1 / 50

พลังงาน เอนไซม์ และกระบวนการเมแทบอลิซึม ( Energy and Metabolism)

พลังงาน เอนไซม์ และกระบวนการเมแทบอลิซึม ( Energy and Metabolism).

Leo
Download Presentation

พลังงาน เอนไซม์ และกระบวนการเมแทบอลิซึม ( Energy and Metabolism)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พลังงาน เอนไซม์ และกระบวนการเมแทบอลิซึม (Energy and Metabolism) ปฏิกิริยาชีวเคมีในสิ่งมีชีวิตเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงพลังงาน ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดว่า ปฏิกิริยานั้นจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตควบคุมโดยเอนไซม์ เอนไซม์เป็นตัวควบคุมเพื่อ ทำให้กระบวนการเมแทบอลิซึมเกิดขึ้นเป็นขั้นตอนตามลำดับอย่างมีระเบียบ

  2. พลังงาน คือ ความสามารถที่จะทำงานได้ พลังงานมีอยู่ในสสารทุกชนิด สสารสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานได้ ตามทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์ (Einstein’s theory of relativity)

  3. 1.1 รูปของพลังงาน • พลังงานจลน์ (Kinetic Energy) หมายถึง พลังงานที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของวัตถุ ถ้าวัตถุมีมวลมากจะมีพลังงานจลน์มาก • พลังงานศักย์ (Potential Energy) หมายถึง พลังงานที่เกิดจากตำแหน่งของวัตถุ เช่น วัตถุที่อยู่ในตำแหน่งสูงจากพื้นโลกมากจะมีพลังงานศักย์มากกว่า เช่นถ้ามนุษย์กระโดดจากดตึกสูงๆจะมีพลังงานศักย์มากจึงทำให้มนุษย์กระแทกพื้นอย่างแรงจนเสียชีวิต พลังงานทั้งสองประเภท อยู่ในรูปพลังงานต่างๆ ดังนี้

  4. พลังงานเคมี (chemical energy)เป็นพลังงานศักย์ที่แฝงอยู่ ในโครงสร้างของสสาร • พลังงานไฟฟ้า (electrical energy)เป็นพลังงานที่เกิดจาก การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน • พลังงานกล (mechanical energy)เป็นพลังงานที่เกี่ยวข้อง กับการเคลื่อนที่โดยตรง • พลังงานรังสี (radiant energy)เป็นพลังงานที่มาในรูปของ คลื่น • พลังงานปรมาณู (atomic energy)เป็นพลังงานที่ถูกปล่อยออกจากสารกัมมันตภาพรังสี ที่มีอยู่ในธรรมชาติหรือที่เกิดในเตาปฏิกรณ์ปรมาณูหรือระเบิดปรมาณู

  5. 1.2 การเปลี่ยนแปลงรูปของพลังงานและกฎอุณหพลวัต (thermodynamic) พลังงานมีการเปลี่ยนรูปจากรูปหนึ่งเป็นอีกรูปหนึ่งได้โดยที่พลังงานไม่สูญหายไปและไม่เพิ่มขึ้นหรือที่เรียกว่า กฎอุณหพลวัตหรือกฎการคงอยู่ของพลังงาน (law of conservation of energy) การเปลี่ยนรูปพลังงานในสิ่งมีชีวิตมี 4 แบบ ดังนี้

  6. โฟโตเคมิคัล (photochemical)เป็นการเปลี่ยนรูปพลังงานรังสีมาเป็นพลังงานเคมี เช่น เกิดขึ้นในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง • อิเล็กทรอเคมิคัล (electrochemical)เป็นการถ่ายพลังงานเคมีจากสารชนิดหนึ่งไปให้สารอีกชนิดหนึ่ง โดยการถ่ายอิเล็กตรอน • เคมิคัล (chemical)เป็นการเปลี่ยนแปลงพลังงานเคมี โดยการเปลี่ยนองค์ประกอบของอะตอมในโมเลกุลขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเคมี • เมคานิคัล (mechamical)คือการเปลี่ยนแปลงพลังงานเคมีให้เป็นพลังงานกล เช่น การเคลื่อนไหวของพืชและสัตว์ การหดตัวของกล้ามเนื้อ

  7. 1.3 ทฤษฎีพลังงานจลน์ของสสาร • คือ ในสภาวะของอุณหภูมิที่สูงกว่าจุดศูนย์สัมบูรณ์ (absolute zero หรือ - 273.16 องศาเซลเซียส) สสารจะมีพลังงานจลน์ประจำโมเลกุลอยู่จำนวนหนึ่งเสมอ โมเลกุลของสสารไม่อยู่นิ่งในสภาวะปกติ เช่น การได้กลิ่นน้ำหอมจากขวดที่เปิดวางไว้บนโต๊ะในห้องที่ลมสงบ และการหยดหมึกดำลงบนสไลด์ แล้วนำไปส่องดูโดยใช้กล้องจุลทรรศน์จะเห็นว่าอนุภาคของคาร์บอนหรือถ่านที่แขวนลอยอยู่ในหมึกดำ จะมีการเคลื่อนไหวแบบไม่มีทิศทางที่แน่นอนอยู่ตลอดเวลา ปรากฎการณ์เช่นนี้เรียกว่า บราวเนียนมูฟเมนต์ (brownion movement)

  8. 1.4 การเปลี่ยนแปลงของพลังงานและปฏิกิริยาเคมี • สิ่งมีชีวิตต้องมีการเจริญ มีการสร้างโมเลกุล และส่วนประกอบโครงสร้างใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจำเป็นต้องใช้พลังงาน ที่มาจากการสลายอาหารโดยใช้กระบวนการทางเคมี ทุกครั้งที่เกิดปฏิกิริยาเคมีจะต้องมีการแลกเปลี่ยนพลังงาน • ถ้าปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นมีการใช้พลังงานภายนอก ปฏิกิริยาเคมีแบบนี้เรียกว่า เอนเดอร์โกนิก (endergonic) • ถ้ามีการปล่อยพลังงานออกไป ในขณะที่เกิดปฏิกิริยาเคมี เรียกปฏิกิริยานี้ว่า เอกเซอร์โกนิก (exergonic)

  9. พลังงานที่อยู่ในสารเคมีที่ทำให้เกิดงาน เรียกว่า พลังงานอิสระของกิบส์ (Gibb’s free energy หรือ G) • ปฏิกิริยาเอกเซอร์โกนิก มีพลังงานอิสระเหลือน้อย จะให้ค่าของพลังงานอิสระที่เปลี่ยนไปจากเดิมมีค่าเป็นลบ (-G) ปฏิกิริยาเอกเซอร์โกนิก เช่น การรวมตัวของ H2 กับ O2 ได้น้ำ (H2O) และปฏิกิริยาการใช้น้ำตาลกูลโคสในการหายใจแบบใช้ออกซิเจนของสิ่งมีชีวิต • ปฏิกิริยาเอนเดอร์โกนิก มีพลังงานอิสระที่เกิดขึ้นมากกว่าพลังงานอิสระเริ่มต้น หรือพลังงานอิสระที่เปลี่ยนไปจากเดิม มีค่าเป็นบวก (+G) ปฏิกิริยาแบบเอนเดอร์โกนิก เช่น ปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยเปลี่ยน CO2 กับ H2O ให้เป็น C6H12O6 โดยอาศัยพลังงานแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ • พลังงานจลน์ต่ำสุดที่ใช้กระตุ้นสารให้อยู่ในสภาพที่สามารถทำปฏิกิริยาได้ (activated state) เรียกว่า พลังงานกระตุ้น (activated energy)

  10.  1.5 หน่วยของพลังงาน ใช้หน่วยของความร้อน หน่วยที่นิยมใช้1.5.1 แคลอรี หมายถึง ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 กรัม มีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 องศาเซลเซียส1.5.2 บี.ที.ยู หมายถึง ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์ มีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 องศาฟาเรนไฮต์

  11. 1.6 ความต้องการพลังงานของร่างกาย 1.6.1 การทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย รวมทั้งการรักษาระดับความร้อนภายในร่างกาย หรืออุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ 1.6.2 การใช้จ่ายสารอาหารในร่างกาย (specific dynamic action of food หรือ S.D.A.) อาหารแต่ละอย่างให้ S.D.A. ต่างกัน ถ้ากินอาหารโปรตีนล้วน ร่างกายจะผลิตความร้อน หรือ ต้องการพลังงานสูงกว่าเดิมร้อยละ 30 ถ้าเป็นคาร์โบไฮเดรตล้วนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8-10 ถ้าเป็นไขมันล้วนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4-6ความร้อนที่เกิดจาก S.D.A. นี้ ถ้าในเมืองหนาวจะมีประโยชน์ คือช่วยให้ร่างกายอบอุ่น แต่ในเมืองร้อนกลับไม่ช่วยอะไร นอกจากทำให้รู้สึกร้อน เหงื่อออก หรืออึดอัดหลังอาหาร 1.6.3 สภาพของร่างกาย เช่น เด็ก หญิงมีครรภ์ และหญิงแม่ลูกอ่อนจะต้องการพลังงานสูงกว่าคนปกติ 1.6.4 การออกกำลังกาย หรือการทำกิจกรรม

  12. 1.7 สมดุลพลังงาน • ร่างกายมีกลไกที่จะควบคุมให้พลังงานสมดุลกัน โดยจะควบคุมปริมาณอาหารที่รับประทาน (food intake) เพื่อให้แคลอรีที่ได้รับ (caloric intake) เท่ากับพลังงานที่ใช้ไป (energy output) ตามกฎ law of conservation of energy energy intake = energy output + stored energy • พลังงานที่ได้รับ มาจากอาหารโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต • พลังงานที่ใช้ในรูปพลังทำงานเป็นส่วนน้อย ส่วนใหญ่จะสลายไปในรูปของความร้อน • พลังงานที่เก็บสะสม คือพลังงานที่เหลือใช้ ร่างกายเก็บไว้ในรูปของไขมัน ไกลโคเจน และโปรตีนที่เนื้อเยื่อรวมทั้ง เอทีพี และ ครีอาทิน ฟอสเฟต

  13. 1.8 กลไกควบคุมปริมาณอาหารที่รับประทาน • เพื่อรักษาดุลพลังงาน คือ การที่จะให้ปริมาณอาหารที่รับประทานอาหารสมดุลกับพลังงานที่ใช้ จะมีการควบคุมจากระบบประสาท โดยจะมีศูนย์ควบคุมอยู่ใน ไฮโพทาลามัส (hypothalamus) 2 ศูนย์ คือ 1.9.1 ศูนย์หิว (feeding center)อยู่ที่ด้านข้างของไฮโพทาลามัส จะทำหน้าที่เป็นตำแหน่งรวมของกิริยาสนอง (reflex) ต่างๆที่มาทางลิ้น หู ตา กลิ่นที่มาเกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหาร รวมทั้งการเสาะแสวงหาอาหารด้วย 1.9.2 ศูนย์อิ่ม (satiety center)อยู่ที่ด้านล่างของไฮโพทาลามัส จะทำหน้าที่รับสัญญาณอิ่ม คือ สัญญาณที่ทำให้หยุดรับประทาน

  14. 1.9 ATP สารที่มีพันธะเคมีพลังงานสูง • อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (adenosine triphosphate หรือ ATP) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการ นำเอาพลังงานจากที่หนึ่งไปใช้อีกที่หนึ่ง เช่น การสังเคราะห์ด้วยแสง เปลี่ยนพลังงานรังสีมาเป็นพลังงานเคมี • ATP เป็น nucleotide ที่ประกอบด้วย nitrogen ที่มี adenine น้ำตาลไรโบส (คาร์บอน 5 อะตอม) และหมู่ฟอสเฟตเกาะอยู่ 3 หมู่ และพันธะโควาเลนซ์ที่จับกับหมู่ฟอตเฟต เมื่อพันธะถูกทำลาย โดยทำปฏิกิริยากับน้ำจะปล่อยพลังงานออกมาจำนวนมาก เป็นพันธะที่มีพลังงานสูง

  15. กระบวนการสังเคราะห์พันธะเคมีที่มีพลังงานสูงของ ATP เรียกว่า ฟอสโฟริเลชัน (phosphorylation) เกิดขึ้นได้ 3 แบบก. โดยการถ่ายทอดกลุ่มฟอสเฟตจากสารที่มีพันธะเคมีพลังงานสูงกว่ามาให้ ADP โดยตรง เรียกว่า ซับสเตรตฟอสโฟริเลชัน (substrate phosphorylation) ข. โดยได้รับพลังงานรังสีมาทำให้เกิดการรวมตัวของ ADP กับฟอสเฟตกลายเป็น ATP เช่น ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เรียกว่า โฟโตฟอสโฟริเลชัน ( photophosphorylation )ค. โดยการรวมตัวของ ADP กับฟอสเฟต ในขณะที่เกิดการถ่ายทอดอิเล็กตรอนไปให้ออกซิเจนในกระบวนการหายใจ ซึ่งเกิดในไมโทคอนเดรีย เรียกว่า ออกซิเดทีฟฟอสโฟริเลชัน (oxidative phosphorylation)

  16. ในเซลล์มีเอทีพีอยู่ไม่มาก เพราะถูกใช้และถูกสร้างขึ้นใหม่ตลอดเวลา เสียฟอสเฟตไป 1 ตัว เสียฟอสเฟต 2 ตัว ATP--------------------------------ADP--------------------------------AMP • การเปลี่ยน AMP หรือ ADP กลับมาเป็น ATP ต้องได้รับ กลุ่มฟอสเฟตและต้องใช้พลังงาน • ในเซลล์มีสารประกอบหลายตัวที่มีกลุ่มฟอสเฟต และมีพลังงานสูงกว่า ATP เช่น ฟอสโฟอีนอลไพรูเวต (phosphoenolpyruvate), 1,3- ไดฟอสโฟกลีเซอเรต (1,3-diphoglycerate) สารประกอบพวกนี้สามารถถ่ายทอดกลุ่มฟอสเฟตให้ ADP พร้อมกับพลังงานทำให้ได้ ATP กลับคืนมาโดยมีเอนไซม์เป็นตัวเร่ง

  17. ศูนย์สัมบูรณ์ (absolute zero) • หมายถึง อุณหภูมิที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นั่นคือ -273 องศาเซลเซียส -459 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 0 เคลวิน เป็นอุณหภูมิที่โมเลกุลของสสารไม่มีพลังงานจลน์ • ในทางปฏิบัติยังไม่สามารถสร้างสภาพศูนย์สัมบูรณ์ขึ้นมาได้จริง ปัจจุบันได้นิยามศูนย์สัมบูรณ์ไว้ว่า เป็นอุณหภูมิที่อนุภาคทุกชนิดหยุดการเคลื่อนไหวอย่างสิ้นเชิงตามหลักกลศาสตร์ควอนตัม ดังนั้นศูนย์สัมบูรณ์จึงน่าจะเป็นอุณหภูมิที่โมเลกุลของสสารสั่นน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

  18. มาตรฐานวัดหลัก ได้แก่ โดยมีสูตรการแปลงหน่วยดังนี้ • °C = (°F-32) × (5/9) • °F = (9/5) × °C + 32 • K = °C + 273.15 • °R = 4/5 × °C

  19. 2. เอนไซม์ 1.  คุณสมบัติทั่วไป -เป็นโปรตีนชนิดละลายน้ำได้ -ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกริยา (catalyst) -มีซับสเตรทเฉพาะตัว -เอนไซม์บางตัวมีโลหะเป็นองค์ประกอบ เรียกว่า metalloenzyme -เอนไซม์บางตัวมีสารอินทรีย์อื่นเป็นองค์ประกอบ เรียกว่า โคเอนไซม์

  20. แหล่งพบเอนไซม์ • ในช่องทางเดินอาหารตั้งแต่ปากจนถึงลำไส้ใหญ่มีชื่อเอนไซม์ที่รู้จักทั่วไป เช่นไทยาลิน (ptyalin) เป็น salivaryamylase เปปซิน (pepsin)  เป็น protease เรนนิน (rennin)เป็นmilk coagulation ทริพซิน (trypsin) เป็น endopeptidase ไคโมทริพซิน (chymotrypsin) เป็น endopeptidase • ภายในออร์กาเนลล์ต่างๆของเซลล์พืชและสัตว์เช่น - ในไมโตคอนเดรีย เกี่ยวกับการออกซิไดซ์ กรดไขมัน กรดอะมิโน - ในเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม เกี่ยวกับการสังเคราะห์โปรตีน, สเตอรอยด์ เป็นต้น - ในนิวเคลียส เกี่ยวกับ การสังเคราะห์ดีเอนเอ และอาร์เอนเอ - ในไลโซโซม เกี่ยวกับการสลายของดีเอนเอ,อาร์เอนเอ,โปรตีนโปลีแซคคาไรด์ และไขมัน - ในไซโตซอลเกี่ยวกับการสังเคราะห์กรดไขมันการสลายกลัยโคเจน การเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสเป็นไพรูเวท เป็นต้น • พบได้ในเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา (fungi) และไวรัส

  21. การเรียกชื่อเอนไซม์เรียกตามซับสเตรตที่ถูกแยกสลาย หรือเรียกตามกฏิกิริยาที่เร่ง โดยการเติม ase เข้าไป  ข้างท้าย เช่น • ลิเปส (Lipase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยไขมันที่ใช้กับซับสเตรตไขมัน (Lipid) • เฮกโซคิเนส (Hexokinase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลที่ใช้กับซับสเตรตเฮกโซส (Hexose) • ดีคาร์บอนซิเลส (Decarboxylase) เป็นเอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยาดีคาร์บอนซิเดชัน (Decarboxydation) • อะไมเลส (Amylase) เป็นเอนไซม์ของปฏิกิริยาที่แป้งถูกไฮโดรไลซ์เป็นมอสโทส (Maltose) • ซักซินิก ดีโอโดรจีเนส (Succinic dehydrogenase) เป็นเอนไซม์เร่งปฏิกิริยาการดึงไฮโดรเจนออกจากซับสเตรตกรดซักซินิก (Succinicacid) แต่เอนไซม์บางชนิดการเรียกชื่อไม่ได้เป็นไปตามเกณฑ์ดังกล่าว เช่น • ปาเปน (Papain) ในยางมะละกอเป็นเอนไซม์เร่งปฏิกิริยาการย่อยโปรตีน • เปปซิน (Pepsin) ในน้ำย่อยเป็นเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีนให้มีขนาดโมเลกุลเล็กลง

  22. จำแนกชนิดของเอนไซม์ 1. ออกซิโด – รีดักเตส (Oxido – reductase) เป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาออกซิเดชัน รีดักชัน  ได้แก่ เอนไซม์ดีไฮโรจีเนส (Dehydrogenase) และออกซิเดส (Oxidase) 2. ทรานสเฟอเรส (Transferase) เป็นเอนไซม์ที่ทำปฏิกิริยาโดยโยกย้ายส่วนหนึ่งของซับสเตรตอีกตัวหนึ่ง เช่น   ทรานสคีโตเลส (Transketolase) และเมทิลทรานสเฟอเรส (Methyltransferase) 3. ไฮโดรเลส (Hydrolase) เป็นเอนไซม์ที่ทำปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส (Hydrolysis) เช่น ฟอสเฟเตส (Phosphatase) ไล- เปส (Lipase) 4. ไลเอส (Lyase) เป็นเอนไซม์ดีคาร์บอกซิเลส (Decarboxylase) ฟูมาเรดไฮเดรเตส (Fumaratehydratase) ฯลฯ

  23. 5. ไอโซเมอเรส (Isomerase) เป็นเอนไซม์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนไอโซเมอร์ (Isomer) เช่น เอนไซม์ฟอสโฟกลีเซอโรมิวเตส (Phosphoglyceromutase) จะเปลี่ยน 3 – ฟอสโฟกลีเซอเรต (3-Phosphoglycerate) เป็น 2 – ฟอสโฟกลี  เซอเรต (2-Phosphoglycerate) 6. ซินเทเตส (Synthetase)หรือไลเกส (Ligase) เป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวกับการสร้างพันธะเคมีโดยใช้พลังงาน (ATP = Adenosinetriphosphate) เช่น ไพลูเวต คาร์บอกซิเลส (Pyruvatecarboxylase) เปลี่ยนกรดไพรูวิก (Pyruvicacid) ให้เป็นกรดออกซาโลอะซิติก (Oxaloacetic acid)

  24. โคแฟคเตอร์ (Cofactor)และโคเอนไซม์  (Coenzyme)  หมายถึง โลหะอิออนที่เป็นส่วนประกอบในโมเลกุลของเอนไซม์และอิออนอิสระของโลหะที่ช่วยเร่งการทำงานของเอนไซม์ เช่น เอนไซม์ acetyl - Co A  synthase  มีอิออนของแมกนีเซียม (Mg2+) และโปแตสเซียม (K+) เป็นโคแฟคเตอร์แต่ถ้าเติมโซเดียมอิออน (Na+) ลงไปการทำงานของเอนไซม์จะถูกยับยั้งทันที • โคแฟคเตอร์มักจะทนต่อความร้อนได้ ในขณะที่เอนไซม์จะหมดสภาพเมื่อได้รับความร้อน • เอนไซม์ที่มีโคแฟคเตอร์เป็นอิออนของโลหะนั้นอาจจะเรียกว่า เมทัลโลเอนไซม์ (Metalloenzyme) 

  25. โคเอนไซม์  (Coenzyme) เป็นสารอินทรีย์ที่ช่วยในการทำงานของเอนไซม์โดยทั่วไปโคเอนไซม์เป็นอนุพันธ์ของวิตามินที่ละลายน้ำได้ • โคเอนไซม์ทำหน้าที่ในปฏิกิริยาที่มีการโยกย้ายของหมู่เคมีอะตอม หรืออิเลคตรอนโดยทำปฏิกิริยากับสับสเตรท • ถ้าโคเอนไซม์ติดอยู่กับเอนไซม์แน่นมากจะเรียกว่า กลุ่มพรอสธีติค โดยจะเกาะอยู่กับเอนไซม์แบบแขนโควาเลนท์ (Covalent bond)

  26. ไอโซเอนไซม์ (Isoenzymes) หรือไอโซไซม์ คือ กลุ่มเอ็นไซม์ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเดียวกัน แต่ตัวเอ็นไซม์มีคุณสมบัติทางฟิสิกซ์และเคมีแตกต่างกัน • เป็นเอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยาเดียวกัน มีน้ำหนักโมเลกุลเท่ากัน มีการเรียงตัวของกรดอะมิโนคล้ายคลึงกัน • แต่ มีการเรียงตัวของกรดอะมิโนต่างกันนี้ทำให้เมื่อแยกเอนไซม์โดยวิธีทาง อีเลคโตรโฟรีซิส (Electrophoresis)แล้วจะทำให้ไอโซ-ไซม์แยกออกจากกัน • อีเลคโตรโฟรีซิสสามารถแยกโปรตีนหรือโมเลกุลอื่นที่มีประจุในสนามไฟฟ้า โดยใช้ส่วนผสมของเอนไซม์หลายชนิดไว้ในตัวกลางที่เฉื่อย

  27. กลไกในการทำงานของเอนไซม์กลไกในการทำงานของเอนไซม์ • สารเริ่มต้นต้องเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งการเปลี่ยนนี้จะต้องใช้พลังงานจำนวนหนึ่งเรียกว่า Energy of Activation • การเพิ่มอุณหภูมิจะเพิ่มจำนวนโมเลกุลที่มีพลังงานสูงขึ้น ทำให้โมเลกุลอยู่ในสภาพที่เรียกว่า Transition state • อัตราเร่งปฏิกิริยาทางเคมีจะเพิ่มขึ้นได้สองทาง   ได้แก่   การเพิ่มอุณหภูมิ และ การเพิ่มอัตราเร่งของปฏิกิริยา

  28. ลักษณะการทำงานของเอนไซม์ลักษณะการทำงานของเอนไซม์

  29. การเสื่อมสภาพของเอนไซม์ (Denaturation) • เมื่อโครงสร้างของเอนไซม์เปลี่ยนไปสารเริ่มต้นรวมกับเอนไซม์ที่ Active Site ไม่ได้ ทำให้คุณสมบัติในการเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์หมดไป • กรณีที่เอนไซม์เกิดการเสื่อมสภาพไปแล้ว ไม่สามารถจะกลับคืนมาสู่สภาพที่ทำงานได้อีก คือ ได้รับอุณหภูมิสูง ดังนั้น ในการสกัดเอนไซม์ออกจากพืช หรือการทำให้เอนไซม์บริสุทธิ์ ทำในที่มีอุณหภูมิต่ำ • ออกซิเจน และสารที่เป็นสารออกซิไดซ์สามารถทำให้เอนไซม์หลายชนิดเสื่อมสภาพได้ • ในสภาพที่แห้ง เอนไซม์จะมีความคงทนต่ออุณหภูมิสูงดีกว่าในสภาพที่มีน้ำมาก

  30. ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ • ความเข้มข้นของเอนไซม์และสารเริ่มต้น • ความเป็นกรดด่าง (pH) • อุณหภูมิ เอนไซม์ทำงานได้ที่ T 30-50 องศาฯ และจะมีอุณหภูมิเหมาะสมที่สุดเรียก "Optimum temperature" • ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น (Reaction product)  

  31. สารระงับการทำงานของเอนไซม์ (Inhibitors) - Competitive Inhibitor  สามารถรวมตัวกับโมเลกุลของเอ็นไซม์ตรงตำแหน่ง active  site โดยการแย่งที่สับสเตรท - Non competitive Inhibitor  เป็นสารยับยั้งที่รวมกับเอ็นไซม์หรือ ES-complex ก็ได้ จะได้เป็น EI และ ESI เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของสับสเตรทให้มากขึ้นก็ไม่มีผลต่อปฏิกิริยา - Uncompetitive  Inhibitor  เป็นสารยับยั้งที่จะไม่รวมกับโมเลกุลของเอ็นไซม์หรือไปแย่งที่ active site ของสับสเตรท แต่จะไปรวมกับ  ES-complex  เป็น ESI ทำให้ปฏิกิริยาไม่สามารถดำเนินต่อไปเป็นผลิตภัณฑ์ได้

  32. Competitive Inhibitor http://www.juliantrubin.com/encyclopedia/biochemistry/enzyme_files/400px-Comp_inhib.png

  33. Non competitive Inhibitor http://content.answers.com/main/content/wp/en/thumb/3/34/400px-Non-competitive_inhibition.jpg

  34. Uncompetitive  Inhibitor http://www.chm.davidson.edu/erstevens/Lineweaver/scheme_4.gif

  35. 3. กระบวนการเมแทบอลิซึม (Metabolism) • เมแทบอลิซึม เป็นกิจกรรมทางเคมีที่เกิดขึ้นเฉพาะสิ่งมีชีวิตเท่านั้นเช่น การสร้างพลังงาน การเจริญเติบโต การซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ การคิด การรู้สึก รวมทั้งการกำจัดของเสียขบวนการเมแทบอลิซึมแบ่งออกได้เป็น 2 ขั้น ดังนี้ • Catabolism หมายถึง ปฏิกิริยาที่ย่อยสลายสารประกอบขนาดใหญ่ให้เป็นสารโมเลกุลขนาดเล็ก และปล่อยพลังงานเคมีที่อยู่ในพันธะโมเลกุลนั้นๆ เรียกว่า Exergonic เช่น การย่อยแป้ง น้ำตาล กลูโคส

  36. 2. Aanabolismหมายถึง ปฏิกิริยาที่สร้าง หรือรวมตัวเอาโมเลกุลขนาดเล็กให้เป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ ซึ่งต้องการพลังงาน เรียกว่า Endergonic เช่น เกิดการรวมตัวของกลูโคสหลายโมเลกุล เกิดเป็นแป้ง , ไกลโคเจน นอกจากการเสียหรือรับพลังงานแล้ว ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตจะมีการถ่ายทอดอิเลคตรอน เรียกว่า ปฏิกิริยา oxidation และ reduction oxidation คือ ปฏิกิริยาที่โมเลกุลเกิดการสูญเสียอิเลคตรอน reduction คือ ปฏิกิริยาที่โมเลกุลได้รับอิเลคตรอน

  37. การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชสีเขียว เป็นปฏิกิริยาขั้นแอนาบอลิซึม โดยพืชสังเคราะห์กลูโคส จากคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำโดยมีคลอโรฟิลล์ เป็นสารที่จับพลังงานแสงสว่าง จากดวงอาทิตย์ มาใช้ในปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสง ดังสมการ (แสงสว่าง) 6CO2 + 12H2O C6H12O6 + 6O2 + 6H2O + พลังงาน (คลอโรฟิลล์) • การหายใจของพืชสีเขียว และสัตว์ที่ต้องการออกซิเจน จัดเป็นปฏิกิริยาขั้นแคทาบอลิซึม ดังสมการ C6H12O6 + 6O2 6CO2 + 6H2O + พลังงาน

  38. 6  CO2  +  6 H2OC6H12O6  +  6 O2 คลอโรฟิลล์ 4. การสังเคราะห์ด้วยแสง • การสังเคราะห์ด้วยแสง คือ การใช้พลังงานรังสีเปลี่ยนคาร์บอนได ออกไซด์ และไฮโดรเจนที่มาจากน้ำหรือจากแหล่งให้ไฮโดรเจนอื่นๆ ให้เป็นสารประกอบคาร์โบไฮเดรต โดยเซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่มีรงควัตถุที่สามารถดูดพลังงานจากแสงได้ เช่น พืชสีเขียว แบคทีเรียบางชนิด

  39. รงควัตถุที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงรงควัตถุที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง • คลอโรฟิลล์ • ต้นกำเนิดของคลอโรฟิลล์ คือ โพรโทคลอโรฟิลล์ (protochlorophyll) เป็นสารที่ไม่มีสี พบในพืชที่อยู่ในที่มืด เมื่อถูกแสงสว่าง จะถูกรีดิวซ์และเปลี่ยนเป็นคลอโรฟิลล์ ทำหน้าที่ดูดพลังงานของแสงอาทิตย์ • คลอโรฟิลล์จำแนกออกได้ 4 ชนิด คือคือ คลอโรฟิลล์เอ คลอโรฟิลล์บี คลอโรฟิลล์ซี และคลอโรฟิลล์ดี • คลอโรฟิลล์ชนิดต่างๆ ดูดแสงในช่วงคลื่นแถบสีน้ำเงินและสีแดงได้ดีกว่าช่วงความยาวคลื่นอื่นๆ ช่วงคลื่นสีเขียว คลอโรฟิลล์ดูดได้น้อยที่สุด จึงทำให้เรามองเห็นสีคลอโรฟิลล์เป็นสีเขียว คลอโรฟิลล์เอจะมีสีเขียวปนน้ำเงิน ส่วนคลอโรฟิลล์บีมีสีเขียวอมเหลือง

  40. แคโรทีนอยด์ • แคโรทีนอยด์ เป็นสารประกอบจำพวกไขมัน ประกอบด้วย แคโรทีน เป็นรงควัตถุสีแดง และสีส้ม อีกชนิดหนึ่งคือ แซนโทฟิลล์ เป็นรงควัตถุสีเหลืองหรือสีน้ำตาล • ไฟโคบิลิน • ไฟโคบิลิน เป็นรงควัตถุที่มีอยู่เฉพาะสาหร่ายสีแดงและสี เขียวแกมน้ำเงินประกอบด้วยรงควัตถุ 2 ชนิดคือ • - ไฟโคอีรีทริน (Phycoerythrin) เป็นรงควัตถุสีแดง • - ไฟโคไซยานิน (Phycocyanin) เป็นรงควัตถุสีน้ำเงิน

  41. กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง มี 2 ปฏิกิริยา คือ • ปฏิกิริยาที่ใช้แสง (light reaction)เป็นปฏิกิริยาที่จะเกิดขึ้นได้ต้องมีแสงจากดวงอาทิตย์ หรือแสงประดิษฐ์ก็ได้ รงควัตถุที่ทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสงรวมเป็นหน่วยย่อย เรียกว่า หน่วยสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthetic unit) หรือควอนทาโซม (quantasome) บนไทลาคอยด์ (thylakoid) รวมกันประมาณ 400-600 โมเลกุล และมีคลอโรฟิลล์เอรูปพิเศษ เป็นศูนย์กลางรับพลังงานจากรงควัตถุอื่น แล้วทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีรังสี หน่วยสังเคราะห์ด้วยแสงแต่ละหน่วยประกอบด้วย photosystem 2 ระบบ คือ photosystem I หรือ P700 ซึ่งมี pigment system I เป็นตัวรับแสง และ photosystem II หรือ P680 ซึ่งมี pigment system II เป็นตัวรับแสง แต่ละระบบจะมี คลอโรฟิลล์ประมาณ 200-300 โมเลกุล

  42. การถ่ายทอดอิเล็กตรอน ใน PS I และ PS II เกิดได้เป็น 2 แบบดังนี้ ก. การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็นวัฏจักร (cyclic electron transfer)การถ่ายทอดแบบนี้จะเกี่ยวข้องเฉพาะ PS I เท่านั้นโดยอิเล็กตรอนที่ออกมาจากคลอโรฟิลล์ P 700 จะมีตัวมารับและถ่ายทอดไปเป็นทอดๆ แล้วจะกลับมาสู่คลอโรฟิลล์ P 700 เดิม ในระหว่างที่ถ่ายทอดไปนั้น พลังงานจากอิเล็กตรอนจะถูกปล่อยออกมาซึ่งเซลล์จะนำไปสร้างสารประกอบ ATP จากสารประกอบ ADPอิเล็กตรอนจากคลอโรฟิลล์ P 700 ใน PS I ที่มีพลังงานสูงขึ้นจะมี Z ซึ่งเป็นสารที่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นชนิดใดแน่ แต่มีผู้ให้ความเห็นว่าเป็น เฟร์ริดอกซิน รีดิวซิง ซับสแตนซ์ ( ferredoxin-reducing substrance ) มารับการถ่ายทอดต่อไปให้เฟร์ริดอกซินไซโทโครม พลาสโทไซแอนินและกลับมาสู่คลอโรฟิลล์ P 700 และได้พลังงานจากการถ่ายทอดแบบนี้ 1 ATP ต่ออิเล็กตรอน 1 คู่

  43. ข. การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฏจักร (non-cyclic electron transfer) การถ่ายทอดแบบนี้จะเกี่ยวข้องทั้ง PS I และ PS II และมีน้ำมาเกี่ยวข้องด้วย โดยพลังงานรังสีที่คลอโรฟิลล์ดูดไว้จะถูกนำมาใช้แยกน้ำด้วยกระบวนการโฟโตลิซิส (photolysis) โรบิน ฮิลล์ (Robin Hill) เป็นผู้ค้นพบกระบวนการนี้ ค.ศ. 1937 จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิกิริยาฮิลล์ (Hill’s reaction) การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบนี้ นอกจากจะสร้าง ATP แล้ว ยังจะสร้าง NADPH + H+ จาก NADP+ การถ่ายทอดอิเล็กตรอนทั้งสองแบบนี้จะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาเมื่อมีแสง ซึ่งพืชจะสามารถนำพลังงานแสงมาสร้างเป็น ATP และ NADPH + H+ ในปฏิกิริยาที่ใช้แสงนี้ และถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสงต่อไป

  44. 2. ปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสง (dark reaction) • ปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องมีแสง เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากปฏิกิริยาที่ใช้แสงในการที่จะเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ โดยใช้ผลผลิตที่ได้จากปฏิกิริยาที่ใช้แสง คือ NADPH + H+ และ ATP ให้ไปเป็นสารประกอบคาร์โบไฮเดรต ปฏิกิริยานี้ยังมีชื่อเรียกอีก 2 ชื่อ คือ คาร์บอนไดออกไซด์ ฟิกเซชัน (carbondioxide fixatio ) และวัฏจักรเคลวิน-เบนสัน (Calvin-Benson cycle) เคลวินและเบนสัน (ค้นพบในปี ค.ศ. 1949) พบว่าสารที่มาเป็นตัวรับ CO2 คือ RDP (ribulose diphosphate) และ PGA (phosphoglyceric acid) เป็นสารชนิดแรกที่เกิดขึ้นในปฏิกิริยาไม่ใช้แสง ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในวัฏจักรนี้แสดงไว้จะเกิดขึ้น 3 ครั้ง สังเกตเลข 3 ที่อยู่หน้า CO2 และ RDP

  45. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง • ความเข้มแสง - ถ้าความเข้มของแสงมาก อัตราการสังเคราะห์แสงจะเพิ่มขึ้น • ความเข้มของ CO2 - อัตราการสังเคราะห์แสงจะเพิ่มขึ้นตามความเข้ม CO2 จนถึงระดับหนึ่ง แม้ความเข้ม CO2 จะเพิ่มขึ้นแต่ อัตราการสังเคราะห์แสงจะลดต่ำลง • อุณหภูมิ – อัตราการสังเคราะห์แสงจะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ถ้าอุณหภูมิสูงเกิน 40 oC เอนไซม์จะเสื่อมสภาพ การทำงานเอนไซม์ชะงักลงอัตราการสังเคราะห์แสงจะลดลงตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น • ออกซิเจน - ปริมาณออกซิเจนลดลงอัตราการสังเคราะห์แสงเพิ่มขึ้น • น้ำ - ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ • เกลือแร่ - ถ้าพืชขาดธาตุแมกนีเซียมและไนโตรเจน เหล็ก พืชก็จะขาดคลอโรฟิลล์ การสังเคราะห์แสงก็จะลดลง

More Related