสายวิชาการ ทั้งสิ้น 31 คน (คิดตามอายุการทำงาน) ซึ่งดำรงตำแหน่งอาจารย์ จำนวน 31 คน เป็นผู้มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก จำนวน 1 คน และระดับปริญญาโท จำนวน 30 คน (ลาศึกษาต่อระดับปริญญาเอก 8 คน)

  20. 4.1 ระบบและกลไกการพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

  21. 4.1 ระบบและกลไกการพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

  22. การตรวจประเมิน KPI 4.1 • ควรมีการจัดทำแผนการวิจัย ติดตามผล ประเมินผลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของแผนการวิจัย • ควรจัดให้มีข้อมูลในการสนับสนุนการขอทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก • ควรกำหนดให้นักศึกษาทำโครงการวิจัย และให้นักศึกษาเข้าฟังบรรยายหรือสัมมนาเกี่ยวกับผลความก้าวหน้าในงานวิจัยของอาจารย์ • ควรส่งเสริมให้อาจารย์นำผลลัพธ์ที่เกิดจากงานวิจัยไปเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาในการจัดการเรียนการสอน • ควรมีการประเมินผลสำเร็จของการสนับสนุนทุกด้านอย่างสม่ำเสมอและนำผลการประเมินไปทำแผนปรับปรุง โดยกำหนดกิจกรรมที่ต้องทำเพื่อการปรับปรุง • มีการวางแนวทางและขั้นตอน ตลอดจนกำหนดผู้รับผิดชอบในการสร้างความร่วมมือกับองค์กรภายนอก เช่น การทำงานวิจัยร่วมกันบนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น

  23. 4.2 ระบบและกลไกการจัดการความรู้จากงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

  24. การตรวจประเมิน KPI 4.2 • ควรมีการวางแนวทาง ขั้นตอน และหลักเกณฑ์ตลอดจนกำหนดผู้รับผิดชอบในการสนับสนุนการตีพิมพ์หรือการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในวารสารหรือในที่ประชุมวิชาการที่มี peer review • ควรมีการกำหนดผู้รับผิดชอบติดตามผลงานวิจัย คัดสรรผลงานที่น่าจะเป็นที่สนใจของบุคคลทั่วไป จัดให้มีการสัมภาษณ์เจ้าของผลงาน วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลให้เป็นความรู้ที่น่าสนใจซึ่งสาธารณชนเข้าใจได้ จัดหมวดหมู่ความรู้ที่ได้ให้เหมาะสมต่อการเผยแพร่ • นำความรู้ที่ได้ในข้อ 2 ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่องค์ความรู้จากงานวิจัยสู่สาธารณชนและผู้เกี่ยวข้อง • สนับสนุนการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์จากหน่วยงานภายนอก และมีการรับรองการใช้ประโยชน์จริงจากหน่วยงานภายนอกหรือชุมชน • มีการวางแนวทาง ขั้นตอน และหลักเกณฑ์ตลอดจนกำหนดผู้รับผิดชอบเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิของงานวิจัย

  25. 4.3 เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ เกณฑ์เฉพาะสถาบันกลุ่ม ข และ ค2 จำแนกเป็น 2 กลุ่มสาขาวิชา 1.1 กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = 60,000 บาทขึ้นไปต่อคน 1.2 กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาทขึ้นไปต่อคน

  26. 4.3 เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ สูตรการคำนวณ : 1. คำนวณจำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบัน ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยฯ = จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยฯจากภายในและภายนอก จำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ 2. แปลงจำนวนเงินที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5 คะแนนที่ได้ = จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยฯจากภายในและภายนอก × 5 จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยฯที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5

  27. ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ.2555 • อยู่ระหว่างรอตรวจสอบงานวิจัยของอาจารย์ทั้งหมดอีกครั้ง

  28. 5. งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ กำหนดระดับคุณภาพบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ (ปีปฏิทิน)

  29. วิธีการคำนวณ เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ โดยกำหนดร้อยละ เท่ากับ 5 คะแนน จำแนกตามกลุ่มสาขาวิชา

  30. ที่มักเป็นปัญหา : • การนับจำนวนบทความจากผลงานวิจัยหรือผลงานสร้างสรรค์ที่ตีพิมพ์หรือเผยแพร่ บทความจากผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ที่สามารถนำมานับได้มีเฉพาะ Research/ Original article, Conference Paper • บทความจากผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ สามารถนับได้เฉพาะที่เป็นบทความฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) เท่านั้น ส่วนบทคัดย่อ (Abstract) นับไม่ได้ • ในกรณีที่มีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยเรื่องเดียวกันในหลายที่ ให้นับได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น ยกเว้น ผลงานวิจัยเรื่องนั้นตีพิมพ์คนละปีพ.ศ. (นับจำนวนเรื่อง)

  31. ผลการดำเนินงานในปีพ.ศ.2555ผลการดำเนินงานในปีพ.ศ.2555 • สายวิทยาศาสตร์ มีจำนวน 1 เรื่องคือ • “การเปรียบเทียบความผิดปกติของกล้าปาล์มน้ำมันที่ได้จากการเพาะเมล็ดและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในระยะอนุบาลแรกและระยะอนุบาลหลัก” โดยอาจารย์ประสาทพร กออวยชัย ในการประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ประจำปี 2555 มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 16-19 กุมภาพันธ์ 2555 (รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติค่าน้ำหนัก 0.25) • สายสังคมศาสตร์ มีจำนวน 4 เรื่อง คือ • “การพัฒนาการจัดการธุรกิจชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” โดยอาจารย์ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน ในการประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 16-19 กุมภาพันธ์ 2555 (รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ค่าน้ำหนัก 0.25) • “การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินระหว่างการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันในพื้นที่จังหวัดชุมพร” โดยอาจารย์พัชรี หล้าแหล่ง ในการประชุมทางวิชาการ มหาวิทยาลัยพะเยา เมื่อวันที่ 12-13 มกราคม 2555 (รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ค่าน้ำหนัก 0.25) • “Community Based Tourism Looping System in Chumphon Province and Related Area” โดยอาจารย์อำนาจ รักษาพล ในการประชุมทางวิชาการ ที่ The Center for Land Resources Studies of Gadjah Mada University (PSSL-UGM), Kuningan Complex Yogyakarta, Indonesia. เมื่อวันที่ 12-13 มิถุนายน 2555 (รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ค่าน้ำหนัก 0.25) • “แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มสหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟ จังหวัดชุมพร” โดยอาจารย์พัชรี หล้าแหล่ง ในวารสาร Veridian E-Journal กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ตีพิมพ์ พ.ศ.2555 (มกราคม-เมษายน) (วารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI ค่าน้ำหนัก 0.25)

  32. ผลการดำเนินงานในปี พ.ศ.2555 • คะแนนที่ได้ 1.54

  33. 6. งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์ วิธีการคำนวณ เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ โดยกำหนดร้อยละ 20 เท่ากับ 5 คะแนน ทุกกลุ่มสาขาวิชา

  34. 6. งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์ • งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์ หมายถึง • งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ได้นำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในโครงการ โครงการวิจัย และรายงานการวิจัยอย่างถูกต้อง สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการประยุกต์ใช้กับกลุ่มเป้าหมาย • มีหลักฐานปรากฏชัดเจนถึงการนำไปใช้จนก่อให้เกิดประโยชน์ได้จริงอย่างชัดเจน ตามวัตถุประสงค์ และ/หรือ ได้การรับรองการใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการวิจัยอย่างถูกต้อง • หน่วยงานมักแสดงแต่หนังสือรับรอง โดยไม่ระบุว่านำส่วนใดไปใช้ และผลการนำไปใช้เป็นอย่างไร

  35. ประเภทของการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย/งานสร้างสรรค์ ที่สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม มีดังนี้ 1. การใช้ประโยชน์ในเชิงสาธารณะ 2. การใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบาย 3. การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ 4. การใช้ประโยชน์ทางอ้อมของงานสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นการสร้างคุณค่าทางจิตใจ ยกระดับจิตใจ ก่อให้เกิดสุนทรียภาพ *** กรณีที่มีการใช้ประโยชน์มากกว่า ๑ ครั้ง ให้นับได้ครั้งเดียว ยกเว้นเป็นการใช้ประโยชน์ในมิติต่างกัน หรือมีการต่อยอดเนื้องาน

  36. ข้อพิจารณาตัวบ่งชี้ที่ 6 • ผลงานที่นับได้ เช่น : • งานที่ปรึกษาที่เป็นการจ้างงานจากหน่วยงานภายนอก มีการดำเนินงานตามระเบียบวิธีวิจัย และมีผลการวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์จริง • ผลงานวิจัย นำไปใช้ประโยชน์กับผู้ป่วยในโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยตนเอง • สิ่งประดิษฐ์ที่นำไปจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ผลงานที่นับไม่ได้เช่น : งานประเมินความพึงพอใจให้กับหน่วยงาน อบต. ซึ่งจัดเป็นงานบริการวิชาการ มีหนังสือรับรองการนำไปใช้ประโยชน์จริง แต่ไม่ระบุว่าผลที่เกิดขึ้นจากการนำไปใช้เป็นอย่างไร การนำผลวิจัยไปพัฒนาหัวข้อวิจัยใหม่ หรือนำไปเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ การนำผลวิจัยไปใช้พัฒนาการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย

  37. 7. ผลงานวิชาการที่ได้รับการรับรองคุณภาพ กำหนดระดับคุณภาพผลงานวิชาการ

  38. ข้อพิจารณาตัวบ่งชี้ที่ 7 • ผลงานทางวิชาการที่เป็นบทความวิชาการ (Academic paper) บทความปริทัศน์ (Review article) ตำรา (Textbook) หรือหนังสือ (Book) ต้องเป็นผลงานที่ผ่านกระบวนการกลั่นกรองผลงานก่อนตีพิมพ์ • บทความวิชาการ หมายถึง เอกสารทางวิชาการที่เรียบเรียงอย่างเป็นระบบ มีข้อความรู้ที่สะท้อนมุมมอง แนวคิดเชิงทฤษฎีที่ได้จากประสบการณ์ การสังเคราะห์เอกสาร หรือการวิจัย โดยจัดทำในรูปของบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่มีคุณภาพซึ่งมีผู้ตรวจอ่าน

  39. วิธีการคำนวณ เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ โดยกำหนดร้อยละ 10 เท่ากับ 5 คะแนน ทุกกลุ่มสาขาวิชา

  40. ผลการดำเนินงานในปีการศึกษา 2555 • มีผลงานจำนวน 1 เรื่อง คือ “แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มสหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟ จังหวัดชุมพร” โดยอาจารย์พัชรี หล้าแหล่ง ในวารสาร Veridian E-Journal กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ตีพิมพ์ พ.ศ.2555 (มกราคม-เมษายน) (วารสารวิชาการระดับชาติ ค่าน้ำหนัก 0.25) • ค่าคะแนนที่ได้ = 0.41 คะแนน • ถ้าอยากได้เต็ม 5 คะแนน ต้องมีผลงานวิชาการประมาณ 13 เรื่อง ต่อปี

  41. 5.1 ระบบและกลไกการบริการทางวิชาการแก่สังคม

  42. การตรวจประเมิน KPI 5.1 • มีการวางแนวทาง ขั้นตอน และหลักเกณฑ์ของการให้การบริการวิชาการด้านต่างๆ ที่สัมพันธ์กับพันธกิจของสถาบัน / มีการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพของการให้บริการอย่างสม่ำเสมอ • มีการบูรณาการงานบริการทางวิชาการกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนและการปฏิบัติงานประจำด้านอื่นๆ ของอาจารย์และบุคลากร • มีการบูรณาการงานบริการทางวิชาการกับการวิจัยอย่างเป็นระบบ • จัดให้มีระบบติดตาม ประเมินผลความสำเร็จของการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและการวิจัย • มีการนำผลการประเมินไปพัฒนาแผน พัฒนากระบวนการ และผลสัมฤทธิ์ที่ได้อย่างสม่ำเสมอและเป็นรูปธรรม

  43. 5.2 กระบวนการบริการทางวิชาการให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม

  44. การตรวจประเมิน KPI 5.2 • มีการสำรวจความต้องการของชุมชน หรือภาครัฐ หรือภาคเอกชน หรือหน่วยงานวิชาชีพ เพื่อจัดทำแผนการบริการทางวิชาการ • มีการสร้างเครือข่ายระหว่างบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพที่จะให้บริการ • มีการประเมินประโยชน์หรือผลกระทบของการให้บริการทางวิชาการต่อสังคม • มีการนำผลการประเมินการให้บริการทางวิชาการไปพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของการให้บริการ • มีการถ่ายทอดความรู้สู่บุคลากรภายในสถาบัน นักศึกษา ผ่านสื่อต่างๆ และจัดทำฐานข้อมูลการบริการวิชาการเผยแพร่สู่สาธารณะ

  45. 8. ผลการนำความรู้และประสบการณ์จากการให้บริการวิชาการ มาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและการวิจัย วิธีการคำนวณ เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ โดยกำหนดร้อยละ 30 เท่ากับ 5 คะแนน

  46. 8. ผลการนำความรู้และประสบการณ์จากการให้บริการวิชาการ มาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและการวิจัย ข้อพิจารณา : • โครงการที่เสนอว่านำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ควรมีแบบฟอร์มบันทึกข้อมูลที่แสดงเห็นว่านำไปใช้ในวิชาอะไร เนื้อหาที่นำไปใช้อยู่ตรงไหน • เช่นเดียวกันกับการนำไปใช้ในงานวิจัย ต้องระบุว่าปัญหาที่ได้จากการให้บริการวิชาการคืออะไร นำไปใช้ในการกำหนดหัวข้อวิจัยอย่างไร • จำนวนโครงการ/กิจกรรมวิชาการทั้งหมดที่เป็นตัวหารควรเป็นโครงการที่ระบุไว้ในแผนการให้บริการวิชาการ ถ้ามีการปรับแผนควรแนบเอกสารเพิ่มเติมด้วย

  47. 9. การเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของชุมชนหรือองค์กรภายนอก ข้อพิจารณา : มีโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนภายนอกที่แสดงให้เห็นระบบการทำงานด้วยวงจรคุณภาพ (PDCA) โดยการมีส่วนร่วมของชุมขนหรือองค์กร โครงการมีการกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจน เพื่อวัดการบรรลุเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ชุมชนมีการเรียนรู้และดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง – ถ้าเริ่มดำเนินการปีแรก ต้องมีแผนงานและเงินที่แสดงให้เห็นถึงกิจกรรมที่จะดำเนินการในปีต่อไป มีการพัฒนาตนเองตามอัตลักษณ์ชุมชน - อย่างต่อเนื่อง/ยั่งยืน โครงการที่ดำเนินการแล้วต้องมีผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นแก่ชุมชนหรือทำให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ *** อัตลักษณ์ชุมชน หมายถึง ความเป็นตัวตนที่เป็นลักษณะเฉพาะถิ่น เช่น งานประเพณี อาหารการกิน การแต่งกาย และภาษาถิ่น ***

  48. 6.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

  49. การตรวจประเมิน KPI 6.1 • มีการกำหนดระบบและกลไกทางด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม • มีการนำการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไปบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอน และกิจกรรมนักศึกษา • มีการเผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน • มีการประเมินผลความสำเร็จของการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอน และกิจกรรมนักศึกษา • มีแผนปรับปรุงและพัฒนาการบูรณาการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมนำไปสู่การปฏิบัติและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง • มีการกำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปะและวัฒนธรรม/ มีผลงานวิจัยด้านศิลปะและวัฒนธรรมโดยมีการเผยแพร่ทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาค หรือระดับนานาชาติ หรือมีผลงานได้รับรางวัล ได้รับการอ้างอิงเป็นที่ยอมรับ

  50. 10. การส่งเสริมและสนับสนุนด้านศิลปะและวัฒนธรรม ประเด็นการพิจารณา ๑. มีการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ (PDCA) ๒. บรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ๓. มีการดำเนินงานสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง ๔. เกิดประโยชน์และคุณค่าต่อชุมชนภายใน/ภายนอก ๕. ได้รับการยกย่องระดับชาติและหรือนานาชาติ

More Related