1 / 20

การศึกษาพฤติกรรมองค์การ ( Studying Organizational Behavior )

การศึกษาพฤติกรรมองค์การ ( Studying Organizational Behavior ). ขอบเขตและความหมายของพฤติกรรมองค์การ ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาพฤติกรรมองค์การ พฤติกรรมองค์การจำเป็นต้องศึกษาอย่างมีระบบ การศึกษาพฤติกรรมองค์การจากภารกิจของผู้จัดการ / ผู้บริหาร แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมองค์การ

Samuel
Download Presentation

การศึกษาพฤติกรรมองค์การ ( Studying Organizational Behavior )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การศึกษาพฤติกรรมองค์การ (Studying Organizational Behavior) ขอบเขตและความหมายของพฤติกรรมองค์การ ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาพฤติกรรมองค์การ พฤติกรรมองค์การจำเป็นต้องศึกษาอย่างมีระบบ การศึกษาพฤติกรรมองค์การจากภารกิจของผู้จัดการ/ผู้บริหาร แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมองค์การ วัฒนธรรมองค์การ

  2. ขอบเขตและความหมายของพฤติกรรมองค์การขอบเขตและความหมายของพฤติกรรมองค์การ นิยามที่ 1 • พฤติกรรมองค์การ (Organization Behavior หรือเรียกย่อว่าOB) “เป็นสาขาวิชาที่มีทฤษฎีวิธีการและหลักการซึ่งได้มาจากศาสตร์หลาย แขนงวิชาด้วยกันเพื่อใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้ของบุคคลรวมทั้ง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่มตลอดจนพฤติกรรมที่ เป็นภาพรวมระดับองค์การมีการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสภาพ แวดล้อมภายนอกต่อองค์การโดยเฉพาะส่งผลต่อทรัพยากรมนุษย์ ภารกิจ วัตถุประสงค์และกลยุทธ์ขององค์การ” (Gibson et.al., 1997)

  3. ขอบเขตและความหมายของพฤติกรรมองค์การขอบเขตและความหมายของพฤติกรรมองค์การ ประเด็นสำคัญ • เป็นพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในองค์การแบ่งเป็น 3 ระดับคือ 1.1 พฤติกรรมมนุษย์ในระดับบุคคล 1.2 พฤติกรรมมนุษย์ในระดับกลุ่ม 1.3 พฤติกรรมมนุษย์ในระดับองค์การ • เป็นการผสมของศาสตร์แขนงต่าง ๆ • มุ่งเน้นการศึกษาเกี่ยวกับการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์ในองค์การ • เน้นการปฏิบัติเป็นสำคัญ (Performance oriented) • ให้การยอมรับว่าสิ่งแวดล้อมภายนอกมีผลกระทบอย่างมากต่อองค์การ • มีแนวคิด หลักการและแนวทางปฏิบัติที่เป็นผลจากการวิจัย • มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้ (Applications orientation)

  4. ขอบเขตและความหมายของพฤติกรรมองค์การขอบเขตและความหมายของพฤติกรรมองค์การ นิยามที่ 2 • “พฤติกรรมองค์การ (OB) เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่พยายามศึกษาค้นหา ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากบุคคล กลุ่มบุคคลและโครงสร้างที่มีต่อ พฤติกรรมภายในองค์การทั้งนี้เพื่อนำความรู้ที่ได้ดังกล่าวมาปรับปรุง การดำเนินงานขององค์การให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น” (Robbins, 1998)

  5. ขอบเขตและความหมายของพฤติกรรมองค์การขอบเขตและความหมายของพฤติกรรมองค์การ ประเด็นสำคัญ 1)พฤติกรรมองค์การเป็นสาขาวิชาหนึ่งซึ่งบ่งชี้ถึงความเชี่ยวชาญที่ มีองค์ความรู้ร่วมกัน 2)ศึกษาค้นคว้าเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมในองค์การแบ่งออกได้ 3 ระดับ คือ ระดับบุคคล ระดับกลุ่มและระดับโครงสร้าง 3)ความรู้ที่ได้จากการศึกษาพฤติกรรมองค์การทั้ง 3 ระดับดังกล่าวนำมา เพื่อใช้ในการทำให้การดำเนินงานขององค์การมีประสิทธิผล ยิ่งขึ้น

  6. ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาพฤติกรรมองค์การศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาพฤติกรรมองค์การ • วิชาจิตวิทยา (Psychology) • วิชาสังคมวิทยา (Sociology) • วิชาจิตวิทยาสังคม (Social psychology) • วิชามานุษยวิทยา (Anthropology) • วิชารัฐศาสตร์ (Political science)

  7. พฤติกรรมองค์การจำเป็นต้องศึกษาอย่างมีระบบพฤติกรรมองค์การจำเป็นต้องศึกษาอย่างมีระบบ • ให้ความสำคัญต่อข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง • พฤติกรรมมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยบังเอิญแต่เกิดขึ้นเพื่อมุ่งไปสู่ เป้าหมายที่คนนั้นเชื่อ • ช่วยให้คาดหมายพฤติกรรมของผู้นั้นได้ • ความแตกต่างระหว่างบุคคลทำให้ตีความสถานการณ์เดียวกัน ออกมาไม่เหมือนกัน • การศึกษาพฤติกรรมอย่างมีระบบคือการหาความสัมพันธ์เชิง เหตุผลเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่มีพื้นฐานรองรับด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์

  8. การศึกษาพฤติกรรมองค์การจากภารกิจของผู้บริหารการศึกษาพฤติกรรมองค์การจากภารกิจของผู้บริหาร 1. แนวคิดของฟาโย (Henri Fayol) ที่มองภารกิจของผู้บริหาร โดยอิงกับงานที่เป็นหน้าที่ทางบริหาร (Management functions) 2. แนวคิดของมินซ์เบอร์ก (Henry Mintzberg)ที่มองภารกิจของผู้บริหาร จากบทบาทด้านบริหาร (Managerial roles) 3. แนวคิดของเคทซ์( Robert Katz)มองภารกิจของผู้บริหารตามทักษะ ด้านบริหาร (Managerial skills) 4. แนวคิดของลูเธนส์ ( Fred Luthans)มาจากงานวิจัยเพื่อหาว่าผู้บริหาร ที่มีประสิทธิผลและผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จปฏิบัติภารกิจหรือกิจกรรม อะไรบ้าง

  9. สรุปแนวคิดพฤติกรรมองค์การจากภารกิจของผู้บริหารสรุปแนวคิดพฤติกรรมองค์การจากภารกิจของผู้บริหาร หน้าที่ด้านการวางแผน หน้าที่ด้านการจัดองค์การ หน้าที่ด้านการนำ ฟาโย หน้าที่ด้านการควบคุม บทบาทด้านความสัมพันธ์ระหว่างคน มินซ์เบอร์ก บทบาทด้านสารสนเทศ ภารกิจของ ผู้จัดการ/ผู้บริหาร บทบาทด้านการตัดสินใจ ทักษะด้านงานเทคนิค เคทซ์ ทักษะด้านมนุษย์ ทักษะด้านมโนทัศน์ กิจกรรมบริหารงานตามหน้าที่เดิม ลูเธนส์ กิจกรรมด้านการสื่อสาร กิจกรรมบริหารทรัพยากรมนุษย์ กิจกรรมด้านการสร้างเครือข่าย

  10. แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมองค์การแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมองค์การ 1.การเกิดชุมชนหรือหมู่บ้านโลก (The creation of a global village) 2.จากองค์การที่มีพนักงานแบบเดียวกันไปเป็นพนักงานที่หลากหลาย มากขึ้น (From “everyone’s the same” to workforce diversity) 3.มีการมุ่งเน้นการปรับปรุงด้านคุณภาพและด้านเพิ่มผลิตผล (Toward improving quality and productivity) 4.มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะด้านมนุษย์ (Improving people skills)

  11. แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมองค์การแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมองค์การ 5.เปลี่ยนจากการบริหารที่เน้นการควบคุมไปเป็นการมอบหมายอำนาจ การตัดสินใจ(From management control to empowerment) 6.เปลี่ยนแนวคิดจากเคยเน้นเรื่องความมั่นคงไปเป็นมีความสามารถยืดหยุ่น ได้มากขึ้น(From stability to flexibility) 7.มุ่งเน้นการปรับปรุงพฤติกรรมด้านจริยธรรมมากขึ้น (Improving ethical behavior)

  12. วัฒนธรรมองค์การ (Organization Culture) นิยาม • เจ.ซี. สเป็นเดอร์ (J.C. Spender) “เป็นระบบความเชื่อที่สมาชิกขององค์การยืดถือร่วมกัน” • ซี.โอ.ไรลลี (C.O. Reilly) “คือค่านิยมหลัก (core value) ที่คนยึดถือร่วมกันอย่าง มั่นคงและแพร่หลายทั่วไป” • เจ.เอ็ม.คูซส์, ดี.เอฟ.คอลเวลและบี.ซี. พอสเนอร์ (J.M. Kouzes, D.F. Caldwell & B.L. Posner) “กลุ่มของความเชื่อที่ถาวร ซึ่งมีการสื่อความหมายในรูปของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ก่อให้เกิดเป็นความหมายที่คนในองค์การสามารถเข้าใจได้ตรงกัน” • ดับ-บลิว.จี.อูชิ (W.G. Ouchi) “หมายถึงสัญลักษณ์ พิธีกรรม ขนบธรรมเนียมต่าง ๆ ซึ่งแฝงด้วยค่านิยมและความเชื่อขององค์การ เพื่อถ่ายทอดให้แก่พนักงาน”

  13. วัฒนธรรมองค์การ (Organization Culture) ลักษณะร่วมกันของแต่ละนิยาม 1.บ่งชี้ถึงกลุ่มของค่านิยม (set of values)ยึดถือร่วมกันใช้เป็นเกณฑ์เพื่อ ตัดสินพฤติกรรม 2.ค่านิยมององค์การส่วนใหญ่อยู่ในลักษณะที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่เกิดมาจากข้อสมมุติพื้นฐาน (basic assumption)เป็นเรื่องของความ เชื่อและค่านิยมส่วนบุคคลแล้วสะท้อนออกมาในลักษณะร่วมกัน 3.ลักษณะที่ทุกนิยามค่านิยมมีเหมือนกัน คือ การใช้สัญลักษณ์ เป็นสื่อบ่งบอก ความหมายของค่านิยม คำขวัญหรือ Slogan ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สะท้อนค่านิยม หรือความเชื่อ

  14. วัฒนธรรมองค์การ (Organization Culture) องค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์กร 1. แบบแผนพฤติกรรม( Behavioral Pattern)หมายถึง“พฤติกรรมของคนจำนวนหนึ่ง หรือส่วนใหญ่ในองค์การที่ประพฤติปฏิบัติในลักษณะ เดียวกันอย่างสม่ำเสมอตลอด ระยะหนึ่ง” 2. บรรทัดฐาน( Norms)หมายถึง “มาตรฐานของพฤติกรรมที่คนจำนวนหนึ่งหรือส่วนใหญ่ คาดหวังหรือสนับสนุนให้สมาชิกของกลุ่มปฏิบัติตาม” 3. ความเชื่อ ( Belief)หมายถึง“ข้อสรุปของสมาชิกองค์การจำนวนหนึ่งหรือส่วนใหญ่ต่อ พฤติกรรมหรือเหตุการณ์ต่างๆว่าเป็นความจริงหรือไม่เป็นความจริง” 4. ค่านิยม (Value)หมายถึง“ความคิดเห็นของสมาชิกองค์การจำนวนหนึ่งหรือส่วนใหญ่ต่อ พฤติกรรมหรือเหตุการณ์ต่างๆว่าควรหรือไม่ควร”

  15. วัฒนธรรมองค์การ (Organization Culture) 5. อุดมการณ์ ( Ideology)หมายถึง “ความเชื่อ ค่านิยม และบรรทัดฐานที่คนจำนวน หนึ่งหรือคนส่วนใหญ่ในองค์การมีอยู่ร่วมกันและเป็นพื้นฐานช่วยในการทำความ เข้าใจสิ่งต่างๆรอบตัวแก่พวกเขา” 6. ความเข้าใจ (Understanding)หมายถึง “การที่สมาชิกองค์การจำนวนหนึ่งหรือ ส่วนใหญ่มีความเข้าใจร่วมกันในความหมายของพฤติกรรมหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ในองค์การ” 7. ข้อสมมติฐาน (Assumption)หมายถึง“สิ่งที่คนจำนวนหนึ่งหรือส่วนใหญ่ใน องค์การเรียนรู้จากการทำงานร่วมกันมาเป็นระยะเวลานานจนพัฒนากลายเป็น สิ่งที่คนกลุ่มนั้นยอมรับร่วมกันแล้วว่าถูกต้องและถูกนำไปใช้เป็นวิธีคิดวิธีปฏิบัติ จนกลายเป็นเรื่องปกติวิสัยและมักลืมเลือนออกไปจากความคิดของคนกลุ่มนั้น”

  16. ประเภทของวัฒนธรรมองค์การ (Type of corporate cultures) วัฒนธรรมแบบปรับตัว (Adaptability Culture) • เกิดขึ้นจากการที่ผู้นำเชิงกลยุทธ์ (strategic leader) • เพิ่มขีดความสามารถในการตีความหรือคาดการณ์ภาวะแวดล้อมภายนอกเพื่อให้เกิดพฤติกรรมในองค์การที่สามารถตอบสนองได้ตลอดเวลา • พนักงานขององค์การจึงได้รับความอิสระในการตัดสินใจเองและพร้อมลงมือปฏิบัติได้ทันที • ผู้นำมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับองค์การ

  17. ประเภทของวัฒนธรรมองค์การ (Type of corporate cultures) วัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ (Achievement Culture) • มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนของเป้าหมายองค์การ • ผู้นำมุ่งผลสำเร็จตามเป้าหมาย เช่น ตัวเลขยอดขายเพิ่มขึ้น หรือมีส่วนแบ่งของตลาด (market share) สูงขึ้น ผลประกอบการมีกำไร • มุ่งให้บริการลูกค้าพิเศษเฉพาะกลุ่มในภาวะแวดล้อมภายนอก แต่ไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องมีความยืดหยุ่นและต้องเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว • เน้นค่านิยมแบบแข่งขันเชิงรุก ความสามารถริเริ่มของบุคคล และพึงพอใจต่อการทำงานหนักในระยะยาวจนกว่าจะบรรลุผลตามเป้าหมาย

  18. ประเภทของวัฒนธรรมองค์การ (Type of corporate cultures) วัฒนธรรมแบบเครือญาติ (Clan Culture) • ให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของพนักงานภายในองค์การ • พัฒนาตนเองให้พร้อมที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วจากภายนอก • เน้นความต้องการของพนักงานมากกว่าวัฒนธรรมแบบอื่น • ผู้นำมุ่งเน้นเรื่อง ความร่วมมือ การให้ความเอาใจใส่เอื้ออาทร ทั้งพนักงานและลูกค้า • หลีกเลี่ยงมิให้เกิดความรู้สึกแตกต่างกันทางสถานะภาพ • หลีกเลี่ยงมิให้เกิดความรู้สึกแตกต่างกันทางสถานะภาพ

  19. ประเภทของวัฒนธรรมองค์การ (Type of corporate cultures) วัฒนธรรมแบบราชการ (Bureaucratic Culture) • ความสำคัญต่อภาวะแวดล้อมภายใน ความคงเส้นคงวาในการดำเนินการเพื่อให้เกิดความมั่นคง • มุ่งเน้นด้านวิธีการ ความเป็นเหตุผล ความมีระเบียบของการทำงาน • เรื่องให้ยึดและปฏิบัติตามกฎระเบียบ ยึดหลักการประหยัด • ความสำเร็จขององค์การเกิดจากความสามารถในการบูรณาการและความมีประสิทธิภาพ • ผู้นำส่วนใหญ่จึงพยายามหลีกเลี่ยงวัฒนธรรมแบบราชการ เนื่องจากต้องการมีความยืดหยุ่นคล่องตัวมากขึ้น

  20. ประเภทของวัฒนธรรมองค์การ

More Related