1 / 100

มาตรา ๖๕๐ วรรคสอง สัญญานี้ย่อม บริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สิน ที่ยืม

มาตรา ๖๕๐ วรรคสอง สัญญานี้ย่อม บริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สิน ที่ยืม. การส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมนั้น ไม่จำต้องเป็นการที่ผู้ให้กู้ส่งเงินให้แก่ผู้กู้โดยตรง การที่ผู้ให้กู้ดำเนินการบางอย่างในลักษณะต่างตอบแทนให้แก่ผู้กู้ก็ถือเป็นการส่งมอบเงินกันโดยทางอ้อมหรือโดยปริยายแล้ว.

Download Presentation

มาตรา ๖๕๐ วรรคสอง สัญญานี้ย่อม บริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สิน ที่ยืม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. มาตรา ๖๕๐วรรคสองสัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม การส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมนั้น ไม่จำต้องเป็นการที่ผู้ให้กู้ส่งเงินให้แก่ผู้กู้โดยตรง การที่ผู้ให้กู้ดำเนินการบางอย่างในลักษณะต่างตอบแทนให้แก่ผู้กู้ก็ถือเป็นการส่งมอบเงินกันโดยทางอ้อมหรือโดยปริยายแล้ว

  2. มีตัวอย่างฎีกาหลายเรื่องดังนี้มีตัวอย่างฎีกาหลายเรื่องดังนี้ • ทำสัญญากู้ตอบแทนการโอนปืนให้ (ฎีกาที่ ๓๓๓/๒๕๙๕) ทำสัญญากู้แทนค่าที่ดินที่ยังคงค้างชำระ (ฎีกาที่ ๑๔๖๖/๒๔๙๘) ทำสัญญากู้แทนเงินวางมัดจำที่ดิน (ฎีกาที่ ๔๒๕๒/๒๕๒๘) ทำสัญญากู้แทนการชำระราคาที่ดินบางส่วน (ฎีกาที่ ๓๕๘/๒๕๓๙ และ ๓๒๐๙/๒๕๕๐) ทำสัญญากู้แทนหนี้ค่าส่งบุตรผู้กู้ไปทำงานต่างประเทศ (๑๓๘๒๕/๒๕๕๓) หรือรวมเงินกู้ครั้งก่อน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ที่ยังไม่ได้ทำหลักฐานกันไว้เข้ามารวมกันกับจำนวนเงิน ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาทตามการกู้เงินครั้งหลัง เป็นเงิน ๔,๕๐๐,๐๐๐ บาท (๒๓๓๕/๒๕๔๘) แม้ในวันทำสัญญาจำนองที่ดิน โจทก์ยังไม่ได้ส่งมอบเงินกู้ยืมให้แก่จำเลย แต่ต่อมาโจทก์ชำระหนี้ที่จำเลยมีต่อ ส. แทนจำเลยไป การกู้ยืมเงินและสัญญาจำนองที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยย่อมบริบูรณ์ใช้บังคับได้ (ฎีกาที่ ๗๕๗๕/๒๕๔๖)

  3. มีฎีกาที่น่าสนใจในกลุ่มนี้มีฎีกาที่น่าสนใจในกลุ่มนี้ • ฎีกาที่ ๔๖๘๔/๒๕๓๖ โจทก์ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่มีต่อธนาคารและให้จำเลยทำสัญญากู้เงินไว้กับโจทก์ แม้ขณะทำสัญญากู้เงินการกู้เงินยังไม่บริบูรณ์แต่ก่อนฟ้องคดี ธนาคารได้หักเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ชำระหนี้ของจำเลยไปแล้ว สัญญากู้จึงบริบูรณ์มีมูลหนี้ใช้บังคับกันได้

  4. แต่ถ้ายังไม่มีการดำเนินการใด ๆ ที่เป็นการต่างตอบแทนเงินกู้แล้ว สัญญากู้ยังไม่บริบูรณ์ • ฎีกาที่ ๔๗๒๙/๒๕๔๗ สัญญากู้ที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นสัญญาที่จำเลยทำให้ไว้แก่โจทก์ทั้งสี่เนื่องจากการที่โจทก์ทั้งสี่จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันการที่ ม.กับ บ. ร่วมกันกู้ยืมเงินจากธนาคาร หากโจทก์ทั้งสี่ต้องชำระหนี้แก่ธนาคารแล้ว จำเลยต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสี่ตามสัญญากู้ ดังนั้น ในขณะที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้ โจทก์ทั้งสี่ยังไม่ได้ชำระหนี้ตามภาระค้ำประกันแก่ธนาคารอันเนื่องมาจากมูลหนี้ของ ม.กับ บ. ผู้กู้ จำเลยจึงยังไม่มีความรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าว โจทก์ทั้งสี่ไม่มีอำนาจฟ้อง

  5. ทำสัญญากู้เพื่อประกันการชำระหนี้ค่าส่งไปทำงานต่างประเทศ แม้ส่งไปทำงานแล้ว แต่ก็ชำระหนี้แล้ว สัญญากู้ไม่บริบูรณ์ • คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๘๒๕/๒๕๕๓ การกู้เงินไม่มีการส่งมอบเงินให้แก่กันจริง แต่ผู้ให้กู้เป็นผู้จัดส่งบุตรผู้กู้ไปทำงานที่ไต้หวันโดยคิดค่านายหน้า ๑๖๕,๐๐๐ บาท และผู้กู้ได้ชำระหนี้ค่านายหน้าไปแล้ว สัญญากู้จึงไม่บริบูรณ์ ฟ้องบังคับกันไม่ได้

  6. มาตรา ๖๕๒ถ้าในสัญญาไม่มีกำหนดเวลาให้คืนทรัพย์สินซึ่งยืมไป ผู้ให้ยืมจะบอกกล่าวแก่ผู้ยืมให้คืนทรัพย์สินภายในเวลาอันควร ซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้นก็ได้ • แม้มีกำหนดเวลาชำระหนี้คืนไว้ชัดเจน แต่มีอยู่ ๒ กรณีที่ฟ้องเรียกให้ชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดเวลาชำระหนี้ได้ ได้แก่

  7. กรณีที่ผู้กู้ตายก่อนถึงกำหนดเวลาชำระหนี้ เรียกคืนได้ทันที • ฎีกาที่ ๓๙๙๓/๒๕๔๐ แม้หนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่ลูกหนี้ทำไว้กับโจทก์ยังไม่ถึงกำหนดชำระ แต่ลูกหนี้ได้ถึงแก่ความตายเสียก่อน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ภายใน ๑ ปี นับแต่เมื่อโจทก์รู้ถึงความตายของลูกหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๑๗๕๔วรรคสาม เพราะสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตาย หากรอจนหนี้ถึงกำหนดชำระ อายุความ ๑ ปี ตามมาตรา ๑๗๕๔ วรรคสามดังกล่าวข้างต้นอาจจะล้วงพ้นไปแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้ชำระหนี้ได้แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ

  8. หมายเหตุ ออกข้อสอบไปแล้วเมื่อสมัย ๕๓ ปี ๒๕๔๕ โดยในข้อเดียวกันมีทั้งเรื่องยืม ค้ำประกัน และจำนอง สรุปคำถามได้ว่าเมื่อผู้กู้ยืมเงินตายไปแล้วเกินหนึ่งปีจะฟ้องผู้ค้ำประกันและผู้จำนองได้หรือไม่ คำตอบอ้างมาตรา ๑๗๕๔ วรรค ๓ ว่าการที่ไม่ได้ฟ้องผู้กู้ยืมเงินภายใน ๑ ปี ทำให้ผู้ค้ำประกันอาศัยมาตรา ๖๙๔ ยกข้อต่อสู้ของผู้กู้ยืมเงินเกี่ยวกับเรื่องอายุความตามมาตรา ๑๗๕๔ วรรค ๓ ขึ้นต่อสู้ผู้ให้ยืมได้ ส่วนผู้จำนองยกขึ้นต่อสู้ไม่ได้เพราะไม่มีบทบัญญัติอย่างมาตรา ๖๙๔ ใช้กับกรณีจำนอง (นอกจากนี้ยังมีฎีกาที่ ๓๔๘๑/๒๕๔๖ และ ๔๓๕๖/๒๕๔๕ วินิจฉัยไว้ทำนองเดียวกัน)

  9. ผู้กู้อ้างว่าชำระหนี้เงินกู้แล้ว • ฎีกาที่ ๑๐๙๘/๒๕๐๗ เจ้าหนี้ฟ้องเรียกเงินกู้ก่อนถึงกำหนดชำระ ลูกหนี้ปฏิเสธความรับผิด อ้างว่าชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญาแล้ว ย่อมแสดงว่าลูกหนี้ไม่ถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาในสัญญากู้นั้น เงื่อนเวลาจึงไม่เป็นข้อที่ลูกหนี้จะอ้างเป็นประโยชน์ได้ต่อไป • หมายเหตุ หากนำฎีกานี้ไปตั้งเป็นข้อสอบโดยออกรวมกับเรื่องค้ำประกันตามมาตรา ๖๘๗ ที่ว่าผู้ค้ำประกันไม่จำต้องชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดเวลาที่จะชำระ แม้ถึงว่าลูกหนี้จะไม่อาจถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเริ่มต้นหรือเวลาสุดสิ้นได้ต่อไปแล้ว ก็น่าจะเป็นข้อสอบที่น่าสนใจ

  10. กู้ยืมเงิน • มาตรา ๖๕๓การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ • ฎีกาที่ ๑๐๔๒๘/๒๕๕๑ บันทึกเงินยืมมีข้อความว่า วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๔๓ ข้าพเจ้า ส.ขอทำบันทึกว่าได้ยืมเงินและรับเงินยืมจาก พ.ไปแล้ว เป็นเงินทั้งสิ้น ๔,๕๐๐๐,๐๐๐ บาท จริง และขอชำระเงินยืมดังกล่าวคืนแก่ พ.ผู้ให้ยืมเงินต่อไปนี้... เพื่อเป็นหลักฐานในการบันทึกนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ลงชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน... ซึ่งก็จะได้ความว่าจำเลยเป็นผู้กู้ยืมและรับเงินไปจากโจทก์ ๔,๕๐๐,๐๐๐ บาท ดังความในตอนท้ายที่มีลายมือชื่อของจำเลยว่าผู้ยืมและโจทก์ว่าผู้ให้ยืม บันทึกเงินยืมดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานแห่งการก็ยืมเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา ๖๕๓ วรรคหนึ่ง มิใช่เป็นหนังสือสัญญาก็ยืมเงิน จึงไม่เข้าลักษณะตาม ป.รัษฎากร มาตรา ๑๑๘ แม้โจทก์จะมิได้ปิดอากาแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

  11. คำว่าหลักฐานเป็นหนังสือ มีหลักให้จดจำแยกเป็นข้อ ๆ ดังนี้ ๑. หลักฐานเป็นหนังสืออยู่ในเอกสารได้หลากหลายชนิด เช่น • บันทึกการเปรียบเทียบของอำเภอ (ฎีกาที่ ๑๕๖๗/๒๔๙๙) รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี (ฎีกาที่ ๓๐๐๓/๒๕๓๘) บันทึกคำให้การและคำเบิกความในคดีอาญา (ฎีกาที่ ๓๔๙๘/๒๕๔๖, ๒๙๕๐/๒๕๔๙ และ ๘๑๗๕/๒๕๕๑ ) ข้อความแสดงการกู้ยืมเงินที่ปรากฏอยู่ในสัญญาต่าง ๆ ที่ผู้กู้ลงชื่อไว้ด้วย เช่น สัญญาจำนอง (ฎีกาที่ ๒๒๗๔/๒๕๓๑) สัญญาค้ำประกันที่ผู้กู้ลงชื่อในช่องผู้เขียน (ฎีกาที่ ๘๖๘/๒๕๐๖ และ ๘๓๙๖/๒๕๔๐) จดหมายโต้ตอบที่แสดงให้เห็นข้อความยอมรับว่ากู้ยืมเงินไปจริง ซึ่งอาจจะมีข้อความอยู่ในฉบับเดียวหรือหลายฉบับรวมกันก็ได้ (ฎีกาที่ ๔๘๓/๒๕๑๐, ๒๔๐๕/๒๕๒๐ และ ๓๑๔๘/๒๕๓๐)

  12. เอการคำขอกู้เงินเป็นหลักฐานเป็นหนังสือเอการคำขอกู้เงินเป็นหลักฐานเป็นหนังสือ • คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๘๓๕/๒๕๕๓ จำเลยลงลายมือชื่อในใบสมัครสินเชื่อเงินสดควิกแคชพร้อมสัญญาให้สินเชื่อเงินสดควิกแคช ระบุข้อความว่าจำเลยผู้กู้ขอรับบริการสินเชื่อเงินสดควิกแคชจากโจทก์ ระบุอัตราค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ย และจำเยลงลายมือชื่อผู้กู้ไว้ แม้เอกสารดังกล่าวมิได้ระบุจำนวนเงินที่กู้ยืม แต่ก็มีข้อความว่าจำเลยขอรับวงเงินสินเชื่อเต็มจำนวนตามที่โจทก์จะอนุมัติ ซึ่งต่อมาโจทก์อนุมัติ ๑๐๐,๐๐๐ บาท และโอนเงินเข้าบัญชีของจำเลยตามที่แจ้งไว้ โดยจำเลยมิได้โต้แย้งว่าจำเลยมิได้กู้ยืมเงินโจทก์ตามที่โจทก์อนุมัติ หรือมิได้รับเงินที่กู้ยืมไปจากโจทก์แต่อย่างใด ดังนี้ เอกสารดังกล่าวเมื่อพิจารณาประกอบกันแล้วถือได้ว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม ตามมาตรา ๖๕๓ วรรคหนึ่งแล้ว

  13. ฎีกาที่ ๘๖๘/๒๕๐๖ • ฎีกาที่ ๘๖๘/๒๕๐๖ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ ๑ เป็นผู้กู้ จำเลยที่ ๒ เป็นผู้ค้ำประกัน และส่งสัญญาดังกล่าวต่อศาล ปรากฏว่าจำเลยที่ ๑ มิได้ลงชื่อในสัญญา แต่ไปลงชื่อในช่องผู้เขียนในสัญญาค้ำประกันซึ่งมีข้อความว่า ตามที่จำเลยที่ ๑ กู้ยืมโจทก์ไป ๙,๐๐๐ บาท จำเลยที่ ๒ ยอมค้ำประกันหนี้นั้น จำเลยที่ ๒ ลงชื่อในช่องผู้ค้ำประกัน ดังนี้ถือว่าสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามมาตรา ๖๕๓ แล้ว

  14. หมายเหตุ • หมายเหตุ ข้อสอบสมัย ๔๑ ปี ๒๕๓๑มีทั้งเรื่องยืมและค้ำประกัน • เรื่องยืม ถามว่าการที่ผู้กู้ยืมลงชื่อในช่องผู้เขียนในสัญญาค้ำประกัน ถือเป็นหลักฐานเป็นหนังสือของสัญญายืมหรือไม่ • ส่วนเรื่องค้ำประกัน ถามว่าการที่ผู้ค้ำประกันพิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือ โดยมีพยานเป็นเด็กอายุ ๑๔ ปี คนหนึ่งและคนอ่านหนังสือไม่ออกอีกคนหนึ่ง และพยานรู้เห็นในการทำสัญญา แต่ไม่เห็นขณะพิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือ ใช้ได้หรือไม่ • ธงคำตอบ คือ ถือว่ามีหลักฐานเป็นหนังสือแล้ว และพยานในการพิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือนั้นถือว่าถูกต้องครบถ้วนแล้ว • ปัญหาเรื่องแรกที่ผู้กู้ยืมลงชื่อในช่องผู้เขียนในสัญญาค้ำประกัน นั้น ยังนำมาออกข้อสอบ สมัย ๕๘ ปี ๒๕๔๘ โดยมีปัญหาเพิ่มมาอีกเรื่องคือเรื่องผู้ค้ำประกันตกลงให้ผ่อนเวลาไว้ล่วงหน้าได้

  15. หนังสือรับสภาพหนี้ • ฎีกาที่ ๒๙๘๒/๒๕๓๕ โจทก์มีหนังสือรับสภาพหนี้มีข้อความว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์จำนวน ๑๙๐,๐๐๐ บาท จำเลยรับว่าจะชดใช้ให้แก่โจทก์ และลงชื่อจำเลย และโจทก์มีพยานบุคคลมาสืบประกอบว่าหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงินกู้ ถือว่าหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมแล้ว • หมายเหตุฎีกานี้น่าสนใจในแง่ว่า โดยหลักแล้วหนังสือรับสภาพหนี้จะผูกพันก็ต่อเมื่อมีหนี้เดิมอยู่แล้ว สำหรับกรณีตามฎีกานี้วินิจฉัยว่าหนังสือรับสภาพหนี้โดยตัวมันเองเป็นหลักฐานเป็นหนังสือของการกู้ยืมเงินได้ด้วย ส่วนการกู้เงินนั้นอาจเกิดขึ้นและบริบูรณ์ไปแล้วตั้งแต่ส่งมอบเงินกัน

  16. ลงชื่อในช่องพยาน • ฎีกาที่ ๓๒๖๒/๒๕๓๕ จำเลยทั้งสองกู้ยืมเงินโจทก์ไป การที่สัญญาตอนต้นมีข้อความระบุว่าจำเลยที่ ๒ เป็นผู้กู้ แต่จำเลยที่ ๒ ลงชื่อในช่องพยาน ส่วนจำเลยที่ ๑ ตอนต้นของสัญญาไม่ได้ระบุว่าจำเลยที่ ๑ เป็นผู้กู้ แต่จำเลยที่ ๑ ลงชื่อในช่องผู้กู้ เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามมาตรา ๖๕๓ วรรคแรกแล้ว จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ (มีฎีกาที่ ๑๗๗๖/๒๕๔๑ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน)

  17. ๒. เนื้อความต้องมีองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ • ๑) มีข้อความแสดงโดยตรงหรือปริยายว่าเงินที่ได้รับเป็นเงินกู้หรือยืมหรือมีข้อความว่าจะใช้คืนให้ • ๒) ระบุจำนวนเงิน • ๓) ผู้กู้ต้องลงชื่อ

  18. ๑. มีข้อความแสดงโดยตรงหรือปริยายว่าเงินที่รับไปเป็นเงินกู้หรือยืมหรือมีข้อความว่าจะใช้คืนให้ • ๑) กรณีที่ไม่ข้อความว่าเงินที่ได้รับเป็นเงินกู้หรือยืม ที่น่าสนใจ • ฎีกาที่ ๕๒๓๕/๒๕๔๒ การกู้ยืมมีหลักฐานเป็นข้อความเขียนไว้ด้านหลังของต้นขั้วเช็คเพียงว่า ได้รับเรียบร้อยแล้วและลงลายมือชื่อจำเลย ส่วนด้านหน้าระบุชื่อจำเลยที่ ๑ และจำนวนเงิน ๖๐๐,๐๐๐ บาทข้อความ ๒ ด้านฟังประกอบกันได้ว่าได้รับเช็คเงิน ๖๐๐,๐๐๐ บาท ไปเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่อาจฟังขยายความออกไปได้ว่าเป็นการรับเช็คที่กู้ยืมเงินหรือรับเงินที่กู้ยืม ถือว่าไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือต้องห้ามมิให้ฟ้องร้อง

  19. ฎีกาที่ ๒๐๕๑/๒๕๔๕ • ฎีกาที่ ๒๐๕๑/๒๕๔๕ เอกสารที่มีสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนทั้งด้านหน้าและด้านหลังของจำเลยและมีข้อความในที่ว่างขึ้นต้นว่าจำเลยเจ้าของรถโตโยต้าได้นำรถจำนองไว้กับโจทก์เป็นเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท และลงลายมือชื่อไว้ ไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยในมูลหนี้อันเกิดจากการกู้ยืมเงิน จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติที่กฎหมายบังคับไว้สำหรับการก่อให้เกิดหนี้นั้น ๆ ว่าจะฟ้องร้องขอให้บังคับคดีกันได้หรือไม่ โดยต้องพิเคราะห์แยกตางหากจากการส่งมอบรถยนต์เป็นประกันอันเรียกว่าจำนำ เมื่อการกู้ยืมเงินมีจำนวนเกินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไป แต่ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๖๕๓

  20. หมายเหตุ • หมายเหตุ แม้กู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็เป็นเพียงปัญหาเกี่ยวกับการฟ้องร้อง แต่สัญญากู้ก็บริบูรณ์แล้วเมื่อส่งมอบเงินกู้ โดยผลของมาตรา ๖๕๐ วรรคแรก จึงมีการค้ำประกันเพื่อหนี้อันสมบูรณ์ได้ โดยผลของมาตรา ๖๘๑ และมีการจำนองเพื่อหนี้อันสมบูรณ์ได้โดยผลของมาตรา ๗๐๗ ประกอบมาตรา ๖๘๑ แต่สำหรับการจำนำแล้วไม่มีบทบัญญัติอย่างมาตรา ๗๐๗ ที่ให้นำมาตรา ๖๘๑ มาใช้ จึงยังมีปัญหาว่าถ้ากู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือแล้ว การจำนำเพื่อประกันหนี้เงินก็ยืมนั้น ยังสมบูรณ์หรือไม่ แต่เมื่อพิจารณาว่าสัญญากู้บริบูรณ์แล้ว เพียงแค่มีปัญหาเกี่ยวกับการฟ้องร้องบังคับตามสัญญากู้ การจำนำเพื่อประกันหนี้ที่บริบูรณ์แล้วก็น่าจะสมบูรณ์เช่นกัน

  21. ๒) กรณีที่ไม่มีข้อความว่าจะใช้คืนให้ ที่น่าสนใจ • ฎีกาที่ ๓๐๖/๒๕๐๖ จำเลยลงชื่อในใบรับเงิน ๒ ฉบับ ซึ่งมีข้อความเพียงรับเงิน ๖,๐๐๐ บาท และรับเงิน ๓,๐๐๐ บาท โดยไม่มีข้อความว่าผู้รับเงินจะใช้เงินคืน ไม่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม • หมายเหตุ อาจรับเงินเดือน เงินค่าจ้าง หรือเงินอื่นใดก็ได้ • ฎีกาที่ ๔๐๘/๒๕๓๒ โจทก์มีพยานเอกสาร ๒ ฉบับ ฉบับแรก มีข้อความว่า โปรดมอบเงินจำนวน ๑๕๐,๐๐๐ บาท ให้นายนเรศผู้ถือเอกสารนี้ ฉบับที่สองมีข้อความว่าได้รับเงินจากพี่เล็ก ๑๕๐,๐๐๐ บาท แล้ว ลงชื่อจำเลย ดังนี้ ข้อความในเอกสารทั้ง ๒ ฉบับ ไม่อาจจะแปลได้ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์หรือเป็นหนี้โจทก์ ไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม • ฎีกาที่ ๑๔๗๑๒/๒๕๕๑ เอกสารที่โจทก์อ้างมีข้อความเพียงว่า “ได้รับเงินจำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท” ไม่ได้ความว่าโจทก์เป็นผู้จ่ายเงินและจำเลยต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ อันมีลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือมีหนี้จะต้องชำระแก่โจทก์แต่อย่างใด เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินที่จะใช้ฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้

  22. ๓) กรณีที่ถือว่ามีข้อความว่าจะใช้คืนแล้ว ที่น่าสนใจ • ฎีกาที่ ๑๕๐๔/๒๕๓๐ เอกสารที่จำเลยทำให้ไว้แก่โจทก์มีข้อความว่า จำเลยจะนำเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท มาใช้ให้แก่โจทก์ภายในเดือนพฤษภาคม ๒๕๒๖ แสดงว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามที่ระบุไว้ ใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้

  23. ฎีกาที่ ๕๘๖๘/๒๕๔๓ • ฎีกาที่ ๕๘๖๘/๒๕๔๓ บันทึกระบุไว้ทำนองว่า เงิน ๔๐,๐๐๐ บาท ที่จำเลยเอาไปถ้าพี่สาวจำเลยไม่สามารถส่งให้ทันสิ้นเดือนธันวาคม ๒๕๓๗ จำเลยจะค้ำประกันรับผิดชอบให้ ลงชื่อจำเลยผู้ยืมและโจทก์ผู้ให้ยืม คำว่า จำเลยจะค้ำประกันรับผิดชอบให้นั้นน่าจะหมายถึงว่าจำเลยรับรองจะคืนเงินให้ หากพิจารณาข้อความในเอกสารดังกล่าวทั้งหมดรวมกันก็ได้ความในลักษณะว่าจำเลยเป็นผู้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ ดังความในตอนท้ายที่ลงชื่อว่าผู้ยืมและผู้ให้ยืม และปรากฏข้อความว่าจำเลยได้รับเงิน ๔๐,๐๐๐ บาท ไปจากโจทก์แล้ว หากภายในสิ้นเดือนธันวาคม ๒๕๓๗ ถ้าพี่สาวจำเลยไม่ใช้ให้ จำเลยรับรองและรับผิดชอบจะคืนให้ จึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม

  24. ๒. ต้องระบุจำนวนเงินด้วย มีฎีกาหลายเรื่อง • ฎีกาที่ ๒๕๕๓/๒๕๒๕ เช็คที่จำเลยลงชื่อสั่งจ่าย ไม่เป็นหลักฐานว่าจำเลยกู้เงินตามฟ้องจากโจทก์ เอกสารฉบับหนึ่งมีใจความว่า เรียนคุณจิระพงษ์ที่นับถือ ผมต้องขอโทษอีกครั้งที่ทำให้คุณและคุณศิริต้องยุ่งยากเกี่ยวกับเงินที่ค้างอยู่ทางผมเวลานี้ผมกำลังขัดสนจริง ๆ กำหนดเวลาที่ผมจะจัดการเรื่องของคุณและคุณศิริคงไม่เกินวันที่ ๑ พฤศจิกายน ศกนี้ และอีกฉบับหนึ่งถึงทนายโจทก์มีใจความว่าเรื่องขอให้ชำระหนี้นั้นทราบแล้ว แต่เพราะป่วยเป็นอัมพาต จึงต้องขอความกรุณาผัดผ่อนชำระหนี้หลังจากที่ได้หายป่วยแล้วดังนี้ ข้อความตามเอกสารทั้งสองฉบับในการขอผัดผ่อนการชำระหนี้ แต่จะเป็นหนี้เกี่ยวกับอะไรจำนวนเท่าใดไม่ปรากฏไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์ตามฟ้อง จึงไม่ใช่หนังสืออันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม(นอกจากนี้มีฎีกา ๘๒๓/๒๕๑๐, ๓๘๗๑/๒๕๓๖)

  25. หมายเหตุ ๑. ออกข้อสอบสมัย ๔๗ ปี ๒๕๓๗ ในข้อเดียวมีเรื่องหลักฐานแห่งสัญญากู้ จำนอง และดอกเบี้ย • ๑) ข้อความในจดหมายสองฉบับอย่างที่ปรากฏในฎีกาฉบับนี้ซึ่งผู้กู้เขียนไปหาผู้กู้ไม่ถือเป็นหลักฐานแห่งการกู้ • ๒) แม้ไม่อาจฟ้องบังคับตามสัญญากู้ได้ แต่เมื่อมีการจำนอง การจำนองก็สมบูรณ์แล้ว โดยผลของมาตรา ๖๘๑ และ ๗๐๗ • ๓) การตกลงคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ ๑๕ ต่อปี ดอกเบี้ยเป็นโมฆะ • ๔) ดอกเบี้ยเป็นโมฆะที่ชำระไปแล้วถือเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ เรียกคืนหรือเอาไปหักกับต้นเงินไม่ได้ • ๕) แม้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะ ผู้ให้กู้ยังสามารถเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้ในอัตราร้อยละ ๗.๕ ในระหว่างผิดนัด ๒. ฎีกาควิกแคช (๑๓๔๒๕/๒๕๕๓) การดูว่าระบุจำนวนเงินหรือไม่ อาจพิจารณาจากเอกสารหลายฉบับประกอบกัน

  26. ๓. ผู้กู้ต้องลงลายมือชื่อด้วย แต่ผู้ให้กู้ไม่ต้องลง (ฎ.๔๕๓๗/๒๕๕๓) และลงชื่อเล่นก็ได้ • ลงชื่อเล่นก็ได้ • ฎีกาที่ ๓๑๔๘/๒๕๓๐ จำเลยเขียนจดหมายถึงโจทก์มีใจความว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ไปเพื่อสร้างบ้าน ท้ายจดหมายดังกล่าวจำเลยเขียนชื่อเล่นของจำเลยอักษรหวัดแกมบรรจง ถือว่าเป็นการลงลายมือชื่อแล้ว • แต่แม้เป็นเอกสารที่ผู้กู้เขียนเอง มีข้อความระบุชื่อผู้กู้ยืมเงิน หากไม่ได้ลงลายมือชื่อ ไม่ถือว่าเป็นหลักฐานการกู้เงิน • ฎีกาที่ ๑๙๘๙/๒๕๓๘ จำเลยเขียนเอกสารการก็ยืมเงินด้วยลายมือของตนเอง โดยระบุชื่อจำเลยเป็นผู้กู้ยืมเงินโจทก์ แต่จำเลยมิได้ลงลายมือชื่อไว้ ดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกู้ยืมเงินซึ่งมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลย โจทก์จึงฟ้องบังคับจำเลยได้

  27. ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน ฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้นั้น รวมถึงห้ามยกขึ้น ต่อสู้คดีด้วย ดังนั้น ผู้กู้ฟ้องเรียกโฉนดที่ให้ยึดถือไว้เป็นประกันคืนได้ ฎีกาที่ ๓๘๗๔/๒๕๔๙ บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา ๖๕๓ วรรคหนึ่ง ที่ว่า ถ้าไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญจะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้นั้น หมายความรวมถึงการห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้คดีด้วย เมื่อการกู้ยืมเงิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์กับ ร.ร่วมกันกู้ยืมจากจำเลยนั้นไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ จำเลยจึงไม่อาจอ้างการกู้ยืมเงินดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์เพื่อยึดถือโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้ได้

  28. เรื่องการแก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ยืม แบ่งได้เป็น ๖ กรณี ดังนี้ • ๑. แก้ไขขณะที่เขียนสัญญากู้ แม้ผู้กู้ไม่ได้ลงชื่อกำกับก็ใช้ได้ เพราะว่าเป็นเจตนากู้ยืมกันครั้งเดียวตามจำนวนที่แก้ไขแล้ว ลงชื่อไว้ท้ายสัญญาแห่งเดียวก็พอ (ฎีกาที่ ๑๑๕๔/๒๕๑๑) • ๒. แก้ไขในสัญญากู้เดิมเมื่อมีการกู้ยืมครั้งใหม่ ขีดฆ่าจำนวนเงินเดิมแล้วเขียนใหม่จาก ๑๐,๐๐๐ บาท เป็น ๒๐,๐๐๐ บาท โดยผู้กู้ไม่ได้ลงชื่อกำกับ ถือว่าการกู้ครั้งใหม่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ผู้กู้รับผิดเฉพาะแต่การกู้ครั้งแรกท่านั้น (ฎีกาที่ ๓๖๖/๒๕๐๗) (ผู้กู้ยินยอม)

  29. ๓. แก้ไขเองให้สูงขึ้นโดยผู้กู้ไม่ยินยอม เป็นเอกสารปลอม จำเลย ไม่ต้องรับผิดตามสัญญากู้ปลอมจำนวน ๑๕,๐๐๐ บาท แต่ให้จำเลยผู้กู้รับผิดใช้เงิน ๕,๐๐๐ บาท ตามที่กู้จริง เพราะก่อนฟ้องการกู้เงิน ๕,๐๐๐ บาท มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ (ฎีกาที่ ๑๘๖๐/๒๕๒๓, ๓๐๒๘/๒๕๓๗) • ๔. ในสัญญาไม่ได้กรอกจำนวนเงินไว้ กรอกสูงกว่าความจริง เป็นสัญญาปลอม ต้องพิพากษายกฟ้องทั้งหมด เพราะไม่เคยมีสัญญาเดิมที่ถูกต้องเนื่องจากไม่เคยมีการกรอกจำนวนเงินที่ถูกต้องในสัญญา

  30. ฎีกาที่ ๔๓๑/๒๕๔๔ • ฎีกาที่ ๔๓๑/๒๕๔๔ การที่โจทก์กรอกข้อความลงในสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันที่จำเลยลงลายมือชื่อ แต่ยังไม่ได้กรอกข้อความอื่นใดว่าได้มีการกู้ยืมเงินและค้ำประกันในจำนวนเงินถึง ๑๐๐,๐๐๐ บาท เกินกว่าจำนวนหนี้ที่เป็นจริง โดยจำเลยทั้งสองมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันจึงไม่สมบูรณ์ ทำให้เอกสารนั้นเป็นเอกสารปลอม โจทก์จึงอ้างเอกสารนั้นมาเป็นพยานหลักฐานในคดีอย่างใดไม่ได้ ฉะนั้น การกู้เงินและการค้ำประกันที่ฟ้องจึงถือว่าไม่มีพยานหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ ตาม ปพพ.มาตรา ๖๕๓ และมาตรา ๖๘๐

  31. หมายเหตุ • หมายเหตุ ถ้าถามคงถามควบกับเรื่องจำนอง ว่ากรณีสัญญากู้ปลอม จำนองยังสมบูรณ์หรือไม่เพียงใด ซึ่งคำตอบก็คงต้องใช้หลักตามมาตรา ๖๕๐, ๖๘๑ และ ๗๐๗

  32. ฎีกาที่ ๒๕๑๘/๒๕๔๗ • ฎีกาที่ ๒๕๑๘/๒๕๔๗ จำเลยกู้เงินไปเพียง ๓๐,๐๐๐ บาท แต่โจทก์กรอกข้อความในสัญญาเป็นเงินถึง ๑๐๙,๐๐๐ บาท โดยจำเลยไม่ได้ยินยอม สัญญากู้จึงเป็นเอกสารปลอม โจทก์ไม่อาจนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานในการฟ้องคดีได้ เมื่อเงินกู้จำนวนดังกล่าวไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้กู้มาแสดง โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีให้จำเลยรับผิดชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ได้

  33. ฎีกาที่ ๕๕๒/๒๕๔๘ • ฎีกาที่ ๕๕๒/๒๕๔๘ จำเลยที่ ๑ กู้ยืมเงินโจทก์ ๒๐,๐๐๐ บาท โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๐ ต่อเดือน จำเลยที่ ๑ ชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ประมาณ ๕๐,๐๐๐ บาท เมื่อจำเลยที่ ๑ หยุดชำระดอกเบี้ยดังกล่าว โจทก์จึงนำสัญญากู้เงินที่จำเลยที่ ๑ ลงลายมือชื่อไว้และสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ ๒ พิมพ์ลายนิ้วมือไว้มากรอกข้อความในภายหลังเกินกว่าความเป็นจริง โดยจำเลยทั้งสองมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันจึงเป็นเอกสารปลอม ถือว่าการกู้ยืมเงินและการค้ำประกันคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้

  34. ๕. กรอกตามจริง บังคับได้ • ฎีกาที่ ๗๔๒๘/๒๕๔๓ แม้กรอกเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้กู้ แต่กรอกตามที่กู้ยืมตามจริง และอัตราดอกเบี้ยก็ไม่เกินกฎหมาย บังคับกันได้

  35. ๖. กรณีที่กู้ยืมเพียงครั้งเดียวแต่ผู้กู้ลงชื่อไว้ในสัญญากู้ ๒ ฉบับ ศาลไม่ได้วินิจฉัยว่าปลอม แต่วินิจฉัยว่าประโยชน์ที่ผู้ให้กู้ได้รับมากเกินสมควร เป็นการที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะ

  36. ฎีกาที่ ๗๓๐/๒๕๐๘ • ฎีกาที่ ๗๓๐/๒๕๐๘ จำเลยที่ ๑ กู้เงินโจทก์ ๗,๐๐๐ บาท แต่ทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้ ๒ ฉบับ ฉบับแรกระบุจำนวนเงินกู้ ๗,๐๐๐ บาท ฉบับที่สอง ๑๔,๐๐๐ บาท โดยตกลงกันว่าถ้าไม่ชำระหนี้ให้โจทก์นำสัญญากู้ฉบับที่สองมาฟ้อง เมื่อจำเลยที่ ๑ ไม่ชำระหนี้โจทก์จึงนำสัญญากู้ฉบับที่สองมาฟ้อง เห็นได้ว่าประโยชน์ที่ผู้ให้กู้ได้รับมากเกินสมควร เป็นการที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะ จำเลยที่ ๑ ผู้กู้คงต้องรับผิดเฉพาะเงิน ๗,๐๐๐ บาท ส่วนจำเลยที่ ๒ ผู้ค้ำประกันเงินกู้ ๑๔,๐๐๐ บาท มิได้ค้ำประกันเงินกู้ ๗,๐๐๐ บาท จึงหาต้องรับผิดด้วยไม่ • หมายเหตุ คดีนี้สัญญาทั้งสองฉบับไม่ปลอมเพราะเจตนาทำกันจริง แต่บริบูรณ์เท่าที่ส่งมอบเงินโดยผลของมาตรา ๖๕๐

  37. การนำสืบการชำระเงินในหนี้การกู้ยืมเงินการนำสืบการชำระเงินในหนี้การกู้ยืมเงิน • มาตรา ๖๕๓วรรคสองในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว • ๑. ต้องเป็นหลักฐานที่แสดงว่าชำระหนี้เงินกู้ หลักฐานแสดงเพียงว่าผู้ให้กู้ได้รับเงินแล้ว แต่ไม่ชัดว่ารับชำระเงินกู้หรือไม่ ใช้ไม่ได้

  38. ผู้ให้กู้ลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายที่ดินว่าได้รับเงินแล้วไม่ใช่หลักฐานเป็นหนังสือผู้ให้กู้ลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายที่ดินว่าได้รับเงินแล้วไม่ใช่หลักฐานเป็นหนังสือ • ฎีกาที่ ๔๖๗/๒๕๑๕ หนี้ตามสัญญากู้เงินซึ่งแปลงมากจากหนี้ที่ค้างชำระราคาที่ดินที่ซื้อขายกันระหว่างโจทก์จำเลยนั้น จะนำสืบการใช้เงินได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้กู้มาแสดงว่าจำเลยได้ใช้เงินตามสัญญากู้แล้ว หรือได้มีการแทงเพิกถอนในสัญญากู้นั้น การที่โจทก์ลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายที่ดินว่าได้รับเงินไปแล้วนั้นเป็นคนละเรื่องกับการกู้รายนี้ ยังไม่พอที่จะถือว่าเป็นหลักฐานที่จำเลยชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์แล้ว • หมายเหตุ อาจเป็นการลงชื่อรับเงินค่าอะไรก็ได้ที่เกี่ยวเนื่องกับการซื้อขายที่ดิน

  39. ๒.บังคับเฉพาะกรณีนำสืบการใช้เงิน คือต้องเป็นการชำระด้วยเงิน ถ้าเป็นการแปลงหนี้เงินกู้ตามสัญญาเดิมเป็นสัญญาใหม่ หลักเกณฑ์ตามมาตรา ๖๕๓ วรรคสอง ไม่ใช้บังคับ • ฎีกาที่ ๑๘๗๒/๒๕๓๑ การที่คู่สัญญาทำสัญญากู้ยืมเงินขึ้นใหม่แทนสัญญากู้ยืมเงินฉบับเก่า แสดงถึงเจตนาของคู่สัญญาว่าได้ตกลงระงับหนี้ตามสัญญาเก่าแล้วให้ใช้สัญญาใหม่แทน สัญญาเก่าเมื่อระงับไปแล้วก็ไม่มีผลบังคับใช้ ดังนี้เป็นไปตามข้อตกลงในการทำสัญญาใหม่นั้นเอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องตามสัญญาเก่าอีก กรณีนี้เป็นเรื่องตกลงระงับหนี้ ไม่ใช่ชำระหนี้ จึงไม่จำเป็นต้องมีใบเสร็จหรือเวนคืนเอกสารตาม ปพพ.มาตรา ๓๒๖

  40. หมายเหตุ • หมายเหตุ ฎีกานี้เคยออกข้อสอบแล้วเมื่อสมัย ๔๖ ปี ๒๕๓๖ โดยออกหลักที่ว่า เมื่อผู้กู้ ผู้ให้กู้ และผู้ค้ำประกัน ตกลงทำสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันกันใหม่ เท่ากับตกลงระงับหนี้ตามสัญญาเดิม ผู้ให้กู้ไม่มีสิทธิฟ้องผู้กู้และผู้ค้ำประกันตามสัญญาฉบับเดิม และเมื่อหนี้ตามสัญญาเดิมระงับ จำนองตามสัญญาเดิมก็ระงับไปด้วย

  41. ๓. ถ้าเป็นการชำระหนี้ด้วยของอื่นตามมาตรา ๓๒๑ ไม่ใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรา ๖๕๓ วรรคสอง คือ ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ

  42. กรณีชำระด้วยของอื่นที่มักจะทราบกันดีอยู่แล้ว • เอาที่ดินใช้หนี้เงินกู้ (ฎีกาที่ ๑๕๘๒/๒๕๒๔) มอบฉันทะให้บุตรเจ้าหนี้ไปรับเงินบำนาญพิเศษที่ลูกหนี้มีสิทธิได้รับ (ฎีกาที่ ๑๔๕๒/๒๕๑๑) โอนเงินทางโทรเลข (ฎีกาที่ ๒๙๖๕/๒๕๓๑) มอบฉันทะให้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝาก (ฎีกาที่๕๖๘๙/๒๕๓๗) มอบสมุดบัญชีเงินฝากและบัตรเอทีเอ็ม (ฎีกาที่ ๔๖๔๓/๒๕๓๙) ส่งเงินทางไปรษณีย์ธนาณัติ (ฎีกาที่ ๕๕๙๐/๒๕๔๐) โอนขายที่ดินบางส่วนให้เป็นการหักกลบลบหนี้ (ฎีกาที่ ๔๘๑๘/๒๕๑๓) หักเงินค่าแชร์ของจำเลยที่ ๒ ชำระหนี้แทนหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ ๑ แล้ว (ฎีกาที่ ๘๙๑๑/๒๕๔๓) ออกเช็คใช้หนี้ (ฎีกาที่ ๑๘๒/๒๕๑๘) แต่ถ้าเช็คเรียกเก็บเงินไม่ได้ หนี้ตามจำนวนที่ระบุในเช็คยังไม่ระงับ จำเลยจะนำสืบการใช้เงินได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานตามาตรา ๖๕๓ วรรคสอง (ฎีกาที่ ๖๖๑๔/๒๕๓๘)

  43. ชำระด้วยเงินที่เพิ่งได้จากการขายรถ เป็นการชำระด้วยเงิน ไม่ใช่ของอื่น • ฎีกาที่ ๕๗๔/๒๕๒๒ ชำระหนี้ด้วยเงินที่ได้จากการขายรถยนต์ ไม่ใช่ชำระหนี้ด้วยรถยนต์ เมื่อจำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือตามมาตรา ๖๕๓ วรรคสอง ก็นำสืบพยานบุคคลไม่ได้

  44. ชำระด้วยเงินที่เพิ่งได้จากการลงลายมือชื่อใช้เช็คเบิกเงินจากธนาคาร เป็นการชำระด้วยเงิน ไม่ใช่ของอื่น • ฎีกาที่ ๔๗๕๗/๒๕๔๓ การที่จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อในเช็คเบิกเงินจากธนาคารเองเมื่อได้รับแล้วจึงมอบเงินแก่ภริยาโจทก์ เป็นการชำระหนี้เงินกู้ยืมด้วยเงินตามาตรา ๖๕๓ วรรคสอง มิใช้การชำระหนี้ด้วยเช็คตามมาตรา ๓๒๑ • หมายเหตุ เทียบกับกรณี มอบฉันทะให้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝาก (ฎีกาที่๕๖๘๙/๒๕๓๗) มอบสมุดบัญชีเงินฝากและบัตรเอทีเอ็ม (ฎีกาที่ ๔๖๔๓/๒๕๓๙) ซึ่งถือเป็นการชำระหนี้ด้วยของอื่น

  45. การที่ผู้กู้นำเงินฝากเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ให้กู้เป็นการชำระหนี้ผ่านธนาคารเพื่อให้ผู้ให้กู้ได้รับเงินที่ชำระหนี้โดยไม่ได้ทำนิติกรรมโดยตรงต่อผู้ให้กู้ เป็นกรณีที่เจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๓๒๑ วรรคหนึ่ง

  46. ฎีกาที่ ๓๕๖๔/๒๕๔๘ ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือ จำเลยจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลังฐานแห่งการกู้ยืมเงินนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา ๖๕๓ วรรคสอง การที่จำเลยนำเงินฝากเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์เพื่อชำระหนี้เงินที่กู้ยืมจากโจทก์เป็นการชำระหนี้ผ่านธนาคารที่โจทก์มีบัญชีเงินฝากเพื่อให้โจทก์ได้รับเงินที่ชำระหนี้โดยไม่ได้ทำนิติกรรมโดยตรงต่อโจทก์ไม่อาจมีการกระทำตาม ป.พ.พ.มาตรา ๖๕๓ วรรคสอง แต่เป็นกรณีที่เจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๓๒๑ วรรคหนึ่ง ที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ด้วยการนำเงินฝากเข้าบัญชีของโจทก์ได้นั้นจำเลยจึงนำสืบได้ • ฎีกาที่ ๖๘๒๓/๒๕๕๑ จำเลยนำสืบถึงการชำระหนี้เงินกู้คืนโจทก์ว่า จำเลยมอบบัตรเอทีเอ็มของธนาคาร ก.ให้โจทก์ไปถอนเงินจากบัญชีของจำเลยทุกเดือน และโจทก์ยอมรับว่าได้รับบัตรเอทีเอ็มดังกล่าวไว้ถอนเงินจากบัญชีของจำเลย จึงถือได้ว่าเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๓๒๑ วรรคหนึ่ง จึงไม่ต้องห้ามที่จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลให้ศาลเห็นถึงวิธีการชำระหนี้ว่าได้ปฏิบัติต่อกันเช่นใด ไม่อยู่ในบทบังคับเฉพาะตาม ป.พ.พ.มาตรา ๖๕๓ วรรคสอง • ฎีกาที่ ๑๐๒๒๗/๒๕๕๑ การนำสืบการชำระหนี้โดยการนำเงินฝากเข้าบัญชีให้โจทก์ และการที่โจทก์ให้จำเลยที่ ๑ ทำสัญญาเป็นผู้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของโจทก์แทนโจทก์ เป็นการนำสืบการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๓๒๑ วรรคหนึ่ง กรณีมิใช่การนำสืบการใช้เงินโดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์มาแสดง ซึ่งต้องห้ามมิให้นำสืบตาม ป.พ.พ.มาตรา ๖๕๓ วรรคสอง จำเลยทั้งสองจึงชอบที่จะนำสืบได้

  47. ๔. เงินหมายถึงต้นเงิน ดังนั้น การนำสืบการชำระดอกเบี้ยไม่จำเป็นจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ (ฎีกาที่ ๙๓๖/๒๕๐๔, ๑๓๓๒/๒๕๓๑, ๔๗๕๕-๖/๒๕๓๖) • ๕. ต้องมีข้อความชัดแจ้งพอสมควรที่แสดงถึงความหมายว่ามีการชำระเงินแล้ว เงินที่ฝากไป ๙,๔๐๐ บาท กระผมได้รับและลงบัญชีไว้เรียบร้อยแล้ว (ฎีกาที่ ๕๓๑/๒๕๐๕) สมุดจ่ายเงินเดือนของทางราชการที่โจทก์ผู้ให้ยืมลงชื่อรับเงิน (ฎีกาที่ ๓๓๙/๒๕๓๒) หลักฐานแสดงพอให้เห็นได้ว่ามีการใช้เงินแล้ว ไม่จำต้องระบุตรง ๆ (ฎีกาที่ ๑๖๙๖/๒๕๒๓) • หมายเหตุ เคร่งครัดน้อยกว่ากรณีหลักฐานการกู้เงิน

  48. ๖.ลงชื่อผู้อื่นแทนก็ได้๖.ลงชื่อผู้อื่นแทนก็ได้ • ฎีกาที่ ๒๒๐๗/๒๕๓๕ โจทก์ผู้ให้กู้ให้ ว.ไปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ ถือว่า ว.เป็นตัวแทนโจทก์รับชำระหนี้จากจำเลย ดังนั้นเมื่อจำเลยนำหลักฐานที่ ว.ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินตามใบมอบฉันทะถอนเงินมาแสดงก็ถือได้ว่าเป็นการนำสืบการใช้เงินโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือของตัวแทนผู้ให้กู้มาแสดงตามมาตรา ๖๕๓ วรรคสองแล้ว

  49. แต่ถ้าฝ่ายผู้ให้กู้ต่อสู้ว่าไม่มีหลักฐานการตั้งตัวแทนไปรับชำระหนี้เงินกู้ก็ต้องอยู่ในบังคับของมาตรา ๗๘๙ เรื่องตัวการตัวแทนด้วย • คือ กิจการใดกฎหมายบังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย ดังนั้น ถ้าผู้กู้อ้างว่านาย ก.เป็นตัวแทนของผู้ให้กู้ นอกจากมีหลักฐานว่านาย ก.ลงลายมือชื่อรับชำระหนี้เงินกู้ไปแล้ว จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วยว่า นาย ก.เป็นตัวแทนของโจทก์ (ฎีกาที่ ๓๔๒๕/๒๕๓๓)

  50. อย่างไรก็ดีหลักฐานการตั้งตัวแทนให้ไปรับเงินอาจปรากฏอยู่ในนามบัตรของผู้ให้กู้ก็ได้ • ฎีกาที่ ๒๗๔๐/๒๕๓๕ โจทก์เขียนข้อความในนามบัตรถึงจำเลยที่ ๑ ว่า “เรื่องเงินที่คุณกู้ไปนั้นขอฝาก ป.ไปให้ผม ตกลงอย่างไรเขียนหนังสือฝาก ป.ไปด้วย ถ้าจะชำระเงินให้ทั้งหมดก็แจ้งให้ผมไปรับเอง ถ้าจะผ่อนชำระผมให้ ป.มารับจากคุณ” ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า นามบัตรดังกล่าวเป็นหลักฐานเป็นหนังสือแต่งตั้งให้ ป.เป็นตัวแทนของโจทก์ในการรับชำระหนี้เงินกู้รายนี้ • หมายเหตุ แต่งเป็นข้อสอบได้ดี โดยรวมฎีกานี้กับ ๒๒๐๗/๒๕๓๕

More Related