1 / 56

Chapter 7 Competency Model

Chapter 7 Competency Model. ตัวแบบของ Competency.

Ava
Download Presentation

Chapter 7 Competency Model

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Chapter 7 Competency Model

  2. ตัวแบบของ Competency • ที่ผ่านมานั้น ผมให้คุณทำ Competency แบบอ้อม ๆ คือ ลองหัดคิด หัดทำเพื่อซ้อมมือ เหมือนกับคนจะเย็บเสื้อโดยใช้จักรเย็บผ้า ก่อนจะเย็บของจริงก็ต้องลองซ้อม ๆ กับเครื่องเย็บผ้าก่อนให้คล่อง ให้รู้จักจังหวะ พอเข้าใจแล้ว เราจึงมาพิจารณาจากของจริงอีกทีหนึ่ง • บทนี้เราจะมาดูการทำ Function Competency จริง ๆ กันหน่อย • ตัวแบบที่เราจะเอามาศึกษาเพื่อทำความเข้าใจกันนั้นนำมาจากกระทรวงแรงงานของสหรัฐอเมริกา เขาได้แบ่ง Competency ของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมระดับสูง (Advanced Manufacturing) เอาไว้ 9 ระดับ (Tier) ด้วยกันลองมาดูแนวความคิดของเขาก่อน

  3. เริ่มจาก 3 ระดับแบบธรรมดา ๆ ซะก่อน • 1) ระดับฐานราก (Foundation) ที่ทุกคนต้องมีเพื่อทำงานอย่างมีประสิทธิผล เช่น องค์ความรู้ทั่ว ๆ ไปจากสถานศึกที่เรียนมา อุปนิสัยที่ดี และ การทำงานในสถานที่ทำงาน • 2) ความรู้ที่สัมพันธ์กับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง (Industrial Related) • 3) ความรู้ที่สัมพันธ์กับอาชีพตนเองดำรงอยู่ เช่น อาชีพวิศวกร, IT เป็นต้น (Occupation Related)

  4. อันแรกก่อน พื้นฐานที่ทุกคนต้องมีเพื่อทำงานอย่างมีประสิทธิผล เช่น องค์ความรู้ทั่ว ๆ ไปจากสถานศึกที่เรียนมา ประเภทอ่านออก เขียนได้ คำนวณได้ ไม่ว่าคุณจะเรียนจบอะไรมา ก็ต้องทำเรื่องนี้ได้ทั้งนั้น ต้องมีอุปนิสัยที่ดี (ถ้าไม่ดี เขาก็ไม่อยากรับคุณเข้าทำงานหรอกครับ) และ การทำงานในสถานที่ทำงาน อันนี้หมายถึง การทำงานในสภาพแวดล้อมของโรงงานทั่ว ๆ ไป เช่น การทำงานเป็นทีม การวางแผน เป็นต้น

  5. ส่วน Competency ที่สัมพันธ์กับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง จะแยกเป็นสองระดับ • ระดับแรกก็ถือว่า ถ้าถือว่าเป็นความรู้ ก็เป็นการรู้กว้าง ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่เรากำลังทำอยู่ เรียกว่า เป็นระดับพื้นฐาน ที่ทุก ๆ คนจะต้องรู้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะอยู่ระดับใด • ระดับที่สอง จะเป็นขั้นสูงขึ้นไป จะเป็นความรู้ที่ผู้ที่ทำงานนั้น ๆ จะต้องรู้มากกว่าคนอื่น (ผู้ที่อยู่หน้างาน) • ตัวอย่าง เช่น คนทั่วไปจะรู้ว่าเครื่องจักรตัวนี้ทำอะไร เรียกว่า รู้ในระดับพื้นฐาน แต่สำหรับคนที่คุมเครื่องจักรนั้น จะต้องเข้าใจว่าเครื่องจักรนั้น ๆ ผลิตอะไร ทำงานอย่างไร ควบคุมอย่างไรเป็นต้น

  6. Competency ที่สัมพันธ์กับอาชีพตนเองดำรงอยู่ เขาแยกก่อนเลยว่า • ระดับแรกนั้นเป็นองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องมีในการทำอาชีพที่เรากำลังทำอยู่ เช่น ผมเป็นวิศวกรไฟฟ้า ความรู้พื้นฐานต่าง ๆ ของวิศวกรไฟฟ้านั้นต้องรู้ และผมต้องเรียนพวกนี้ตอนปี 1-3 • ระดับที่สองนั้นก็จะเป็น เรื่องที่คุณเก่งหรือเด่นขึ้นมา เช่น ผมจบวิศวกรรมไฟฟ้าก็จริง แต่ผมเก่งในเรื่องอิเล็กทรอนิคส์มากกว่าเรื่องอื่น เพราะผมเรียนสาขาอิเล็กทรอนิค์ ซึ่งผมเลือกสาขานี้ตอนเรียนปี 4-5 • ระดับที่สามนั้น เรียกว่า เป็นระดับมืออาชีพ มีใบรับรองต่าง ๆ ตามที่องค์กรต้องการ เช่น ผมมีใบรับของ กว. (เหมือนใบประกอบโรคศิลป์ของแพทย์) • แต่ทั้งสามระดับนี้มันก็เรื่องเดียวกันนั่นแหละ คือ มีความรู้ในอาชีพที่ตนดำรงอยู่

  7. ระดับที่พิเศษออกมาก็คือระดับการจัดการ (Management) ซึ่งนอกจากจะต้องมีทั้งสามเรื่องที่กล่าวมาแล้ว ยังต้องมีความรู้ทางด้านการบริหารจัดการด้วย • ดังนั้น เราจะเขียนให้ง่ายขึ้นได้ดังรูปต่อไป

  8. แล้วเขียนให้ละเอียดเป็น 9 ระดับ ตามที่กล่าวผ่านมาแล้ว

  9. ระดับทั้ง 9 ประกอบด้วย • 1) Personal Effectiveness Competencies หรือ สมรรถนะเกี่ยวกับประสิทธิผลของบุคคล • 2) Academic Competencies หรือ สมรรถนะเกี่ยวกับความรู้ที่ได้จากวิทยาลัย/มหาวิทยาลัย • 3) Workplace Competencies หรือ สมรรถนะเกี่ยวกับสถานที่การทำงาน • 4) Industrial-Wide Technical Competencies หรือ สมรรถนะทางเทคนิคทั่ว ๆ ไปในอุตสาหกรรมที่กำลังดำเนินอยู่ • 5) Industrial-Specific Technical Competencies หรือ สมรรถนะทางเทคนิคที่เจาะจง (Specific) เป็นในอุตสาหกรรมที่กำลังดำเนินอยู่

  10. 6) Occupation-Specific Knowledge Area หรือ องค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เจาะจงในการประกอบอาชีพนั้น ๆ • 7) Occupation-Specific Technical Competencies หรือ สมรรถนะทางเทคนิคที่เจาะจงในการประกอบอาชีพนั้น ๆ • 8) Occupation-Specific Requirements หรือ ความต้องการที่เจาะจงในการประกอบอาชีพนั้น ๆ • 9) Management Competencies หรือ สมรรถนะทางด้านการจัดการ • หมายเหตุข้อ 9 เป็นสมรรถนะทางด้านการเป็นหัวผู้งาน/ผู้นำ/ผู้จัดการ/ผู้บริหาร

  11. Tier ที่ 1 • 1) Personal Effectiveness Competencies หรือ สมรรถนะเกี่ยวกับประสิทธิผลของบุคคล สมรรถนะเหล่านี้แสดงถึง แรงจูงใจ (motives) บุคลิกประจำตัว (traits) การเรียนรู้และพัฒนาตนเองและการควบคุมตนเอง (interpersonal and self-management style) และสิ่งที่เกี่ยวข้องในงานอุตสาหกรรม เช่น • 1.1 ทักษะในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง (Interpersonal Skills)1.2 ความซื่อสัตย์ (Integrity)1.3 ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)1.4 ความคิดริเริ่ม (Initiative)1.5 ความเชื่อถือ และ ความไว้วางใจ (Dependability & Reliability)1.6 ความใฝ่ใจในการเรียนรู้ (Willingness to Learn)

  12. Tier ที่ 2 • 2) Academic Competencies หรือ สมรรถนะเกี่ยวกับความรู้ที่ได้จากสถาบันการศึกษา ทั้งนี้รวมไปถึงความคิด ความอ่าน อันแสดงถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้มาจากสถาบันการศึกษาด้วย • 2.1 การอ่าน (Reading)2.2 การเขียน (Writing)2.3 การคำนวณ (Mathematics)2.4 วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี (Science & Technology)2.5 การสื่อสาร - การฟังและการพูด (Communication- Listening & Speaking)2.6 การคิดเชิงวิจารณ์ (Critical Thinking) และ การคิดเชิงสังเคราะห์ (Analytic Thinking)2.7 การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)2.8 ทักษะคอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Basic Computer Skills)

  13. Tier ที่ 3 • 3) Workplace Competencies หรือ สมรรถนะเกี่ยวกับการทำงานในที่ทำงาน • 3.1 การทำงานเป็นทีม (Teamwork)3.2 การปรับตัว/ความคล่องตัว (Adaptibility / Flexibility)3.3 การมุ่งเน้นที่ลูกค้า (Customer Focus)3.4 การวางแผน/การจัดองค์กร (Planning & Organizing)3.5 การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking)3.6 การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ (Problem Solving & Decision Making)3.7 การทำงานโดยใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีต่าง ๆ (Working with Tools and Technology)3.8 การใช้คอมพิวเตอร์ (Workplace Computer Applications)3.9 การจัดเวลาในการทำงานและการประสานงาน (Scheduling & Coordinating)

  14. 3.10 การตรวจสอบ การทดสอบ และการบันทึกผล (Checking, Examining & Recording)3.11 พื้นฐานทางธุรกิจ (Business Fundamentals)

  15. Tier ที่ 4 • 4) Industrial-Wide Technical Competencies หรือ สมมรรถนะทางเทคนิคทั่ว ๆ ไปในอุตสาหกรรมที่กำลังดำเนินอยู่ หมายถึง ความรู้ ทักษะ และความสามารถในงานทั่ว ๆ ไปในอุตสาหกรรมนั้น ๆ เช่น • 4.1 การผลิต (Production)4.2 การบำรุงรักษา การติดตั้ง และ การแก้ไข ซ่อมแซม (Maintenance, Installation & Repair)4.3 การพัฒนาและการออกแบบกระบวนการผลิต (Manufacturing Process Development/Design)4.4 การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management)4.5 การประกันคุณภาพ/การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Quality Assurance/Continuous Improvement)4.6 สุขชีวอนามัยและความปลอดภัย (Health & Safety)

  16. Tier ที่ 5 • 5) Industrial-Specific Technical Competencies หรือ สมรรถนะทางเทคนิคที่เจาะจง (Specific) ในอุตสาหกรรมที่กำลังดำเนินอยู่ หมายถึง ความรู้ ทักษะ และความสามารถในงานที่จำเป็นต้องมีในอุตสาหกรรมนั้น ๆ ซึ่งเพิ่มเติมขึ้นมาจากข้อ 4 ตัวอย่างเช่น ในข้อ 4 นั้น จะหมายถึงความรู้ ทักษะ ความสามารถในการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิคส์ทั่ว ๆ ไป ไม่เน้นเจาะจงไปด้านใดด้านหนึ่ง แต่ข้อ 5 นี้จะหมายถึง ความรู้ที่จำเพาะเจาะจงเพิ่มขึ้นมา เช่น ถ้าเราจะผลิตแผงวงจรให้กับเครื่องบิน เราต้องรู้เรื่องเกี่ยวกับเครื่องบิน เป็นต้น ดังนั้น เมื่อรวมข้อ 4 (พื้นฐาน) และ 5 (Advance เฉพาะเรื่อง) เข้าด้วยกัน เราก็จะสมารถผลิตงานที่ใช้งานกับเครื่องบินได้

  17. Tier ที่ 6 • 6) Occupation-Specific Knowledge Area หรือ องค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เจาะจงในการประกอบอาชีพนั้น ๆ หัวข้อนี้จะหมายถึงองค์ความรู้ที่จำเป็นในอาชีพที่ตนเองดำรงอยู่ เช่น แผนกทดสอบผลิตภัณฑ์จะต้องมีความรู้พื้นทางด้านอิเล็กทรอนิคส์เพื่อใช้ในการทดสอบผลิตภัณฑ์ คำว่า“พื้นฐาน” นี้จะหมายถึง ความรู้นั้นจะต้องสูงกว่าระดับบุคคลากรทั่ว ๆ ไปในอุตสาหกรรมนั้น เช่น บุคคลากรในแผนก Facility หรือ IT หรือ Rework เองก็อาจมีความรู้ทางด้านอิเล็กทรอนิคส์เช่นกัน แต่ความรู้ทางด้านอิเล็กทรอนิคส์ที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบผลิตภัณฑ์แล้ว ผู้ที่ทำงานในแผนก Test จะต้องมีองค์ความรู้สูงกว่าแผนกอื่น ๆ เมื่อมองในมุมกลับ แม้ว่าแผนก Test เองมีองค์ความรู้ทางด้านอิเล็กทรอนิคส์เช่นเดียวกับ แผนก Rework แต่ผู้ที่อยู่แผนก Rework (FA) ต้องมีองค์ความรู้ในเชิงการแก้ไขปัญหาสูงกว่าแผนก Test ดังนั้นในหัวข้อนี้จึงหมายถึงองค์ความรู้ที่จำเพาะเจาะจงซึ่งต้องใช้อาชีพของตน

  18. Tier ที่ 7 • 7) Occupation-Specific Technical Competencies หรือ สมรรถนะทางเทคนิคที่เจาะจงในการประกอบอาชีพนั้น ๆ หัวข้อนี้จะเป็น ความรู้ ทักษะ ความสามารถทางเทคนิคที่จำเพาะเจาะจงลงไปเฉพาะงาน (หรือตำแหน่งงาน) เช่น บุคลากรในแผนก Test จะต้องมีพื้นฐานเหมือน ๆ กัน เช่น ต้องรู้เรื่องเครื่องมือวัด เป็นต้น แต่ผู้ที่อยู่ฝ่าย ICT จะต้องมีความรู้ทางเทคนิคของเครื่อง ICT จึงจะทำงานได้ และถือได้ว่า เหมาะสมตามหน้าที่ของ ICT Engineer

  19. Tier ที่ 8 • 8) Occupation-Specific Requirements หรือ ข้อกำหนดที่เจาะจงในการประกอบอาชีพนั้น ๆ เช่น ใบรับรอง ประกาศนียบัตร เป็นต้น ตัวอย่างเช่น แพทย์จะประกอบอาชีพได้ ต้องมีใบประกอบโรคศิลป์ เป็นต้น • ดังนั้น ถ้าเราจับ Tier ที่ 6, 7 และ 8 มารวมกัน มันก็จะกลายเป็น องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐานทั่วไปของอาชีพนั้น ๆ (Tier 6) และ องค์ความรู้ทางเทคนิคที่สูงขึ้นกว่าระดับพื้นฐานทั่ว ๆ ไป ที่เหมาะกับตำแหน่งงานนั้น ๆ ต้องการ (Tier 7)และ ใบรับรอง ใบผ่านงาน ต่าง ๆ อันแสดงว่า ตนเป็นมืออาชีพในด้านนั้น ๆ (Tier 8) ซึ่งรวมกันเป็นองค์ความรู้ของอาชีพและตำแหน่งงานที่ตนเองคำรงอยู่ หรือ ก็คือ Function Competency/Job Competency/Professional Competency นั่นเอง

  20. Tier ที่ 9 • 9) Management Competencies หรือ สมรรถนะทางด้านการจัดการ เช่น • 9.1 การจัดคนเข้าทำงาน (Staffing)9.2 การบอกกล่าว (Informing)9.3 การมอบหมายงาน (Delegating)9.4 การร่วมมือกับฝ่ายต่าง ๆ (Networking)9.5 การตรวจสอบงาน (Monitoring Work)9.6 การรู้สึกเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ (Entrepreneurship)9.10 การสนับสนุนส่วนอื่น ๆ (Supporting Others)9.11 การจูงใจ และ แรงบันดาลใจ (Motivating & Inspiring)9.12 การวางแผนกลยุทธ์/การดำเนินกลยุทธ์ (Strategic Planning/Action)

  21. 9.13 การจัดเตรียมงบประมาณและการประเมินการใช้ (Preparing & Evaluating Budgets)9.14 การกำหนดบทบาทและวัตถุประสงค์ (Clarifying Roles & Objectives)9.15 การจัดการข้อขัดแย้ง/การสร้างทีมงาน (Managing Conflict & Team Building)9.16 พัฒนาวิสัยทัศน์ขององค์กร (Developing an Organizational Vision)9.17 การเฝ้าดูและควบคุมการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ (Monitoring & Controlling Resources)

  22. แล้วแต่กลุ่มและตำแหน่งงานแล้วแต่กลุ่มและตำแหน่งงาน จึงไม่สามารถระบุได้ เป็นเรื่องที่เฉพาะเจาะจงของแต่ละ โรงงาน จึงไม่สามารถระบุได้ การทำงานในโรงงานทั่ว ๆ ไป

  23. ตัวอย่างของ Oregon Manufacturing

  24. รายละเอียดของ Competency แต่ละตัวให้ดูจากเอกสารที่แจกให้

  25. ที่เขาให้มานั้นคืออะไร เขาคิดมาได้อย่างไร ? • เรามาปรับความเข้าใจกันนิดหนึ่ง จากที่ผมสอนคุณไปนั้น ผมใช้ Core Competency ในความหมายของ Prahalad & Hamel ซึ่งเป็นสมรรถนะในเรื่องของความได้เปรียบในการแข่งขัน • และผมก็ได้บอกแล้วว่า Core Competency อีกความหมายหนึ่งก็คือสมรรถนะที่พนักงานทุกคนจะต้องมีเหมือน ๆ ต่อไปนี้เราจะมามองในมุมนี้กันบ้าง

  26. ประเภทของ Competency Managerial & Leadership Strategic - Core Competency Functional ความสมรรถนะขององค์กร (Organization Competency) คือ สมรรถนะที่องค์กรกำหนดขึ้นเพื่อผลักดันให้องค์กร บรรลุตามวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย และค่านิยมขององค์กร Organization Competencies สมรรถนะหลักของพนักงาน (Core Competency) คือ สมรรถนะที่พนักงานทุกคน ทุกระดับใน องค์กรจะต้องมีร่วมกัน Functional (Job) Competency คือ สมรรถนะตามตำแหน่งงานที่พนักงาน นั้นรับผิดชอบอยู่ Managerial & Leadership Competency คือ สมรรถนะทางการบริหารที่กำหนดขึ้น สำหรับผู้บริหารระดับสูง

  27. Top Down Design Employee Competency

  28. ในทางการบริหาร “วิสัยทัศน์ (Vision)” สามารถตีความไปในลักษณะง่าย ๆ ได้ว่า “เป็นที่หรือเป็นสถานภาพที่เรามุ่งมั่นจะไปอยู่ หรือไปเป็นสักวันหนึ่งในอนาคต” • พันธกิจ (Mission) คือ กิจกรรมที่คุณต้องทำ เพื่อให้ไปถึงวิสัยทัศน์ • ยุทธศาสตร์ (Strategy) แนวทางในการบรรลุจุดหมายขององค์กร • คุณค่า (Value) หมายถึง สิ่งที่องค์กรยึดถือหรือถือเป็นเสมือนธรรมนูญขององค์กร ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือวัฒนธรรมขององค์กรนั่นเอง • ลองดูตัวอย่างในหน้าถัดไป จะเห็นว่า เราจะนำ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ วัฒนธรรมองค์กรมาเป็นตัวกำหนด Organization Competency

  29. ความสัมพันธ์ระหว่าง วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ และเป้าหมาย สภาพแวดล้อม วิสัยทัศน์ เป้าหมาย กลยุทธ์ พันธกิจ (เล็ง , พัท) สภาพแวดล้อม

  30. ตัวอย่าง

  31. Organization Competency คือ สมรรถนะขององค์กรอยู่ที่ผลงานขององค์กรที่ได้มาจากทักษะ ความรู้ ความสามารถ ทัศนคติ วัฒนธรรมองค์การที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่างมีระเบียบแบบแผน เพื่อให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตรงตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ขององค์การ แสดงออกให้เห็นประจักษ์ต่อลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย • จาก Organizational Competency จะถูกแปลไปเป็น Core (employee) Competency และเราจะเห็นชัดเจนเลยว่า Core Competency นั้น ทุก ๆ คนควรจะมี ดังนั้น มันก็คือ Tier 1, 2, 3 (ซึ่งทั้งสามรวมกันก็คือ Fundamental Related ตามที่กล่าวผ่านมาแล้ว) และ 4 (Industrial wide in Entry Level) จากทั้งหมด 9 Tier ที่เขากำหนดไว้นั่นเอง • ทีนี้ก็จะยังเหลือ Tier 5 ซึ่งเป็นกระบวนการในโรงงานที่จำเพาะเจาะจง และ Tier 6, 7 และ 8 ซึ่งเป็นสมรรถนะของแต่ละกลุ่มงานหรือตำแหน่งงาน

  32. การที่จะทำ Tier 5 ได้นั้น ต้องเอากระบวนการหลักมาดู • แน่นอนว่างานหลักของเราคือการผลิตแผงวงจรไฟฟ้า • กระบวนการผลิตที่พิจารณาในเชิงทั่ว ๆ ไป มันจะอยู่ในหัวข้อของ Tier ที่ 4 ในหัวข้อ “กระบวนการผลิต” (ดังรูปในหน้าถัดไป) คือ ทุกคนต้องรู้ว่า มันประกอบไปด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง งานของแต่ละขั้นตอนคืออะไร • ใน Tier ที่ 5 นั้น มันพิจารณาในเชิง Industry –Sector Technical Competency คำว่า Industry – Sector หมายความว่า ส่วนของอุตสาหกรรมที่เรา focus หรือ เน้นไปในกลุ่มนั้น ๆ อันได้แก่ Avionic, Automobile, Telecommunication, Industrial Product, Storage Area Network & Server, Consumer Product แต่ละส่วนนั้น มันต้องการ Technical Competency ที่จำเพาะเจาะจงลงไปในแต่ละ Sector ต่างจากพื้นฐานทั่ว ๆ ไปอย่างไร (มองในเชิง กระบวนการผลิต, คน, เทคโนโลยี)

  33. กระบวนการผลิตแผงวงจรไฟฟ้า (PCBA Manufacturing Process) Front End Process : Back End Process : CUSTOMER

  34. ตัวอย่างของ Avionicand Automotive

  35. กลุ่มงาน • ในองค์กรหนึ่ง ๆ จะมีงานหลาย ๆ งานที่ต้องทำ และจำกำหนดตำแหน่งงานขึ้นมารับผิดชอบงานเหล่านั้น ต่อมาก็มีการจัดตำแหน่งงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบคล้ายกันจัดไว้กลุ่มเดียวกัน เช่น • บัญชี/การเงิน/สินเชื่อ • ตลาด/ขาย/ส่งเสริมการขาย • ผลิต/ส่งเสริมการผลิต • ซ่อมบำรุง/วางแผนการซ่อมบำรุง/บำรุงรักษาป้องกัน • พัฒนาผลิตภัณฑ์/ออกแบบผลิตภัณฑ์ • บางองค์กรก็จัดผังองค์กรเป็น Functional ให้ถือหน่วยงานเป็นหลักก็ได้ เช่น ฝ่ายบุคคล ฝ่ายผลิต ฝ่ายซ่อมบำรุง ฝ่ายบัญชี ฯลฯ

  36. ผู้ที่ดำรงตำแหน่งงานหนึ่ง ๆ จะสังกัดอยู่ในกลุ่มงานหนึ่ง ๆ หรือ แผนก (Functional Area) หนึ่ง ๆ เขาย่อมต้องมีสมรรถนะในการทำงานตามฟังก์ชันที่กำหนดให้ เราเรียกว่า เขาต้องมี Functional Competency (ถ้ามองในแง่ของแผนกจะเป็น Function Competency แต่ถ้ามองในเชิงของงานในกลุ่มงานหนึ่ง ๆ เช่น งานทางด้านการเงินในกลุ่มการเงิน/บัญชี/สินเชื่อ หลายคนจะเรียก Competency ที่จัดแบบนี้ว่า Job Competency คือมุ่งไปที่งานที่ตนเองต้องทำเป็นหลัก) • ของเราแบ่งเป็นแผนก ๆ ดังนั้นผมของเรียกคลุม ๆ ไปก่อนว่าเป็น Functional Competency ก็แล้วกัน ส่วนนี้คือ Tier ที่ 6, 7 และ 8 นั่นเอง

  37. สมรรถนะเชิงฟังก์ชัน (Functional Competency) • เอาละ เรามาดู Functional (Job) Competency กันบ้าง ซึ่งมันก็คือ สมรรถนะตามตำแหน่งงานที่พนักงานนั้นรับผิดชอบอยู่

  38. Key Results Area • คำว่า "Key Result Area (KRA)" หมายถึง หน้าที่ความรับผิดชอบหลักของแต่ละตำแหน่งซึ่งทำให้เกิดผลสำเร็จของงานตามเป้าหมายของหน่วยงานและองค์กร ดังนั้น ถ้าเราใช้ KRA เข้ามาช่วย ก็จะเป็นการใส่กรอบพิจารณาเพื่อเน้นเอาเฉพาะงานในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบอยู่ (หรือ ตำแหน่งงานที่ตนเองดำรง) นั่นเอง เรื่องอื่น ๆ ก็ควรจะรู้แบบทั่ว ๆ ไป ถือว่า ไม่สำคัญมากเท่ากับเรื่องในหน้าที่การงานหลักที่ต้องรับผิดชอบ • ทีนี้เราจะกำหนด KRA อย่างไร

  39. Key Success Factor (KSF)

  40. เมื่อเป็นเช่นนี้ เราคงต้องมาดูที่กลุ่มงานหนึ่ง ๆ (Job Family หรือ แผนกหนึ่ง ๆ ) ว่า ตำแหน่งงานแต่ละตำแหน่งงานที่สังกัดอยู่ในกลุ่มนั้น ๆ (Job Responsibility) ว่า ต้องมีงาน (Task) อะไรบ้างที่ต้องทำ

  41. และ การที่จะทำงานเหล่านั้นให้สำเร็จลุล่วงไป พนักงานที่ดำรงตำแหน่งข้างต้น จำเป็นต้องมี ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอะไรบ้าง เราเรียกสามส่วนนี้ว่าเป็น สมรรถนะเชิงฟังก์ชัน หรือ Functional Competency นั่นเอง • ลองมาดูตัวอย่างของฝ่ายบุคคล เริ่มด้วยการกำหนดความรับผิดชอบหลัก ๆ (Key Responsibility) ออกมาก่อน เช่น • 1) การสรรหาบุคคลากร • 2) การอบรมและพัฒนาบุคลากร • 3) ……

  42. จากนั้น • ขั้นตอนที่ 1 : กำหนดกิจกรรมหลัก (Key Activities) • เป็นการระบุว่างานในตำแหน่งงานนั้นๆ ทำงานอะไรบ้าง ซึ่งผมเชื่อว่าเกือบทุกองค์กรมีส่วนนี้อยู่ในใบกำหนดหน้าที่งานอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่ได้รับการรับรองระบบมาตรฐานสากลในด้านต่างๆ เราควรกำหนดกิจกรรมหลักออกมาเป็นข้อๆ เช่น กิจกรรมของเจ้าหน้าที่สรรหาพนักงาน มีดังนี้

  43. ขั้นตอนที่ 2 : ผลที่องค์กรคาดหวังจากกิจกรรมหลัก (Expected Results) • ให้วิเคราะห์ดูว่าผลลัพธ์ที่องค์กรคาดหวังจากแต่ละกิจกรรมของตำแหน่งงานนั้นๆคืออะไร ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทุกกิจกรรมนั้นมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนรองรับ ไม่ใช่สักแต่ทำ แต่ไม่รู้ว่าทำไปทำไม การวิเคราะห์ในจุดนี้ถือเป็นจุดที่สำคัญจุดหนึ่ง เพราะถ้าวิเคราะห์ผิดพลาดแล้ว อาจจะทำให้ขั้นตอนต่อไปผิดเพี้ยนไปด้วย ตัวอย่างการวิเคราะห์ผลที่องค์กรคาดหวัง เช่น

  44. ขั้นตอนที่ 3 : จัดกลุ่มของผลที่คาดหวัง (Expected Results Groups) • เป็นการจัดกลุ่มผลของความคาดหวังที่ได้จากทุกกิจกรรมว่าควรจะแบ่งออกเป็นกี่กลุ่ม เช่น

  45. ขั้นตอนที่ 4 : กำหนดกลุ่มผลงานที่คาดหวังหลัก (Key Result Areas) • จากตารางในขั้นตอนที่ 3 จะเห็นว่าเราสามารถแบ่งผลที่คาดหวังออกได้ 3 กลุ่มหลัก และในการกำหนดกลุ่มผลงานที่คาดหวังหลักของตำแหน่งงานโดยทั่วไปแล้ว จะกำหนดเป็นคำนามสั้นๆที่ไม่บ่งบอกถึง คุณภาพว่าดีหรือไม่ดี ไม่บ่งบอกถึงปริมาณว่ามากหรือน้อย จากตัวอย่างนี้ Key Results Areas ของตำแหน่งเจ้าหน้าที่สรรหาคือ • เวลาสรรหา (Time) • ต้นทุนการสรรหา (Cost) • คุณภาพของการสรรหา (Quality) • เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนนี้แล้ว เราสามารถตอบได้อย่างชัดเจนว่าสิ่งที่องค์กรคาดหวังจากการที่มีตำแหน่งงานนี้ขึ้นมาคืออะไร แต่ยังไม่สามารถตอบได้ว่าจะทราบได้อย่างไรว่าองค์กรได้รับสิ่งที่คาดหวังมากน้อยเพียงใด

  46. ขั้นตอนที่ 5 : กำหนดตัวชี้วัดผลงานหลัก (Key Performance Indicators) • ขั้นตอนนี้เป็นการตอบคำถามที่ว่าเราจะทราบได้อย่างไรว่าผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งนั้นๆ สามารถตอบสนองผลที่องค์กรคาดหวังในแต่ละด้าน (Key Result Area) ได้มากน้อยเพียงใด เราจึงจำเป็นต้องมีการกำหนดตัวชี้วัดขึ้นมา (PI = Performance Indicator) เช่น

  47. เมื่อเราหาตัวชี้วัดผลงานในด้านต่างๆได้แล้ว จึงค่อยมาวิเคราะห์อีกครั้งว่าตัวชี้วัดตัวใดเป็นตัวชี้วัดหลัก (Key Performance Indicators) หลักการวิเคราะห์อย่างง่ายคือพิจารณาดูว่าตัวชี้วัดตัวใดที่มีผลกระทบต่อกลุ่มผลที่คาดหวังหลัก (KRA) มากที่สุด หรืออาจจะพิจารณาจากผลกระทบที่มีต่อเป้าหมายหลักขององค์กรในแต่ละปีก็ได้

  48. กำหนดความสามารถให้สอดคล้องกับกลุ่มผลงานที่คาดหวังหลัก (Key Result Areas) • ให้นำเอาผลความคาดหวังหลักที่วิเคราะห์ได้จากการหา KPI ในตอนที่แล้วมาเป็นตัวตั้ง แล้วลองกำหนดดูว่า การที่จะทำให้งานนั้นๆบรรลุเป้าหมายได้ตามที่กำหนดไว้นั้น คนที่ทำงานในตำแหน่งงานนั้นจะต้องมีความสามารถในด้านใดเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่น

More Related