1 / 38

การใช้ยาเทคนิคพิเศษ

การใช้ยาเทคนิคพิเศษ. โดย ภญ . กนกวรรณ วงศ์อนันต์ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลตราด. การใช้ยาเทคนิคพิเศษ. ยาหยอดตา ( Eye Drops ) ยาขี้ผึ้งป้ายตา ( Eye Ointment ) ยาหยอดหู ( Ear Drops ) ยาพ่นจมูก ( Nasal Spray ) ยาสูดพ่นแบบ Inhaler ยาสูดพ่นแบบ Accuhaler

Antony
Download Presentation

การใช้ยาเทคนิคพิเศษ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การใช้ยาเทคนิคพิเศษ โดย ภญ.กนกวรรณ วงศ์อนันต์ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลตราด

  2. การใช้ยาเทคนิคพิเศษ • ยาหยอดตา ( Eye Drops ) • ยาขี้ผึ้งป้ายตา ( Eye Ointment ) • ยาหยอดหู ( Ear Drops ) • ยาพ่นจมูก ( Nasal Spray ) • ยาสูดพ่นแบบ Inhaler • ยาสูดพ่นแบบ Accuhaler • ยาเหน็บช่องคลอด ( Vaginal Suppositories ) • ยาเหน็บทวารหนัก ( Rectal Suppositories ) • ยาฉีดอินซูลิน โดยใช้ Syring Insulin • ยาฉีดอินซูลิน โดยใช้ ปากกา Autopen

  3. ยาหยอดตา (Eye drops) • ล้างมือให้สะอาด • เปิดฝาครอบขวดยาออก • ให้ใช้มืออีกข้างหนึ่งจับหลอดหยดและดูดยาให้เข้าไปในหลอดหยด (เฉพาะยาที่มีหลอดหยดซึ่งเอาออกจากตัวขวดได้) หรือหยดได้เลยสำหรับ ยาที่มีหลอดหยดติดอยู่กับขวด • นอน หรือ นั่งแหงนหน้าขึ้น • ค่อยๆใช้มือข้างหนึ่งดึงหนังตาล่างลงมาให้เป็นกระพุ้ง และเหลือบตาขึ้นข้างบน • หยดยาตามจำนวนที่แพทย์สั่ง ลงในด้านในของเปลือกตาล่าง ( ระวัง! อย่าให้ปลายหลอดหยดถูกตาหรือสิ่งใดๆ ) • ปล่อยมือจากการดึงหนังตา หลับตาและอย่ากระพริบตาอย่างน้อย 30 วินาที • เอาหลอดหยดใส่ในขวดยาและปิดฝาขวดให้สนิท

  4. ยาหยอดตา (Eye drops)(ต่อ)

  5. ยาหยอดตา (Eye drops)(ต่อ) คำแนะนำเพิ่มเติม • ถ้าต้องการใช้ยาหยอดตา 2 ชนิดขึ้นไป ควรรอเวลาในการหยอดยาแต่ละชนิดให้ห่างกันประมาณ 5-10 นาที จึงหยอดยาชนิดต่อไป • เมื่อเปิดใช้แล้ว ไม่ควรใช้เกิน 1 เดือน ถ้ามียาเหลือควรทิ้งไป • ห้ามใช้ยาหยอดตาร่วมกับผู้อื่น เพราะอาจทำให้ติดเชื้อได้ • อาจทำให้ตาพร่า แสบตา หรือเคืองตาหลังจากหยอดตาได้ ดังนั้นไม่ควรขับรถหรือทำงานที่ต้องเสี่ยงต่ออันตราย จนกว่าตาจะมองเห็นได้ชัดเจนตามปกติ • ยาหยอดตาบางชนิด จะทำให้รู้สึกขม เพราะตากับลำคอมีทางติดต่อถึงกันได้ • ยาหยอดตาบางชนิด ควรเก็บในตู้เย็น ฉะนั้นต้องอ่านฉลากให้เข้าใจ

  6. ยาขี้ผึ้งป้ายตา (Eye ointment) • ล้างมือให้สะอาด • เปิดจุกหลอดยาไว้ โดยวางให้ฝาหลอดหงายขึ้น • นอน หรือ นั่งแหงนหน้าขึ้น • ค่อยๆใช้มือข้างหนึ่งดึงหนังตาล่างลงมาให้เป็นกระพุ้ง และเหลือบตาขึ้นข้างบน • ใช้มืออีกข้างหนึ่งบีบขี้ผึ้งขนาดยาวประมาณ 1 ซ.ม. ลงในกระพุ้งของเปลือกตาล่าง ( ระวัง!อย่าให้ปลายหลอดขี้ผึ้งถูกตาหรือสิ่งใดๆ ) • ค่อยๆหลับตา และกลอกลูกตาไปมาทุกทิศทางขณะที่ยังหลับตาอยู่สักครู่ • ปิดฝาหลอดยาให้สนิท

  7. ยาขี้ผึ้งป้ายตา (Eye ointment)(ต่อ)

  8. ยาขี้ผึ้งป้ายตา (Eye ointment)(ต่อ) คำแนะนำเพิ่มเติม • ถ้าต้องใช้ยาหยอดยาร่วมกับยาขี้ผึ้งป้ายตา ควรใช้ยาหยอดตาก่อน แล้วรอประมาณ 10 นาที จึงใช้ยาขี้ผึ้งป้ายตา • ห้ามใช้ยาขี้ผึ้งป้ายตาร่วมกับผู้อื่น เพราะอาจทำให้ติดโรคได้ • อาจทำให้ตาพร่า แสบตา หรือเคืองตาหลังจากป้ายตาได้ ดังนั้นไม่ควรขับรถหรือทำงานที่ต้องเสี่ยงต่ออันตราย จนกว่าตาจะมองเห็นได้ชัดเจนตามปกติ

  9. ยาหยอดหู (Ear drops) • ล้างมือให้สะอาด • ถ้ายาหยอดหูมีอุณหภูมิเย็นกว่าร่างกายมาก ให้เอาขวดยาใส่ในฝ่ามือและกำไว้สัก2-3นาที เพื่อให้อุณหภูมิของยาใกล้เคียงกับ อุณหภูมิของร่างกาย • นอนตะแคงหรือเอียงศีรษะให้หูข้างที่จะหยอดยาหันขึ้นข้างบน • หยอดยาในหูตามจำนวนที่กำหนด ไม่ควรเอาหลอดหยดสอดเข้าไปในรูหู • นอนตะแคงหรือเอียงศีรษะอยู่ในท่าเดิม 3-5 นาที อาจเอาสำลีใส่ในรูหูข้างที่หยอดยาเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้ยาไหลออกจากรูหู • ปิดฝาหลอดยาให้สนิท

  10. ยาพ่นจมูก (Nasal spray) • กำจัดน้ำมูกออกจากจมูกให้หมด (ถ้ามี) • นั่งตัวตรงเงยศีรษะขึ้นเล็กน้อย หรือก้มศีรษะ หุบปาก • เขย่าขวดยา เปิดฝาขวดยาออก • สอดปลายที่พ่นยาเข้าไปในรูจมูก ใช้นิ้วมืออีกข้างกดรูจมูกข้างที่เหลือ • สูดหายใจเข้าช้าๆ พร้อมกับกดที่พ่นยาเข้าจมูก การพ่นยาต้องให้ปลายหลอดพ่นชี้ไปทางผนังด้านข้างจมูกให้มากที่สุด ห้ามพ่นยาเข้าไปที่ผนังกั้นช่องจมูก • กลั้นหายใจ 2-3 วินาที • ถ้าต้องพ่นข้างละ 2 ครั้ง ควรพ่นข้างละ 1 ครั้งให้ครบทั้ง 2 ข้างก่อนแล้วจึงเริ่มพ่นครั้งที่ 2 ให้ครบทั้ง 2 ข้าง • เช็ดทำความสะอาดที่ปลายพ่น ปิดฝาเก็บให้เรียบร้อย

  11. ยาพ่นจมูก (Nasal spray) (ต่อ) คำแนะนำเพิ่มเติม • กรณีเป็นยาพ่นบรรเทาอาการคัดจมูก ให้ใช้เป็นครั้งคราวเมื่อจำเป็น แต่ถ้าเป็นยาพ่นที่เป็นสเตียรอยด์ จะต้องใช้ยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง เพราะยานี้ไม่สามารถบรรเทาอาการได้ทันที • บ้วนปาก กลั้วคอด้วยน้ำ สะอาด หลังพ่นยาที่เป็นสเตียรอยด์ • ไม่ควรหยุดยา ลดขนาดยา หรือเพิ่มขนาดยาเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์ • การใช้ยาพ่นจมูก อาจทำให้รู้สึกถึงรสขมของยาได้ เพราะช่องจมูกกับลำคอมีทางติดต่อถึงกัน

  12. ยาสูดพ่นแบบ Inhaler

  13. ยาสูดพ่นแบบ Inhaler (ต่อ) • เปิดฝาครอบปากขวดยาพ่นออก เขย่าขวด • คว่ำขวดพ่นยาลง ให้ก้นของขวดยาชี้ฟ้า และตั้งขวดพ่นยาให้ตรง • หายใจออกให้สุดเต็มที่ • ใช้ริมฝีปากอมรอบปากขวดพ่นยาให้สนิท เอนศีรษะไปด้านหลังเล็กน้อย • หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆทางปาก พร้อมๆกับกดที่พ่นยา 1 ครั้ง ตัวยาจะเข้าสู่ลำคอพร้อมกับลมหายใจ • นำขวดพ่นยาออกจากปาก หุบปากให้สนิท กลั้นหายใจให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ • ผ่อนลมหายใจออกทางจมูกช้าๆ • ทำความสะอาดปากขวดพ่นด้วยน้ำอุ่น ซับให้แห้ง แล้วปิดฝาครอบให้เรียบร้อย

  14. ยาสูดพ่นแบบ Inhaler(ต่อ)

  15. ยาสูดพ่นแบบ Inhaler(ต่อ) คำแนะนำเพิ่มเติม • กรณีที่ต้องพ่นยาอีกครั้ง ควรเว้นระยะเวลาประมาณ 1 นาที แล้วค่อยพ่นครั้งใหม่ • ใช้น้ำกลั้วปาก และลำคอ เพื่อล้างยาที่ตกค้างออก • กรณีที่ต้องใช้ยาพ่นสูดร่วมกัน 2 ชนิด ควรพ่นยาขยายหลอดลมก่อน และเว้นระยะเวลาประมาณ 5 นาที จึงค่อยพ่นยาสเตียรอยด์ตาม • ถ้าผู้ป่วยมีเสมหะ ก่อนพ่นยาควรกำจัดเสมหะออกจากลำคอก่อน • เมื่อใช้ยาหมดแล้ว ไม่ควรทุบขวดหรือเผาไฟ เพราะอาจทำให้ขวดระเบิดได้

  16. ยาสูดพ่นแบบ Inhaler(ต่อ) วิธีการทดสอบว่ายาในขวดยาหมดหรือไม่ นำขวดที่บรรจุยาใส่ภาชนะที่มีน้ำอยู่ แล้วสังเกตดังนี้ • ถ้าขวดยาพ่นจมลงก้นภาชนะ แสดงว่ายังมียาอยู่เต็ม • ถ้าขวดยาพ่นลอยขนานบนผิวน้ำ แสดงว่ายาหมดแล้ว • ถ้าขวดยาพ่นลอยทำมุมต่างๆกับผิวน้ำ แสดงว่ายังมียาเหลืออยู่ในปริมาณต่างๆกัน

  17. ยาสูดพ่นแบบ Accuhaler

  18. ยาสูดพ่นแบบ Accuhaler (ต่อ) 1. ถือเครื่องในแนวราบขนานกับพื้น 2. เปิดเครื่อง โดยใช้มือข้างหนึ่งจับตัวเครื่องด้านนอกไว้แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือของมืออีกข้างหนึ่งวางที่ร่อง ดันนิ้วหัวแม่มือในทิศออกจากตัวไปจนสุด 3. ถือเครื่องไว้ในแนวนอน โดยให้ปากกระบอกหันเข้าหาตัว 4. ดันแกนเลื่อนออกไปจนสุด จนได้ยินเสียง “คลิก” และห้าม ดันกลับ

  19. ยาสูดพ่นแบบAccuhaler(ต่อ) 5. หายใจออกทางปากให้มากที่สุด ระวังอย่าพ่นลมหายใจเข้าไปในเครื่อง แล้วอมปากกระบอกให้สนิท 6. สูดลมหายใจเข้าทางปากโดยผ่านเครื่องมือ ให้เร็ว แรง และ ลึก แล้วเอาเครื่องออกจากปาก 7. กลั้นหายใจประมาณ 10 วินาที หรือนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วหายใจออกช้าๆ 8. ปิดเครื่อง โดยการวางนิ้วหัวมือบนร่อง แล้ว เลื่อนกลับมาหาตัวจนสุด เมื่อเครื่องถูกปิด จะได้ยินเสียง “คลิก”

  20. ยาสูดพ่นแบบAccuhaler(ต่อ)

  21. ยาสูดพ่นแบบ Accuhaler (ต่อ) คำแนะนำเพิ่มเติม • หลังใช้เสร็จ กลั้วปากและคอด้วยน้ำสะอาด เพื่อลดอาการปากแห้ง คอแห้ง และช่วยลดการเกิดเชื้อราในช่องปาก • ถ้าผู้ป่วยมีเสมหะ ก่อนพ่นยาควรกำจัดเสมหะออกจากลำคอก่อน • กรณีใช้ร่วมกับยาสูดพ่นแบบ Inhaler ควรพ่นยาแบบ Inhaler ก่อน และเว้นระยะเวลาประมาณ 5 นาที จึงค่อยพ่นยาแบบ Accuhaler ตาม

  22. ยาเหน็บช่องคลอด (Vaginal suppositories) • ล้างมือให้สะอาด • แกะยาออกจากกระดาษห่อ ถ้าเป็นยาเม็ดแข็งให้นำยาไปจุ่มในนํ้าสะอาดพอชื้นประมาณ 1-2 วินาที เพื่อช่วยให้เม็ดยาลื่น • นอนหงาย โดยชันหัวเข่าขึ้นและแยกขาออก ( ห้ามนั่งยองๆ เพราะยาจะหลุดได้ง่าย ) • สอดยาเข้าไปในช่องคลอดให้ลึกที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยใช้นิ้วช่วยดันยาเข้าไป • นอนพักในท่าเดิมสัก 15 นาที เพื่อไม่ไห้ยาไหลออกมา • ล้างมือให้สะอาดหลังใช้ยา

  23. ยาเหน็บช่องคลอด(Vaginal suppositories)(ต่อ) คำแนะนำเพิ่มเติม • ควรเหน็บยาติดต่อกันทุกวันจนหมดตามที่แพทย์สั่ง • ไม่ต้องหยุดยาแม้ว่ามีประจำเดือน • ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ขณะรักษา หรือใช้ถุงยางอนามัย • ยาเหน็บช่องคลอดชนิดเม็ดแข็ง ไม่จำเป็นต้องเก็บไว้ในตู้เย็น

  24. ยาเหน็บทวารหนัก(Rectal suppositories) • ล้างมือให้สะอาด • ถ้ายาเหน็บนิ่ม ให้แช่ยาในตู้เย็นก่อน เพื่อให้ยาแข็งตัวจะสอดได้ง่ายขึ้น • แกะยาออกจากกระดาษห่อ • นอนตะแคงโดยให้ขาล่างเหยียดตรง และงอขาบนขึ้นจนหัวเข่าจรดกับหน้าอก • สอดยาเหน็บเข้าไปในทวารหนัก โดยเอาด้านที่มีปลายแหลมเข้าไปก่อน โดยใช้นิ้วดันยาเข้าไปอย่างช้าๆและเบาๆ พยายามสอดให้ลึกที่สุด เพื่อมิให้ยาเหน็บไหลออกมา (ในผู้ใหญ่สอดยาให้ลึกเข้าไปอย่างน้อย 2.5 ซม.และในทารก อย่างน้อย 1.25 ซม.) • นอนในท่าเดิมสักครู่ประมาณ 15 นาที ยาจะค่อยๆละลายจนหมด ถ้าเป็นยาระบาย ควรนอนในท่าเดิมไม่ต่ำกว่า 15-20 นาที จึงจะลุกไปถ่ายอุจจาระ • ล้างมือให้สะอาดหลังใช้ยา

  25. ยาฉีดอินซูลิน โดยใช้ Syring Insulin การเตรียมยาฉีดอินซูลิน 1. ล้างมือให้สะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง 2. ก่อนการฉีดยาอินซูลินทุกครั้ง คลึงขวดยาอินซูลินไปมาในฝ่ามือทั้งสองข้าง กรณีใช้ยาชนิดขุ่นเพื่อให้ยาผสมเป็นเนื้อเดียวกัน อย่าเขย่าขวดยาอินซูลิน เนื่องจากทำให้เกิดฟองอากาศและอินซูลินเกาะติดบริเวณจุกยางของขวด (ชนิดใสไม่ต้องคลึง) 3. ใช้สำ ลีชุบแอลกอฮอล์ เช็ดจุกยางของขวดยาอินซูลิน

  26. ยาฉีดอินซูลิน โดยใช้ Syring Insulin (ต่อ) 4. ดูดลมเข้ามาในหลอดฉีดยาให้มีจำนวน เท่ากับปริมาณยาที่จะต้องใช้ 5. แทงเข็มฉีดยาให้ผ่านเข้าไปขวดยาแล้วดันอากาศเข้าไปในขวด การใส่ลมในขวดนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด สุญญากาศในขวดอินซูลิน ซึ่งอาจทำให้มีแรงดึงดูดให้ยาที่ดูดไว้แล้วถูกดึงกลับไปในขวด

  27. ยาฉีดอินซูลิน โดยใช้ Syring Insulin (ต่อ) 6. ควํ่าขวดยาลงแล้วค่อยๆดูดยาอินซูลินเข้าหลอดฉีด ยาในปริมาณที่ต้องการ 7. ตรวจดูว่ามีฟองอากาศอยู่หรือไม่ ถ้าหากมี ฟองอากาศขนาดใหญ่อาจทำให้มีผลต่อขนาด อินซูลิน ให้ฉีดยาเข้าไปในขวดใหม่ แล้วดูดกลับเข้า มาช้าๆ จนได้ปริมาณที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม ฟองอากาศเล็กน้อย ไม่มีอันตรายในการฉีด 8. ตรวจดูขนาดของอินซูลินให้แน่ใจอีกครั้ง

  28. ยาฉีดอินซูลิน โดยใช้ Syring Insulin (ต่อ) การฉีดยาเข้าไปในบริเวณที่ต้องการควรปฎิบัติดังนี้ 1. ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ทำความสะอาดผิวหนัง บริเวณที่ฉีดยา 2. ใช้มือข้างหนึ่งดึงผิวหนังบริเวณที่จะฉีด ยกให้สูงขึ้นเป็นลำ แล้วแทงเข็มฉีดยาเข้าไป ให้ตรงให้ตั้งฉากกับผิวเข้าชั้นใต้ผิวหนังให้มิดเข็ม 3. กดลูกสูบดันยาลงไปให้สุดจนหมด

  29. ยาฉีดอินซูลิน โดยใช้ Syring Insulin (ต่อ) 4. ถอนเข็มฉีดยาออกใช้สำลีกดตำแหน่ง ที่ฉีดยาไว้ชั่วขณะ ถ้ามีเลือดออกหรือรู้สึกปวด หรือมีนํ้าใสไหลออกมา ไม่ควรคลึงหรือนวด บริเวณที่ฉีดยา เพราะอาจทำให้การดูดซึมเร็วขึ้น กว่าปกติได้ 5. เข็มฉีดยาใช้แล้วทิ้ง หรือเก็บไว้ใช้ได้อีก 2-3 วัน โดยสวมปลอก นำไปไว้ในตู้เย็น และนำมาใช้ได้อีก (อย่านำเข็มไปล้าง หรือเช็ด)

  30. ยาฉีดอินซูลิน โดยใช้ ปากกา Autopen

  31. การใช้ปากกาฉีดอินซูลิน Autopen

More Related